หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

RTAF : Defence Industrial Cooperation and NKRAFA Academic & Innovation Conference 2020

RTAF Conference 2020 、。。
การประชุมความร่วมมืออุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ประจำปี 2563 、。。
By RTAF 、。。

การประชุม RTAF Defence Industrial Cooperation Conference | NKRAFA Academic & Innovation Conference 2020 、。。

- กองทัพอากาศ และการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
- EEC และการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ New S - Curve 11
- การส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเป้าหมาย
- กลไกการส่งเสริม และสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย
- ความท้าทายระบบการศึกษาไทย กับการสร้างนวตกรรมเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน New S - Curve 12

RTAF Conference 2020 Event Activities | RTAF :-
https://www.rtaf.mi.th/th/EventActivi...

Purchase & Development Strategy เป็นทิศทางการพัฒนากองทัพอากาศ โดยใช้โครงการจัดหายุทโธปกรณ์เป็นเครื่องมือและเงื่อนไขในการเรียนรู้ต่อยอดเทคโนโลยี สร้างนวตกรรมใหม่ๆ การพึ่งตนเอง อีกทั้งเป็นการกำหนดทิศทางในความร่วมมือ ระหว่างกองทัพอากาศ และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ 、。。

“ กำลังในอากาศ เป็นโล่อันแท้จริงอย่างเดียว ที่จะป้องกันมิให้กำรสงครามมาถึงท่ามกลางประเทศของเราได้ ทั้งเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งในการคมนาคมเวลาปกติ ”
- จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ พระบิดากองทัพอากาศ

ยุทธศาสตร์ 20 ปี พ.ศ.2560 - 2579 ของกองทัพอากาศ .. เน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถกำลังทางอากาศ ตลอดจนความเข้มแข็งในมิติไซเบอร์ และมิติอวกาศ รวมทั้งการใช้แนวทางจัดหาพร้อมการพัฒนา Purchase & Development เป็นทิศทางพัฒนาหลักให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม 、。。

กองทัพอากาศจึงมุ่งเน้นการพัฒนากำลังพลให้สอดคล้องตามแนวทางทหารฉลาด อาวุธฉลาด และกลยุทธ์ฉลาด เพื่อให้มั่นใจว่า กองทัพอากาศ พร้อมปฏิบัติภารกิจในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด เพื่อประเทศชาติและประชาชนอย่างเต็มความสามารถและเป็นกองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาคได้อย่างภาคภูมิ 、。。

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย 、。。

ในภาพรวมกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยในปัจจุบันยังอยู่ในระยะเริ่มต้น มีขีดความสามารถเพียงเพื่อการซ่อมบำรุง หรือเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กในการสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์บางประเภทสนับสนุนให้แก่กองทัพเท่านั้น 、。。

หากพิจารณาจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในสังกัดกระทรวงกลาโหม มีจำนวน ๔๘ โรงงาน โดยอยู่ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๘ โรงงาน กองบัญชาการกองทัพไทย ๑ โรงงาน กองทัพบก ๒๑ โรงงาน กองทัพเรือ ๗ โรงงาน กองทัพอากาศ ๑๒ โรงงาน นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในภาคเอกชนอีกจำนวน ๖๐ บริษัท ซึ่งส่วนมากเป็นบริษัทที่ซ่อมแซม ปรับปรุง หรือผลิตยุทโธปกรณ์ทางทหารบางประเภท อาทิ วัตถุระเบิด เชื้อประทุ กระสุนปืน รถยนต์ที่นั่งกันกระสุน ยานพาหนะ เสื้อเกราะป้องกันกระสุน แอมโมเนียมไนเตรส ไนโตรเซลลูโลส รวมถึงอุตสาหกรรมต่อและซ่อมเรือ ซึ่งบริษัทเหล่านี้ส่วนมาก ยังไม่มีขีดความสามารถสูงพอที่จะส่งออกสินค้าหรือแข่งขันในตลาดสากลได้ 、。。

อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมป้องกันประเทศเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่เป็นโอกาส และมีศักยภาพที่จะสร้าง และพัฒนาให้ตอบสนองตรงตามความต้องการด้านยุทโธปกรณ์ของกองทัพ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งหลายประเทศในโลก รวมถึงกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ได้พัฒนาอุตสาหกรรมด้านนี้อย่างจริงจัง เพราะนอกจากจะนำรายได้เข้าสู่ประเทศ และสร้างงานให้แก่ประชาชนเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมประเภทอื่นแล้ว ยังเป็นการสร้างความมั่นคงในด้านการทหารของชาติอีกด้วย 、。。

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น