โครงการประกวดตราสัญลักษณ์เนื่องในโอกาส
“วันครบรอบ ๑๐๐ ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ”
“วันครบรอบ ๑๐๐ ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ”
หลักการและเหตุผล
กิจการด้านการบินของไทย ริเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อครั้ง นายชาร์ล ว็อง แด็ง บอร์น นักบินชาวเบลเยี่ยม ได้นำเครื่อง อ็องรี ฟาร์ม็อง ๔ มาแสดงการบินให้ชาวไทยได้ชมเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๓
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงพระยศ นายพลเอกจเรทัพบก จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ขณะทรงพระยศนายพันตรี ซึ่งเป็นองค์ริเริ่มกิจการการบินจึงทรงโปรด ฯ ให้ กระทรวงกลาโหม ทำการศึกษาด้านการบิน เพื่อใช้กับการทหาร โดยได้คัดเลือก นายทหาร ๓ คน ไปเรียนการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๔ ประกอบด้วย นายพันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ นายร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร และนายร้อยโททิพย์ เกตุทัต
ครั้นเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๕ นับเป็นครั้งแรกที่คนไทยขึ้นทำการบินกับเครื่องบินได้เอง นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ เริ่มฝึกบินกับเครื่องบิน เบรเกต์ เป็นครั้งแรก จนกระทั่งทั้ง ๓ ท่านได้สำเร็จการฝึกบินและกลับมาก่อตั้งกิจการด้านการบินในประเทศไทยและมีพัฒนาการเป็นกองทัพอากาศมาจนทุกวันนี้
ต่อมาทั้ง ๓ ท่าน ได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ตามลำดับ คือ นายพันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ เป็น พลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศ นายร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร เป็น นาวาอากาศเอกพระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ และนายร้อยโททิพย์ เกตุทัต เป็น นาวาอากาศเอกพระยาทะยานพิฆาต กองทัพอากาศ ได้ยกย่องให้เป็น “บุพการีทหารอากาศ” เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงบุพการีทหารอากาศ ทั้ง ๓ ท่าน ที่ได้วางรากฐาน การบินของประเทศจนพัฒนาเป็น กองทัพอากาศ ในปัจจุบัน กองทัพอากาศจึงกำหนดจัดงาน “วันครบรอบ ๑๐๐ ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ” ในวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ซึ่งเป็นวันครบรอบ ๑๐๐ ปี ที่บุพการีทหารอากาศได้ขึ้นทำการบิน
ในโอกาสนี้ กองทัพอากาศ จึงขอเชิญ นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ร่วมกิจกรรมสำคัญดังกล่าว โดยส่งผลงานออกแบบตราสัญลักษณ์ เข้าร่วมการประกวดเนื่องในโอกาส “วันครบรอบ ๑๐๐ ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ” ชิงรางวัล เงินสด พร้อมโล่เกียรติยศของผู้บัญชาการทหารอากาศ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงพระยศ นายพลเอกจเรทัพบก จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ขณะทรงพระยศนายพันตรี ซึ่งเป็นองค์ริเริ่มกิจการการบินจึงทรงโปรด ฯ ให้ กระทรวงกลาโหม ทำการศึกษาด้านการบิน เพื่อใช้กับการทหาร โดยได้คัดเลือก นายทหาร ๓ คน ไปเรียนการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๔ ประกอบด้วย นายพันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ นายร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร และนายร้อยโททิพย์ เกตุทัต
ครั้นเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๕ นับเป็นครั้งแรกที่คนไทยขึ้นทำการบินกับเครื่องบินได้เอง นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ เริ่มฝึกบินกับเครื่องบิน เบรเกต์ เป็นครั้งแรก จนกระทั่งทั้ง ๓ ท่านได้สำเร็จการฝึกบินและกลับมาก่อตั้งกิจการด้านการบินในประเทศไทยและมีพัฒนาการเป็นกองทัพอากาศมาจนทุกวันนี้
ต่อมาทั้ง ๓ ท่าน ได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ตามลำดับ คือ นายพันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ เป็น พลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศ นายร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร เป็น นาวาอากาศเอกพระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ และนายร้อยโททิพย์ เกตุทัต เป็น นาวาอากาศเอกพระยาทะยานพิฆาต กองทัพอากาศ ได้ยกย่องให้เป็น “บุพการีทหารอากาศ” เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงบุพการีทหารอากาศ ทั้ง ๓ ท่าน ที่ได้วางรากฐาน การบินของประเทศจนพัฒนาเป็น กองทัพอากาศ ในปัจจุบัน กองทัพอากาศจึงกำหนดจัดงาน “วันครบรอบ ๑๐๐ ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ” ในวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ซึ่งเป็นวันครบรอบ ๑๐๐ ปี ที่บุพการีทหารอากาศได้ขึ้นทำการบิน
ในโอกาสนี้ กองทัพอากาศ จึงขอเชิญ นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ร่วมกิจกรรมสำคัญดังกล่าว โดยส่งผลงานออกแบบตราสัญลักษณ์ เข้าร่วมการประกวดเนื่องในโอกาส “วันครบรอบ ๑๐๐ ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ” ชิงรางวัล เงินสด พร้อมโล่เกียรติยศของผู้บัญชาการทหารอากาศ
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ในโอกาส “วันครบรอบ ๑๐๐ ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ” ในวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๕
- เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ได้มีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรมของกองทัพอากาศ อันจะสะท้อนถึงความคิด และทัศนคติที่ดีต่อกองทัพอากาศ
- เพื่อนำผลงานจากการประกวดตราสัญลักษณ์ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ และสามารถนำไปใช้งาน ได้เป็นอย่างดีในสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ เช่น ซองจดหมาย หัวจดหมาย ปกหนังสือ นามบัตร เป็นต้น ในการจัดงาน “วันครบรอบ ๑๐๐ ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ”
คุณสมบัติของผู้ส่งผลงาน
- นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
หลักเกณฑ์การออกแบบ
- ต้องมีตัวอักษรคำว่า “๑๐๐ ปี” เป็นตัวเลขไทยหรือเลขอารบิก
- มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กับแนวความคิดในการนำเสนอ
- ไม่จำกัดเทคนิคและองค์ประกอบในตราสัญลักษณ์
- ให้มีสัญลักษณ์ เพื่อสื่อถึง ความสามารถของคนไทยที่ทำการบินในอากาศได้
- ผู้ส่งผลงานสามารถส่งผลงานได้ไม่เกินคนละ ๓ ผลงาน
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องไม่ลอกเลียนหรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากที่ใดมาก่อน หากทราบภายหลังเจ้าของผลงานต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายดังกล่าว
- ตราสัญลักษณ์ต้องมีความหมายและสามารถอธิบายได้ เช่น สี, รูปภาพ
- ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด กรรมสิทธิ์ผลการประกวด ผลงานที่ได้รับรางวัล กองทัพอากาศ ขอสงวนสิทธิ์ในการนำไปใช้งาน และมีสิทธิ์เป็นเจ้าของโดยสมบูรณ์ รวมทั้งสิทธ์ที่จะใช้ในการผลิตเพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานของกองทัพอากาศ ตลอดจนสิทธิ์ในการปรับปรุงให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
- สามารถส่งผลงานการออกแบบลงบนกระดาษ ขนาด A4 จำนวน ๒ ชุด พร้อม CD-ROM บรรจุไฟล์ผลงานการออกแบบ ในรูปแบบนามสกุล AI, JPG, CDR, PSD หรืออื่น ๆ ที่สามารถเปิดได้ของระบบปฏิบัติการ WINDOWS
- ผลงานต้องมีเอกสารประกอบเป็นคำอธิบายความหมายองค์ประกอบต่าง ๆ ในแบบนั้น ๆ
- ระบุชื่อ - นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หรือ อีเมลของผู้ส่งผลงานที่ติดต่อกลับได้สะดวก ที่ด้านหลังของผลงาน
- ส่งผลงานทางไปรษณีย์หรือด้วยตนเอง ตั้งแต่ ๒๑ ก.พ. - ๒๑ มี.ค.๒๕๕๔ ในเวลาราชการ ได้ที่แผนกนิทรรศการ กองประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๑๐
รางวัล
- รางวัลชนะเลิศ เงินสด ๑๐,๐๐๐.-บาท พร้อมโล่เกียรติยศของผู้บัญชาการทหารอากาศ
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ เงินสด ๘,๐๐๐.-บาท พร้อมโล่เกียรติยศของผู้บัญชาการทหารอากาศ
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ เงินสด ๕,๐๐๐.-บาท พร้อมโล่เกียรติยศของผู้บัญชาการทหารอากาศ
การประกาศผลและมอบรางวัล
- ประกาศผล ในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ ติดตามได้ที่ www.rtaf.mi.th
- การมอบรางวัล จะกำหนดและแจ้งให้ผู้ชนะการประกวดทราบภายหลัง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
- ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.rtaf.mi.th หรือ โทร.๐ ๒๕๓๔ ๑๑๗๒
- กองประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ โทร.๐ ๒๕๓๔ ๑๑๗๒, ๐ ๒๕๓๔ ๒๐๓๘, ๐ ๒๕๓๔ ๐๘๐๐ และ ๐ ๒๕๓๔ ๑๖๐๔
ข่าวจาก : ข่าวประชาสัมพันธ์ กองทัพอากาศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น