หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2564

รวมภาพ การฝึกกองทัพเรือ ประจำปี งป. 2564 EP.3

24 มีนาคม เวลา 21:10 น.
กองบิน 7 จัดเครื่องบิน GRIPEN จากฝูงบิน 701 และ SAAB 340 AEW จากฝูงบิน 702 เข้าร่วมการฝึกกับชุดเรือเฉพาะกิจในการฝึกกองทัพเรือประจำปี  2564 บริเวณอ่าวไทย เมื่อวันที่ 19 มี.ค.64

การฝึกที่สำคัญ ได้แก่ การสนับสนุนการป้องกันภัยทางอากาศให้กับกองเรือ, การฝึกควบคุมอากาศยานกองทัพอากาศโจมตีเป้าหมายผิวน้ำโดยเจ้าหน้าที่ควบคุมของเรือ ตลอดจนการบินลาดตระเวนควบคุมและแจ้งเตือนระยะไกล ตามแนวทางการปฎิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operations) ระหว่าง กำลังทางอากาศกับกำลังทางเรือ ด้วยการแลกเปลี่ยนภาพสถานการณ์ในพื้นที่ปฏิบัติการผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link ) ระหว่างเครื่องบิน SAAB 340AEW กองเรือ ส่วนบัญชาการและควบคุม และเครื่องบิน GRIPEN ได้อย่างสมบูรณ์

ทั้งนี้ การฝึกร่วมดังกล่าวจะทำให้กำลังทางเรือและกำลังทางอากาศ สามารถปฏิบัติการร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย เพิ่มขีดความสามารถในการปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และห้วงอากาศเหนืออาณาเขตทางทะเล พร้อมในการต่อสู้กับภัยคุกคามต่างๆ เพื่อปกป้องอธิปไตยและบูรณภาพของราชอาณาจักรไทยสืบไป
—————————————————
เรือหลวงจักรีนฤเบศร
23 มีนาคม เวลา 06:00 น.  · 
ภาพสวยๆ... ระหว่างเรือเดิน
ส่วนหนึ่งของภาพและกิจกรรมระหว่างเดินทาง​
—————————————————
24 มีนาคม เวลา 08:24 น.
Royal Thai Navy ready to protect Andaman Sea

ภาพการรวมกำลังของเรือต่างๆ ในกองทัพเรือ ในการแสดงศักยภาพเตรียมพร้อมพิทักษ์พื้นที่ทะเลฝั่งอันดามัน ในการฝึกกองทัพเรือประจำปี 2564 ณ กลางทะเลพื้นที่แหลมพันวา จังหวัดภูเก็ต

ตามที่กองทัพเรือได้จัดการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล (FTX) ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปีงบประมาณ 2564 ในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งในห้วงระหว่างวันที่ 22 – 23 มีนาคม 2564 เป็นการฝึกการป้องกันพื้นที่ทางทะเล โดยกำลังทัพเรือภาคที่ 3 รับมอบภารกิจในการป้องกันพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันและปฏิเสธการใช้ทะเลของกำลังทางเรือฝ่ายข้าศึก และมีเรือที่เข้าร่วมการฝึกป้องกันพื้นที่ ประกอบด้วย ร.ล.ตากสิน ร.ล.กระบุรี ร.ล.สุโขทัย ร.ล.กระบี่ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ร.ล.ศรีราชา เรือ ต.992 และ ร.ล.มาตรา ซึ่งได้เดินทางมาเข้าจอดทอดสมอ ณ กลางทะเลพื้นที่แหลมพันวา จังหวัดภูเก็ต เพื่อเตรียมการฝึกในครั้งนี้

วัตถุประสงค์ในการฝึกครั้งนี้ เพื่อทดสอบขีดความสามารถในการอำนวยการยุทธ์ การบังคับบัญชา การทดสอบความสามารถในการปฏิบัติตามแนวความคิดการใช้กำลังของกองทัพเรือในการป้องกันพื้นที่ และการดำเนินยุทธวิธีเพื่อตรึงกำลังข้าศึกและปฏิเสธการใช้ทะเลด้านฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อให้มีความพร้อมรบขั้นสูงสุดตามแผนป้องกันประเทศ

นับว่าการฝึกกองทัพเรือประจำปี 2564 ในครั้งนี้ เป็นการฝึกครั้งสำคัญที่มีการบูรณาการกำลังของทุกหน่วยงานในกองทัพเรือ เข้าร่วมการฝึก ณ พื้นที่ฝั่งทะเลฝั่งอันดามัน ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพของกองทัพเรือไทย ที่พร้อมจะปกป้องอธิปไตย รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และดูแลพี่น้องประชาชนให้ปลอดภัยในทะเล ให้สมกับที่เป็นกองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ
—————————————————
รวมพล คนรักทหารเรือ (I Love Navy)
26 มีนาคม เวลา 07:09 น.  · 
I ❤️ N A V Y #ทหารเรือมาเล่า #เบื้องหน้าเบื้องหลัง #ความแม่นยำ #การฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ Harpoon Block 1C (ฮาร์พูนบล็อกวันชาลี) #ครั้งประวัติศาสตร์ชนเป้าระยะ 102 กม.

ชัดๆ จากกล้องของทีมงานสารคดีกองทัพเรือ ร่วมกับ กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ

การยิง Harpoon Block 1C เมื่อ วันที่ 25 มี.ค. 64 นั้น เป็นการยิง “ลูกที่ใช้ในการรบจริงๆ” เรียกง่ายๆ ว่าแบบนี้ กล่าวคือ ปกติเพื่อความปลอดภัย Harpoon สามารถถอดหัวรบ (Tactical Warhead) แล้วติดตั้งอุปกรณ์ Telemetry และ ระบบ Flight Terminate Section เพื่อทำลายตัวเองในกรณีที่เกิดการทำงานผิดพลาด รวมทั้งจะลดน้ำมันเชื้อเพลิงของลูกอาวุธปล่อยฯ ให้เหลือเท่าที่ระยะที่จะยิง

แต่ครั้งนี้ ไม่มีการเปลี่ยนและติดตั้งอะไรเพิ่มเติม คือ ใช้ Tactical Warhead และ ไม่ลดน้ำมัน แปลว่าถ้ามันทำงานผิดพลาด จะโคจรได้เต็มระยะ คือ 67++ ไมล์ ซึ่งอาจจะไปได้ไกลสุดถึง 75 ไมล์

นอกจากนั้น การยิงในครั้งที่ผ่านๆ มาของกองทัพเรือยังเป็นการยิงแบบ Direct คือ ให้ Harpoon เดินทางตรงจากเรือยิงไปถึงเป้าหมาย แต่ในครั้งนี้ มีการตั้ง Waypoint จำนวน 1 จุด (ปกติ Block 1C ตั้งได้ 3 จุด) เพื่อให้ Harpoon ได้เลี้ยว 1 ครั้ง อีกด้วย

ส่วนที่ยาก ไม่ใช่การตั้งค่าระบบครับ แต่เป็นการจัดการว่าทำอย่างไร หาก Harpoon ทำงานผิดพลาด แล้วจะต้องไม่มีอันตราย

กองทัพเรือ ต้องเคลียร์พื้นที่ขนาด 90x60 ตารางไมล์ หรือ 108 x 168 ตารางกิโลเมตร ด้วยเรือจำนวนมาก ได้แก่ ร.ล.กระบุรี ร.ล.กระบี่ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ร.ล.ศรีราชา ร.ล.ทะยานชล ร.ล.ชลบุรี เรือ ต.992 เรือ ต.995 เรือ ต.996 พร้อมอากาศยานแบบ F-27 และ DO-228 เริ่มเคลียร์พื้นที่กันตั้งแต่ วันที่ 24 มี.ค. เวลา 0600 จนถึง 25 มี.ค. เวลา 1000 เพื่อให้ปลอดภัย ในการยิง ที่ใช้เวลาโคจรเพียง 6 นาทีกว่าๆ ในระยะเดินทางของ Harpoon รวม 57 ไมล์ (ห่างจากเรือยิง 55 ไมล์ แต่โคจรมีการเปลี่ยนเข็มนะครับ) ซึ่งก็คือประมาณ 102 กม. 
การยิงที่ระยะ 57 ไมล์ หรือ 102 กม. เป็นการใช้อาวุธแบบนอกระยะสายตา และ นอกระยะเรดาร์ หรือที่เรียกว่า Over the horizon ซึ่งแปลว่า เรือยิง ไม่สามารถตรวจจับเป้าได้ด้วยตนเอง จึงต้องใช้ อากาศยานประจำเรือ ในครั้งนี้คือ Super Lynx 300 ในการ “ชี้เป้า” (Targeting)

อีกส่วนหนึ่งที่ที่สำคัญคือ หมู่เรือบริการเป้า ได้แก่ ร.ล.ปันหยี และ เรือ ต.113 ที่ต้องลากเป้าไปวางในตำบลที่ตามแผน และ เก็บเป้า/ทำบายเป้าให้ไม่เป็นอันตรายต่อการเดินเรือหลังเสร็จภารกิจครับ

เล่าให้ฟังเพราะอยากให้ได้เห็นเบื้องหลังว่ากว่าจะถึงตอนที่อาวุธปล่อยโคจรไปโดนเป้านั้น มีอะไรมากมายเกิดขึ้น การยิงให้โดนเป้าไม่ยาก แต่การยิงให้ปลอดภัยในช่วงเวลาปกติก็ไม่ง่ายครับ โดยเฉพาะพื้นที่ประเทศไทย ที่อยู่ใกล้ช่องแคบมะละกา หนึ่งในพื้นที่ที่การจราจรทางเรือคับคั่งอย่างมาก

กองทัพเรือมีการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ Harpoon Block 1C (ฮาร์พูนบล็อกวันชาลี) ครั้งประวัติศาตร์ ได้กำหนดพื้นที่ยิงในทะเลอันดามันห่างจากเกาะภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกประมาณ 130 ไมล์ทะเล หรือประมาณ 240 กิโลเมตร ยิงอาวุธปล่อยต่อเป้าที่ระยะ 55 ไมล์ทะเล หรือประมาณ 102 กิโลเมตร นับเป็นการยิงไกลสุดที่เคยทำการยิงมาในภูมิภาคอาเซียน โดยใช้หัวระเบิดจริง ซึ่งกองทัพเรือดำเนินการเองโดยไม่พึ่งพาประเทศเจ้าของอาวุธปล่อย หรือต่างชาติแต่อย่างใด การฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ Harpoon Block 1C นี้ เป็นการยิงลูกอาวุธปล่อยจากที่เคยจัดหามาเป็นระยะเวลานานพอสมควร และยังอยู่ในอายุการใช้งาน จากการยิงในครั้งนี้อาวุธปล่อยสามารถวิ่งชนเป้าได้อย่างแม่นยำ นับเป็นความสำเร็จของกองทัพเรือไทยที่ไม่น้อยหน้าใครในภูมิภาค และเป็นสร้างความชำนาญ องค์ความรู้ทางการยุทธการให้มีความต่อเนื่องเป็นหลักประกันของชาติทางทะเลได้อย่างคุ้มค่า เพราะอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ Harpoon ถือได้ว่าเป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์ป้องปราม แสดงออกถึงพลังสามัคคีพลังราชนาวี พร้อมปกป้องรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลให้คงอยู่ตลอดไป

ข้อมูล กองทัพเรือ
ภาพการถ่ายทำทั้งหมดจากทีมงานสารคดีกองทัพเรือ คณะกรรมการจัดทำสารคดีและสื่อโทรทัศน์ กองทัพเรือ
—————————————————
Sompong Nondhasa
2 เมษายน เวลา 19:22 น.
S-70B ยิงตอร์ปิโด MK46 ...วันที่ 2 เมษายน 2564 เวลา 09.15 น. พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้เดินทางไปยัง เรือหลวงจักรีนฤเบศร ซึ่งลอยลำอยู่บริเวณทางทิศตะวันออกของเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อตรวจเยี่ยมการฝึกปราบเรือดำน้ำด้วยตอร์ปิโดแบบ MK46  โดยมี พลเรือเอก สิทธิพร มาศเกษม รองผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะ ผู้อำนวยการฝึกกองทัพเรือประจำปี 2564 พร้อมด้วย พลเรือเอก สุทธินันท์  สมานรักษ์ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ และ พลเรือโท สำเริง จันทร์โส ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 ให้การต้อนรับ โดยในเวลา 10.00 น. เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบ S-70B (ซีฮอว์ค) ได้ทำการ ยิงตอร์ปิโด แบบ MK46 ไปยังเป้าหมาย ที่อยู่ห่างออกไป 500 หลา ที่ความลึก 25 เมตร ได้อย่างแม่นยำ ...สำหรับการฝึกยิงตอร์ปิโดแบบ MK46 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบการทำงานของระบบควบคุมการยิงและลูกตอปิโด ตลอดจนเพื่อทดสอบความพร้อมของเรือ/อากาศยาน รวมถึงเพื่อฝึกกำลังพลให้มีความรู้ความสามารถและเพิ่มพูนความชำนาญในการยิงตอร์ปิโด โดยกำหนดให้เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบซีฮอว์ค เป็น หน่วยยิง มีเรือหลวงรัตนโกสินทร์ เป็นเรือควบคุม

ข้อมูล/ กองประชาสัมพันธ์  สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ ...ภาพ/ คณะกรรมการจัดทำสารคดีและสื่อโทรทัศน์กองทัพเรือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น