มีหน้าที่
ดำเนินการซ่อมสร้างยานยนต์ทั้งประเภทล้อและสายพาน
และที่ได้รับมอบหมายจากกองทัพบก
ประกอบด้วยหน่วยขึ้นตรง
- แผนกวิศวกรรมและซ่อมบำรุง
- แผนกสนับสนุน
- แผนกตรวจสอบคุณภาพ
- แผนกซ่อมสร้างระบบส่งกำลัง
- แผนกซ่อมสร้างเครื่องยนต์์
- แผนกซ่อมสร้างชินส่วนประกอบย่่อย
- แผนกถอดและประกอบตัวรถ
- แผนกผลิตชิ้นส่วนประกอบ
- แผนกซ่อมสร้างตัวถังและโครงรถ
- แผนกซ่อมสร้างยานยนต์สายพานและยานยนต์หุ้มเกราะ
- แผนกวิศวกรรมและซ่อมบำรุง
- แผนกสนับสนุน
- แผนกตรวจสอบคุณภาพ
- แผนกซ่อมสร้างระบบส่งกำลัง
- แผนกซ่อมสร้างเครื่องยนต์์
- แผนกซ่อมสร้างชินส่วนประกอบย่่อย
- แผนกถอดและประกอบตัวรถ
- แผนกผลิตชิ้นส่วนประกอบ
- แผนกซ่อมสร้างตัวถังและโครงรถ
- แผนกซ่อมสร้างยานยนต์สายพานและยานยนต์หุ้มเกราะ
*ตัวอย่าง งานซ่อมสร้างยานยนต์ฯ และโครงการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ ที่ดำเนินการโดย โรงงานซ่อมสร้างยานยนต์ กองโรงงานซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ ศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก
ซ่อมปรับปรุง รถถังเบา 21 (SCORPION)
รถถังเบา 21 (SCORPION) เป็นยานพาหนะประเภทรถรบ ใช้สนับสนุนการยิงด้วยปืนใหญ่ขนาด ๗๖ มม. มีลักษณะทอดเงาต่ำ
สามารถลอยตัวและขับเคลื่อนในน้ำได้ เข้าประจำการใน ทบ.ปี
๒๕๒๑
ทบ.มีแนวคิดในการปรับปรุง ถ.เบา ๒๑
โดยการเปลี่ยนเครื่องยนต์จากเดิมที่เป็นเครื่องยนต์เบนซิน (JAGUAR XK 4.2)
เป็นเครื่องยนต์ดีเซล, เปลี่ยนเครื่องควบคุมการยิง,
เปลี่ยนกล้องเล็งแบบใช้ในเวลากลางคืน
และเปลี่ยนสายพานรถถังเป็นแบบสลักคู่
ถ.เบา ๒๑
ได้รับการซ่อมสร้างจาก กรซย.ฯ ซึ่งเป็นการซ่อมคืนสภาพเดิม จำนวน ๒๕ คัน
แล้วเสร็จแจกจ่ายคืนหน่วยเมื่อ พ.ย.๔๙ และ มี.ค.๕๒ ปัจจุบัน ทบ.เรียก ถ.เบา ๒๑
เข้าซ่อมปรับปรุงเปลี่ยนเครื่องยนต์ ใช้สถานที่ ณ กรซย.ฯ จำนวน ๔๒ คัน
โดยการจ้างซ่อม
ดำเนินการซ่อมโดยคืนสภาพโดย กรซย.ศซส.สพ.ทบ.
ปัจจุบัน ทบ.เรียก ถ.เบา ๒๑ เข้าซ่อมปรับปรุงเปลี่ยนเครื่องยนต์ ใช้สถานที่ ณ กรซย.ฯ จำนวน ๔๒ คัน โดยการจ้าง บริษัท อัพเดท ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ
http://www.thaiarmedforce.com/forum.html / Re: อนาคตของการผลิตอาวุธ/ยุทธภัณฑ์ในประเทศไทย by crazyfox » 31 Aug 2012
ซ่อมสร้าง รถเกราะ 4 X 4 คอมมานโด V-150
รถเกราะ 4 X 4 คอมมานโด V-150 เป็นรถเกราะล้อยางเหมาะสำหรับการใช้เป็นรถปราบปรามจลาจล รถคุ้มกันขบวน
ลำเลียงพล และลาดตระเวน สามารถวิ่งได้ทั้งบนบกและในน้ำ ทบ.ได้นำเข้าประจำการปี ๒๕๒๑
แบบที่ใช้งานมี ๓ แบบ ได้แก่ รถลำเลียงพล, รถติดตั้งปืนใหญ่ขนาด ๙๐ มม.
และ รถติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๘๑ มม. ปัจจุบัน ทบ. ได้เรียกเข้า
ซ่อมสร้าง ณ กรซย.ฯ จำนวน ๔๒ คัน
โครงการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์: โครงการปรับปรุงรถแทรกเตอร์ เอ็ม ๘ บรรทุกถังน้ำมันเชื้อเพลิง ขนาด ๑๐,๐๐๐ ลิตร
ที่มา
ทบ. มีนโยบายในคราวที่ ผบ.ทบ.ตรวจเยี่ยม กรซย.ฯ เมื่อ ๒๕ ส.ค.๔๓ ให้ สพ.ทบ. ปรับปรุงรถแทรกเตอร์ เอ็ม ๘ ซึ่งเป็นรถบรรทุกกระสุนให้กับ ถ.เอ็ม ๔๑ เนื่องจากรถแทรกเตอร์ เอ็ม ๘ มีพื้นที่ในการบรรทุก และใช้เครื่องยนต์ เครื่องส่งกำลัง ช่วงล่าง เช่นเดียวกับ ถ.เอ็ม ๔๑ โดยติดตั้งถังน้ำมันเชื้อเพลิงขนาด ๑๐,๐๐๐ ลิตร เพื่อใช้เป็นรถสายพานบรรทุกน้ำมันสนับสนุนหน่วย พล.ม.๒
การดำเนินการ
กรซย.ศอ.สพ.ทบ. ได้ซ่อมสร้างรถแทรกเตอร์ เอ็ม ๘ ที่สภาพชำรุดทรุดโทรม จำนวน ๑ คันฟื้นฟูสภาพให้สามารถใช้งานได้และติดตั้งชุดถังน้ำมันเชื้อเพลิง ขนาด ๑๐,๐๐๐ ลิตร ซึ่ง กรซย.ฯ ได้ดำเนินการในส่วนของตัวรถ สำหรับชุดถังน้ำมันพร้อมอุปกรณ์ไฮโดรลิกยกขึ้นลงได้จ้างให้ บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ แล้วเสร็จเดือน ก.ย.๔๕ ใช้งบประมาณ ๘ ล้านบาท
ผลการใช้งาน
ม.พัน ๒๒ แจ้งผลการใช้งานให้ทราบว่ามีความสิ้นเปลืองน้ำมันมาก , การเคลื่อนที่ในภูมิประเทศไม่คล่องตัวมีอุปสรรคเนื่องจากความสูงของถังน้ำมัน , การทรงตัว การบังคับเลี้ยวของรถไม่ค่อยดีและเคลื่อนที่ได้ช้าเนื่องจากน้ำหนักของน้ำมันในถัง
แนวความคิดในการแก้ไข
- เปลี่ยนเครื่องยนต์รุ่นใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดความสิ้นเปลืองน้ำมัน
- ให้บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด พิจารณาออกแบบแก้ไขถังน้ำมันให้ลดการกระเพื่อมของน้ำมัน และการทรงตัวดีขึ้น
- ให้ติดตั้งเกราะ และกระจกป้องกันบริเวณห้องพลขับ และ ผบ.รถ
- ให้ปรับปรุงแท่นติดตั้ง ปก.๙๓ เปลี่ยนเป็นติดตั้ง ปก.เอ็ม ๖๐ แทน
เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของงบประมาณที่ต้องใช้ในการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว ปัจจุบันจึงยังไม่ได้ดำเนินการ
โครงการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์: โครงการปรับปรุงรถแทรกเตอร์ เอ็ม ๘ บรรทุกชิ้นส่วนสะพานทหารช่าง
ความเป็นมา
ทบ. มีนโยบายในคราวที่ ผบ.ทบ.ตรวจเยี่ยม กรซย.ฯ เมื่อ ๒๕ ส.ค.๔๓ ให้ สพ.ทบ. ปรับปรุงรถแทรกเตอร์ เอ็ม ๘ ซึ่งเป็นรถบรรทุกกระสุนให้กับ ถ.เอ็ม ๔๑ เนื่องจากรถแทรกเตอร์ เอ็ม ๘ มีพื้นที่ในการบรรทุก และใช้เครื่องยนต์ เครื่องส่งกำลัง ช่วงล่าง เช่นเดียวกับ ถ.เอ็ม ๔๑ โดยการติดตั้งแท่นบรรทุกเครื่องสะพานทหารช่าง เพื่อใช้เป็นรถสายพานบรรทุกเครื่องสะพานทหารช่างสนับสนุนหน่วย กช. ในการวางสะพานข้ามลำน้ำ
การดำเนินการ
กรซย.ศอ.สพ.ทบ. ได้ซ่อมสร้างรถแทรกเตอร์ เอ็ม ๘ ที่สภาพชำรุดทรุดโทรม จำนวน ๑ คันฟื้นฟูสภาพให้สามารถใช้งานได้และติดตั้งชุดเครื่องสะพานทหารช่าง ซึ่ง กรซย.ฯ ได้ดำเนินการในส่วนของตัวรถ สำหรับชุดเครื่องสะพานทหารช่างพร้อมอุปกรณ์ไฮโดรลิกยกขึ้นลงได้จ้างให้ บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ แล้วเสร็จเดือน ก.ย.๔๕ ใช้งบประมาณ ๕.๕ ล้านบาท
ผลการใช้งาน
กช. แจ้งผลการใช้งานให้ทราบว่าหน่วยไม่มีปัญหาในการใช้งาน แต่ต้องการทราบข้อมูลของรถเกี่ยวกับเกณฑ์ความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันอุปกรณ์
แนวความคิดในการแก้ไข
เนื่องจากรถแทรกเตอร์ เอ็ม ๘ เป็นชนิดเดียวกับรถที่ปรับปรุงติดตั้งถังน้ำมันขนาด ๑๐,๐๐๐ ลิตร ให้กับ พล.ม.๒ การแก้ไขปรับปรุงจึงมีแนวทางเช่นเดียวกัน ดังนี้.-
- เปลี่ยนเครื่องยนต์รุ่นใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดความสิ้นเปลืองน้ำมัน
- ให้ติดตั้งเกราะ และกระจกป้องกันบริเวณห้องพลขับ และ ผบ.รถ
- ให้ปรับปรุงแท่นติดตั้ง ปก.๙๓ เปลี่ยนเป็นติดตั้ง ปก.เอ็ม ๖๐ แทน
เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของงบประมาณที่ต้องใช้ในการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว ปัจจุบันจึงยังไม่ได้ดำเนินการ
*
มองภาพแรกก่อนปรับปรุง กับภาพกำลังปรับปรุง และภาพการทดสอบรถ และภาพจอดรอสเตนบายด์มันให้ความรู้สึกแตกต่างกันมากนี่คือสิ่งที่ยืนยันได้ว่าคนไทยและกองทัพไทยไม่ได้ด้อยกว่าชาติใดในโลก
ตอบลบเสียดายที่ซื้อเเต่ของมือสอง น่าจะรวมงบรอซื้อเทคโนโลยีมาวิจัยสร้างเองทั้งระบบไปเลยทุกชิ้นมาปรับเป็นเทคโนโลยีของคนไทยที่อยากให้เกิดจากสมองคนไทยทั้งระบบ จะได้ใช้เเต่ของใหม่ ซื้อของเก่ามาก็มิวายจะต้องคอยจัดหางบซื้ออะไหร่อีกไม่รู้เท่าไหร่เป็นเท่าไหร่
ตอบลบทำแล้วใช้งานได้ ผมก็ขอยกนิ้วให้ครับ
ตอบลบรับสร้างรถคล้ายๆรถสะเทินน้ำสะเทินบกขนาดเล็กไหมครับ
ตอบลบลดการจัดซื้อ หันมาพึ่งพาตนเอง..นี่ละคือหนทางที่จะทำให้ประเทศไทยเราเข้มแข็ง..
ตอบลบvery good
ตอบลบ