หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

รวมภาพเรือสนับสนุนการรบ สังกัด กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ

รวมภาพเรือที่สังกัดอยู่ใน กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ โดยกองเรือมีเรือประเภทต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 29 ลำ แต่ในโพสต์นี้จะเป็นการรวบรวมภาพของ เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่แบบอู่ลอย ร.ล.อ่างทอง ,เรือยกพลขนาดใหญ่ จำนวน 2 ลำ คือ ร.ล.สีชัง ร.ล.สุรินทร์ และ เรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ ร.ล.สิมิลัน เพียงเท่านั้น

กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ เป็นหน่วยขึ้นตรง กองเรือยุทธการ ที่ตั้ง ท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชบุรี แบ่งการบังคับบัญชาออกเป็น ๓ หมวดเรือ ประกอบด้วย เรือประเภทต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น ๒๙ ลำ ดังนี้

หมวดเรือที่ ๑ ประกอบด้วย เรือยกพลอู่ลอย จำนวน ๑ ลำ คือ ร.ล.อ่างทอง  เรือยกพลขนาดใหญ่ จำนวน ๒ ลำ ได้แก่ ร.ล.สีชัง  ร.ล.สุรินทร์

หมวดเรือที่ ๒ ประกอบด้วย เรือระบายพลขนาดใหญ่ จำนวน ๙ ลำ ได้แก่ ร.ล.ทองแก้ว  ร.ล.ทองหลาง  ร.ล.วังนอก  ร.ล.วังใน  ร.ล.มันนอก  ร.ล.มันกลาง  ร.ล.มันใน  ร.ล.มัตโพน  ร.ล.ราวี

หมวดเรือที่ ๓ เรือส่งกำลังบำรุง จำนวน ๑๗ ลำ ประกอบด้วย เรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ จำนวน ๑ ลำ คือ ร.ล. สิมิลัน  เรือน้ำมัน จำนวน ๖ ลำ ได้แก่ ร.ล.จุฬา  ร.ล.สมุย  ร.ล.ปรง  ร.ล.เปริด  ร.ล.เสม็ด  ร.ล.มาตรา  เรือน้ำ จำนวน ๒ ลำ ได้แก่ ร.ล.จวง  ร.ล.จิก และเรือลากจูง จำนวน ๘ ลำ ได้แก่ ร.ล.กลึงบาดาล  ร.ล.มารวิชัย  ร.ล.ริ้น  ร.ล.รัง  ร.ล.แสมสาร  ร.ล.แรด ร.ล.ปันหยี  ร.ล.หลีเป๊ะ

หน้าที่
จัดและเตรียมกำลังสำหรับปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก และการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงกับหน่วยต่างๆ ตามที่ร้องขอ
http://www.koryorpor.com/?page_id=20
—————————————————
เรือยกพลอู่ลอย ร.ล.อ่างทอง (LPD791)
ขึ้นระวางประจำการ 19 เมษายน 2555

ผู้สร้าง Singapore Technologies Marine ประเทศสิงคโปร์

ขนาด
ระวางขับน้ำเต็มที่ 7,600 ตัน

อาวุธ 
ปืนใหญ่เรือ OTO Melara super Rapid ขนาด 76 มม./62 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 1 แท่น
ปืนกล 30 มม. Sea Hawk MSI-DS30 MR ขนาด 30 มม./75 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 2 แท่น

ขีดความสามารถ
ดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ สำหรับ ฮ. S-70B หรือ MH-60S 2 เครื่อง หรือ ฮ. CH-47D 1 เครื่อง
โรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ สำหรับ ฮ. S-70B หรือ MH-60S 2 เครื่อง
ดาดฟ้าบรรทุก สำหรับรถถัง M60 18 คัน หรือรถยนต์บรรทุกพร้อมรถพ่วง 15 คัน หรือรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV 19 คัน
อู่ลอย สำหรับเรือระบายพลขนาดกลาง (เรือ รพก. หรือ LCM) 2 ลำ และแรมพ์ท้ายสามารถต่อเชื่อมกับเรือระบายพลขนาดใหญ่ (LCU) ได้
เรือระบายพลขนาดเล็ก (LCVP) 2 ลำ
ทหาร 390 คน เป็นนาวิกโยธิน 360 คน หน่วยบิน 15 คน ฝ่ายอำนวยการ 15 คน

อิเล็กทรอนิกส์
เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ Terma SCANTER 4100 (Terma C-Search)
ระบบออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Terma C-Fire
ระบบอำนวยการรบ Terma C-Flex
—————————————————
เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ชุด ร.ล.สีชัง
ร.ล.สีชัง (LST721) ขึ้นระวางประจำการ 9 ตุลาคม 2530 ผู้สร้าง Italthai Marine ประเทศไทย
ร.ล.สุรินทร์ (LST722) ขึ้นระวางประจำการ 16 ธันวาคม 2531 ผู้สร้าง Bangkok Dock ประเทศไทย

ขนาด
ระวางขับน้ำเต็มที่ 3,540 ตัน (721) หรือ 4,520 ตัน (722)

อาวุธ
ปืนใหญ่กล Bofors L70 ขนาด 40 มม./70 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 1 แท่น (721) หรือ 2 แท่น (722)
ปืนใหญ่กล Rheinmetall ขนาด 20 มม./90 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 2 แท่น
ปืนกล ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น

ขีดความสามารถ
ดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ บริเวณกลางลำเรือ สำหรับ ฮ. Bell-212 1 เครื่อง หรือรถฮัมวี่ 10 คัน และบริเวณท้ายเรือ สำหรับ ฮ. Bell-212 1 เครื่อง
ดาดฟ้าบรรทุก สำหรับยุทโธปกรณ์ 850 ตัน หรือรถถัง M60 13 คัน และรถยนต์บรรทุก 2 ตัน 6 คัน หรือรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV 12 คัน
เรือระบายพลขนาดเล็ก (LCVP) 4 ลำ
นาวิกโยธิน 339 คน (721) หรือ 354 คน (722)

อิเล็กทรอนิกส์
เรดาร์เดินเรือ Decca
ระบบออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง BAe Sea Archer Mk.1A mod.2
—————————————————
เรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ ร.ล. สิมิลัน (AOR : Auxiliary Oiler Replenishment 871)
วางกระดูกงู 8 มิ.ย. 2538
ปล่อยเรือลงน้ำ 9 พ.ย. 2538
ขึ้นระวางประจำการ 12 ส.ค. 2539
ผู้สร้าง อู่ Hudong-Zhonghua เซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน

คุณลักษณะทั่วไป
ตัวเรือและส่วนประกอบของเรือสร้างด้วยเหล็ก
ความยาวตลอดลำ 171.45 เมตร
ความกว้าง 24.60 เมตร
กินน้ำลึก 9 เมตร
ความเร็วสูงสุด 19 นอต
ระวางขับน้ำสูงสุด 22,000 ตัน
ระยะปฏิบัติการไกลสุด 10,000 ไมล์ ที่ 15 นอต
ความคงทนทะเล ได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 6
ปฏิบัติการต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 30 วัน
กำลังพลประจำเรือ 175 นาย

ระบบตรวจการณ์
เรดาร์เดินเรือ Sperry Marine Rasca 2 ชุด

ระบบสื่อสาร
ระบบวิทยุสื่อสารผ่านดาวเทียม M-VSAT
ระบบวิทยุสื่อสารผ่านดาวเทียม INMARSAT-M
ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี Avia Satcom Link RTN

ระบบอาวุธ
ปืนใหญ่กล Oerlikon GAM-CO1 ขนาด 20 มม. แท่นเดี่ยว 4 แท่น
ปืนกล .50 นิ้ว 4 แท่น

ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
เครื่องจักรใหญ่ดีเซล SEMT-Pielstick 16PC2 6V400 2 เครื่อง
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า Wuxi-Siemens 1FC564-6TA 4 เครื่อง
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉิน Siemens 1FC5-4TA 1 เครื่อง
เพลาใบจักร 2 เพลา ใบจักร Kamewa แบบปรับมุมได้

ระบบอื่นๆ
ระวางบรรทุก 12,000 ตัน
ระบบส่งกำลังเพิ่มเติมในทะเล (replenishment-at-sea) บริเวณกราบขวา 1 ระบบ
ระบบเติมเชื้อเพลิงในทะเล (fuelling-at-sea) บริเวณกราบซ้าย 1 ระบบ
ระบบเติมเชื้อเพลิงในทะเลทางท้ายเรือ Bosch Rexroth astern fueling-at-sea
ดาดฟ้าและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ สำหรับ ฮ. S-70B หรือ MH-60S 1 เครื่อง
เรือยางทางยุทธวิธีพร้อมเครื่องยนต์ติดท้าย (RHIB) 6 ลำ
—————————————————
เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่แบบอู่ลอย ร.ล.อ่างทอง (LPD791)
—————————————————
ร.ล.อ่างทอง (LPD791)
กองทัพเรือ Royal Thai Navy
21 สิงหาคม 2019

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ผอ.ศรชล.) ตรวจเยี่ยมการฝีก ศรชล. ผนวกการฝึก C-MEX 19 และเป็นประธานในพิธีปิดการฝึกฯ บนเรือหลวงอ่างทอง

วันนี้ 21 สิงหาคม 2562 เวลา 13.30 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ผอ.ศรชล.) ตรวจเยี่ยมการฝีกฯ และเป็นประธานในพิธีปิดการฝึกฯ บนเรือหลวงอ่างทอง ณ บริเวณท่าเรือนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยมี พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน เลขาธิการ ศรชล. และเสนาธิการทหารเรือ พร้อมข้าราชการระดับสูงของหน่วยงานความมั่นคงร่วมให้การต้อนรับ

สำหรับการฝึกศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ประจำปีงบประมาณ 2562 (ฝึก ศรชล.62) ผนวกกับการฝึกการบริหารสถานการณ์วิกฤตระดับชาติ ประจำปี 2562 (Crisis Management Exercise 2019 : C-MEX19) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้กำลังพลของ ศรชล. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานร่วมกัน ตลอดจนการอำนวยการและประสานงานในการจัดการกับภัยคุกคามและปัญหาความมั่นคงทางทะเลภายใต้พระราชบัญญัติฯ ตามโครงสร้างใหม่ โดยการฝึกมีขึ้นระหว่างวันที่ 15 ถึง 21 สิงหาคม 2562 ประกอบด้วยการฝึกอบรมให้ความรู้ ในวันที่15 ถึง 16 สิงหาคม 2562 การฝึกบัญหาที่บังคับการ (Command Post Exercise : CPX) ในวันที่ 19 ถึง 20 สิงหาคม 2562 และการฝึกภาคปฏิบัติในทะเล (Fied Training Exercise : FTX) ในวันที่ 21 สิงหาคม 2562 ณ บริเวณท่าเรือนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง

สำหรับการอบรมให้ความรู้กับผู้เข้ารับการฝึก จะเน้นให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโครงสร้าง ศรชล. รวมทั้งกลไกในการบูรณาการขีดความสามารถของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การฝึกปัญหาที่บังคับการ เป็นการฝึกการอำนวยการของ ศรชล. เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามทางทะเลในพื้นที่รับผิดชอบของ ศรชล.ภาค 1 – 3 และการใช้ประโยชน์จากกลไก ศรชล.จังหวัด และศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือ (PSCC)

นอกจากนี้ในห้วงเวลาดังกล่าวได้มีการฝึกร่วมกับภาคเอกชนคือการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ การรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ ISPS Code NASMEX 2019 โดยมีกลุ่มบริษัทชั้นนำธุรกิจปิโตรเคมีอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยหน่วยงานราชการในพื้นที่ เข้าร่วมฝึกซ้อมแผนดังกล่าว

ในการตรวจเยี่ยมการฝึกฯ ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นการฝึกภาคปฏิบัติในทะเล หรือ FTX โดยในปีนี้จะเป็นการฝึกสถานการณ์หลักในการขจัดคราบน้ำมันรั่วไหลในทะเล (Oil Spill) ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายไว้ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของรัฐบาล หรือ ECC การฝึกช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล (SAR) ซึ่งเป็นสถานการณ์ต่อเนื่อง รวมทั้งจัดให้มีการฝึกสถานการณ์การปราบปรามการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม โดยชุดสหวิชาชีพ ซึ่งเป็นงานที่ ศรชล. จะเข้าไปมีส่วนรับผิดชอบหลังการยกเลิก ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) และมีการฝึกสาธิตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล โดยใช้ขีดความสามารถในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามทางเรือขีดความสามารถระดับ 2 บนเรือหลวงอ่างทอง เป็นการฝึกทางการแพทย์ การคัดแยกผู้ป่วยเจ็บ ณ พื้นที่เกิดเหตุมีการรับส่งต่อ  ทำการคัดแยกประเมินเพื่อให้การรักษาพยาบาลช่วยชีวิต เข้าห้องผ่าตัด หอผู้ป่วยวิกฤติและหอผู้ป่วยรอการส่งกลับ

นอกจากนี้ มีการจัดนิทรรศการแสดงบทบาทหน้าที่ และภารกิจของ ศรชล. ตามพระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ.2562 การดำเนินงานในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของหน่วยงานภายใน ศรชล.ได้แก่ กองทัพเรือ กรมเจ้าท่า กรมประมง กรมศุลกากร กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกองบังคับการตำรวจน้ำ การแสดงบทบาท และภารกิจของศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วม (Joint Information Center : JIC) ของกรมประชาสัมพันธ์
จากการฝึกฯ ในครั้งนี้เป็นการเริ่มเปลี่ยนผ่านภารกิจและหน้าที่ จากศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเป็นศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ในการยกระดับการทำงานของ ศรชล.อย่างเต็มรูปแบบ โดยให้มีความพร้อมในการตอบสนองต่อสถานการณ์ด้านความมั่นคงทางทะเลที่เปลี่ยนแปลงไปให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความพร้อมรองรับภาระงานด้านความมั่นคงครอบคลุมในทุกมิติ จากภัยคุกคามในทุกรูปแบบ อาชญากรรมข้ามชาติ และความท้าทายข้ามแดน ที่มีความเชื่อมโยงกับการกระทำผิดกฎหมายระหว่างทะเลกับแผ่นดิน โดยการบูรณาการและการสนธิขีดความสามารถของทุกภาคส่วน ในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ พร้อมที่จะตอบสนองต่อแนวโน้มภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นจากจำนวนกิจกรรมทางทะเลที่จะเพิ่มมากขึ้น เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลให้มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนสืบไป
https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/posts/2853183244709174
—————————————————
ร.ล.อ่างทอง (LPD791)
Sompong Nondhasa
26 ธันวาคม 2020

กองทัพเรือฝึกการปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก ...ระหว่างวันที่ 22 - 25 ธันวาคม 2563 กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ ทำการฝึกภาคทะเล ในการฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีกองเรือยกพลขึ้นบก บริเวณอ่าวไทยตอนบน โดยมี พล.ร.ต.อาภา  ชพานนท์ ผู้บัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ เป็นผู้บังคับหมวดเรือฝึกฯ ทั้งนี้เพื่อดำรงขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางเรือ โดยเฉพาะการปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก ในระดับยุทธวิธีให้พร้อมปฏิบัติอยู่ โดยมีวัตถุประสงค์ของการฝึก  -เพื่อให้กำลังพลมีความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับยุทธวิธี ทั้งรายบุคคลและการปฏิบัติงานเป็นทีมภายในเรือ  -เพื่อตรวจสอบความพร้อมขององค์วัตถุของเรือ อากาศยาน และยุทโธปกรณ์ รวมทั้งเอกสาร คู่มือที่ประกอบการปฏิบัติ ให้กำลังพลที่รับผิดชอบเกิดความพร้อม และมั่นใจในการปฏิบัติงาน  -เพื่อเสริมสร้างทักษะ ประสบการณ์ในการตัดสอนใจ และบังคับบัญชาในระดับยุทธวิธี  -เพื่อทดสอบความพร้อมของระบบอาวุธประจำเรือ และอากาศยาน ...กำลังที่ร่วมฝึก ประกอบด้วย กำลังทางเรือ และอากาศนาวี  ร.ล.สิมิลัน   ร.ล.อ่างทอง  ร.ล.สีชัง   ร.ล.สุรินทร์ ร.ล.ราวี   ร.ล.ทองแก้ว  ร.ล.วังนอก  ร.ล.จุฬา  ร.ล.หลีเป๊ะ  -ชุดปฏิบัติการพิเศษ 1 ชุด  -เรือปฏิบัติการพิเศษ 1 ลำ  -กองพันก่อสร้างและพัฒนา กรมต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง  -เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่ 6 (EC643 T2) 2 เครื่อง ...กำลังรบยกพลขึ้นบก  -กำลังรบยกพลขึ้นบก จำนวน 1 กองร้อย  -รถสะเทินน้ำสะเทินบก (AAV) จำนวน 6 คัน ... ภาพ-ข่าวจาก กองกิจการพลเรือน กองเรือยุทธการ
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/2930759583693800
—————————————————
ร.ล.อ่างทอง (LPD791)
หมวดเรือเฉพาะกิจสะเทินน้ำสะเทินบกเคลื่อนกำลังจากเรือสู่ฝั่ง ส่งกำลังรบยกพลขึ้นบก ณ หาดบ้านทอน จ.นราธิวาส ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2564

#From_the_sea

(ภาพ:ช่างภาพสนามกองทัพเรือ)

วันที่ 31 มี.ค.64 พล.ร.อ.ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ เดินทางไปตรวจเยี่ยม และสังเกตการณ์ การฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก การฝึกภาคทะเล ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2564 โดยมี พล.ร.ท.สมัย ใจอินทร์ รองผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ผู้แทนผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ พล.ร.ท.สำเริง จันทร์โส ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 พล.ร.ต.สรไกร สิริกรรณะ รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ผู้แทนผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และ น.อ.อมร ซื่อตรง ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 3 กองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน / ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินภาคใต้ ให้การต้อนรับ ณ หาดบ้านทอน ค่ายจุฬาภรณ์ จ.นราธิวาส

          การฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบกในครั้งนี้ กำลังประกอบด้วย

     หมวดเรือเฉพาะกิจสะเทินน้ำสะเทินบก 

             - หมู่เรือลำเลียง (ร.ล.อ่างทอง , ร.ล.สีชัง , ร.ล.สุรินทร์)

             - หมู่เรือคุ้มกัน (ร.ล.เจ้าพระยา , ร.ล.รัตนโกสินทร์ , ร.ล.คีรีรัฐ , ร.ล.คำรณสินธุ์)

             - หมู่บินลาดตระเวนและลำเลียง (3 ฮ.ลำเลียง , 1 ฮ.ปราบ ด. , 1 ฮ.ตรวจการณ์ผิวน้ำ)

             - หน่วยปฏิบัติงานชายหาด

             - หน่วยกำลังส่วนล่วงหน้า

             - กำลังรบยกพลขึ้นบก (กำลังพล 700 นาย , AAV 8 คัน , BTR 4 คัน , รถฮัมวี่ 6 คัน , ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง 105 มม. 2 กระบอก , เครื่องยิงลูกระเบิด 120 มม. 2 กระบอก , ปืนต่อสู้อากาศยาน 2 กระบอก)

             - ชุดแพทย์สนามเคลื่อนที่ (โรงพยาบาลสนามระดับ 2)

โดยมีวัตถุประสงค์ในการฝึก เพื่อทดสอบการปฏิบัติตามหลักนิยมในการปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก พ.ศ.2564 ทดสอบแนวทางการใช้กำลังของกองทัพเรือ พ.ศ.2563 และทดสอบความพร้อมกำลังทางเรือและกำลังรบยกพลขึ้นบกนาวิกโยธิน ในการปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบกที่จำเป็นจะต้องได้มาซึ่งการควบคุมทะเล และครองอากาศในพื้นที่ปฏิบัติการในห้วงเวลาที่กำหนด การค้นหาและลิดรอนทำลายกำลังทางเรือของข้าศึก ทั้งเรือผิวน้ำและเรือดำน้ำไม่ให้เป็นภัยคุกคาม โดยมีการปฏิบัติตามหลักนิยมการปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก 5 ขั้นตอน

     ขั้นการวางแผน (Planning) ร่วมกับหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและหน่วยต่างๆ ณ ที่ตั้งปกติ 

     ขั้นการขึ้นสู่เรือ (Embarkation) ทำการขึ้นสู่เรือของกำลังรบยกพลขึ้นบก และส่วนสนับสนุน พร้อม ยุทโธปกรณ์ บริเวณท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ

     ขั้นการซักซ้อม (Rehearsal) ณ พื้นที่หาดยาว เพื่อทดสอบความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติต่างๆ การควบคุมบังคับบัญชา และการติดต่อสื่อสาร 

     ขั้นการเดินทาง (Movement) ภายหลังการซักซ้อมได้ออกเดินทางจาก ฐานทัพเรือสัตหีบ มายังพื้นที่ปฏิบัติการ ณ หาดบ้านทอน โดยมีหมู่เรือคุ้มกันทำหน้าที่คุ้มกัน ซึ่งก่อนที่จะเดินทางเข้ามาวางกำลังในพื้นที่นั้น หมวดเรือโจมตีและคุ้มกันที่ได้เข้าทำการควบคุมทะเลในพื้นที่ปฏิบัติการ

     ขั้นการโจมตี (Attack) เป็นการปฏิบัติในการเคลื่อนกำลังจากเรือสู่ฝั่ง โดยมี 4 คลื่นโจมตี ประกอบด้วย 

             - คลื่นโจมตีที่ 1 และ 2 เป็นการเคลื่อนที่ทางผิวพื้นด้วย AAV จำนวน 8 คัน 

             - คลื่นโจมตีที่ 3 เป็นคลื่นเรือระบายพลขนาดเล็ก มีเครื่องยนต์แบบใบพัด และเครื่องยนต์แบบ WATER JET จำนวน 2 ลำ ซึ่งจะมีคล่องตัวในการเกยและถอนตัวจากหาด 

             - คลื่นโจมตีที่ 4 เป็นคลื่นโจมตีเคลื่อนกำลังทางอากาศด้วยเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 4 ลำ โดยจะมีเฮลิคอปเตอร์ 1 ลำ ติดอาวุธทำหน้าที่คุ้มกัน

โดยเมื่อหมวดเรือเฉพาะกิจสะเทินน้ำสะเทินบกเดินทางเข้าพื้นที่และวางกำลังในพื้นที่ปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกเรียบร้อยแล้ว ร.ล.จักรีนฤเบศร  ทำหน้าที่เป็นฐานบินและควบคุมห้วงอากาศในพื้นที่ ร.ล.ตากสิน และ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ทำหน้าที่เป็นเรือสนับสนุนการยิงที่หมายบนฝั่งด้วยปืน ร.ล.อ่างทอง ทำหน้าที่เป็นเรือควบคุมหลัก และ ร.ล.สีชัง ทำหน้าที่เรือควบคุมรอง

การปฏิบัติในการเคลื่อนกำลังจากเรือสู่ฝั่ง (From the sea) จะทำการฝึกที่ดำเนินการต่อเนื่องในการส่งกำลังบำรุงทางยุทธวิธีจนกำลังรบยกพลขึ้นบกสามารถสถาปนาหัวหาดได้

การปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบกในครั้งนี้ ได้นำนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือ ที่ให้ไว้ว่า “รบอย่างไร ฝึกอย่างนั้น” มากำหนดเป็นกรอบในการฝึก โดยได้มีวางแผน และกำหนดพื้นที่ในการซักซ้อม และพื้นที่ปฏิบัติการต่างพื้นที่ รวมทั้งการควบคุมคลื่น ขณะเรือเดินในระยะไกล ซึ่งเป็นการฝึกการปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบกเต็มรูปแบบครั้งแรก ณ หาดบ้านทอน ค่ายจุฬาภรณ์อีกด้วย

Forward from the sea,ready to serve

:กองกิจการพลเรือน กองเรือยุทธการ
https://thaidefense-news.blogspot.com/2021/04/2564-ep5.html
—————————————————
เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ร.ล.สีชัง (LST721)
—————————————————
ร.ล.สีชัง (LST721)
17 มีนาคม 2018
การฝึกภาคทะเลนักเรียนจ่าทหารเรือ ประจำปี 2561
—————————————————
ร.ล.สีชัง (LST721)
27 กุมภาพันธ์ 2021

การฝึกรับส่งสิ่งของในทะเล ระหว่าง ร.ล.สีชัง และ ร.ล.คีรีรัฐ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการและเพิ่มความชำนาญในการปฎิบัติงานจริงในทะเล หลังจากจบออกมา โดยมีครูฝึกประจำเรือดูแลอย่างใกล้ชิด
#เรือหลวงสีชัง
#เรือหลวงคีรีรัฐ
#ฝึกภาคทะเลนักเรียนจ่าทหารเรือปี 64
—————————————————
ร.ล.สีชัง (LST721)
เข้าร่วมการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2564 ...
—————————————————
เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ร.ล.สุรินทร์ (LST722)
—————————————————
ร.ล.สุรินทร์ (LST722)
Navy For Life
27 พฤศจิกายน 2020
ภาพการปฏิบัติงานจาก ร.ล.สุรินทร์ ในการฝึกภาคทะเลของนักเรียนเตรียมทหาร

ในภาพเป็นการฝึกสถานีรับ-ส่ง สิ่งของในทะเล หรือ RAS : Replenishment At Sea หนึ่งในสถานีการเรือที่สร้างความเป็นชาวเรือแบบครบถ้วน ทั้งเชือก ทั้งรอก และความสามัคคีในการหะเบส (ดึง) เชือก หะเรีย (ปล่อยเชือก)

Sookto Sutthipong
27 พฤศจิกายน 2020
สถานีไฮไลน์  ร.ล.สุรินทร์ - ร.ล.สีชัง
ภาค นร.เตรียมทหาร
—————————————————
เรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ ร.ล. สิมิลัน (AOR871)
—————————————————
ร.ล. สิมิลัน (AOR871)
3 ธันวาคม 2015
เรือหลวงสิมิลัน ได้เข้าร่วมการฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธี กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ ในสาขายุทธบริการ ประจำปี งป.๕๙  ซึ่งการฝึกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
—————————————————
ร.ล. สิมิลัน (AOR871)
19 กุมภาพันธ์ 2016
ร.ล. สิมิลัน สนับสนุน กรมแพทย์ทหารเรือ ในการฝึกภาคปฏิบัติทางใช้การในทะเล ของ นรจ. พรรคพิเศษ เหล่าแพทย์ ชั้นปีที่ 2 ระหว่างวันที่ 18-19 ก.พ.59
—————————————————
ร.ล. สิมิลัน (AOR871)
23 กุมภาพันธ์ 2016
สวัสดีเช้าวันอังคารครับ สำหรับวันนี้ทางเพจ ร.ล.สิมิลัน ขอแนะนำอีกหนึ่งขีดความสามารถของ ร.ล.สิมิลัน คือ การปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือกับอากาศยาน ซึ่ง ร.ล.สิมิลัน สามารถใช้เป็นฐานบินลอยน้ำเพื่อเพิ่มระยะปฏิบัติการของอากาศยาน หรือใช้ในการเป็นเรือช่วยเหลือผู้ประภัยในทะเล เนื่องจากเรือมีความคงทนทะเลสูง สามารถอยู่ในทะเลได้เป็นเวลานาน 
#ตามภาพ ฮ.ทร. แบบ SEA HAWK #
"ยุทธบริการ งานเพื่อชัยชนะ
—————————————————
ร.ล. สิมิลัน (AOR871)
18 มีนาคม 2016
ในวันที่ 17 มี.ค.59 เวลา 0800 ร.ล.สิมิลัน ได้ทำการออกเรือเพื่อทำการทดลองระบบควบคุมเครื่องจักรใหญ่ และถือเป็นโอกาสอันดีที่เรือได้ออกทะเล และทำให้เรือมีความพร้อมสูงสุด จึงได้ประสาน เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด. SEA HAWK จาก ทัพเรือภาคที่ ๑ (ทรภ.๑) เพื่อมาทำการฝึก DLQ (DECK LANDING QUALIFICATION) จำนวน 2 เที่ยว โดยเที่ยวแรกเป็นการฝึก Touch and Go และในเที่ยวที่ 2 เป็นการลงจอดและ Chock Chain แต่ไม่ทำการดับเครื่อง ในการฝึกครั้งนี้นั้นเพื่อทำให้กำลังพลมีความคุ้นเคยในการใช้อุปกรณ์และการฝึกติดต่อสื่อสารกับ ฮ. ตาม Procedure ซึ่งผลการปฏิบัตินั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
—————————————————
ร.ล. สิมิลัน (AOR871)
16 มิถุนายน 2016 ...
—————————————————
ร.ล. สิมิลัน (AOR871)
7 กันยายน 2016 ...
—————————————————
ร.ล. สิมิลัน (AOR871)
11 มกราคม 2020 ...
—————————————————
ร.ล. สิมิลัน (AOR871)
Kawin Prayoonyuang
28 กุมภาพันธ์ 2020

ฝึกสถานีรับน้ำมันและของเหลวในทะเลครั้งแรกของ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ โดยมี ร.ล.สิมิลัน เป็นเรือส่ง
ระหว่างการฝึกภาคทะเลของนักเรียนจ่าทหารเรือ

รู้หรือไม่?
ระหว่างที่เรือเชื่อมต่อสายส่งน้ำมันอยู่นั้น เรือมีความเร็วที่เกือบ 30 km/h และ ร.ล.สิมิลัน ระวางขับน้ำถึง 20,000 ตัน ส่วน ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ เล็กกว่า ร.ล.สิมิลัน เกือบ 8 เท่า แต่ต้องนำเรือเข้าไปใกล้ที่ระยะไม่ถึง 50 ม.
— รู้สึกดีมาก
https://www.facebook.com/kawin.prayoonyuang/posts/10163148996600603

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น