วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๐๐ น. พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานการประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ครั้งที่ ๕ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒ โดยมี ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องศรียานนท์ ชั้น ๒ อาคาร ๑ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
การประชุมครั้งนี้ได้ประชุมหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลและทบทวนการปฏิบัติงานของเหล่าทัพ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในเรื่องดังต่อไปนี้
...การพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีร่วม (Joint Tactical Data Link) ของ กองบัญชาการกองทัพไทย โดยกรมการสื่อสารทหาร ได้หารือร่วมกับเหล่าทัพ เพื่อบูรณาการและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีร่วม ประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือต้องพัฒนาจากความต้องการทางยุทธการ และตอบสนองต่อการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง ซึ่ง Platform ที่จะได้รับการติดตั้งหรือปรับปรุง จะต้องสามารถตอบสนองการปฏิบัติการร่วมและตอบสนองในเชิงเทคนิค รวมไปถึงอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ นับได้ว่าอยู่บนพื้นฐานของหลักการพึ่งพาตนเอง เป็นการบูรณาการขีดความสามารถของกองทัพไทย เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการร่วมตามแนวคิดการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ซึ่งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี กรอบแนวคิด Thailand 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงให้กับประเทศชาติสืบไป
...การปรับปรุงโครงสร้างและเสริมสร้างหน่วยกำลังรบ ของ กองทัพบก ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างและเสริมสร้างหน่วยกำลังรบ เพื่อใช้เป็นหน่วยต้นแบบในอนาคต โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างหน่วยกำลังรบระดับกรม ให้เป็นหน่วยที่มีความกะทัดรัด ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ได้พิจารณาเปรียบเทียบกับการจัดหน่วยแบบกองพลน้อยของสหรัฐฯ และออสเตรเลีย (Brigade Combat Team : BCT) โดยนำมาประยุกต์ให้มีความเหมาะสมกับกองทัพบก ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำอัตราการจัดและยุทโธปกรณ์ของหน่วยดังกล่าวให้มีความสมบูรณ์ควบคู่ไปกับการพิจารณาจัดหายานเกราะที่เหมาะสมเข้าประจำการ เพื่อให้กองทัพบกมีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจการป้องกันประเทศ รวมถึงภารกิจอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย
...การฝึกภาคปฏิบัติในทะเลต่างประเทศของนักเรียนนายเรือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒ ของ กองทัพเรือ ตลอดห้วงเวลาของการฝึกฯ ในภาพรวมเป็นไปตามหลักนิยมการใช้กำลังทางเรือที่มีลักษณะที่สำคัญคือ มีความคล่องตัว (Mobility) มีขีดความสามารถที่หลากหลาย (Versatility) และเป็นกำลังรบที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (Expeditionary Force) นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อาทิ การฝึกผสมกับกองทัพเรือชาติเจ้าบ้านเมื่อหมู่เรือฯ เดินทางเข้าสู่น่านน้ำของชาตินั้นๆ หรือ Passing Exercise (PASSEX) การเยี่ยมคำนับบุคคลสำคัญทางทหารและพลเรือนของชาติเจ้าบ้าน และการแข่งขันกีฬาเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับกองทัพเรือประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น นอกจากจะเป็นการเสริมสร้างความรู้ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานบนเรือรบ ความเข้มแข็ง อดทน ทั้งร่างกายและจิตใจ รวมทั้งเปิดโลกทัศน์ของนักเรียนนายเรือให้กว้างขวางขึ้น ดังถ้อยคำที่ว่า “Join The Navy To See The World” อีกทั้งยังเป็นตัวแทนของกองทัพไทย และประเทศไทยเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับกองทัพเรือของมิตรประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและขีดความสามารถของกองทัพไทยให้กับนานาชาติให้ทราบอีกทางหนึ่งด้วย จึงนับได้ว่าเป็นการใช้กำลังอำนาจของชาติทางทะเล หรือ สมุทรทานุภาพ ให้บรรลุวัตถุประสงค์และตอบสนองนโยบายในการดำเนินการทูตทางเรือได้อย่างแท้จริง ขณะเดียวกันสามารถสานต่อภารกิจของกองทัพเรือในการรักษาอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ไว้ให้คนรุ่นหลังสืบไป
...การสนับสนุนการแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ของ กองทัพอากาศ ซึ่งได้จัดตั้งศูนย์ติดตามและสั่งการเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนกองทัพอากาศ หรือ ศตส.จชต.ทอ. เพื่อกำกับดูแลการปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ รวมทั้งจัดตั้งกองกำลังทางอากาศเฉพาะกิจที่ ๙ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ ดังนี้ “การใช้กำลังปฏิบัติการทางอากาศ” อาทิ เครื่องบินโจมตีธุรการ แบบที่ ๒ หรือ AU-23A เครื่องบินลาดตระเวนทางอากาศ การปฏิบัติการบินถ่ายทอดสัญญาณวิดีโอ และการบินลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศ “การใช้กำลังปฏิบัติการทางภาคพื้น” คือ การปฏิบัติภารกิจรักษาความปลอดภัยพื้นที่เขตสนามบินและพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงสนับสนุนชุดค้นหาและทำลายวัตถุระเบิด (EOD) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ “การใช้กำลังปฏิบัติการตามกลยุทธ์” คือ การปฏิบัติภารกิจด้านการข่าว การต่อต้านข่าวกรอง และ “การปฏิบัติงานทางด้านกิจการพลเรือน” คือ การประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติการจิตวิทยา การให้บริการและควบคุมการจราจรทางอากาศในเขตสนามบิน .. ภาพ-ข่าว กรมกิจการพลเรือนทหาร
/Sompong Nondhasa
-----------------------------------------------------
Joint Tactical Data Link
“ผบ.สูงสุด” สั่งพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีร่วม Joint Tactical Data Link กองทัพไทย-เหล่าทัพ ใช้ Network Centric อย่างแท้จริง ปรับ Platform ให้สอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และ Thailand 4.0
พลตรี กฤษณ์ จันทรนิยม โฆษกกองทัพไทย เผยผลการประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ว่า พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รับทราบถึงการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีร่วม (Joint Tactical Data Link) ของ กองบัญชาการกองทัพไทย โดยกรมการสื่อสารทหาร ได้หารือร่วมกับเหล่าทัพ เพื่อบูรณาการและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีร่วม
ประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือต้องพัฒนาจากความต้องการทางยุทธการ และตอบสนองต่อการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric) อย่างแท้จริง ซึ่ง Platform ที่จะได้รับการติดตั้งหรือปรับปรุง จะต้องสามารถตอบสนองการปฏิบัติการร่วมและตอบสนองในเชิงเทคนิค รวมไปถึงอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ นับได้ว่าอยู่บนพื้นฐานของหลักการพึ่งพาตนเอง เป็นการบูรณาการขีดความสามารถของกองทัพไทย เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการร่วมตามแนวคิดการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ซึ่งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี กรอบแนวคิด Thailand 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงให้กับประเทศ
/Wassana Nanuam
ประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือต้องพัฒนาจากความต้องการทางยุทธการ และตอบสนองต่อการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric) อย่างแท้จริง ซึ่ง Platform ที่จะได้รับการติดตั้งหรือปรับปรุง จะต้องสามารถตอบสนองการปฏิบัติการร่วมและตอบสนองในเชิงเทคนิค รวมไปถึงอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ นับได้ว่าอยู่บนพื้นฐานของหลักการพึ่งพาตนเอง เป็นการบูรณาการขีดความสามารถของกองทัพไทย เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการร่วมตามแนวคิดการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ซึ่งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี กรอบแนวคิด Thailand 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงให้กับประเทศ
/Wassana Nanuam
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น