หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2564

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่ของกองทัพเรือไทย

ประมวลภาพ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่ ที่กองทัพเรือได้จัดหาเพื่อทดแทนเรือที่ครบกำหนดปลดระวางประจำการ ซึ่งในปัจจุบันได้เข้าประจำการแล้ว จำนวนรวม 14 ลำ โดยได้นับรวม เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด ต.114 และ ต.115 ที่ทางกองทัพเรือ เพิ่งได้รับมอบเข้าประจำการ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา

ตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.2558 – 2567 ที่ได้กำหนดความต้องการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง จำนวนทั้งสิ้น 16 ลำ เพื่อใช้ในภารกิจต่างๆ และทดแทนเรือที่ครบกำหนดปลดระวางประจำการ
ที่ผ่านมานั้น กองทัพเรือได้จัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งไว้ใช้ในราชการแล้วคือ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.81 – ต.83 ชุดเรือ ต.991 – ต.996 และชุดเรือ ต.111 – ต.115 รวมทั้งสิ้นจำนวน 14 ลำ ยังคงมีความต้องการในการจัดหาเพิ่มเติมอีกจำนวน 2 ลำ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการต่อสร้าง คือ เรือชุด ต.997 และ ต.998 ที่อู่เรือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน)
—————————————————
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด ต.81 – ต.83 (จำนวน 3 ลำ)
—————————————————
กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ
7 ธันวาคม 2020

ขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางเรือ (Core Business) ของกองเรือยามฝั่ง
๓.ขีดความสามารถในการป้องกันแหล่งเศรษฐกิจสำคัญบริเวณชายฝั่ง
๔. ขีดความสามารถในการควบคุมเรือพาณิชย์ในสถานการณ์วิกฤติ
การฝึกในทะเล ของหมู่เรือฝึกกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ ในการฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔
#กองเรือยามฝั่ง
—————————————————
—————————————————
ทัพเรือภาคที่ 1 "First Naval Area Command"
1 เมษายน เวลา 10:47 น.

“ ทัพเรือภาคที่ 1 ส่งหมวดเรือลาดตระเวนชายแดน ปกป้องอธิปไตย ในพื้นที่ชายแดน ไทย-กัมพูชา”

เมื่อวันที่ 31 มี.ค.64 พลเรือโท โกวิท  อินทร์พรหม ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 มอบหมายให้ นาวาเอก เกียรติกูล สุวรรณ รองเสนาธิการ ทัพเรือภาคที่ 1/ผู้บังคับหมวดเรือลาดตระเวนชายแดน เป็นผู้แทนทัพเรือภาคที่ 1 ทำพิธีส่งเรือไปปฏิบัติหน้าที่ หมวดเรือลาดตระเวนชายแดน ส่วนที่ 1 ณ ท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ เพื่อเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่หมวดเรือลาดตระเวนชายแดน ณ ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด ทัพเรือภาคที่ 1  โดยขึ้นการควบคุมทางยุทธการกับ กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรี และตราด

สำหรับหมวดเรือที่ส่งไปนั้น ประกอบด้วย เรือ ต.83 เรือ ต.261 เรือ ต.271 เดินทางไปดูแลรับผิดชอบพื้นที่ชายแดนทางทะเล จว.จันทบุรี และ จว.ตราด ทำหน้าที่ในการป้องกันอธิปไตย รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ตลอดจนให้ความช่วยเหลือ ดูแลพี่น้องประชาชน โดยมีวงรอบในการปฏิบัติหน้าที่ 3 เดือน

นาวาเอก เกียรติกูล สุวรรณ ผู้บังคับหมวดเรือลาดตระเวนชายแดน กล่าวว่า การปฏิบัติหน้าที่หน้าที่ครั้งนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในการปฏิบัติการทางเรือ บริเวณพื้นที่ชายแดน ไทย-กัมพูชา  เพื่อรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ตลอดจนให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ที่ประสบภัยพิบัติต่างๆ รวมทั้งการแก้ไขปัญหา การทำประมงผิดกฎหมายในพื้นที่รับผิดชอบอีกด้วย

“พลังสามัคคี พลังราชนาวี”
ภาพ/ข่าว:กองกิจการพลเรือน ทัพเรือภาคที่1
—————————————————
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด ต.991 – ต.993 (จำนวน 3 ลำ)
—————————————————
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด ต.994 – ต.996 (จำนวน 3 ลำ)
พล.ร.ต.สุเทพ  ลิมปนันท์วดี ผู้บัญชาการกองเรือยามฝั่ง พร้อมคณะนายทหารฝ่ายอำนวยการ เดินทางไปตรวจเยี่ยมเรือใน กยฝ. ที่ปฏิบัติราชการ ทัพเรือภาคที่ ๓ เพื่อบำรุงขวัญกำลังใจและรับทราบปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้อง ณ ท่าเทียบเรือภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต และ ท่าเทียบเรือฐานทัพเรือพังงา อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๑๗ มี.ค.๖๔
—————————————————
ทัพเรือภาคที่ ๓
10 เมษายน
ทัพเรือภาคที่ 3 ส่งเครื่องบิน และเรือ ต.994 สนับสนุน ศรชล.ภาค 3 จับกุมเรือประมงอินโดนีเซียรุกล้ำน่านน้ำทะเลอันดามัน

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564 เวลาประมาณ 20.30 น. ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) โดย ศรชล.จังหวัดพังงา ได้รับการแจ้งจากเครือข่ายเรือประมงของไทยในพื้นที่ทะเลอันดามัน ว่าพบเรือประมงสัญชาติอินโดนีเซีย จำนวน 3 ลำ ลักลอบทำการประมงในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทย กลางทะเลอันดามันใกล้แนวเขตแดนทางทะเล ไทย – อินโดนีเซีย ตำบลที่ ละติจูด 08 องศา 00 ลิปดา 00 ฟิลิปดา เหนือ ลองจิจูด 96 องศา 21 ลิปดา 00 ฟิลิปดา ตะวันออก (แบริ่ง 265 ระยะ 122 ไมล์ จาก จว.ภูเก็ต)

หลังจากได้รับแจ้งเหตุ ได้มีการประชุมวางแผนการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ทัพเรือภาคที่ 3 ได้สั่งการให้เครื่องบินลาดตระเวนแบบที่ 1 (บ.ลว.1) Dornier–228 หมายเลข 1115 ทำการขึ้นบินเพื่อค้นหาทางอากาศ พร้อมทั้งสั่งการให้ เรือ ต.994 ออกเรือค้นหาทางทะเล

ต่อมาเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2564 เวลา 06.30 น. อากาศยาน Dornie -228 ได้รายงานการตรวจพบเรือประมงอินโดนีเซียหลายลำ กำลังลักลอบทำการประมงในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทย จึงได้แจ้งให้ เรือ ต.994 ซึ่งกำลังเดินเรือเข้าพื้นที่ทราบ จึงนำเรือด้วยความเร็วสูงสุดเข้าทำการจับกุม โดยสามารถจับกุมเรือประมงสัญชาติอินโดนีเซียได้ จำนวน 1 ลำ ชื่อเรือ KMRIZKI เป็นเรือประมงประเภทอวนล้อม ลักษณะตัวเรือสีเขียว เก๋งสีเขียว มีลูกเรือ จำนวน 32 คน เป็นสัญชาติอินโดนีเซียทั้งหมด และได้นำเรือดังกล่าวกลับเข้าฝั่งในพื้นที่ จว.ภูเก็ต เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

ทั้งนี้ในวันที่ 10 เมษายน 2564 ศรชล.ภาค 3 ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมแถลงข่าวการจับกุมเรือประมงอินโดนีเซียรุกล้ำน่านน้ำไทย ณ ท่าเทียบเรือตำรวจน้ำ ท่าเรือรัษฎา อ.เมืองภูเก็ต จว.ภูเก็ต โดยในส่วนของพื้นที่ทางทะเลฝั่งอันดามันนั้น ยังคงปรากฏข่าวสารเรือประมงต่างชาติ ลักลอบเข้ามาทำการประมงอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมา เคยมีการจับกุมเรือประมงสัญชาติอินโดนีเซียในบริเวณดังกล่าวมาแล้วหลายครั้ง ผลสำเร็จของการจับกุมในครั้งนี้ เกิดจากหน่วยงานใน ศรชล.ภาค 3 ส่วนราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และเครือข่ายเรือประมงของไทย ที่พบเห็นการกระทำผิดในทะเลและแจ้งข้อมูลต่างๆ ให้ ศรชล.ภาค 3 นำไปสู่การเข้าจับกุมเรือประมงที่ลักลอบทำการประมงรุกล้ำน่านน้ำไทย เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลและประชาชนไทยให้ยั่งยืนสืบไป

#ทัพเรือภาคที่3
#ศรชล
#ศรชลภาค3
#จับกุมเรือประมง
—————————————————
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด ต.997 – ต.998 (จำนวน 2 ลำ) อยู่ระหว่างดำเนินการต่อสร้าง โดยอู่ต่อเรือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน)
Defence Technology Institute
29 มกราคม 2020

บริษัท MAN Energy Solutions ของเยอรมนีได้รับสัญญาจัดหาเครื่องยนต์ให้กับเรือตรวจการณ์ของกองทัพเรือไทย จำนวน 2 ลำ

เมื่อ 23 ม.ค. 63 บริษัท MAN Energy Solutions ของเยอรมนีประกาศว่า ได้รับสัญญาจัดหาเครื่องยนต์หลักให้กับเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งลำใหม่ของกองทัพเรือไทย จำนวน 2 ลำ โดยเรือแต่ละลำจะได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์ MAN 16V175D-MM, IMO Tier II engines ให้พลังงาน 2,960 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงที่ 1,900 รอบต่อนาที จำนวน 2 เครื่อง ทั้งนี้ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งดังกล่าว ถูกสร้างโดยอู่ต่อเรือ Marsun ในประเทศไทย มีกำหนดการส่งมอบให้กับกองทัพเรือไทยภายในเดือนสิงหาคม 2563 เมื่อเข้าประจำการจะเป็นเรือลำที่ 4 และ 5 ของชุดเรือ ต.994 จะใช้หมายเลข ต.997 และ ต.998 โดยเรือมีคุณลักษณะดังนี้ มีความยาว 41.44 ม. ความกว้าง 7.2 ม. ระวางขับน้ำเต็มที่ 215 ตัน มีความเร็วสูงสุด 28 นอต รองรับลูกเรือได้ 33 คน สามารถปฏิบัติภารกิจได้ต่อเนื่อง 7 วัน

บริษัท MAN Energy Solutions พัฒนาเครื่องยนต์ MAN 175D แบบ 12, 16 และ 20 สูบ มีกำลัง 1,500 ถึง 4,000 กิโลวัตต์ สามารถติดตั้งในเรือหลายประเภท ได้แก่ เรือข้ามฟาก เรือตรวจการณ์นอกชายฝั่ง เรือลากจูง และอื่น ๆ อีกทั้งถูกออกแบบให้เป็นเครื่องยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้ระบบกำจัดไอเสียแบบ SCR System สอดคล้องกับข้อกำหนดของการปล่อยไอเสีย ขนาดของเครื่องยนต์มีความกะทัดรัดช่วยให้สามารถปรับพื้นที่บนเรือได้อย่างเหมาะสม
—————————————————
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด ต.111 – ต.113 (จำนวน 3 ลำ)
—————————————————
กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ
6 พฤศจิกายน 2020

"ความห่วงใยจากผู้บังคับบัญชา ถึงกำลังพลที่ปฏิบัติราชการในพื้นที่ห่างไกล"
ใน ๒๙ ต.ค.๖๓ พล.ร.ต.สุเทพ ลิมปนันท์วดี ผบ.กยฝ.กร. และคณะฯ เดินทางตรวจเยี่ยมกำลังพลเพื่อเป็นขวัญกำใจ และตรวจความพร้อมของเรือใน กยฝ.ฯ ณ ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด ทัพเรือภาคที่ ๑ โดยมี น.อ.ธัชภูมิพัฒน์ อินทร์สุข ผบ.มชด./๑ และ น.ท.เอกราช สารคำ เสธ.ฐตร.ทรภ.๑ ให้การต้อนรับ

ผบ.กยฝ.ฯ ได้กรุณากล่าวให้โอวาท แนวทางการปฏิบัติงาน และมอบของบำรุงขวัญ แก่ เรือ ต.๑๑๑ และ เรือ ต.๒๖๘ ที่ท่าเทียยบเรือ ฐตร. พร้อมทั้งตรวจความพร้อมของเรือ และมีปฏิสันถารกับกำลังพลประจำเรืออย่างใกล้ชิด  ต่อจากนั้นได้เดินทางไปยังท่าเรืออเนกประสงค์ คลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เพื่อตรวจเยี่มและบำรุงขวัญกำลังใจให้แก่เรือ ต.๒๗๔

“ยามศึกเรารบ ยามสงบเราเตรียมพร้อม” ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ ดูแล ช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ปกป้องอธิปไตยของชาติและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ในพื้นที่รับผิดชอบ ตลอด ๒๔ ชม. พร้อมส่งมอบคุณค่าแก่พี่น้องประชาชน ให้สมกับคำที่ว่า #กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ"
—————————————————
กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ
25 ธันวาคม 2020

“ร่วมแรงร่วมใจ รักษาทะเลไทยอย่างมั่นคงและยั่งยืน”
เรือ ต.111 และ เรือ ต.268 ปฏิบัติราชการกับหมู่เรือลาดตระเวนชายแดน ทัพเรือภาคที่ 1 และ ศรชล.ภาค 1 เข้าร่วมกิจกรรม “ศรชล.ร่วมอนุรักษ์ทะเลตราดกับเรือหลวงช้าง” ซึ่งมีการผูกทุ่นแสดงตำแหน่งของเรือหลวงช้าง การมอบพันธุ์ปลาของกรมประมง การเก็บขยะชายทะเลจากกลุ่มแทรชฮีโร่เกาะช้าง การสาธิตผู้ประสบภัยทางทะเลโดยอากาศยานของกองทัพเรือ รวมทั้งการเปิดเวทีเสวนา โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชน บอกเล่าความเป็นมาของเรือหลวงช้าง ที่มีคุณค่าต่อทรัพยากรทางทะเล อย่างมั่นคงและยั่งยืน เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2563
—————————————————
—————————————————
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด ต.114 – ต.115 (จำนวน 2 ลำ)
—————————————————
Marsun Shipyard
19 กุมภาพันธ์

ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) ได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยนายสำราญ รอดเพชร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ และคณะผู้บริหารหน่วยงานในกำกับ อว พร้อมคณะสวพ.ทร. เยี่ยมชมบริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน)  พร้อมรับฟังการดำเนินงานของบริษัทและหารือแนวทางความร่วมมือระหว่างสองฝ่าย โดยมี นายภัทรวิน จงวิศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทฯ และคณะให้การต้อนรับ ณ บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) จังหวัดสมุทรปราการ

นายภัทรวิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทฯ กล่าวว่า บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523 ผ่านงานต่อเรือให้หน่วยงานราชการ กองทัพเรือไทย กองทัพเรือต่างประเทศ และหน่วยงานเอกชนที่ใช้เรือในเชิงพาณิชย์ อาทิเช่น เรือยนต์ตรวจการณ์ความเร็วสูง เรือตรวจการณ์ติดอาวุธนำวิถี  เรือรับส่งลูกเรือและบริการแท่นขุดเจาะน้ำมัน เรือสำราญ เรือขจัดคราบน้ำมัน และเรือเอนกประสงค์ ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมามากกว่า 40 ปี มาร์ซันจึงมีองค์ความรู้ด้านการออกแบบและการพัฒนาแบบเรือเป็นของตนเอง รวมถึงกระบวนการต่อสร้างเรือ และการควบคุมคุณภาพที่ได้มาตรฐาน จึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าเป็นอย่างดีตลอดมา นอกจากนี้บริษัทฯมีความพร้อมและยินดีให้ความร่วมมือกับทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาและบูรณาการองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับการต่อเรือ โดยมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่ออุตสาหกรรมต่อเรือของประเทศไทย

ด้าน ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก รมว.อว. เผยว่า มีความชื่นชมยินดีอย่างมาก ที่ได้เห็นความสามารถของคนไทย โดยเฉพาะบริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) ที่สร้างและพัฒนาอุตสาหกรรมด้านนี้ให้แก่หน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนั้น รมว.อว. ให้ความเห็นว่าระหว่างกระทรวง อว. และ บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) ควรหารือแนวทางความร่วมมือระหว่างกัน เนื่องจาก อว. มีทั้งการวิจัยและนวัตกรรมที่พร้อมจะสนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเรือ

“ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 ผมมองว่าเราควรร่วมกันคิด ร่วมกันสร้างและพัฒนาอุตสาหกรรมด้านนี้ให้เป็นไปในแนวทางของยุทธศาสตร์ประเทศ โดยมุ่งหวังให้เกิดเป็นยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ”

ในนามของบริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสต้อนรับท่านรัฐมนตรีและคณะ รวมถึงแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน โดยบริษัทฯ มุ่งมั่นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมต่อเรือไทยให้มีสมรรถนะทัดเทียมในระดับสากล ดั่งปณิธานของบริษัทที่ยึดมั่นมาตลอด 40 ปีว่า “มาร์ซันเป็นอู่เรือที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูง เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก”

On February 18, 2021, Marson Public Company Limited was greatly honored by the minister of Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation and delegates to visit Marsun shipyard, a major leader of shipbuilding and ship repair in Thailand.

Marsun was established in 1980, with over 40 years of experience, Marsun has continuously developed in-house know-how in ship designs including the process of shipbuilding and global standard quality control. These are the reason why many clients have poured their trust toward us. Marsun has worked in shipbuilding for government agencies, Royal Thai Navy, and Foreign Navy such as Fast Patrol Craft, Fast Attack Missile Craft. Also, Marsun provided Crew and Supply Vessels, Ferries, Motor Yachts, Oil Spill Recovery Vessels, Multi-Purpose Craft for private clients. Furthermore, Marsun is willing to cooperate with both government and private agencies to develop and integrate the knowledge of innovation and technology to increase the capability of Thai shipbuilding industry. - said Marsun CEO, Mr. Patrawin Chongvisal.

Prof. Dr. Anek Laothamatas - Minister of Higher Education, Science, Research and Innovation revealed that he was very delight to see the ability of Thai people especially Marson Public Company Limited, which creates and develops shipbuilding industry for government agencies, private agency both domestic and international.

Once again, on behalf of Marsun Public Company Limited, we are very pleased that had the opportunity to welcome the Minister and delegates including all the honorable guests. Marsun strives to enhance the capabilities of the Thai shipbuilding industry to be on par with the international level. As the company's commitment to adhere for over 40 years that "Marsun aims to be high quality and high performance shipyard which gain acceptance in global shipbuilding industry"

ที่มา : https://www.mhesi.go.th/.../3230-2021-02-18-09-36-51.html...
#มาร์ซัน #MarsunShipyard #อู่ต่อเรือไทยเพื่อสังคมไทย
—————————————————
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด ต.114 - ต.115

Sattahip News//ผบ.ทร.รับมอบเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.114 และ เรือ ต.115 รองรับการปฏิบัติภารกิจกองทัพเรือ

วันนี้ (29 มี.ค.64) เวลา 13.00 น. พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.114 และ เรือ ต.115 จำนวน 2 ลำ ณ ท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี พลเรือเอก วศินสรรพ์ จันทวรินทร์ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ ในฐานะประธานกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง พลเรือเอก สุทธินันท์  สมานรักษ์ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ พลเรือตรี สุเทพ ลิมปนันท์วดี ผู้บัญชาการกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ ข้าราชการกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ และแขกผู้มีเกียรติให้การต้อนรับ

โดยภายในพิธิได้นิมนต์พระสงฆ์ จำนวน 10 รูป จากวัดสัตหีบ มาเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กำลังพลประจำเรือทั้ง 2 ลำ และแขกผู้มีเกียรติที่เข้าพิธี

พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวว่า กองทัพเรือได้ดำเนินการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง จำนวน 2 ลำ เพื่อใช้ในภารกิจถวายความปลอดภัยแด่พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ การลาดตระเวนตรวจการณ์ คุ้มครองเรือประมงและเรือสินค้า ป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเลและท่าเรือ ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายในทะเล การรักษากฎหมายในทะเล ตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือสาขาต่างๆ และการบรรเทาสาธารณภัยให้แก่พี่น้องประชาชนทั้งในทะเลและชายฝั่ง โดยได้ว่าจ้างให้ บริษัท มาร์ซัน จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ นับได้ว่าเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือภายในประเทศ อีกทั้งยังเป็นการประหยัดงบประมาณมากกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ โดยแบบเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งทั้งสองลำนี้ ได้รับการพัฒนาปรับปรุงมาจากแบบเรือชุดเรือ ต.111 โดยภายหลังจากพิธีรับมอบเรือแล้ว จะเข้าประจำการที่กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ ต่อไป

สำหรับเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.114 และ เรือ ต.115 นี้ สามารถปฏิบัติภารกิจได้ครอบคลุมพื้นที่อ่าวไทยและทะเลอันดามัน สามารถตรวจจับ ติดตาม และพิสูจน์ทราบเป้าผิวน้ำได้ด้วยระบบตรวจการณ์ของเรือ มีความคงทนต่อทะเลที่ดีในสภาวะทะเลระดับ 5 และปฏิบัติการทางเรืออย่างต่อเนื่องในทะเลได้ไม่น้อยกว่า 10 วัน โดยลักษณะทั่วไป มีความยาวตลอดลำ 36.00 เมตร ความกว้างของเรือ 7.60 เมตร ความลึกของเรือ 3.60 เมตร กินน้ำลึกตัวเรือไม่เกิน 1.75 เมตร ความเร็วสูงสุดที่ระวางขับน้ำเต็มที่ไม่ต่ำกว่า 27.0 นอต ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 1,200 ไมล์ทะเล กำลังพลประจำเรือตามอัตรา 44 นาย ส่วนอาวุธประจำเรือ อาวุธปืนหลัก ปืนกลขนาด 30 มม. ติดตั้งบริเวณหัวเรือ จำนวน 1 แท่น และอาวุธรอง ปืนกลขนาด .50 นิ้ว ติดตั้งบริเวณกราบเรือซ้ายขวา จำนวน 2 แท่น

นิราช ทิพย์ศรี /นันทพล  ทิพย์ศรี  อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 0909535645,0945565622/086-3684323

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น