หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ร.ล.ลาดหญ้า สนับสนุนการฝึกนายทหารนักเรียนหลักสูตร วางทุ่นระเบิด

ภาพบางส่วนจาก เรือหลวง ลาดหญ้า ในการสนับสนุนการฝึกนายทหารนักเรียนหลักสูตร วางทุ่นระเบิด ประจำปีงบประมาณ 60 โดยเป็นภาพหลังจากการวางทุ่นระเบิดแบบ Mk 6 ตามแผนที่นายทหารนักเรียนวางไว้เรียบร้อยแล้ว เข้าสู่ช่วงของการเก็บกู้เพื่อนำทุ่นระเบิดฝึกดังกล่าวส่งคืน สพ.ทร. (กรมสรรพาวุธทหารเรือ) เพื่อใช้ในการฝึกต่อๆ ไป โดย ทุ่นระเบิดแบบ Mk 6 เป็นทุ่นระเบิดแบบทอดประจำที่ (Moored Mine) ความยากในการเก็บกู้คือทุ่นระเบิดแบบ moored mine จะมี 2 ส่วน คือ ตัวทุ่น (Mine) และ เครื่องถ่วง (Anchor) แยกออกจากกัน (ในภาพคือวัตถุโลหะสีดำรูปสี่เหลี่ยม)
ทุ่นระเบิดแบบ Mk 6 เป็นทุ่นระเบิดแบบกระทบแตก ด้วยการอให้เรือมาชนกับเขาสวิซท์ สาเหตุที่เรียกว่าเขาสวิทซ์เนื่องจาก ตัวเขา และขอบจานเขานั้นจะทำมาจากโลหะ เมื่อเรือใดๆ มาชนเขาจนเขางอหรือหักไปแตะกับขอบจานเขา จะเป็นการต่อวงจรระเบิดให้ครบวงจร (ต่อทางไฟฟ้า) นั่นเองครับ
ความยากของการวางทุ่นระเบิดแบบทอดประจำที่ นอกจากการคำนวนการออกแบบสนามทุ่นระเบิดแล้วนั้น คือการคำนวนความยาวของลวดยึดทุ่นระเบิด เพื่อให้ตัวทุ่นระเบิดจมอยู่ในระดับความลึกจากผิวน้ำตามที่ต้องการ ซึ่งกำลังพลจะต้องตั้งค่าสายยึดทุ่นระเบิดให้ถูกต้อง เพราะหากตั้งลึกมากเกินไป จะทำให้เมื่อเรือผ่านสนามทุ่นระเบิด อัตรากินน้ำลึกของเรือจะน้อยเกินกว่าที่จะชนทุ่นระเบิดได้ หรือหากตั้งตื้นเกินไป เวลาน้ำลง ตัวทุ่นระเบิดอาจจะโผล่พ้นน้ำทำให้มองเห็นได้ด้วยสายตา หรือ อาจจะมีเรือที่ไม่ใช่เรือเป้าหมายมาชนทุ่นระเบิดแทนนั่นเอง
ความพิเศษของทุ่นระเบิดแบบ Mk 6 คือ ตัวสายยึดทุ่นระเบิด เป็นโลหะนำไฟฟ้า เมื่อเรือดำน้ำ มาเสียดสีกับสายยึดทุ่นระเบิด โลหะจากเรือดำน้ำ และโลหะจากสายยึดทุ่นจะต่อวงจรระเบิดได้ด้วย ทำให้ทุ่นระเบิด Mk 6 เมื่อวางไปแล้ว เรือดำน้ำก็จะตกอยู่ในอันตรายมากกว่าทุ่นระเบิดแบบทอดประจำที่ ที่ไม่สามารถต่อวงจรการระเบิดแบบนี้ได้นั่นเองครับ
ขอบคุณภาพจาก : นายทหารการอาวุธ ร.ล.ลาดหญ้า
เนื้อหา By Admin ต้นปืน561

ที่มา: Navy For Life

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น