หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560

การยิงอาวุธ..ของเรือหลวงมกุฎราชกุมาร ในการฝึกยุทธวิธีกองเรือฯ

    
    
    
กองทัพเรือได้รับอนุมัติงบประมาณพัฒนากำลังรบทางเรือให้มีสมรรถนะสูงขึ้นตามแผนป้องกันประเทศ โดยการจัดหาเรือรบประเภทพิฆาตคุ้มกัน หรือเรือฟริเกต ซึ่งเหมาะสมกับภารกิจของกองทัพเรือ กองทัพเรือได้ลงนามสัญญาสร้างเรือกับบริษัท ยาร์โรว์ จำกัด เมื่อวันที่ ๒๑ ส.ค. ๑๒ โดยมี พล.ร.อ.จรูญ เฉลิมเตียรณ ผบ.ทร.ในขณะนั้น เป็นผู้ลงนามฝ่าย ทร.ไทย แต่เดิมกองทัพเรือตั้งใจจะใช้ชื่อว่า ร.ล.เจ้าพระยา แต่ในระหว่างที่เรือยังสร้างไม่เสร็จ ได้มีพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ ๒๘ ธ.ค.๑๕ กองทัพเรือจึงได้เปลี่ยนชื่อเรือเป็นเรือหลวงมกุฎราชกุมาร เพื่อเป็นการถวายเทิดพระเกียรตินับได้ว่าเป็นเรือลำที่สองที่ได้รับชื่อนี้ การสร้างเรือได้กระทำตามเทคนิคสมัยใหม่ ไม่มีการวางกระดูกงู โดยในวันที่ ๑๘ พ.ย.๑๔ ได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำ มี คุณหญิง ดุษฎีศุภมงคล ภริยาเอกอัคราชฑูตไทยประจำสหราชอาณาจักรเป็นผู้กระทำพิธี ร.ล.มกุฎราชกุมารได้ขึ้นระวางประจำการในวันจันทร์ที่ ๗ พ.ค.๑๖ โดยมี พล.ร.อ.จิตต์ สังขดุลย์ เสนาธิการทหารเรือในขณะนั้นเป็นผู้ลงนามรับมอบ
คุณสมบัติทั่วไป
ประเภทเรือ                        FAST FRIGATE ,FF
วางกระดูกงู                       ๑๘ พ.ย.๑๔ ต่อที่ Yarrow Shipbuilders สหราชอาณาจักร?
ขึ้นระวางประจำการ          ๗ พ.ค.๑๖
ระวางขับน้ำ                       ปกติ ๑,๙๔๘ ตัน เต็มที่ ๒,๐๗๒ ตัน
ขนาด                                 ยาว ๙๗.๕๖ เมตร กว้าง ๑๐.๙๗ เมตร
กินน้ำลึก                            หัวเรือ ๔.๕ เมตร ท้ายเรือ ๒.๘ เมตร
ความเร็ว                             ความเร็วสูงสุด ๒๕ นอต ความเร็ว มัธยัสถ์ ๑๘ นอต
รัศมีทำการรัศมีทำการ     ๕,๙๔๐ ไมล์ทะเล ที่ความเร็วมัธยัสถ์
อาวุธ
ปืนใหญ่เรือ Mk.8 ขนาด 114 มม./55 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 2 แท่น
ปืนใหญ่กล Breda ขนาด 40 มม./70 คาลิเบอร์ แท่นคู่ 1 แท่น
ปืนกล ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว 4 แท่น
แท่นยิง PMW49A สำหรับตอร์ปิโด Mk.46 หรือ Stingray 2 แท่น แท่นละ 3 ท่อยิง
แท่นยิง Limbo Mk.10 สำหรับระเบิดลึก 1 แท่น 3 ท่อยิง
รางปล่อยระเบิดลึก 1 ราง
แท่นยิงเป้าลวง Mk.135 4 แท่น แท่นละ 6 ท่อยิง
อิเล็กทรอนิกส์
เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ Thales ZW06
เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ Thales DA05
เรดาร์ควบคุมการยิง Thales WM22 mod.61
เรดาร์เดินเรือ Decca
โซนาร์ Atlas DSQS-21C
ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ Elettronica Newton ประกอบด้วย
ระบบ ESM Elettronica ELT-211
ระบบ ECM แบบ noise jammer Elettronica ELT-318
ระบบยิงเป้าลวง Mk.33 RBOC
ระบบอำนวยการรบ Thales SEWACO (FORESEE-TH)

http://www.navy.mi.th/frigate1/index/index.php?option=com_content&view=article&id=169&Itemid=96
เรือรบในกองทัพเรือไทย - วิกิพีเดีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น