หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

"บุคลากร" ที่เกี่ยวข้องกับ โครงการวิจัย อากาศยานต้นแบบ บ.ทอ.6


"ข้อเขียนและข้อความคำอธิบายรูปภาพที่โพสต์อยู่ใน www.facebook.com/rtaf6 ซึ่งผมได้นำมาเป็นบางส่วนบางตอน โดยมีความต้องการอยากจะให้ทุกท่านได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ โครงการวิจัย อากาศยานต้นแบบ บ.ทอ.6 ของกองทัพอากาศ โดยเฉพาะ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ที่ผมอยากจะเน้นเป็นพิเศษ เพราะพวกเขาเหล่านั้น ซึ่งเป็นบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ ประสบการณ์ และ ความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบิน ได้ระดมสรรพกำลังและร่วมลงมือกันทำงาน ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ จนสามารถสร้างอากาศยาน บ.ทอ.6 เครื่องต้นแบบ ได้สำเร็จ และสามารถขึ้นบินเที่ยวแรกได้ ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จไปขั้นหนึ่ง ส่วนขั้นต่อไปก็เป็นการ ทดสอบ พัฒนา ปรับปรุง แก้ไข จนได้อากาศยานที่ดี และสมบูรณ์แบบที่สุด ตรงตามวัตถุประสงค์.. จนถึงขั้นสุดท้าย ผลิตสร้างนำเข้าประจำการ หรือ อย่างน้อยก็ทำให้ประเทศของเราได้มีองค์ความรู้ ในการผลิตสร้างอากาศยานสมัยใหม่ ที่เราก็สามารถทำได้ เทียบเคียงกับประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้า และเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการผลิตสร้างอากาศยาน ได้อย่างไม่น้อยหน้า หรือโดยภาคเอกชนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปต่อยอดเพื่อการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์บางอย่างทางด้านการบิน และแม้กระทั่งผลิตอากาศยาน ซึ่งเป็นสินค้าของคนไทย ส่งออกขายต่างประเทศ เป็นการนำรายได้เข้าสู่ประเทศ ได้ผลดีทางเศรษฐกิจ.. ขอเป็นกำลังใจ และ อวยพรให้ประสบความสำเร็จ ครับ" - sukom/thaidefense-news.blogspot.com





มาติดตามกันเลยครับ..



บ.ทอ.๖ กองทัพอากาศไทย


ผู้ที่ผลักดัน โครงการ บ.ทอ.6 ให้เป็นผลสำเร็จ ที่ต้องกล่าวถึงอย่างยิ่งคือ พล.อ.ต.พลานันท์ ปะจายะกฤตย์ ผู้ที่เปิดหนังสือเอกสารเทคนิค กลางรูป (ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่ง เสนาธิการ กรมช่างอากาศ ต.ค.๕๕ นี้) ที่เป็นทั้ง วิศวกร ช่าง นักบิน และวิศวกรลองเครื่อง ท่านจะขลุกอยู่กับเครื่อง ให้กำลังใจทีมงาน วางแผนการทำงาน เสนอแนวคิด ที่เป็นรูปธรรม ผสมผสาน อ้างอิงทั้งวิชาการ ทฤษฎี แต่ก็ลงมือทดลองปฏิบัติ ประยุกต์หาวิธีทดสอบ ไม่ละเลย ให้ได้ตามหลักความปลอดภัยตามกรอบสากล ชัดเจน สมเหตุผลอยู่กับความจริง ไม่ถือตัว สมถะ พอเพียง ไม่รู้ว่าจะมี นายพล คนใดในกองทัพใดในโลกอีกแล้วที่จะมามุดอยู่ใต้เครื่อง เหงื่อไหล วิเคราะห์หาวิธีการแก้ไขปัญหา ในขณะเดียวกัน ก็วางแผนด้านต่างๆ ในที่ประชุมใหญ่ระดับชาติ ซึ่งสิ่งนี้ ทำให้ทีมต่างๆ เคารพและเกรงใจท่านมาก และนำการทำงานอุดมการณ์ของท่านเป็นแบบอย่าง ท่านถือเป็นรอยต่อประวัติศาสตร์ของการสร้างเครื่องบินสมัยใหม่ของไทย มีประสบการณ์การสร้างเครื่องบินก่อนหน้านี้ หลายแบบ ตั้งแต่เป็นนายทหารเด็กๆ จึงสามารถถ่ายทอด ประสบการณ์ วิธีการ แนวทาง นับว่าประเทศไทยโชคดีที่มี ท่านเป็นรอยต่อขององค์ความรู้และสามารถพัฒนาอากาศยานได้ประสบผลสำเร็จ รวมทั้งเป็นผู้นำสร้างทีมงาน นักบินลองเครื่อง สืบทอดรุ่นต่อไป ไม่น่าเชื่อว่าท่านยืนยันความปลอดภัยตามหลักวิชาการโดย ขึ้นบินกับเครื่องบิน ทั้ง บ.ชอ.๒ และ บ.ทอ.๖ นับว่าไทยมีบุคคลากรชั้นยอดหัวกระทิระดับโลกสุดๆ จริงๆ ถึงแม้ ไทยจะเป็น ชาติเล็กๆ แต่ก็มี บุคคลที่ทุ่มเท ชั้นยอด มิฉะนั้นชาติไทย คงไม่มีความสามารถในการสร้างอากาศยานได้อีกต่อไป


mockup ระบบเชื้อเพลิง บ.ทอ.6 ณ กองซ่อมบริภัณฑ์ กรมช่างอากาศ สามารถ ทดสอบ simulate ท่าทางการบินมุมต่างๆ โดยใช้อัตโนมือ แสวงเครื่อง นับว่าใช้ความพยายามและการประยุกต์ ช่างไทยๆ ภูมิปัญญาไทย อย่างน่านับถือ โดยดูที่ outcome ประสบผลสำเร็จ เป็น ระบบเชื้อเพลิงที่มี flow rate ตามต้องการ และมีความปลอดภัย ในงบประมาณที่จำกัด


บ.ทอ.6 @ 2 g turn ที่ 5000 feets เพื่อทดสอบประสิทธิภาพ ความมั่นใจ สำหรับท่าทางการบิน ต่างๆ ในการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของระบบเชื้อเพลิง ที่ประกอบด้วย aerobatic tank, flipflop valve , pump sensor และเครื่องวัดต่างๆ สำหรับ ระบบเชื้อเพลิง ได้ถูกประกอบรวม และ ทดสอบ ท่าทางต่างๆ บน mock up ที่พื้นดิน ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยวิศวกร ก่อนหน้านี้ประมาณปี 53-54 ที่ กองซ่อมบริภัณฑ์ กรมช่างอากาศ


บ.ทอ.๖ ทดสอบภาคอากาศ Flight Test Instrument โดยมี PC-9 เป็น Chaser


บ.ทอ.๖ @ 10,000 Feet ความเร็ว 200 kts กลับมาแล้ว :) แผ่นฟ้ามิอาจกางกั้น ศักยภาพของ กองทัพอากาศ ที่กลับมาสร้าง อากาศยานไทยเหมือนเช่น บรรพชนทัพฟ้า ในอดีต เป็นต้นทางของ โอกาส แห่ง ความรู้ ที่จะร่วมกันสร้าง ชาติไทย ให้ทัดเทียม ชาติอื่น ต่อไป


จนท.ช่างทดสอบการบิน จดบันทึกทดสอบ ระบบเชื้อเพลิง ก่อนขึ้นบิน ทดสอบ อุปกรณ์ FTI ภาคอากาศ บ.ทอ.๖


นอกจากนั้น บ.ทอ.๖ ได้ปรับปรุงท่อไอเสีย เพิ่มสมรรถนะการบินให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น


บ.ทอ.๖ บินทดสอบติดอุปกรณ์ Flight Test Instrument เพื่อเก็บข้อมูล สมรรถนะการบิน 14 parameters เป็นข้อมูลพื้นฐานของการบิน และการวิจัยออกแบบอากาศยาน 28 ส.ค.2555 โดยขั้นตอนแรกเป็นการปรับเทียบมาตรฐานเครื่องวัดดิจิตอล ซึ่งข้อมูลเก็บในรูปของ ไฟล์ สามารถนำมาวิเคราะห์เก็บกลับหลังจากทำการบิน


บ.ทอ.๖ เครื่องที่ ๒ ของประเทศไทย ปรับปรุง cowling


เราคงคิดว่าการสร้างเครื่องบิน ต้องใช้เงินมากมายมหาศาล วิศวกร ปริญญาเอกจำนวนมาก นั่งในห้องแอร์เครื่องมือเพียบพร้อม คอมพิวเตอร์เต็มโรง กระดิกนิ้วประชุม ซึ่ง ก็ถูกต้องแต่เป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งเท่านั้น มันเป็นแค่สิ่งแวคล้อมที่เอื้อให้สำเร็จง่ายขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดหาใช่ที่กล่าวมาข้างต้น ประวัติศาสตร์การสร้าง อากาศยาน ของไม่ว่าประเทศไหนๆ มันจะมีกลุ่มคนที่ยอมบุกเบิกไม่ว่าจะทำหน้าที่ใดๆ มีปรารถนาแรงกล้า ที่จะทำสิ่งที่ก้าวไปข้างหน้า ก้าวข้ามพรมแดนความเชื่อเดิมที่ฝังกันไว้ ( ย่อมต้องเป็นกลุ่มคนเล็กๆ เพราะกลุ่มใหญ่ไม่เชื่อว่าทำได้ และพร้อมจะซ้ำเติมหากทำไม่ได้ เพราะจะได้ตัดขาลงไป ) ซึ่งต้องใช้ สิ่งที่เป็นนามธรรมมากๆ กำลังใจ ความภูมิใจ วิสัยทัศน์การมองไปข้างหน้า ความคิดด้านบวกว่า เราทำได้ ความมุ่งมั่น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความพยายาม ความอดทน ยอม อดกลั่น ต่อแรงเสียดทานความขาดแคลน ที่ หาไม่ทัน หาไม่ได้ ต้องกราบกราน ความขาดแคลนกำลังใจซึ่งต้องเติมให้กันและกันในทีมงาน ความเป็นผู้นำ การทำงานที่สร้างสรรค์ เผื่อแผ่ความสำเร็จให้กันและกัน หมดยุค one man hero อีกต่อไป หมดยุคที่ตัดขาคู่แข่ง แต่เป็นยุคที่สร้างสรรค์ความดีแข่งกัน มันต้องเป็น hero สำหรับทุกๆ คน ทุกคนต้องรู้ว่าเป็นส่วนใดของความภูมิใจร่วมกัน ขอขอบคุณที่ให้กำลังใจ สำหรับโครงการ บ.ทอ.๖ ครับ


บ.ทอ.๖ @ Bottom up


Back Side view RTAF-6



Top View

First Flight



วันที่ 14 มิ.ย.55 นักบินลองเครื่อง น.ต.ภาสกร ไชยกำเนิด Flight Eng. ร.ท.อนันต์ วงศ์ชาลี ได้นำเครื่องบิน บ.ทอ.6 บินขึ้นเป็น First flight โดยไม่เก็บฐาน เพื่อทดสอบสมรรถนะ และการบินที่ 5,000 ฟุต ที่ความเร็วประมาณ 100 kts โดยมี บ.ชอ.๒ นักบินลองเครื่อง ร.อ. สานิตย์ ประวิตรวงศ์ Flight Eng. พล.อ.ต.พลานันท์ ปะจายะกฤตย์ เป็น Chaser ทั้งสองเครื่องทำการบินเป็นไปด้วยความเรียบร้อยเป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง ถือเป็นก้าวความสำเร็จครั้งสำคัญของ ประวัติศาสตร์การสร้างอากาศยาน สมัยใหม่ของประเทศไทย


หลังจากทำ first flight เสร็จเรียบร้อย บ.ทอ.6 ได้ขึ้นบิน first flight with gear up ต่อจากนั้น touch and go และ landing เป็นที่เรียบร้อย ถือได้ว่าเป็น บ.ต้นแบบที่ สมบูรณ์ สำเร็จอย่างงดงาม


พล.อ.อ.สุพสร เกษรมาลา อดีตเจ้ากรมช่างอากาศ ผู้ริเริ่มโครงการ บ.ทอ.6 พล.อ.ท.อานนท์ วิรัชกุล เจ้ากรมช่างอากาศ และผู้บริหาร กรมช่างอากาศ แสดงความยินดีกับ พล.อ.ต.พลานันท์ ปะจายะกฤตย์ ประธานคณะทำงานโครงการ, นักบินลองเครื่อง และ เจ้าหน้าที่ ผู้เกี่ยวข้องและสนับสนุนการสร้างทดสอบเครื่องบินต้นแบบ บ.ทอ.6 ที่สามารถ ผลักดันงานให้สำเร็จลุล่วง สามารถบิน First Flight ได้สำเร็จวันที่ 15 มิ.ย.55

นักบินลองเครื่อง


โครงการนี้จะก้าวหน้าได้ นักบินลองเครื่อง มีส่วนสำคัญที่ ต้องมีการวางแผนการทดสอบ small step at a time มีการบริหารความเสี่ยง มีวินัยการบินดีเยี่ยม ต้องมีทักษะการบินเป็นเลิศกว่าปกติ เพราะ เป็นพรมแดนอันใหม่ ที่ยังไม่มีนักบินคนไหน หรือ บันทึกที่ไหนบอกมาก่อน มีความอดทนมีเหตุผลความรอบคอบสูง เพราะเครื่องต้นแบบ จะเป็นเครื่องที่ ไม่ได้ perfect เหมือนกับเครื่องบินที่ซื้อมา น้อยคนนักที่จะมีความสามารถก้าวถึงขั้นนี้ได้ เป็นสุดยอดที่สุดของนักบินไทย ขอปรบมือและภูมิใจให้กับนักบินลองเครื่องต้นแบบ บ.ทอ.6


ทีมนักบินลองเครื่องระดับโลกของไทย


ทีมนักบินทดสอบ กองทัพอากาศ ผ่านหลักสูตรนักบินทดสอบ ต่างประเทศ เตรียม ขั้นตอน Flight Test ตามมาตรฐาน — กับ Joe Poonsong

ก่อนจะมาเป็น บ.ทอ.6 และ ก่อนจะทำการบิน  First Flight


บ.ชอ.๒ ( เครื่องบินกรมช่างอากาศแบบที่ ๒ ) นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๙ เป็นต้นมากองทัพอากาศไม่ได้มีการสร้างอากาศยานอีกเป็นเวลาราว ๒๐ ปี กองทัพอากาศมีแนวความคิดที่จะพัฒนาสร้างอากาศยานเพื่อรองรับ อุตสาหกรรมการบินตามนโยบายของรัฐบาลที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค กรมช่างอากาศจึงได้จัดทำโครงการสร้าง บ.ทอ.๖ ต้นแบบขึ้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในเบื้องต้นกองทัพอากาศจึงได้จัดทำโครงการสร้าง บ.ชอ.๒ ขึ้นก่อน ซึ่งเป็นการ Reverse Engineering บ.แบบ Marchetti (บ.ฝ.๑๕) ซึ่งเป็น บ.ฝึกสมรรถนะสูง ผ่านการบินทดสอบ และนำมาเป็น บ. Chaser ใน First Flight ของ บ.ทอ.๖ การสร้างเครื่องบิน จะเริ่มจากมี Jig Fixture เพื่อเป็นจุดอ้างอิงในการประกอบอุปกรณ์ ดังนั้น เมื่อถอด marchetti ตัวเก่าออก และสร้างชิ้นส่วนใหม่ประกอบกลับ เป็น บ.ชอ.๒ เราจะได้ข้อมูลอ้างอิงที่เป็น Jig Fixture ดังกล่าว เมื่อสร้าง บ.ทอ.๖ ก็สามารถจะใช้ Jig นี้ สร้างชิ้นส่วนใหม่ เพื่อใช้ในการประกอบ ปีกลำตัว อนาคตต่อไป ก็สามารถ ออกแบบ หรือ ปรับปรุง เพิ่มเติม โดยมีพื้นฐาน จาก Jig Fixture ดังกล่าว การพัฒนาอากาศยานส่วนใหญ่ไม่ได้ก้าวกระโดด หากแต่ ค่อยๆ ปรับนิดนี่หน่อย พัฒนาต่อยอด ใช้ หลักการที่ว่า อะไรดีอยู่ให้คงไว้ ค่อยปรับปรุงให้ดีขึ้น เพิ่ม option เสริม เช่นเดียวกับ รถ เป็น Minor change นับเป็นแนวความคิดที่เฉียบคมของ ท่านผู้ริเริ่มโครงการนี้ ที่จะเริ่มพัฒนาองค์ความรู้ในการสร้างอากาศยานใหม่อีกครั้ง


ภาพวิวสวยๆ บ.ชอ.2 ต้นแบบ Re-engineering ก่อนมาเป็น บ.ทอ.6


การขึ้นรูป สร้างลำตัว บ.ทอ.๖ กองโรงงาน กรมช่างอากาศ บางซื่อ


การขึ้นรูป สร้างปีก บ.ทอ.๖ กองโรงงาน กรมช่างอากาศ บางซื่อ ก่อนการประกอบต้อง วางถังน้ำมันเชื้อเพลิง ท่อทาง sensor wiring ฯลฯ ให้เรียบร้อยก่อนปิดยกลงเพื่อประกอบกับลำตัว


เริ่มใกล้ความจริงแล้ว บ.ทอ.6 weight balancing


เครื่องยนต์ บ.ทอ.6 Turbo Prop Engine ใบพัด 3 กลีบ, Allison250 แรงขับ 420 HP พัฒนาออกแบบ Fuel System ใหม่หมด , พัฒนาออกแบบ Engine Mount และ Cowling ใหม่หมด,เพิ่ม Aerobatic Tank สำหรับการบินผาดแผลง มาตรฐานความปลอดภัย FAR23 compliance ของ FAA ในทุกระบบ โดยวิศวกร, ช่างอากาศ ทอ. และ ช่างภาคพื้นประเภท 2 การบินพลเรือน


บ.ทอ.6 EFIS Glass Cockpit


ระบบ Avionic


บ.ทอ.6 cockpit almost full option 8 Dec 2011


Modern Avionic ของเครื่องบินสมัยใหม่ รวบเอา output ของ sensor ระบบต่างๆ ของเดิมที่มี input เป็น ไฟฟ้า, air flow , pressure ฯลฯ แปลงค่าเป็น ดิจิตอล ส่งข้อมูลทั้งหมดลง Databus ซึ่ง จะทำให้ ง่ายต่อการ แสดงผล ง่ายต่อการประยุกต์ automated autopilot รวมถึงมีความเที่ยงตรงสูง เครื่องบินของกองทัพอากาศที่มี ใช้งาน ในปัจจุบันที่ใช้ Glass Cockpit EFIS ก็เช่น Gripen , S-92 , ATR-72, DIAMOND ซึ่ง Glass Cockpit Avionic ของ บ.ทอ.๖ ได้วางไว้ ให้สร้างเป็นระบบทันสมัยแบบใหม่ เพื่อ ค้นคว้า วิจัย หาความรู้ในการประยุกต์ ใช้ จอ Electronic Flight Instrument System (EFIS) ที่ต้อง Integrate ระบบ Analog แบบ เดิม ให้เข้ากับ ระบบ Digital ใหม่ รวม ถึงการ Wiring อากาศยาน ที่ต้องมี มาตรฐานความปลอดภัยสูง เพื่อพัฒนาความรู้ให้ก้าวทันเทคโนโลยีอากาศยานยุคใหม่ ทีมงาน Avionic Glass Cockpit กองซ่อมบริภัณฑ์ กรมช่างอากาศ ได้บากบั่นสู้งานกันจนสำเร็จ แต่อย่างไรก็ตามเป็นเพียง เริ่มต้นทางของการพัฒนา ที่ยังต้องหา กระบวนการ วิชาความรู้ใหม่ๆ เพื่อให้ กองทัพอากาศไทย โดยกรมช่างอากาศ ก้าวทันสามารถ ซ่อมบำรุง สร้าง พัฒนาสำหรับ บ.ยุคต่อๆ ไป


ถ้าเป็น เครื่องบินขนาดเล็ก โดยเฉพาะ มาเชสตี้ ขอให้บอกเลย ท่านนี้ น้าซิ่ง ถึงแม้ว่าจะไปอยู่ บริษัท TAI ดูแลเครื่องบินฝึกเยอะมากมาย ก็ยังเสียสละเวลามาช่วยดูแล ให้คำปรึกษา โดยมีสไตล์พิเศษเฉพาะตัวคือ ปฏิบัติลงมืออย่างเดียว ไม่พูดไม่จา แต่มีความเชี่ยวชาญมากถึงมากที่สุด จะเห็นได้ว่าไม่ว่าคนไหน ทุ่มกันสุดๆ เพื่อให้บินได้


บ.ทอ.๖ เป็นเครื่องบินที่สามารถเก็บฐานได้ ทีมงานระบบฐานอากาศยาน จะเป็นส่วน Back shop ของกองซ่อมบริภัณฑ์ กรมช่างอากาศ เลยไม่ค่อยมีรูป เรื่องเบรค ฐาน ล้อยาง ต้องขอยกนิ้วให้ ความสามารถของการดัดแปลง เนื่องจากเป็น เครื่องบินมีอายุยาวนาน อะไหล่หายากมากถึงมากที่สุด เมื่อไม่มีอะไหล่ที่จะมาเปลี่ยนก็ต้อง ให้ทีมงานหาวิธีประยุกต์ดัดแปลง ซึ่งทางทีม ซ่อมบำรุงฐาน ล้อยาง มีประสบการณ์ของการซ่อมบำรุง บ.ของกองทัพ ทั้งเก่าใหม่ ไม่ว่า เบรค F-16 L-39 ALPHAJET C-130 จะเป็นทีมที่หา solution ได้เสมอ แต่การดัดแปลงก็มีการตรวจ ทดสอบบนเครื่องทดสอบ ในเวลาตามมาตรฐานเสมอมั่นใจได้ว่ามีคุณภาพ ซึ่งท้ายสุดก่อนบินขึ้นยังตามแก้หาอะไหล่ให้ได้ รับผิดชอบกับหน้าที่อย่างเต็มที่ ขอปรบมือให้ในความสำเร็จ


จากหนอนที่น่าเกลียดตัวปุปะ ด้วยแรงความหวังที่ไม่เคยเหือดหายของช่างอากาศทั้งหลาย ที่มั่นใจว่า มันจะบินได้ บัดนี้ จากหนอนกระดำกระด่าง ได้กลายเป็นผีเสื้อที่สวยงามโบยบิน อวดชาวโลกว่า ชาวไทยช่างไทย ก็สามารถสร้างเครื่องบินที่ทันสมัยทัดเทียมเค้าได้เหมือนกัน ถึงแม้จะไม่ใช่เครื่องบิน jet ไอพ่น แต่ก็เป็น เครื่องบิน Jet ที่ส่งแรงขับไปขับใบพัด ความเร็วไม่ถึงขั้นเหนือเสียง เป็น จุดเริ่มต้นใน generation นี้และต่อๆ ไป จะเพาะบ่มประสบการณ์ ในการปีนยอดเขาของการพัฒนาอากาศยานของไทยซึ่งบัดนี้ มันได้มีฐานที่จะยืนแล้ว ทำให้ กองทัพอากาศไทย ได้ก้าวมาอยู่แนวหน้าของ ASEAN แล้ว จริงๆ


เปลี่ยนสี ลอกคราบ แต่งองค์ทรงเครื่อง เข้าโหมด เตรียมบินทดสอบ


ภาพจำลองสี บ.ทอ.6


เปลี่ยนสี เช็คทุกระบบ เก็บรายละเอียด pitot static test, landing gear sequence, fuel , avionics, instrument


Ground Run อย่างมั่นใจ เครื่องยนต์กำลังสูง ทดสอบโดยคำนึงถึง ความปลอดภัยในทุกระบบ ก้าวยกระดับการพัฒนาอากาศยานไทยสู่มาตรฐานสากล อีกหนึ่งความภูมิใจครบรอบ 100 ปี การบินของไทย 90 ปีกรมช่างอากาศ


Patch อาร์ม บ.ทอ.6


Flight Test Process Start !


ต่อคิวเข้า Taxi Way flight test ground run low speed ด้วยความมั่นใจ


Low speed taxi 80 km/h เสถียรภาพมั่นคง เครื่องแรง ช่วงล่างพร้อม


RTAF-6 First Airborne ประวัติศาสตร์การสร้างอากาศยานของไทยสมัยใหม่ กลับมาเริ่มอีกครั้ง ในวันที่่ 1 มิ.ย.55 บ.ทอ.6 เริ่มลอยตัวเกาะอากาศเป็นครั้งแรกหลัง จากครั้งสุดท้่าย บ.ทอ.5 ปี พ.ศ.2517 และ Fantrainner พ.ศ.2527 — กับ Joe Poonsong


วันที่ 8 มิ.ย.55 พล.อ.ต.พลานันท์ ปะจายะกฤตย์ มอบ อาร์ม บ.ทอ.6 ให้แก่ จนท.กองโรงงาน กรมช่างอากาศ ที่ได้สร้าง ชิ้นส่วน โครงสร้าง ประกอบอากาศยาน บ.ทอ.6 เพื่อความภูมิใจในการมีส่วนร่วมในความสำเร็จ ของ บ.ทอ.6 เครื่องแรก และเป็นขวัญกำลังใจในการ สร้าง เครื่องที่ 2 ต่อไป หวังว่า ไทยจะได้ชื่นชมภาคภูมิเครื่องที่ 2 สาม และสี่ ต่อไป การสร้างความภูมิใจ การให้ จนท. Aware ว่าเค้าเป็น ฟันเฟือง ผลักดัน เป็นส่วนสำคัญ ต้องลด ระบบเดิมๆ ที่ละเลย คุณค่าความภูมิใจในงาน เป็นพรมแดนที่ กองทัพอากาศไทย ต้องก้าวข้าม เพราะ เราจะทำ ผลงานระดับโลก ได้อย่างไร ถ้า เรายังทำงานในสิ่งแวคล้อม สังคม งาน เงิน ทรัพยากร ในระดับเหมือนกับ ประเทศด้อยพัฒนา ทุกองคาพยพ ต้องเดินไปด้วยกัน Together we can เพื่อก้าวไปสู่ One of the best airforces in asean


ขอแสดงความยินดี และขอบคุณ ทีมระบบ ไฟฟ้าอากาศยานและไฟฟ้าฐาน ซึ่งยังมีอีกหลายคนเบื้องหลัง ของ กองซ่อมบริภัณฑ์ กรมช่างอากาศ มุ่งมั่นสร้างผลงานแม้จะต้องเดินทางไปกลับแทบทุกอาทิตย์ ชักหน้าไม่ถึงหลังตามอัตภาพ แต่ก็มุ่งมั่น ที่จะเดินหน้าต่อเพื่อสร้างผลงานให้รุ่นหลังต่อไป สู้ต่อไป เมื่อเกษียณจะมีความทรงจำดีๆ เอาไว้คุยให้ลูกหลาน


ระบบเชื้อเพลิงเป็นระบบที่สำคัญที่สุดของ เครื่องยนต์เจ๊ต การรู้จริงในงานสามารถอธิบายเป็นเหตุเป็นผล และสามารถพิสูจน์ได้ ทีมงานระบบเชื้อเพลิง และเบื้องหลัง ของ กองซ่อมบริภัณฑ์ กรมช่างอากาศ ได้สร้างความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้ชาวไทย และจะเป็นทีมที่แข็งแกร่ง ที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ในการสร้างและซ่อม ระบบเชื้อเพลิงอากาศยานในไทยได้ ไม่มีใครในไทยที่มีประสบการณ์เท่าอีกแล้ว ขอขอบคุณกับความมุ่งมั่นแม้จะต้องอัตคัตขัดสนทุบหม้อข้าว เดินทางไปกลับ ขอให้สู้ต่อในภาคสองต่อไป จะเป็นสิ่งที่น่าจดจำ หลังเกษียณ


ทีมงาน AVIONIC และเบิ้องหลังอีกหลายคน ของกองซ่อมบริภัณฑ์ กรมช่างอากาศ ซัดกับปัญหา กัดไม่ปล่อย ถึงแม้จะต้องไปๆกลับๆ หมุนชักหน้าไม่ถึงหลัง ตลอด น่าภูมิใจในความพยายาม และอุดมการณ์ จนได้รับความสำเร็จ ขอให้เดินหน้าต่อไป เพื่อเป็น มืออาชีพในงาน สู้ต่อไป


เนื่องจาก บ.ทอ.๖ เป็นเครื่องแรกหลังจาก 20-30 ปีที่ผ่านมาไม่ได้มีการสร้างอีก ทำให้ ผู้เกี่ยวข้อง ทุกคนในกรมช่างอากาศ ผู้เป็นหลังฉากของการบิน เป็นผู้วิ่งซ่อมบำรุงเครื่องบินให้กองทัพอากาศให้ คงไว้ซึ่งศักยภาพเหนือน่านฟ้าไทย มีความอัดอั้นมานานมาก ว่า เราเคยสร้างได้ บรรพชน เคยทำได้ บรรพชนเคยสร้างความภูมิใจให้ ประชาชนในชาติ ว่าเป็นชาติที่มีอารยะ แข็งแกร่ง ที่ปัจจุบันเรา แทบไม่มีความภูมิใจในชาติ หลงเหลือ อยู่ เนื่องจากต้องซื้อเค้าทุกอย่าง จึงทุ่มทั้งแรงกายใจอย่างมาก เพราะการสร้างอากาศยานเป็นงานยืดเยื้อ ยาวนาน ใช้ปัญญา ใหญ่ ยาก มีแรงเสียดทาน เหงื่อไหลไคลย้อย ตัวเหม็น ไม่เหมือนงาน ง่ายๆ สบายๆ นั่งโต๊ะ ดังนั้นส่วนใหญ่จึงมีแต่ วิจัยงานเล็กๆ ซึ่งการสร้างอากาศยานดูเหมือน กลุ่มคนโง่ๆ กลุ่มเล็กๆ ทำทำไม แต่ทุกทีมเข้าใจว่า มันเป็นเกียรติยศ ชั่วชีวิต ไม่ต้องได้กับคนอื่น อย่างน้อยเป็นความภูมิใจในตัวเอง ไว้อมยิ้มเมื่อยามเกษียณ เมื่อนั่งมอง เครื่องบินยี่ห้อไทย บินอยู่ลิบๆ ไกลๆ ว่าเรา ก็เป็นทีมบุกเบิกรุ่นใหม่ ผู้สร้างอากาศยานให้ไทยได้มีความเจริญงอกงามแข็งแกร่งคงไว้ซึ่งความเป็นชาติไทย


ขอบคุณทีมงาน กองซ่อมอากาศยานที่ ๑ กรมช่างอากาศ เจ้าบ้าน ช่างเล็ก ช่างใหญ่ หลายต่อหลายคน ร่วมแรงช่วยกัน ทำทุกอย่างไม่มีเหนื่อยล้า ทุกคนมีความภาคภูมิใจ รู้มาจากเก่าก่อนว่า ช่างไทย เคยสร้าง เครื่องบินทั้งลำ ยิ่งใหญ่มาแล้วในอดีต ทุกคนมีประสบการณ์ซ่อมบำรุงเครื่องต่างๆ ตามตำรา แต่ไม่เคยออกพ้นกรอบการซ่อม มาบัดนี้ ได้ทำงานกับเครื่องที่เป็นเครื่องบินไทยทำ ต้องคิดดัดแปลงเอง ไม่มี ฝรั่ง มาฝึกสอน ไม่มีใครมาชี้นิ้วบอก ดังนั้นเมื่อต้องติดเครื่อง บ.ทอ.๖ จะมารุมอยู่มากแถวนั้นเพื่อคอยรับคำสั่งจากวิศวกรต่างๆ มันไม่ได้เป็น การทำเพราะต้องทำ แต่มันเป็น Inspiration มาจากใจ เป็นการทำงานที่น่าดีใจ ซึ่งบัดนี้ ในที่สุดเครื่องบิน บ.ทอ.๖ โบยบินขึ้นฟ้าพิสูจน์แล้วว่า การร่วมแรงร่วมใจจาก Inspiration (ทำด้วยใจรัก) มันยิ่งใหญ่ การสร้างเครื่องบิน บ.ทอ.๖ มันไม่ใช่แค่การสร้างเครื่องบินอีกต่อไป แต่มันกลายเป็นการปลุกความภาคภูมิใจ ปลุก Inspiration ของเชื้อชาติไทยทั้งมวล ให้ยืดอกยกย่อง เคารพในตนเองว่า มีความสามารถไม่แพ้ชาติอื่นเหมือนกัน ถ้าเราร่วมมือกันทำไม่ว่า สิ่งนั้นจะยากสักเพียงใด Together we can บ.ทอ.๖


บ.ทอ.๖ @ 5000 feet


เมื่อวันหนึ่งเราแข็งแกร่ง ต่อไปเราอาจจะโตไปเป็น พี่เค้า เครื่องบินไอพ่น เช่น L-39 แนวเดียวกับ ประเทศ เชค บ้าง ขอบฟ้าแผ่นฟ้าไทย ยังกว้างใหญ่ อย่าได้ดูถูกศักยภาพของตนเองเด็ดขาด


ถึงแม้ว่า บ.ทอ.๖ ไม่ได้มา โชว์ ตัวในงาน 100 ปีการบินบุพการี แต่แค่บินสำเร็จ ในวันครบรอบ ก็สร้างความภูมิใจให้กับ ชาวไทย ให้เป็นที่รับรู้ว่า กองทัพอากาศไทย ยังมีขีดความสามารถในการสร้างอากาศยานสมัยใหม่ได้ซึ่งหากทุุ่มเทความพยายาม อย่างจริงจัง เครื่องบินแบบใหม่ๆ ก็น่าจะมีศักยภาพในการก้าวถึง 100 ปีถัดไป อาจจะเห็น เครื่องบินไทย made in Thai Technology บินโชว์หมู่ได้บ้าง


RTAF : One of the Best Air Forces in ASEAN กองทัพอากาศต้องทำงานโดยมี core value แบบใหม่ There is no one man hero , we all are heros ภูมิใจไปพร้อมๆกัน , Together we can ทุกหน้าที่มีความสำคัญ ขับเคลื่อนไปด้วยกัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน รับผิดชอบหน้าที่ ให้ความสำคัญทุกระดับ ทุกหน้าที่ no more free riding แล้วเราจะเป็น อย่างวิสัยทัศน์นัันได้จริงๆ โครงการนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว

ที่มา: rtaf6

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ29 ธันวาคม 2555 เวลา 09:15

    ผมภาคภูมิใจกับความสำเร๊จ ถึงจะเป็นก้าวเล็กๆ

    ตอบลบ