รถถังหลัก T-84 OPLOT ออกแบบโดยบริษัท Kharkiv Morozov Machine Building Design Bureau (KMDB) และสร้างโดย Malyshev Plant ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ (State-owned Enterprise) ของประเทศยูเครน คำว่า “OPLOT” เป็นภาษายูเครน ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Bulwark” ซึ่งหมายถึง “ป้อมปราการหรือที่มั่นสำหรับต่อสู้กับข้าศึก” เป็นรถถังยุคใหม่ที่มีความทันสมัย ถูกออกแบบให้เป็นรถถังที่มีอำนาจการยิงที่รุนแรง มีความแม่นยำสูง มีระบบป้องกันตัวเองที่เชื่อถือได้ และมีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูง สามารถปฏิบัติการในสภาพพื้นที่ที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันอย่างมาก คือตั้งแต่ -40 องศาเซลเซียส ถึง + 55 องศาเซลเซียส หรือแม้กระทั่งการปฏิบัติการในพื้นที่ ที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 3000 เมตร รถถัง OPLOT ก็ยังสามารถปฏิบัติภารกิจได้เป็นอย่างดี
รถถังหลัก T-84 OPLOT เป็นรถถังที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากตั้งแต่ รถถังหลักรุ่น T-64 ซึ่งเป็นรถถังที่ใช้ระบบบรรจุกระสุนแบบอัตโนมัติ (Autoloader) รุ่นแรกของโลก จนมาถึงรถถัง รุ่น T-80UD ก่อนจะกลายมาเป็นรถถัง T-84 OPLOT ในปัจจุบัน รถถังรุ่นนี้ มีการเปลี่ยนแปลงจากรุ่นเดิมหลายรายการ อาทิเช่น ป้อมปืนรุ่นใหม่ เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1,200 แรงม้า เกราะปฏิกิริยาแบบใหม่ กล้องเล็งแบบใหม่ ระบบต่อต้านการตรวจการณ์ด้วยสายตาที่เรียกว่า “Varta” ที่สามารถป้องกันการตรวจจับหรือการเล็งเกาะเป้าหมาย (Tracking) ด้วยแสงเลเซอร์ รวมถึงการมีระบบก่อกวนสัญญานคลื่นอินฟราเรด ซึ่งนิยมใช้ในระบบอาวุธนาวิถีต่อสู้รถถังทั่วๆไปอีกด้วย ซึ่งทำให้รถถังรุ่นนี้สามารถเพิ่มความอยู่รอดในสนามรบได้มากขึ้น
องค์ประกอบหลัก ที่สำคัญของรถถังหลักโดยทั่วไปประกอบด้วย
อำนาจการยิง (Fire Power)
การป้องกันตนเอง (Protection)
ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ (Mobility)
1.อาวุธหลัก : ปืนใหญ่รถถังแบบลำกล้องเรียบ ขนาด125 มม. แบบ KBA-3 (ตระกูลเดียวกับปืนใหญ่รถถัง แบบ 2A46M1 หรือ D-81 TM ของสหพันธรัฐรัสเซีย) ผลิตโดยสาธารณรัฐยูเครน ใช้การบรรจุกระสุนแบบอัตโนมัติ (Autoloader ) ความเร็วในการยิง 8 นัด/นาที สามารถทำการยิงกระสุนได้ 4 ชนิดได้แก่
APDSFS
HEAT
HE-FRAG
ATGM (Anti-Tank Guided Missiles)
ปืนกลร่วมแกน แบบ KT-7.62 (PKT) ขนาด 7.62 มม.
ปืนกลต่อสู้อากาศยานแบบ KT-12.7 ขนาด 12.7 มม แบบควบคุมระยะไกลจากภายในตัวรถ (Remote Control)
ระบบป้องกันตนเอง
สิ่งที่ช่วยในการป้องกันการถูกโจมตีด้วยการยิงด้วยกระสุนชนิดต่างๆ จากรถถังข้าศึก ประกอบด้วย เกราะแบบหลายชั้น , เกราะปฏิกิริยาชนิดป้องกันหัวรบแบบ Tandem แบบติดตั้งจากโรงงาน (BATW-ERA) เกราะป้องกันทุ่นระเบิด ซึ่งจัดเป็นการป้องกันเชิงรับ รถถัง OPLOT ยังมีระบบป้องกันตนเองเชิงรุก ได้แก่ ระบบต่อต้านการโจมตีโดยอาวุธนำวิถีที่ใช้สายตาในการควบคุม (Optronic) ที่เรียกว่า Varta ซึ่งหมายถึงการคุ้มกัน (Guard) นั่นเอง ระบบนี้จะประกอบด้วย การแจ้งเตือนการถูกเล็งเกาะเป้าหมาย (Tracking) ด้วยแสงเลเซอร์เพื่อนำวิถีให้อาวุธต่อสู้รถถังหรือวัดระยะเพื่อทำการยิงปืนใหญ่รถถัง, การรบกวนคลื่นอินฟราเรดและการสร้างฉากควันเพื่อป้องกันตัว รถถังรุ่นนี้ยังมีระบบป้องกัน นชค., ระบบช่วยลดการมองเห็นจากข้าศึก โดยการใช้สีพรางตัวแบบพิเศษระบบป้องกันการแพร่รังสีความร้อนจากเครื่องยนต์ อีกทั้งสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพื่อกวาดทุ่นระเบิดได้อีกด้วย
ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่
รถถัง OPLOT มีเครื่องยนต์ที่มีกำลังเครื่องยนต์สูงและยังมีระบบช่วยการทำงานของเครื่องยนต์ อันได้แก่ ระบบจ่ายน้ำมัน ระบบป้อนอากาศ ระบบหล่อลื่น ระบบให้ความเย็น ระบบระบายแก๊สจากเครื่องยนต์ ระบบให้ความร้อนเครื่องยนต์เบื้องต้นและระบบทำความร้อนในห้องทำงานพลประจำ จุดเด่นอีกประการหนึ่งของ รถถัง OPLOT คือ การเคลื่อนที่ถอยหลังได้อย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากมีการออกแบบชุดส่งกำลัง อันประกอบไปด้วย กล่องเกียร์ เฟืองท้ายส่งกำลังถอยหลัง ทำงานร่วมกับระบบควบคุมการเคลื่อนที่แบบซับซ้อนเช่น เฟืองขับ ระบบสายพาน ระบบพยุงตัวรถ นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์พิเศษอื่นๆ อีกเช่น อุปกรณ์ลุยน้ำลึก อุปกรณ์ตรวจการณ์ด้วยสายตาและนำทางเบื้องต้น อุปกรณ์ตรวจการณ์ด้วยสายตาเวลากลางวัน อุปกรณ์ช่วยขับเวลากลางคืน อุปกรณ์ช่วยนำทางเบื้องต้น (นำทางด้วยไจโร) อุปกรณ์เป่าลมที่ช่วยทำความสะอาดอุปกรณ์ตรวจการณ์ด้วยสายตาของป้อมปืนและตัวรถ ระบบช่วยนำทางด้วยดาวเทียม ( GPS )
สำหรับการติดต่อสื่อสารของรถถัง OPLOT นั้น คาดว่าทางกองทัพบกคงใช้ชุดวิทยุที่สามารถใช้ร่วมกันกับชุดวิทยุที่มีใช้อยู่เดิมในกองทัพบกแล้ว เพื่อง่ายต่อการฝึกและสอดคล้องกับการปฏิบัติงานด้านยุทธการและการส่งกำลังบำรุง
ระบบป้อนกระสุนปืนใหญ่รถถัง
เป็นระบบที่ทำหน้าที่ป้อนกระสุนที่มีอยู่เข้าสู่ปืนใหญ่รถถังโดยอัตโนมัติ ประกอบไปด้วยสายพาน เครื่องบรรจุกระสุนอัตโนมัติและระบบควบคุม เป็นชนิด กลไกไฟฟ้าไฮดรอลิค ด้วยมุมบรรจุคงที่มีแบบของกระสุน 4 แบบ ความจุกระสุนในช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle) มีจำนวน 28 นัด การหมุนตัวของช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle) สามารถหมุนได้สองทิศทางที่ความเร็วในการหมุนประมาณ 25-33 องศาต่อวินาที อัตราเร็วในการบรรจุกระสุนต่อนัดประมาณ 7 วินาที
ระบบควบคุมการป้อนกระสุนติดตั้งเอาไว้ในรถถังเพื่อ ทำการควบคุมกลไกและไฮดรอลิคของระบบป้อนกระสุน ควบคุมวงรอบการยิงปืนใหญ่และปืนกลร่วมแกนเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชนิดกระสุนที่ถูกบรรจุเอาไว้ในช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle)
ระบบควบคุมการยิงของปืนใหญ่รถถัง
ได้รับการปรับปรุงให้สามารถทำงานอัตโนมัติในการควบคุมระบบอาวุธไม่ว่าจะเป็นการยิงมุมสูงมาก หรือในมุมยิงทางข้างภายใต้สภาพการณ์ต่างๆ ของการยิงนอกเหนือไปจากการยิงแบบมาตรฐาน ผู้บังคับรถสามารถทำการควบคุมปืนใหญ่รถถังและปืนกลร่วมแกนแยกจากพลยิงได้โดยตรง และยังทำให้สามารถทำการยิงปืนกลต่อสู้อากาศยานได้จากสถานีผู้บังคับรถ
เมื่อทำการเล็งอย่างประณีตตั้งแต่ 0.05 ถึง 1 องศา/วินาที ใช้เวลามากที่สุดไม่เกิน 3 องศา/วินาที
มุมทิศ ไม่ต่ากว่า 0.05 องศา/วินาที
เครื่องหาระยะด้วยแสงเลเซอร์
สามารถหาระยะได้ตั้งแต่ 400 – 9,000 เมตร ความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 10 เมตร ใช้เวลาเตรียมการภายใน 3 นาที
เวลาในการเตรียมการยิงสำหรับกระสุนนัดแรกของปืนใหญ่รถถัง
เมื่อรถถังอยู่กับที่ ใช้เวลาในการเตรียมการประมาณ 10-12 วินาที
เมื่อรถถังเคลื่อนที่ใช้เวลาในการเตรียมการประมาณ 10-15 วินาที
ระยะยิงหวังผลของปืนใหญ่รถถังในกระสุนแต่ละประเภท
กระสุน APDSFS มีระยะยิงหวังผล 2,800 เมตร
กระสุน HEAT มีระยะยิงหวังผล 2,600 เมตร
กระสุน HE-FRAG มีระยะยิงหวังผล 2,600 เมตร
ระบบเครื่องควบคุมการยิง
ประกอบไปด้วย กล้องเล็งกลางวันแบบ 1G46M ของพลยิง, กล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนแบบ PTT-2 กล้องเล็งและตรวจการณ์ของผู้บังคับรถแบบ PNK -6 ศูนย์เล็งปืนกลต่อสู้อากาศยานแบบ PZU -7, ระบบควบคุมการยิงปืนกลต่อสู้อากาศยานแบบ 1ETs 29M1, คอมพิวเตอร์คำนวณ ขีปนวิธีแบบ LIO–V พร้อมด้วยเซ็นเซอร์ป้อนข้อมูล, อุปกรณ์รักษาการทรงตัวของอาวุธแบบ 2E42M และอื่นๆ
กล้องเล็งของพลปืน แบบ 1G46M
กล้องเล็งแบบกลางวันของพลยิงมีระบบการทรงตัวแบบสองแกนตามแนวสายตาทำงานร่วมกับอุปกรณ์หาระยะด้วยเลเซอร์และทำหน้าที่ในการนำวิถีจรวดต่อสู้รถถังได้อีกด้วย มีการติดตั้งอุปกรณ์คำนวณแก้การเอียงของปืนแบบอัตโนมัติ กล้องเล็งมีกำลังขยายตั้งแต่ 2.7-12 เท่า ภายในกล้องเล็งของพลยิงจะแสดงข้อมูลอื่นๆ เช่น เส้นเล็งแบบมีมาตราสำหรับใช้ยิงกระสุนชนิดต่างๆ เช่นเดียวกับข้อมูลสำหรับปืนกลร่วมแกน โดยเส้นเล็งแบบมาตรานี้มีประโยชน์ในการใช้เป็นระบบวัดระยะสำรองในกรณีที่เครื่องหาระยะด้วยแสงเลเซอร์ใช้งานไม่ได้ และเพื่อป้องกันกล้องเล็งจากแสงวาบจากประกายไฟจากการยิงของอาวุธของตัวเองในช่องเล็งได้มีการติดตั้งเซ็นเซอร์แสง ซึ่งจะปิดกล้องเล็งเมื่อมีการยิง ระบบควบคุมกล้องเล็งช่วยให้พลยิงสามารถเล็งตามเป้าได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ อุปกรณ์หาระยะด้วยเลเซอร์มีระยะปฏิบัติการถึง 9,990 เมตร คลาดเคลื่อนเพียง +/- 10 เมตร ระยะที่วัดได้จะแสดงเป็นตัวเลขพร้อมๆ กับข้อมูลการเตรียมการยิงอื่นๆ เช่น ชนิดของกระสุนที่ส่วนล่างของกล้องพลยิง
กล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนแบบ PTT-2
กล้องเล็งแบบสร้างภาพด้วยความร้อน PTT-2 ประกอบไปด้วยกล้องเล็งของพลยิง และจอมอนิเตอร์ของผู้บังคับรถรวมทั้งแผงควบคุม โดยปกติกล้องนี้จะถูกควบคุมการทำงานโดยพลยิง แต่ผู้บังคับรถสามารถควบคุมแยกจากพลยิงได้ไม่ว่าจะเป็นการเล็ง หรือทำการยิงทั้งปืนใหญ่รถถัง หรือปืนกลร่วมแกนโดยใช้ระบบควบคุม และจอมอนิเตอร์สร้างภาพด้วยความร้อนของตน กล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนนี้ช่วยให้ทั้งพลยิงและผู้บังคับรถสามารถทำการยิงได้อย่างแม่นยำในสภาพทัศนะวิสัยจำกัด เช่น มีหมอกควัน หรือการปฏิบัติในเวลากลางคืน รวมทั้งปฏิบัติงานในลักษณะ Hunter killer ได้
กล้องตรวจการณ์ของผู้บังคับรถแบบ PNK -6
เป็นระบบกล้องเล็งและตรวจการณ์ของ ผบ.รถ โดยผสมผสานกล้องกลางวันและกล้องกลางคืนแบบ TKN -5 ไว้ด้วยกัน มีระบบรักษาการทรงตัวของกล้อง โดยกล้องกลางวันมีกำลังขยาย 7.6 เท่า และกล้องกลางคืนมีกำลังขยาย 5.8 เท่า โดยกล้องนี้จะทำงานร่วมกันกับเครื่องวัดระยะด้วยแสงเลเซอร์
ระบบอาวุธนำวิถีของรถถัง
มีไว้เพื่อใช้ทำการยิงอาวุธนำวิถีจากลำกล้องปืนใหญ่รถถัง ด้วยการเล็งจากกล้องเล็งแบบ 1G46M ของพลยิง อาวุธนำวิถีที่ใช้ยิงเป็นแบบ IZD 621, 3UBK 14, 3UBK 20 ชนิดหัวรบแบบระเบิดต่อสู้รถถัง (HEAT ระบบนำวิถีเป็นกึ่งอัตโนมัตินำวิถีด้วยแสงเลเซอร์ ระยะยิงไกลสุด 5,000 เมตร ซึ่งเป็นระยะยิงที่ไกลกว่าระยะของปืนใหญ่รถถัง ทำให้รถถัง OPLOT ได้เปรียบรถถังอื่นๆ
เครื่องคำนวณขีปนวิธีของรถถังแบบ TIUS-VM
ใช้ในการคำนวณแก้ค่าขีปนวิธีของกระสุนปืนใหญ่รถถัง โดย คอมพิวเตอร์แบบ LIO-V จะนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ จากระบบเซ็นเซอร์ที่วัดค่าได้ เช่น ความเร็วรถถัง, ความเร็วเชิงมุมของเป้าหมาย, อาการเอียงของแกนลำกล้องปืนใหญ่, ความเร็วของลมพัดขวาง, ระยะเป้าหมาย และมุมภาคของเป้าหมาย นอกจากนี้ข้อมูลอื่นๆ ก็จะถูกนำเข้าด้วยมือ เช่น อุณหภูมิโดยรอบ, อุณหภูมิดินส่งกระสุน, อาการสึกของลำกล้องปืนใหญ่ และความดันของอากาศโดยรอบ เป็นต้น นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังทำการคำนวณเวลาที่เหมาะสมสำหรับกระสุนแบบ ดินระเบิดแรงสูงแบบมีสะเก็ด ( HE-FRAG ) ให้ระเบิดเหนือเป้าหมายได้อีกด้วย ระบบควบคุมการยิงมีประสิทธิภาพสูง เมื่อปุ่มไกปืนถูกกด ปืนจะทำการยิงก็ต่อเมื่อมีการแก้ค่าความแตกต่างระหว่าง แนวเส้นเล็งกับแนวแกนปืนใหญ่รถถังอยู่ในย่านที่ยอมรับได้ ขนาดของ “มุมยิง” ขึ้นอยู่กับระยะยิง และปัจจัยอื่นๆ ลำกล้องปืนใหญ่รถถังสามารถทำงานผิดเพี้ยนไปได้ด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น ความร้อนจากการยิง, ฝนตกบนพื้นผิว, การแพร่กระจายคลื่นความร้อน หรือลมพัดขวางเป็นต้น ผลจากปัจจัยเหล่านี้ถูกลดลงโดยการนำเอาแผ่นกันความร้อนลำกล้องมาใช้ และเพื่อแก้ไขอาการคลาดเคลื่อน เนื่องจากความร้อนที่แพร่ออกจากลำกล้องปืนใหญ่ ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่ปากลำกล้องเพื่อส่งข้อมูลเกี่ยวกับการคลาดเคลื่อนของลำกล้องให้กับคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิถีทำการแก้ไขทันที
เซ็นเซอร์ป้อนข้อมูลคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิธีปืนใหญ่
เครื่องวัดมุมเอียง (Cant Sensor) ตัวเซ็นเซอร์หรือตัวตรวจจับนี้มีหน้าที่พิจารณาตำแหน่งของการเอียงของปืนทั้งสองแนวระนาบ เพื่อป้อนให้กับคอมพิวเตอร์คำนวณการยิง
เครื่องวัดความเร็วลมทางข้าง (Cross Wind Sensor) มีหน้าที่วัดความเร็วลมที่เกิดการพัดขวาง เพื่อป้อนข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิถีของปืนใหญ่รถถัง
เครื่องวัดความเร็วรถถัง (Tank Speed Sensor) มีหน้าที่วัดความเร็วรถถังในขณะเคลื่อนที่ เพื่อป้อนข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิถีของปืนใหญ่รถถัง
เครื่องวัดค่าตำแหน่งป้อมปืนเชิงมุม (Turret Attitude Sensor) มีหน้าที่วัดตำแหน่งเชิงมุมของป้อมปืนที่ทำกับตัวรถ (มุมป้อมปืน) เพื่อป้อนให้กับคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิถีปืนใหญ่รถถัง
ระบบจุดอ้างปากลำกล้อง (Muzzle Reference System : MRS)
ระบบนี้มีหน้าที่ในการวัดค่าการบิดงอตัวของลำกล้อง เพื่อทำการป้อนข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิธีปืนใหญ่รถถัง
แผ่นเกราะปฏิกิริยา (ERA) ประกอบด้วย
โมดูลผลึกแก้ว และแผ่นชายน้ำที่ติดเอาไว้ที่ตัวรถ เช่นเดียวกับชุดเกราะที่นำมาติดเอาไว้ด้านนอกของป้อมปืนตอนหน้าและด้านข้าง และด้านบนของป้อมปืน เกราะปฏิกิริยาแบบ Nozh ติดตั้งเอาไว้บริเวณตำแหน่งต่างๆ เพื่อป้องกันหัวรบแบบดินโพรง(Shape Charge) จากกระสุนระเบิดต่อสู้รถถัง (HEAT) ทุกแบบ และกระสุนเจาะเกราะทรงตัวด้วยครีบหางสลัดครอบทิ้งเอง (APFSDS) เกราะปฏิกิริยาแบบ Nozh ที่เป็นส่วนหนึ่งของชุดเกราะ จะไม่ระเบิดเมื่อถูกยิงด้วยกระสุน 12.7 มม., 30 มม.เจาะเกราะและสะเก็ดของกระสุนขนาดต่างๆ เกราะ Nozh จะถูกเก็บเอาไว้ในกล่องเก็บ หรือไว้ในตัวรถถังเพื่อป้องกันแสงอาทิตย์ หรืออุณหภูมิที่แตกต่างกันมากตั้งแต่ -50 ถึง+55 องศาเซลเซียส และยังสามารถเก็บรักษาเอาไว้ในสภาพความชื้นสูงถึง 100 % ที่อุณหภูมิ +35 องศาเซลเซียส เกราะ Nozh นี้สามารถรักษาคุณสมบัติเหล่านี้เอาไว้ได้นาน 10 ปี
ระบบป้องกัน นชค.
ระบบป้องกันอาวุธนิวเคลียร์ชีวะเคมีแบบสร้างแรงดันสูงมีหน้าที่ป้องกันพลประจำ และอุปกรณ์ต่างๆ ภายในรถจากพลประจำ และอุปกรณ์ต่างๆ ภายในรถจากผลของอาวุธนิวเคลียร์, ฝุ่นกัมมันตภาพรังสี, สารพิษและอาวุธชีวภาพ ตัวป้องกันการแผ่รังสีถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นเส้นที่ติดเอาไว้ด้านใน และภายในสถานีของพลยิงด้านนอกของผิวรถถัง และยังมีการติดตั้งแผ่นยางเอาไว้ภายใน เพื่อป้องกันการกะเทาะของเกราะจากภายใน ระบบมีหน้าที่ป้องกันพลประจำรถ และอุปกรณ์ภายในรถจากการระเบิดของนิวเคลียร์, การแพร่กระจายของรังสีเรเดียม, สารพิษหรืออาวุธชีวะ เช่น เดียวกับการตรวจหา และดับไฟในห้องปฏิบัติการของ พลประจำรถถัง และในห้องเครื่องยนต์
ด้วยระบบป้องกันต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นทำให้ รถถัง OPLOT ถือได้ว่าเป็นรถถังที่ได้รับการป้องกันดีที่สุดแบบหนึ่งในโลก
ระบบช่วยนำทางแบบ TIUS (TIUS-NM Navigation Support System)
ระบบช่วยนำทางอาศัยข้อมูลพื้นฐานจากดาวเทียม GLONASS และ GPS NAVSTAR ระบบจะแสดงข้อมูลให้กับผู้บังคับรถเกี่ยวกับตำแหน่งที่อยู่ของรถถังของตนมุมภาคทิศ และตำแหน่งต่างๆ ของกำลังฝ่ายเดียวกัน ช่วยให้ง่ายต่อการควบคุมการดำเนินกลยุทธ์ของหน่วยรถถัง โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการปฏิบัติการในสภาพที่มีการสู้รบอย่างรุนแรงที่ต้องมีการปิดป้อม, ในเวลากลางคืน หรือในพื้นที่หมอกควันปกคลุมหนาแน่น ระบบยังแสดงข้อมูลอื่นๆ เช่นทิศทางการหันเลี้ยวให้กับพลขับ เพื่อให้มั่นใจต่อการเคลื่อนที่เข้าหาที่หมายที่ได้เลือกเอาไว้ล่วงหน้า ระบบช่วยนำทางยังช่วยให้ผู้บังคับรถถังสามารถส่งข้อมูล (รวมถึงข้อมูลที่เข้ารหัส) ผ่านทางช่องการติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอล โดยใช้ชุดวิทยุมาตรฐานที่ติดอยู่ในรถ คุณสมบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถ ในการควบคุมบังคับบัญชา เพื่อรองรับกับระบบ C4I ในอนาคต
อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร
อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร ระบบสื่อสารประกอบไปด้วยชุดวิทยุความถี่สูงมากแบบ R-030-U และชุดวิทยุความถี่สูงแบบ R-163-50K และยังมีระบบติดต่อ ภายในรถ หรืออินเตอร์คอม (สามารถติดตั้งระบบวิทยุตามที่ลูกค้าต้องการได้ทุกประเภท)
ประสบการณ์ในการทำงานร่วมกันกับประเทศต่างๆ
เป็นไปตามความต้องการของลูกค้ารถถังหลักแบบ รถถัง OPLOT สามารถติดตั้งอุปกรณ์ได้อย่างหลากหลาย เพื่อสนองตอบตรงกับความต้องการ สิ่งอุปกรณ์เหล่านั้นผลิตโดยโรงงานในประเทศต่างๆ ที่เป็นผู้นำในแต่ละชนิดอุปกรณ์ได้แก่
กล้องสร้างภาพด้วยความร้อนผลิตโดยบริษัท THALES ฝรั่งเศส
ระบบติดต่อสื่อสารภายในของพลประจำรถ ผลิตโดยบริษัท THALES ฝรั่งเศส
ปืนกลผลิตโดย Fn HERSTAL เบลเยียม
อุปกรณ์นำทางผลิตโดยบริษัท LITEF เยอรมัน
เซ็นเซอร์วัดสภาพอากาศผลิตโดย บริษัท IRDAM สวิสเซอร์แลนด์
รถถังหลักแบบ OPLOT ได้เคยผ่านการทดสอบมาอย่างหนักในหลายภูมิภาค เช่น ตุรกี, มาเลเซียและกรีซ จากการทดสอบได้แสดงให้เห็นว่ารถถังหลัก OPLOT นั้นสามารถปฏิบัติการได้เป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็นในภูมิภาคยุโรป, เอเชียและในที่อื่นๆ สามารถปฏิบัติการได้อย่างยอดเยี่ยมในทุกๆ สภาพอากาศ และในทุกๆ สภาพภูมิประเทศ การออกแบบของรถถัง OPLOT เน้นความอ่อนตัวที่สามารถปรับแต่งให้ได้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ เพื่อให้เข้ากับภารกิจที่แตกต่างกันออกไป ความอ่อนตัวเพื่อการส่งออกเหล่านี้ได้แก่ ระบบปรับอากาศ, ระบบช่วยนำทางแบบก้าวหน้าของเยอรมัน, ปืนกลร่วมแกน และปืนกลต่อสู้อากาศยานทำในเบลเยียม, ชุดวิทยุที่ออกแบบโดยฝรั่งเศส, อิสราเอล ฯลฯ รถถังถูกออกแบบโดยเน้นระบบเป็นแบบชุดสำเร็จรูป (Modular) ช่วยให้การสับเปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เพื่อสนองตอบปรับเปลี่ยนไปตามภัยคุกคามที่พัฒนาไปไม่หยุดยั้ง เช่น อาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง หรือแม้แต่การปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการของแต่ละกองทัพก็สามารถทำได้ง่าย โดยคงไว้ซึ่งอำนาจการยิง,เกราะป้องกันและความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ ปัจจุบันมีการพัฒนาปรับปรุงขีดความสามารถทางเทคนิคอยู่หลายรายการ รวมถึง ระบบปฏิบัติการในสนามรบที่ทำงานร่วมกับแผนที่ดิจิตอล ทำให้ผู้บังคับรถมีความเข้าใจสถานการณ์การรบดีขึ้น ทำให้รถถังสามารถตอบสนองความต้องการทางยุทธวิธีได้อย่างรวดเร็ว ลดภาระการทำงานของพลประจำลงรวมถึงความเสี่ยงในการยิงฝ่ายเดียวกัน, ระบบควบคุมติดตามเป้าหมายแบบอัตโนมัติในระบบควบคุมการยิง จะช่วยยกระดับความสามารถในการยิงเป้าหมายที่กำลังเคลื่อนที่ ลดความผิดพลาดในการติดตามเป้าหมายของพลยิงลง, การพิสูจน์ฝ่ายในสนามรบ, ระบบจัดการเครื่องยนต์แบบอิเลคทรอนิคส์, ระบบติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอลระหว่างรถถัง ฯลฯ
ประเภท : รถถังหลัก (Main Battle Tank : MBT)
น้ำหนักรวม : 48 ตัน +-3%
พลประจารถ : 3 นาย
อัตราส่วนกำลังต่อน้าหนัก : ไม่ต่ำกว่า 18.2 kw / ตัน (24.7 แรงม้า/ตัน)
น้ำหนักกดบนพื้นดิน : ระหว่าง 0.097 MPa ( 0.097 kg/ cm2 )
ย่านอุณหภูมิใช้งาน : -40 ถึง +55 องศาเซลเซียส
ความยาว :
ปืนใหญ่ชี้ไปข้างหน้า 9,720 มม.
ปืนใหญ่หันไปข้างหลัง 9,750 มม.
ตัวรถ 7,075 มม.
ความกว้าง :
ไม่รวมชายน้ำด้านข้างแบบถอดได้ 3,400 มม.
รวมชายน้ำด้านข้างแบบถอดได้ 4,275 มม.
สูง วัดถึงกล้องตรวจการณ์ผู้บังคับรถ 2,800 มม.
ความยาวของสายพานบนพื้น 4,290 มม.
ท้องรถสูงพ้นพื้น 470–500 มม.
สายพาน 2,800 มม.
อาวุธ :
ปืนใหญ่ลำกล้องเรียบแบบ 2A46M-1 ( KBA-3 ) ขนาด 125 มม. 1 กระบอก (สามารถยิงอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังได้)
ปืนกลร่วมแกนแบบ PKT ( KT-7.62 ) ขนาด 7.62 มม. 1 กระบอก
ปืนกลแบบ NSVT ( KT-12.7 ) ขนาด 12.7 มม. 1 กระบอก
เครื่องยิงลุกระเบิดควัน 12 ท่อยิง
ความเร็วในการเคลื่อนที่ :
เฉลี่ย (บนถนนดินธรรมชาติ) 40-45 กม./ชม.
สูงสุด (บนถนนพื้นแข็ง) 70 กม./ชม.
เมื่อใช้เกียร์ถอยหลัง :
ต่ำสุด 4.8 กม./ชม.
สูงสุด 31.3 กม./ชม.
ความสิ้นเปลืองน้ามันเพลิงต่อ 100 กม.
บนถนนดินธรรมชาติแห้ง 325-370 ลิตร
บนถนนผิวแข็ง ไม่เกิน 300 ลิตร
ระยะปฏิบัติการ :
บนถนนดินธรรมชาติ :
-ใช้น้ำมันเชื่อเพลิงจากรถถังหลัก 350 กม.
-ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากถังอะไหล่เพิ่ม 450 กม.
บนถนนผิวแข็ง :
-ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากรถถังหลัก 400 กม.
-ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากถังอะไหล่เพิ่ม 500 กม.
การข้ามเครื่องกีดขวาง :
-ลาดชัน 58 องศา
-ลาดทางข้าง 25 องศา
-คู กว้าง 2.85 เมตร
-เครื่องกีดขวางแนวตั้ง (สูง) 1 เมตร
-ลุยน้ำลึก (โดยไม่ต้องเตรียมการ) 1.8 เมตร
-ลุยน้ำลึกโดยใช้อุปกรณ์ลุยน้า 5 เมตร โดยไม่จำกัดความกว้าง และระยะทาง
กระสุน :
กระสุนสำหรับปืนใหญ่รถถัง : ทั้งหมด 46 นัด (28 นัดในช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle) สำหรับเครื่องบรรจุกระสุนอัตโนมัติ)
ชนิดของกระสุนปืนใหญ่รถถัง :
o APDSFS
o HEAT
o HE-FRAG
o ATGM (Anti-Tank Guided Missiles)
กระสุนสำหรับอาวุธอื่นๆ :
ปืนกล KT – 7.62 จานวน 1,250 นัด
ปืนกล KT – 12.7 จานวน 450 นัด
ปืนไรเฟิลแบบ AKS จานวน 450 นัด
กระสุนปืนยิงพลุสัญญาณ จานวน 12 นัด
ระเบิดมือแบบ F-1 จานวน 10 ลูก
ระเบิดสำหรับสร้างฉากควัน จานวน 12 ลูก
1. http://www.morozov.com.ua/eng/body/oplot_mbt.php
2. http://www.morozov.com.ua/eng/body/kba3.php
3. http://articles.janes.com/articles/Janes-Armour-and-Artillery-Upgrades/Malyshev-Plant-125-mm-KBA3-smoothbore-tank-gun-Ukraine.html
4. http://www.pmulcahy.com/atgm/russian_atgm.htm
5. http://www.tanknutdave.com/component/content/article/244
6. http://web.ruammid.com/t84-oplot-m/
7. PRESENTATION of State–owned Enterprise Kharkiv Morozov Machine Building Design Bureau ( KMDB )
แปลและเรียบเรียงโดย : พ.อ.ญัฐชัย บุญมาก และ พ.ท.จรัญ สุวรรณวงศ์
……………………………………………….
[PDF] ข้อมูลรถถังหลัก T-84 OPLOT : สาธารณรัฐยูเครน
ทุกอย่างสมราคา เว้นแต่บังโคลนโป่งพองอ้วนเรี่ยดินดูแล้วขัดตากับลดความน่าเกรงขามไปเยอะ ได้แต่ภาวนาอย่าให้กองทัพซื้อรุ่นที่มีบังโคลนแบบนี้มาใช้เลย สงสารพลขับคงต้องระวังกันตัวโก่ง เดี๋ยวโป่งหาย..แฮ่ๆ
ตอบลบอ่านแต่สเป็กมันก็ดีครับ ระบบอิเล้กทรอนิกส์ต่างๆถึงเวลาจะใช้ได้จริง มีปัญหาบ่อยไหม ไทยจะต้องพิสูจน์เอง แต่เรื่องมันโยกนี้ เห็นกันชัดๆ ขับนาน นานไม่เป็นพลดีกับพลประจำรถ รอดูจำนวนซ่อม
ตอบลบข้อสงสัยก็คือ เราจำเป็นจะต้องมีรถถังที่ครบเครื่องขนาดนี้เลยหรือ? ถ้าหากรบระยะไกลไม่มีอะไรน่าห่วง ทบ.มีของเล่นอื่นๆ มากมาย มี ทอ.ช่วยสนับสนุน ผมก็เข้าใจอยู่ M48/M60 มันเก่าเหลาเหย่ แต่เมื่ออยู่ในสถานการณ์สู้รบแบบพันตูใกล้ชิดนี่ Oplot มันเจ๋งแน่หรือ? เมื่อตอนเป็น T-62-T80UD มันผ่านการพิสูจน์มาหลายตลบก็จริง แต่เมื่อกลายเป็น T84 นี่สิครับน่าห่วง เพราะว่ามันควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งหมด และมันมันยังไม่เคยออกรบ มันต่างไปจากรุ่นพี่คือ T-72 ที่ผ่านสนามรบมาโชกโชน และตอนนี้อยู่ในมือของเพื่อนบ้านรอบข้าง ผมว่าประเด็นนี้น่าห่วง .. ข้อสงสัยต่อไปก็คือ อุปกรณ์พวกนี้มันใช้ได้ครบสมบูรณ์ 100% จริงหรือ อุปกรณ์หลายชิ้นที่เห็นๆ ติดตั้งอยู่ภายนอก โดดเด่น ง่ายที่จะเป็นเป้ากระทบของแรงระเบิดจากกระสุน/จรวดข้าศึก .. หากอุปกรณ์พวกนี้เสียหายจะส่งผลกระทบโดยรวมถึงระบบอำนวยหรือไม่ .. อันนี้่ก็น่าห่วงครับ มันใช้มันใช้งานได้จริงหรือ หรือมันจะทำให้เดี้ยงไปทั้งระบบ ต้องทิ้งรถหนีตัวใครตัวมัน ซึ่งขณะเดียวกัน ทบ.มีอาวุธต่อสู้รถถังประสิทธิภาพสูงตั้งมากมาย รวมทั้งระบบสตาร์สตรี้ก ที่ซื้อจากอังกฤษหมาดๆ หรือคาร์ลกุสต้าฟ ของสวีเดน ด้วยงบก้อนนี้ซื้ออีกสัก 1,000 ชุด ได้มั้ยครับ จะได้แจกให้ T-72 รอบๆ บ้านได้ทั่วถึงแบบไม่อั้น และ ด้วยงบประมาณนี้ซื้อ ฮ.อาปาเช่ ได้สักฝูงสองฝูงหรือไม่ เอาไว้ขึ้นบินส่องเป้าข้ามพรมแดน ฝึกไปในตัว.
ตอบลบทหารแก่ๆ ก็ถามไปงั้นๆ แหละครับ.
ขอประทานโทษครับสตาร์ทริกเป็นจรวดต่อสู้อากาศยานครับส่วนOPLOTยูเครนสมัยก่อนก็ผลิตรถถังป้อนกองทัพเเดงตั้งแต่WW2จนถึงยุควอซอแพคเรื่องฝีมือหายห่วงส่วนประกอบต่างๆก็ได้รับรองตามมาตรฐานISOและเรามีชุดตรวจรับมั่นใจได้ส่วนอาปาเช่นี่ราคาน้องๆF16เลยนะครับและสุดท้ายรถถังต้องปราบด้วยรถถังใครเป็นทหารย่อมรู้ดียิ่งทหารราบถ้าประสาทไม่แข็งพอไม่ได้รับการฝึกที่ดีพอเจอรถถังถึงขั้นสติแตกไปเลยไอ้ที่จะแบกจตถไปสู้นะต้องฝึกมาอย่างดีจริงๆและรถถังก็เป็นอาวุธในการเข้าตีที่ดีที่สุด
ลบมีอาวุธป้องกันประเทศ แยอะๆ ดีกว่า ม่ายมี ฉุกเฉิน รบกัน จะได้ป้องกันประเทศได้ทัน ม่ายงั้นเสียเวลาจัดหา เขมรยังซื้อรถถัง มาใช้ แล้วไทยละ ถ้ารัฐบาลให้งบมาสัก 1.1 ล้าน ล้านนะ หุ หุ ขอขอบคุณทหารที่ปกป้อง ผืนแผนดินไทย ทุกภาค โดยเฉพาะภาคใต้ ขอสดุดึวีระชน ที่เสียสละชีวิต....
ตอบลบซื้อเลยอย่าคิดมากหากคิดว่าดีแล้วเดี๋ยวจะไม่ได้ซื้ออัพเกรดมาดีแล้วไม่ไช่รึ
ตอบลบเห็นด้วยกับการจัดหา รถถัง oplot เพราะรอบบ้านเราตอนนี้จัดหนักกันทั้งนั้น
ตอบลบถึงไม่ได้ออกรบจริงมันก็ส่งผลต่อจิตวิทยา ว่าเรามีรถถังที่ดีที่สุดในโลกเวลานี้ ใครจะกล้าแหยม
จัดมาซัก 800 คันได้ยิ่งดี ทิศละ 200 คันไปเลย
นี้กำหนดส่งมอบ เดือนพฤษภาคม 2556 ไม่ใช้หรือคับ นี้ก็จะสิ่นเดือนมิถุนายนแล้ว ยังไม่มาให้เห็นตัวเลยคับ หรือโครงการมีปัญหาจนถูกพับไปแล้ว จนต้องมีการเริ่มจัดหารถถังแบบใหม่อย่างลับๆ หรือปล่าวคับ ไม่แน่ใจ
ตอบลบหรือว่าเจ้า oplot m จะไม่อาจจะเข้าประจำการแล้ว ก็คงต้องมานั่งลุ่นใหม่หรือปล่าวคับว่าหวยจะออกที่ รถถังแบบไหน
ลบข่าวนี้จริงหรือปล่าวคับ
ลบผมว่าถ้าเรื่องนี้เป็นความจริงคงอับอายขายขี่หน้ากันทั้งผู้จัดหา(กองทัพ)และประเทศผู้ผลิต(ยูเครน) แน่นอนคับ และคงเป็นข่าวที่โด่งดังในวงการค้าอาวุธทั่วโลกคับ
ตอบลบสำหรับการส่งมอบรถถัง oplot จำนวน 4-5 คันแรก ก็คงจะมีขึ้นเร็วๆ นี้แหละครับ ซึ่งเหตุที่การนำส่งรถถังดังกล่าวต้องล่าช้าออกไป จากที่กำหนดจะมีการส่งมอบภายในเดือน พ.ค.56 ไม่ใช่เพราะบริษัทผู้ผลิตเขาสร้างยังไม่เสร็จ แต่เกิดจากปัญหาเพียงเล็กน้อยคือ การเลือกสีเพื่อทำสีรถของทางกองทัพบกยังไม่ได้ข้อยุติ..
ตอบลบเวลา 21.00 น.วันที่โพทนี้ คณะตรวจรับมอบยุทโธปกรณ์เดินทางไปรับรถที่ยูเคนแล้วครับ
ตอบลบดูt72ซีเรียเจอrpg29แล้วเสียววาบๆ เวียดนามก็มีใช้สะด้วย
ตอบลบT-72นี่ต้องไปเปรียบรุ่นกับ T-80UD T-84mของเราต้องไปเปรียบกับ T-90msซึ่งพัฒนามาจาก T-72อีกทีนึงครับ ... T-72ออกแบบเป็นรถถังราคาถูก สามารถผลิตจำนวนมากแจกให้ประเทศลิ่วล้อและขายให้พันธมิตรได้เพราะราคาไม่สูงนัก เทคโนฯในการผลิตเกราะไม่ซับซ้อนจึงไม่ค่อยทนทานต่อการถูกยิง ...
ลบแต่ T-80ud รัสเซียปั้นให้เป็นรถถังชั้นหนึ่งที่มีเฉพาะรัสเซียใช้งานเทคโนฯเกราะหลายชั้นเหมือนรถถังชั้นนำเช่นเจ้าเสือดาวเลโอพาร์ดจากเยอรมัน ชาแลนเจอร์จากอังกฤษ หรือ M-1ของอเมริกา ราคาจึงแพงมาก... รัสเซียใช้T-80u/T-80ud แต่แจก T-72ให้พันธมิตรเป็นทัพหน้ายันกับนาโต้ เหมือนที่อเมริกาให้ M-60แก่พันธมิตรในการเป็นทัพหน้ายันทัพวอร์ซอแพ็ค แต่ตัวเองใช้ M-1นั่นแหละครับ ...
พอรัสเซียพัฒนาT-72มาเป็น T-90 ยูเครนที่แยกตัวจากรัสเซียจึงนำ T-80ud มาพัฒนาเป็น T-84m ดังนั้นเราควรภูมิใจที่ได้รถถังสายพันธ์เทคโนฯชั้นสูงมาใช้งานครับ