วันถือกำเนิด วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๖ กองทัพเรือ พิจารณาเปลี่ยนชื่อ
“กองเรือรบ” ซึ่งแต่เดิมประกอบด้วย เรือตามประเภท ๔ หมวดเรือ ได้แก่ หมวดเรือปืน
หมวดเรือใช้ตอร์ปิโด หมวดเรือช่วยรบ และหมวดเรือพระที่นั่งเป็น “กองเรือยุทธการ”
โดยรวมกิจการของหมวดเรือปืน และหมวดเรือใช้ตอร์ปิโด เป็นหน่วยเดียวกัน
ใช้ชื่อใหม่ว่า “กองเรือตรวจอ่าว”
กองเรือตรวจอ่าวจึงได้ถือกำเนิดขึ้นมานับตั้งแต่บัดนั้น โดยมีเรือปืน
และเรือใช้ตอร์ปิโด เป็นเรือสองประเภทแรก ในสังกัดของกองเรือตรวจอ่าว
จนกระทั่งปัจจุบันกองเรือตรวจอ่าว มีเรือสี่ประเภท รวม ๒๑ ลำ ได้แก่
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี เรือเร็วโจมตีปืน
และเรือตรวจการณ์ปืน
ภารกิจ ของกองเรือตรวจอ่าว
ปัจจุบันกองเรือตรวจอ่าว เป็นหน่วยขึ้นตรงกองเรือยุทธการ
มีภารกิจในการจัดเตรียมกำลังสำหรับการปฏิบัติการรบผิวน้ำ
ซึ่งโดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
กองเรือตรวจอ่าวได้จัดเรือออกปฏิบัติราชการในหน่วยเฉพาะกิจต่าง ๆ ของกองทัพเรือ
ทั้งทะเลด้านอ่าวไทย และทะเลอันดามัน สนับสนุนการฝึกภาคทะเล ดังคำกล่าว
“ตลอด ๒๔ ชั่วโมง จะต้องมีธงราชนาวีของเรือในกองเรือตรวจอ่าวโบกสะบัดในท้องทะเลไทย”
ซึ่งหมายความว่าเรือของกองเรือตรวจอ่าวนั้นปฏิบัติราชการอยู่ในทัพเรือภาคที่
๑ , ทัพเรือภาคที่ ๒ , ทัพเรือภาคที่ ๓
คอยเฝ้าดูแลผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจของกำลังพลทุกนายที่ได้ทำหน้าที่อันสำคัญยิ่งนี้
การจัดส่วนราชการ กองเรือตรวจอ่าว
๑.
กองบัญชาการ
มีหน้าที่กำหนดนโยบาย วางแผน อำนวยการ ประสานงาน และกำกับการปฏิบัติของหน่วยตามที่ได้รับมอบหมาย มีหน่วยในบังคับบัญชา ๑ กอง ๗ แผนก ได้แก่ กองช่าง แผนกธุรการ แผนกกำลังพล แผนกยุทธการและการข่าว แผนกส่งกำลังบำรุง แผนกสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนกพลาธิการ และ แผนกการเงิน
มีหน้าที่กำหนดนโยบาย วางแผน อำนวยการ ประสานงาน และกำกับการปฏิบัติของหน่วยตามที่ได้รับมอบหมาย มีหน่วยในบังคับบัญชา ๑ กอง ๗ แผนก ได้แก่ กองช่าง แผนกธุรการ แผนกกำลังพล แผนกยุทธการและการข่าว แผนกส่งกำลังบำรุง แผนกสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนกพลาธิการ และ แผนกการเงิน
๒.
กองร้อยกองบัญชาการ
มีหน้าที่สนับสนุนทางธุรการ การรักษาความปลอดภัย และ การบริการทั่วไปให้แก่กองบัญชาการ กองเรือตรวจอ่าว โดยมีหน่วยในบังคับบัญชา ๓ หน่วย ประกอบด้วย กองบังคับการกองร้อย หมวดบริการ และหมวดป้องกัน
มีหน้าที่สนับสนุนทางธุรการ การรักษาความปลอดภัย และ การบริการทั่วไปให้แก่กองบัญชาการ กองเรือตรวจอ่าว โดยมีหน่วยในบังคับบัญชา ๓ หน่วย ประกอบด้วย กองบังคับการกองร้อย หมวดบริการ และหมวดป้องกัน
๓.
หมวดเรือที่ ๑
ประกอบด้วยเรือจำนวน ๓ ลำ เป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (เรือ ตกก.) ได้แก่ ร.ล.กระบี่ ,ร.ล.ปัตตานี ,ร.ล.นราธิวาส
ประกอบด้วยเรือจำนวน ๓ ลำ เป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (เรือ ตกก.) ได้แก่ ร.ล.กระบี่ ,ร.ล.ปัตตานี ,ร.ล.นราธิวาส
๔. หมวดเรือที่ ๒
ประกอบด้วยเรือจำนวน ๙ ลำ เป็นเรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี (เรือ รจอ.) จำนวน ๓ ลำ และเรือเร็วโจมตีปืน (เรือ รจป.) จำนวน ๖ ลำ ได้แก่
๔.๑ เรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี ( เรือ รจอ. ) ร.ล.ราชฤทธิ์ ,ร.ล.วิทยาคม ,ร.ล.อุดมเดช
๔.๒ เรือเร็วโจมตีปืน (เรือ รจป.) ร.ล.ปราบปรปักษ์ ,ร.ล.หาญหักศัตรู ,ร.ล.สู้ไพรินทร์ ,ร.ล.ชลบุรี ,ร.ล.สงขลา ,ร.ล.ภูเก็ต
ประกอบด้วยเรือจำนวน ๙ ลำ เป็นเรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี (เรือ รจอ.) จำนวน ๓ ลำ และเรือเร็วโจมตีปืน (เรือ รจป.) จำนวน ๖ ลำ ได้แก่
๔.๑ เรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี ( เรือ รจอ. ) ร.ล.ราชฤทธิ์ ,ร.ล.วิทยาคม ,ร.ล.อุดมเดช
๔.๒ เรือเร็วโจมตีปืน (เรือ รจป.) ร.ล.ปราบปรปักษ์ ,ร.ล.หาญหักศัตรู ,ร.ล.สู้ไพรินทร์ ,ร.ล.ชลบุรี ,ร.ล.สงขลา ,ร.ล.ภูเก็ต
๕. หมวดเรือที่ ๓
ประกอบด้วยเรือจำนวน ๙ ลำ เป็นเรือตรวจการณ์ปืน ได้แก่ ร.ล. สัตหีบ ,ร.ล. คลองใหญ่ ,ร.ล. ตากใบ ,ร.ล.กันตัง ,ร.ล.เทพา ,ร.ล.ท้ายเหมือง ,ร.ล.หัวหิน ,ร.ล.แกลง ,ร.ล.ศรีราชา , ร.ล.แหลมสิงห์
ประกอบด้วยเรือจำนวน ๙ ลำ เป็นเรือตรวจการณ์ปืน ได้แก่ ร.ล. สัตหีบ ,ร.ล. คลองใหญ่ ,ร.ล. ตากใบ ,ร.ล.กันตัง ,ร.ล.เทพา ,ร.ล.ท้ายเหมือง ,ร.ล.หัวหิน ,ร.ล.แกลง ,ร.ล.ศรีราชา , ร.ล.แหลมสิงห์
ภารกิจที่สำคัญ
กองเรือตรวจอ่าวได้มีภารกิจที่สำคัญ ได้แก่
การฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีกองเรือตรวจอ่าว การฝึกร่วมกับกองเรือพร้อมปฏิบัติการ
การจัดเรือเข้าร่วมหมู่เรือปราบปรามโจรสลัดไปปฏิบัติการในพื้นที่อ่าวเอเดนและชายฝั่งโซมาลีย
นอกจากนั้นกองเรือตรวจอ่าวยังได้ดำเนินการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
ตามนโยบายของ ผู้บัญชาการทหารเรือ เพื่อมุ่งหวังให้กองเรือตรวจอ่าว
เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่แท้จริง
และเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยเน้นองค์ความรู้ที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติราชการของเรือในกองเรือตรวจอ่าว
เริ่มตั้งแต่เมื่อเรือปลดเชือกเส้นสุดท้ายจนเสร็จสิ้นภารกิจ
จึงได้ดำเนินการจัดการความรู้ใน ๓ องค์ความรู้หลัก ได้แก่
๑. องค์ความรู้ เรื่อง ระบบสนับสนุนการนำเรือและศูนย์ยุทธการ
๒. องค์ความรู้ เรื่อง ปืนหลักของกองเรือตรวจอ่าว
๓. องค์ความรู้ เรื่อง การผนึกน้ำ ป้องกันความเสียหาย
๑. องค์ความรู้ เรื่อง ระบบสนับสนุนการนำเรือและศูนย์ยุทธการ
๒. องค์ความรู้ เรื่อง ปืนหลักของกองเรือตรวจอ่าว
๓. องค์ความรู้ เรื่อง การผนึกน้ำ ป้องกันความเสียหาย
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมานั้น กองเรือตรวจอ่าวได้ปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ
เพื่อปกป้องอธิปไตยและคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
ซึ่งปรากฏผลงานเป็นที่ประจักษ์แล้ว ในอนาคตก็จะต้องมีการพัฒนา
และเพิ่มขีดความสามารถต่อไปตามเทคโนโลยีสมัยใหม่
เพื่อให้เป็นหน่วยที่มีความพร้อมรบและพร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายได้ทั้งในยาสงบและในยามสงครามดังคำกล่าวที่ว่า “ยามสงบเราดั่งนกนางนวล
ข้าศึกรบกวนเราร้ายเยี่ยงฉลาม”
-------------------------------------------------------------------
ประมวลภาพ เรือในกองเรือตรวจอ่าว
เรือเร็วโจมตีปืน ร.ล.ปราบปรปักษ์ ,ร.ล.หาญหักศัตรู และ ร.ล.สู้ไพรินทร์
เรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี ร.ล.ราชฤทธิ์ ,ร.ล.วิทยาคม และ ร.ล.อุดมเดช
เรือเร็วโจมตีปืน ร.ล.ชลบุรี ,ร.ล.สงขลา และ ร.ล.ภูเก็ต
เรือตรวจการณ์ปืน ร.ล.สัตหีบ ,ร.ล.คลองใหญ่ และ ร.ล.ตากใบ
เรือตรวจการณ์ปืน ร.ล.กันตัง ,ร.ล.เทพา และ ร.ล.ท้ายเหมือง
เรือตรวจการณ์ปืน ร.ล.หัวหิน ,ร.ล.แกลง และ ร.ล.ศรีราชา
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ร.ล.กระบี่ และ ร.ล.ตรัง อยู่ระหว่างการสร้าง..
เรือตรวจการณ์ปืน ร.ล.แหลมสิงห์
http://www2.fleet.navy.mi.th/patrolsqdn/index.php/today/detail/content_id/37
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น