หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564

การฝึกการรับ-ส่งสิ่งของในทะเล RAS/FAS ระหว่าง ร.ล.สิมิลัน กับหมู่เรือฝึกยุทธวิธีเรือผิวน้ำ

กองเรือยกพลขึ้นบก และยุทธบริการ
24 สิงหาคม 2021
#ภาพการฝึก

ตามคำสัญญา มาแล้วครับ สดๆร้อนๆ กับภาพการฝึกในทะเล ของเรือในสังกัด กยพ.กร. ร่วมกับเรือของกองเรือต่างๆ ร่วมทั้งอากาศยานด้วย โดยเป็นภาพการฝึกทบทวนการส่งกำลังบำรุงในทะเล

วันนี้มาถึงคิวพี่ใหญ่ของเรือในสังกัด กยพ.กร. ที่ออกทะเล นั่นคือ เรือหลวงสิมิลัน (ร.ล.สิมิลัน) 871 ต้องไม่ธรรมดาแน่นอน เพราะขีดความสามารถที่มากมาย มาพร้อมกับขนาดของตัวเรือที่ใหญ่โต และกำลังพลเองก็ต้องมีความรู้ ความสามารถ รวมถึงความชำนาญที่มากพอและดีพอ เพื่อจะทำภารกิจที่เรือได้รับมอบหมายมาให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อย

โดยมี น.อ.วรพล จันทมาศ เสธ.กยพ.เป็นผู้แทน ผบ.กยพ./ผบ.หมู่เรือฝึกทบทวน ร.ล.สิมิลัน พร้อมฝ่ายอำนวยการ ออกเรือทำการฝึกการรับ-ส่งสิ่งของในทะเล RAS/FAS ระหว่าง ร.ล.สิมิลันกับหมู่เรือฝึกยุทธวิธีเรือผิวน้ำ(กฝร.) ประกอบด้วย ร.ล.ตากสิน (เรือรับน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวน ๓๐ กิโลลิตร) และ ร.ล.นเรศวร (เรือรับของแข็ง) ณ บริเวณทะเลอ่าวไทย ผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ในการฝึกทบทวนครั้งนี้ได้มอบภารกิจ : ดำเนินการฝึกการส่งบำรุงในทะเล (โดยทำส่งพร้อมกันทั้ง 2 กราบเรือ) ฝึกการป้องกันความเสียหาย และการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ เพื่อให้ระบบมีความพร้อม และกำลังพลประจำเรือ ให้มีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติงานบนเรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ โดยแนวความคิดการฝึกได้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
     1.ขั้นการฝึกในท่า : เป็นการฝึกกำลังพลในท่าเรือ ก่อนการปฏิบัติจริงในทะเล  เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการปฏิบัติ
     2.ขั้นการฝึกในทะเล : เป็นการออกเรือจริง เพื่อทำการฝึกกำลังพลพร้อมกับอุปกรณ์จริงที่ใช้งานในทะเล

ความน่าสนใจของการฝึกส่งบำรุงในทะเลครั้งนี้ คือ การส่งกำลังบำรุงพร้อมกันทั้ง 2 กราบเรือ นั่นหมายถึงใช้เรือ จำนวน 3 ลำ แล่นขนานข้างพร้อมกันในระยะประชิด ซึ่งถือว่าเป็นภารกิจที่ค่อนข้างหินกันเลยครับ เพราะหนึ่งในการปฏิบัตินั้นจะมีการส่งนำมันเชื้อเพลิงให้กันด้วย จะพลาดไม่ได้เด็ดขาด โดยมีแรงดูดและแรงดันของมวลน้ำ และคลื่นลมทะเล เป็นปัจจัยในการควบคุมเรือ และยังมีขนาดของเรือที่แล่นขนานกัน จะต้องสื่อสารกันให้เข้าใจตั้งแต่เริ่มวิ่งเข้าหา แล่นขนาน และใช้ความเร็ววิ่งออกจากกัน

ยากหรือไม่ยาก ลองนึกภาพของรถที่วิ่งด้วยความเร็วระดับหนึ่งบนถนน แล้วต้องมีเชือกพ่วงยื่นออกไปให้รถที่วิ่งขนานกันทั้งด้านซ้ายและขวาพร้อมๆ กัน โดยต้องส่งของให้กันผ่านการใต่เชือกให้กัน จะต้องใช้การควบคุมรถ และการสื่อสารกันอย่างไรบ้าง รวมถึงการระมัดระวังสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่ต้องเจอ เพื่อไม่ให้รถเกิดอุบัติเหตุ

อาจจะมีบางท่านสงสัยว่าทำไม แล้วไม่จอดเรือหรือทำให้เสร็จสิ้นเมื่อตอนอยู่ในท่าเรือก่อนออกเรือ (ง่ายกว่าไหม)

ตอบ การออกไปปฏิบัติภารกิจในทะเลบางครั้งนั้น พวกเราก็ไม่ได้กลับเข้าฝั่งกลับมาบ้านตามที่แจ้งไว้ในกำหนดก่อนออกเรือ เป็นเหตุให้น้ำมันเชื้อเพลิง สิ่งของจำเป็นบ้างอย่างไม่เพียงพอ แต่จะต้องอยู่ทำภารกิจในทะเลเป็นเวลายาวนานต่อเนื่องเพิ่มขึ้น และการจอดเรือเพื่อรับ-ส่งฯ อาจจะเป็นการล่าช้าไม่ทันต่อการปฏิบัติที่สำคัญ ทั้งหมดที่ฝึกและปฏิบัติไปนั่น อยู่ในความเหมาะสม ถูกต้อง และปลอดภัย เพื่อให้ภารกิจปกป้องอธิปไตยของชาติทางทะเล เป็นไปด้วยความเรียบร้อยครับ

วันนี้ขอนำภาพฝึกของเรือในทะเลมาฝากก่อนครับ และจะนำภาพการฝึกของกำลังพลทีฝึกดับเพลิงในท่าเรือมาฝากในครั้งต่อไปครับ

#รบอย่างไรฝึกอย่างนั้น
#การฝึกรบคืองานของทหาร
#พลังสามัคคี_พลังราชนาวี
#กองเรือยุทธการ
#กยพ_กร.
https://www.facebook.com/photo/?fbid=4365873236792270&set=pcb.4365830816796512

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น