เรือหลวงเจ้าพระยา (455) :
เรือหลวงเจ้าพระยามีนามเรียกขานสากล HSMA และมีหมายเลขเรือ 455 เป็นเรือสังกัดหมวดเรือที่ 1 กองเรือฟริเกตที่ 2 "เจ้าพระยา" เป็นชื่อของแม่น้ำสายหลักที่สำคัญสายหนึ่งในประเทศไทย แม่น้ำเจ้าพระยามีต้นกำเนิดมาจากแม่น้ำสายเล็ก ๆ 4 สาย ทางตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งไหลมาบรรจบกันทางตอนกลางของประเทศ และกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเมืองที่สำคัญของประเทศหลายเมืองได้แก่ อยุธยา ธนบุรี และกรุงเทพ ฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ชื่อของ แม่น้ำเจ้าพระยา นี้ในอดีตเคยเป็นชื่อของเรือรบของประเทศไทยมาก่อน ซึ่งปัจจุบันได้ปลดระวางประจำการไปแล้ว ต่อมากองทัพเรือได้สั่งต่อเรือฟริเกต ขึ้นใหม่จากสาธารณรัฐประชาชนจีนและ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ พระราชทานนามว่า "เรือหลวงเจ้าพระยา"
ตราประจำเรือของ เรือหลวงเจ้าพระยา ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 พระมหา มงกุฎ หมายถึง เรือหลวงเจ้าพระยา เป็นเรือรบของพระมหากษัตริย์ ส่วนที่ 2 ประกอบด้วยสัญลักษณ์ย่อยอยู่ 4 ส่วนคือ แม่น้ำ หมายถึง แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักที่สำคัญของประเทศไทย สะพานพุทธยอดฟ้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เรือสุพรรณหงษ์ เป็นเรือพระที่นั่งของพระมหากษัตริย์ ซึ่งใช้ในพระราชพิธีต่าง ๆ ทางชลมารค พังงาเรือ ล้อมรอบทั้ง 3 ส่วน มีข้อความปรากฎอยู่บนพังงาเรือ คำว่า " จะปกป้อง ผองภัย ด้วยใจทนง " ส่วนที่ 3 แถบใต้สัญลักษณ์ของเรือ เขียนชื่อ ร.ล.เจ้าพระยา
เรือหลวงบางปะกงมีนามเรียกขานสากล HSMB และมีหมายเลขเรือ 456 เป็นเรือสังกัดหมวดเรือที่ 1 กองเรือฟริเกตที่ 2 เป็นเรือฟริเกตชุด เรือหลวงเจ้าพระยา ลำที่ 2 ที่มีสมรรถนะสูงโดยกองทัพเรือได้สั่งต่อจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความสามารถในการทำการรบทั้ง 3 มิติ ด้วยความเร็วสูง และรัศมีทำการไกล
ผู้สร้างบริษัท HUDONG SHIPYARD รับมอบเมื่อ 8 เม.ย. 34 ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเรือประเภท เรือฟริเกต ประเภท 053 HT ความเร็วสูงสุด 30 นอต ความเร็วมัธยัสต์ 18 นอต
เรือหลวงบางปะกง (456) :
ส่วนที่ 1 พระมหามงกุฎ หมายถึง เรือหลวงบางปะกง เป็นเรือรบของพระมหากษัตริย์
ส่วนที่ 2 ประกอบด้วยส่วนย่อยคือ
- เจ้าสมุทร หมายถึงจะทำหน้าที่พิทักษ์รักษาน่านน้ำและอธิปไตยของประเทศชาติ เหมือนเจ้าสมุทรที่พิทักษ์ท้องทะเล
- ตรีศูล (สามง่าม) ของพระสมุทรที่ถืออยู่ในพระหัตถ หมายถึง สามารถทำการรบได้ทั้ง 3 มิติ คือ ต่อสู้อากาศยาน ต่อสู้เรือผิวน้ำและใต้น้ำ
- ปลาโลมา หมายถึง ความฉลาด และรักสันติ
- โซ่ ที่ล้อมรอบ หมายถึง การยึดมั่นในความสมัครสมานสามัคคีกลมเกลียวกันอย่างมั่นคง เพื่อพิทักษ์รักษาน่านน้ำและอธิปไตยของประเทศชาติ
- อักษรบนโซ่ เขียนคำขวัญ"พิทักษ์เอกราช พิฆาตไพรี"
ส่วนที่ 3 แถบใต้สัญลักษณ์ เขียนชื่อ ร.ล.บางปะกง
ผู้สร้าง HUDONG SHIPYARD
วางกระดูกงูเมื่อ 19 ตุลาคม 2532
ลงน้ำเมื่อ 25 กรกฎาคม 2533
สร้างเสร็จเมื่อ 19 กรกฎาคม 2534
รับมอบเมื่อ 20 กรกฎาคม 2534 ที่ HUDONG SHIPYARD SHANGHAI CHINA
ขึ้นระวางประจำการเมื่อ 20 กรกฎาคม 2534
เป็นเรือประเภทฟริเกต ชั้นเดียวกับ ร.ล.เจ้าพระยา สังกัด กองเรือฟริเกตที่ 2
ข้อมูลทั่วไปของ ร.ล.เจ้าพระยา (455) และ เรือหลวงบางปะกง (456)
ความเร็วสูงสุด 30 นอต ความเร็วมัธยัสถ์ 18 นอต
รัศมีทำการเมื่อความเร็วสูงสุด 1,395 ไมล์ หรือ 47.12 ช.ม. เมื่อ 29.6 นอต
รัศมีทำการเมื่อความเร็วมัธยัสถ์ 3,500 ไมล์ หรือ 194 ช.ม. เมื่อ 18 นอต
ตัวเรือ
ระวางขับน้ำปกติ 1,676 ตัน ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,924 ตัน
ความยาวตลอดลำ 102.87 เมตร หรือ 342.9 ฟุต
ความยาวที่แนวน้ำ 98.00 เมตร หรือ 326.67 ฟุต
ความกว้างมากที่สุด 11.36 เมตร หรือ 33.87 ฟุต
ความกว้างที่แนวน้ำ 10.70 เมตร หรือ 35.67 ฟุต
กินน้ำลึกปกติ 3.1 เมตร หรือ 10.2 ฟุต
ระบบขับเคลื่อน
CODAD เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 30 V 1163 TB 83 จำนวน 4 เครื่อง กำลังขับเครื่องละ 6,000 กิโลวัตต์
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล MTU 6V 396 TB53 กำลังไฟฟ้า 440 กิโลวัตต์ 4 เครื่อง
เพลาใบจักร 2 เพลา ใบจักร Wartsila Lips Defence แบบปรับมุมได้
อาวุธ
ปืนใหญ่เรือ Type 79 ขนาด 100 มม./56 คาลิเบอร์ แท่นคู่ 2 แท่น
ปืนใหญ่กล Type 76 ขนาด 37 มม./63 คาลิเบอร์ แท่นคู่ 4 แท่น
ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด 12.7 มม. แท่นแดี่ยว 2 แท่น
แท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น China Precision Machinery Import and Export C-801 4 แท่น แท่นละ 2 ท่อยิง
แท่นยิงจรวดปราบเรือดำน้ำ Type 86 (RBU-1200) 2 แท่น แท่นละ 5 ท่อยิง
ระบบลบล้างสนามแม่เหล็กตัวเรือ XC-4D
แท่นยิงเป้าลวง 2 แท่น แท่นละ 26 ท่อยิง
อิเล็กทรอนิกส์
เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ Type 354 Eye Shield
เรดาร์ควบคุมการยิง Type 341 Rice Lamp
เรดาร์ควบคุมการยิง Type 343 Sun Visor
เรดาร์ควบคุมการยิง Type 352 Square Tie
เรดาร์เดินเรือ Sperry Marine BridgeMaster E และ Furuno
โซนาร์หัวเรือ SJD-5
ระบบตรวจจับสัญญาณเรดาร์ Type 923-1 Jug Pair
ระบบรบกวนสัญญาณเรดาร์ แบบ noise jammer Type 981-2
ระบบอำนวยการรบ ZKJ-3A
ระบบควบคุมการยิง (ปืนใหญ่เรือ) ZPJ-2
ระบบควบคุมการยิง (ปืนใหญ่กล) ZPJ-4
ระบบควบคุมการยิง (อาวุธปล่อยนำวิถี C-801) ZJ-15T
ระบบควบคุมการยิง (จรวดปราบเรือดำน้ำ) ZST-2D
ระบบควบคุมการยิงเป้าลวง Type 945G
ระบบถาม/ตอบรับสัญญาณพิสูจน์ฝ่าย (ติดตั้งคู่กับเรดาร์ Type 354) Type 651
ระบบวิทยุสื่อสารผ่านดาวเทียม INMARSAT-M
ระบบนำร่องด้วยแรงเฉื่อย แบบริงเลเซอร์ Raytheon Anschutz NIMS
เครื่องวัดความเร็วเรือ John Lilley & Gillie Chernikeeff Aquaprobe Mk5 Naval
ประมวลภาพกิจกรรม..
ข้อมูลเรือจาก:
- เวบไซด์กองเรือฟริเกตที่ 2
- http://thaiarmedforce.com/inventory/34-thailand-inventory/51-rtn-combatship-spec.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น