การจัดหาเฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ เพื่อสนับสนุนการเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ กองทัพอากาศได้พิจารณาจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์แบบ S-92 A จากบริษัท Sikorsky International Operations, Inc. ประเทศสหรัฐอเมริกา ทดแทน เฮลิคอปเตอร์ Bell 412 EP โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เมื่อ ๔ กันยายน ๒๕๕๐ อนุมัติให้กองทัพอากาศจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์แบบ S-92 A จำนวน ๓ เครื่อง พร้อมการตกแต่งภายใน, อุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้นและอะไหล่, การก่อสร้างโรงเก็บอากาศยาน และการฝึกอบรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะเดิม และเพื่อถวายเป็นเฮลิคอปเตอร์ พระราชพาหนะสนับสนุนการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ จำนวน ๒ เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะติดตั้ง เปลพยาบาล และอุปกรณ์แพทย์อย่างสมบูรณ์ เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน จำนวน ๑ เครื่อง
เฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ S-92A เป็นเฮลิคอปเตอร์ที่สร้างเพื่อเป็นพาหนะสำหรับบุคคลสำคัญ ผู้นำประเทศ ต่าง ๆ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย ประเทศบรูไน ประเทศออสเตรเลีย ประเทศเกาหลีใต้ ฯลฯ ออกแบบโดยบริษัท Sikorsky และได้ส่งให้บริษัทในต่างประเทศสร้างส่วนต่าง ๆ คือ ส่วนหัวสร้างที่ประเทศใต้หวัน ส่วนลำตัวสร้างที่ประเทศญี่ปุ่น ส่วน Engine Deck & Tail cone สร้างที่ประเทศสเปน ส่วนหางสร้างที่ประเทศจีน ส่วน Sponsons สร้างที่ประเทศบราซิล ส่วน Main & Tail Rotor Blade สร้างที่บริษัท Sikorsky เครื่องยนต์ผลิตโดยบริษัท General Electric (GE)เฮลิคอปเตอร์แบบ S-92 A เป็นเฮลิคอปเตอร์เครื่องยนต์กังหันแกน ๒ เครื่องยนต์ มีที่นั่ง VVIP จำนวน ๒ ที่นั่ง และที่นั่งของผู้โดยสารจำนวน ๑๒ ที่นั่ง และในส่วนของ เฮลิคอปเตอร์ที่จัดเตรียมเป็นเฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ ติดตั้งเปลพยาบาล และอุปกรณ์แพทย์ฉุกเฉิน เพื่อปฐมพยาบาลฉุกเฉินเบื้องต้น ติดตั้งเก้าอี้แพทย์ และพยาบาล จำนวน ๑๐ ที่นั่ง มีขีดความสามารถบินได้นาน ๒.๕ ชั่วโมง ด้วยความเร็วเดินทาง ๑๕๑ น๊อต บินได้ไกลประมาณ ๕๓๙ ไมล์ หรือ ๙๗๐ กิโลเมตร ที่น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด ซึ่งสามารถสนับสนุนการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่าย ในการบำรุงรักษาเหมาะสมสอดคล้องกับสมรรถนะของเฮลิคอปเตอร์ และมีความปลอดภัยสูง เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งใน เอเชีย ยุโรป และอเมริกา
ทั้งนี้ ในวันนี้ (๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔) เฮลิคอปเตอร์แบบ S-92 ทั้งสามเครื่อง ได้ทำการลำเลียงมาถึงท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ก่อนทำการประกอบเครื่อง และทำการบินมายังกองบิน ๖ ดอนเมือง ภายในเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ ซึ่งจะมีพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ โดยจะบรรจุประจำการในฝูงบิน ๒๐๑ กองบิน ๒ ลพบุรี จากนั้นจะทำการฝึกและปฏิบัติภารกิจ ณ ฝูงบิน ๕๐๙ ท่าอากาศยานหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ และจะได้มีการน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้เป็นเครื่องบินพระราชพาหนะในโอกาสต่อไป
ข่าวจาก : ข่าวทหารอากาศ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ กองทัพอากาศ
S-92A เครื่องที่ 2 และเครื่องที่ 3
กองทัพอากาศรับมอบ S-92A
ทำไมกองทัพอากาศ ได้แต่เครื่องดีๆ มีหน้าปัดดิจิตอล กองทัพบก มีแต่เครื่อง ที่มีแต่เข็มนาฬิกา มองแล้วปวดหัวครับ แล้วมีโอกาสไหมครับที่กองทัพบกจะมี ฮ. ดีใช้กับเขาสักที
ตอบลบนั่นนะสิครับ..ทำไม? จริงๆ แล้วก็คงจะเป็นความต้องการในการใช้งานของกองทัพบก และเรื่องราคา เพราะหน้าปัดดิจิตอล หรือ Glass Cockpit จะมีราคาแพงกว่าหน้าปัดที่เป็นแบบเข็ม หรือแบบ Analog อีกทั้งสภาพการใช้งาน ฮ.ของกองทัพบก ส่วนใหญ่จะใช้ปฏิบัติงานตามสนามบินชายแดน ทีขาดสิ่งอำนวยความสะดวก ดังนั้น Cockpit ระบบ Analog ธรรมดา ที่มีความทนทาน สมบุกสมบัน ต้องการการบำรุงรักษาน้อยกว่า จึงมีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากกว่า Cockpit ระบบดิจิตอล ราคาแพง แต่บอบบาง และต้องการการบำรุงรักษามากกว่า
ตอบลบSukom..
4/6/54
แล้วทอ.ทำไมไม่มีรถถัง รถเกราะสมรรถภาพสูงเหมือนทบ.มั้งละครับมาว่า
ตอบลบทอ.อย่างเดียวก็ม่ายถูกมันแล้วแต่หน้าที่ครับ
ถามนักบินได้ความว่า ความจำเป็นของการบินคือการรับรู้สถานการณ์และอาการ เครื่องวัดที่ใช้เข็มก็เพียงพอแล้ว แบบเข็มก็พิสูจน์มาแล้วเรื่องความทนทาน ยี่สิบปียังใช้ได้ดี ยกเว้นถ้าหากว่ามันราคาเท่ากัน นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง ( แบบดิจิต แพงกว่า )
ตอบลบ