หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แนวทางการทดสอบทดลอง ชุดปราบจลาจล


ชุดปราบจลาจล หมายถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีความมุ่งหมาย เพื่อช่วยลดความรุนแรง จากการทุบตี การทิ่มแทงด้วยของแข็ง และการขว้างปา ต่อร่างกายของผู้ใช้ และรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการกำบังป้องกันอันตรายจากการกระทำของผู้อื่น ประกอบด้วย

หมวกนิรภัย หมายถึง หมวกสวมศีรษะที่ใช้เพื่อช่วยบรรเทาความรุนแรงที่ศีรษะจะได้รับจากการกระแทกและสามารถดูดกลืนแรงกระแทกได้

กระบองยาง หมายถึง กระบองที่ทำจากยางโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการป้องกันตนเอง และลดอันตรายของการบาดเจ็บต่อผู้ถูกกระทำ

โล่ใสกันกระแทก หมายถึง โล่ใสที่สามารถมองผ่านได้และมีที่สำหรับจับถือได้อย่างมั่นคง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการปกป้องต่อวัตถุหรือการกระทำของผู้อื่นภายใต้ข้อกำหนดของทางราชการ


ชุดเกราะป้องกันร่างกาย หมายถึง ชุดที่มีอุปกรณ์ต่างๆโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกระแทก และของมีคม ต่อร่างกาย ตามส่วนต่างๆของผู้สวมใส่ ซึ่งสามารถเคลื่อนไหวร่างกายในการปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสะดวกเมื่อสวมใส่


หน้ากากป้องกันแก๊สน้ำตาและหมอกควัน หมายถึง หน้ากากพร้อมอุปกรณ์ เพื่อป้องกันอันตรายจากแก๊สน้ำตาและหมอกควันโดยผู้สวมใส่จะต้องไม่ได้รับผลกระทบ และปฏิบัติหน้าที่ได้ปกติ


การตรวจสอบชุดปราบจลาจล

๑. การตรวจสอบคุณลักษณะทั่วไป โดยการตรวจพินิจ ๔ ลักษณะ

๑.๑ ตรวจสอบรูปลักษณะภายนอก วัสดุทั่วไป ตรวจสอบสี ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ

๑.๒ ตรวจสอบมิติ วัดขนาดความกว้าง วัดขนาดความยาว วัดขนาดความหนา ตรวจชั่งน้ำหนัก

๑.๓ ตรวจสอบความเรียบร้อยของการผลิต รอยแตกร้าว/ฟองอากาศ ความแหลมคมบริเวณขอบหรือมุมที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ตรวจสอบ ความประณีต

๑.๔ ตรวจสอบเครื่องหมายหรือฉลาก ต้องระบุ แบบ และรหัสอักษร น้ำหนัก เดือน ปี ที่ทำหรือรหัสรุ่นที่ทำ ผู้ผลิตหรือเครื่องหมายการค้า ประเทศที่ผลิต

๒. การตรวจสอบคุณลักษณะเฉพาะ โดยการทดสอบ ๔ ลักษณะ

๒.๑ ทดสอบความคงรูป (Rigidity) กดดัวยแรงหรือน้ำหนักจำนวนหนึ่งภายในระยะเวลาที่กำหนดผลที่ต้องการ ทนแรงกดได้โดยไม่มีการแตกร้าว และเมื่อเอาวัสดุทดสอบออก จะต้องคงรูปลักษณะใช้งานปกติ ไม่ผิดรูป

๒.๒ ทดสอบการกระแทก(Striker) รับแรงกระแทกที่กำหนด ผลที่ต้องการทนแรงได้โดยไม่มีการแตกร้าว รวมถึงจะต้องคงรูปลักษณะใช้งานปกติ ไม่ผิดรูป

๒.๓ ทดสอบความต้านทานการเจาะ(Penetration Resistance) รองรับหัวเจาะที่มีแรงกระแทกตามที่กำหนด ผลที่ต้องการทนรองรับหัวเจาะ ได้โดยไม่มีการทะลุ และจะต้องคงรูปลักษณะใช้งานปกติไม่ผิดรูป

๒.๔ ทดสอบจากสิ่งเผชิญเหตุ (Incident) รับแรงกระแทก และแรงเจาะ จากสิ่งอุปกรณ์ต่างๆ ที่ผู้ปฏิบัติอาจเผชิญในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ ตามที่กำหนด ผลที่ต้องการ ทดแรงดังกล่าวได้โดยไม่มีการแตกร้าว การเจาะทะลุ และจะต้องคงรูปลักษณะใช้งานปกติ ไม่ผิดรูป

ทดสอบความคงรูป

ใช้แรงกดระหว่าง ๓๐- ๖๓๐ นิวตัน หรือใช้วัสดุน้ำหนัก ๓.๐๕๙ - ๖๔.๒๓๙ กก.( ๙.๘๐๗นิวตันเท่ากับ น้ำหนัก ๑ กิโลกรัม )หรือน้ำหนักตามที่ทางราชการกำหนดการให้แรงกด ครั้งแรก ๓๐ นิวตัน(น้ำหนัก๓.๐๕๙กก.) บนแผ่นโลหะที่วางบนสิ่งทดสอบนาน ๒ นาที แล้ววัดระยะห่าง ระหว่างแผ่นโลหะทั้งสองแผ่นนั้น

เพิ่มแรงกดจนถึง ๖๓๐ นิวตัน(น้ำหนัก ๖๔.๒๓๙ กก.)หรือน้ำหนักตามที่ทางราชการกำหนดโดยมีอัตราการเพิ่มแรงกดครั้งละ ๑๐๐ นิวตัน(น้ำหนัก ๑๐.๑๙๖ กก.) ทุกๆ ๒ นาที จนได้แรงกด ๖๓๐ นิวตัน คงแรงกดนี้ไว้ ๒ นาที แล้ววัดระยะห่างระหว่างแผ่นโลหะทั้งสองแผ่นนั้นอีกครั้ง

ลดแรงกดจนถึง ๓๐ นิวตัน คงแรงกดนี้ไว้ ๕ นาที แล้ววัดระยะห่างระหว่างแผ่นโลหะทั้งสองแผ่นนั้นอีกครั้ง

ทดสอบการกระแทก

พลังงานที่ใช้การทดสอบการกระแทก ๑๒๕ นิวตันเมตร พลังงานนี้ได้มาโดย ใช้วัสดุ หน้าแบนรูปสี่เหลี่ยม น้ำหนัก ๕ กิโลกรัม ตกจากความสูง ๒.๕เมตร±๕มิลลิเมตร ตกลงกระทบกับสิ่งทดสอบ



น้ำหนัก ๕ กิโลกรัม ตกกระทบหมวกนิรภัย

ตกกระทบชุดปราบจลาจล

ตกกระทบโล่ใสกันกระแทก

ตกกระทบกระบองยาง

ตกกระทบชุดปราบจลาจล

การทดสอบความต้านทานการเจาะ

แท่นทดสอบการต้านทานการเจาะ

ตัวกระแทกน้ำหนัก ๓ กก. และ หัวเจาะ

ใช้หัวเจาะรูปกรวย มุมปลายหัวเจาะ ๖๐ องศา

ความสูงไม่น้อยกว่า ๔๐ มิลลิเมตร

มีความแข็ง ๔๕-๕๐ HRC

น้ำหนักรวม ๓๐๐ กรัม วางบนสิ่งทดสอบ

ตัวกระแทกน้ำหนัก ๓ กก. ตกจากความสูง ๑ เมตร ตกลงกระทบกับหัวเจาะ


หมวกนิรภัย


ชุดปราบจลาจล


โล่ใสกันกระแทก


การทดสอบจากสิ่งเผชิญเหตุ

อุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจต้องเผชิญเหตุ ได้แก่ ดาบปลายปืน มีดถางป่า เหล็กปลายแหลม ท่อนเหล็ก ท่อนไม้ ไม้กอล์ฟ หนังสติก นัตขนาดต่างๆ และ ลูกแก้ว ฯ

พลังงานที่ใช้ในการทดสอบ ใช้ลักษณะเดียวกับทดสอบการกระแทก และ การทดสอบความต้านทานการเจาะ รวมกับการใช้พลังงานจากบุคคลทำการทดสอบ

สิ่งต่างๆที่อาจต้องเผชิญเหตุ

แทงด้วยดาบปลายปืน
ต้านทานดาบปลายปืนเจาะ
ฟันด้วยมีดถางป่า
----------------------------------------------------------

จัดทำโดย
ว่าที่ น.ท. ชาติชาย กลิ่นทิพย์

ที่มา:Web สามโอ โนว์ฮาว ชาวทดสอบ กองทดสอบสรรพาวุธ (กทว.ศซส.สพ.ทร.)
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น