L-39 ZA/ART VS T-50TH
----------------------------------------------------
L-39 ZA/ART เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นในปัจจุบัน
บรรจุประจำการตั้งแต่ปี 2537 มีอายุการใช้งานกว่า (23ปี) มีเทคโนโลยีที่ล้าสมัย ไม่สามารถตอบสนองภารกิจการฝึกกับเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงของกองทัพอากาศต่อไปได้ ปัจจุบันมีสภาพความพร้อมปฏิบัติการ (FMC) ลดลง มีข้อขัดข้องด้านการส่งกำลังและซ่อมบำรุง มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้น และไม่คุ้มค่าในการยืดอายุการใช้งาน
(T-50TH) เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นทดแทน L-39
มีเทคโนโลยีที่เหมาะสม ทันสมัย (Modernize Aircraft and Training System) เป็นเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ที่มีสมรรถนะสูงเพียงพอที่จะพัฒนาการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นให้สามารถปฏิบัติภารกิจกับเครื่องบินขับไล่/โจมตีสมรรถนะสูงของกองทัพอากาศที่มีใช้งานในปัจจุบัน
เปรียบเทียบขนาดกับเครื่องบินฝึกรุ่นอื่น
เปรียบเทียบสมรรถนะเครื่องบินฝึกแต่ละรุ่น
ระบบเครื่องยนต์
ความคุ้มค่า
----------------------------------------------------
- มีขีดความสามารถในการติดตั้งใช้งานอาวุธได้หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะที่กองทัพอากาศมีใช้งานในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งกิจเฉพาะหลัก และกิจเฉพาะรอง
- ติดตั้งเครื่องยนต์ชนิดเดียวกับเครื่องบิน Gripen
- สามารถใช้งานอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้นและเครื่องมือร่วมกับเครื่องบิน F-16 ได้ถึงร้อยละ 70 ส่งผลให้การดูแลรักษา ซ่อมบำรุง มีความง่าย ไม่ต้องลงทุนจัดซื้อเครื่องมือใหม่ทั้งหมด
- ติดตั้งระบบเรดาร์ที่ทันสมัยและสามารถตรวจจับเป้าหมายได้
ระบบฝึกบินทางยุทธวิธี
----------------------------------------------------
- มีระบบฝึกการบินทางยุทธวิธี (Embedded Tactical Training System : ETTS) ติดตั้งทั้งเครื่องบิน ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ระบบ ETTS นี้จะช่วยการฝึกนักบินให้มีความสมจริงเหมือนการรบ (Train-As-You-Fight) โดยจำลองขีดความสามารถการใช้อาวุธของเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง และสร้างสภาพแวดล้อมต่างๆ ในการปฏิบัติภารกิจให้สมจริง สามารถจำลองระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link) จำลองการใช้อาวุธต่อเป้าหมายทั้งแบบอากาศ-อากาศ, อากาศ-พื้น, อาวุธนำวิถีแบบระยะไกลเกินสายตา และจำลองการทิ้งระเบิดแบบต่างๆ
รวมทั้งแสดงผลความแม่นยำ (Scoring) ในการใช้อาวุธ ทำให้สามารถวัดผลการฝึกนักบินได้เป็นอย่างดี สามารถจำลอง เป้าหมาย และภัยคุกคาม (Threat) เพื่อให้นักบินสามารถวางแผนดำเนินกลยุทธ์ หรือยุทธวิธีต่อเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นมีประสิทธิภาพสูง นักบินมีความคุ้นเคยต่อประสิทธิภาพและการใช้อาวุธของเครื่องบินขับไล่ชั้นแนวหน้าของกองทัพอากาศได้เป็นอย่างดี ทำให้การฝึกบินเปลี่ยนแบบจากเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ไปสู่เครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง ให้มีความพร้อมรบได้ในระยะเวลาสั้นลง ส่งผลต่อความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจ และประหยัดงบประมาณของประเทศ
แผนที่ทางอากาศ
----------------------------------------------------
- มีขีดความสามารถด้านการใช้แผนที่ทางอากาศแบบดิจิตอล (Digital Moving Map) ทั้งบนเครื่องบินและในเครื่องฝึกบินจำลอง (Simulator) จะช่วยให้นักบินสามารถวางแผนการบินได้ดีขึ้น เพิ่มความตระหนักรู้สถานการณ์ (Situation Awareness) ให้กับนักบินในขณะที่ปฏิบัติการบินต่อเป้าหมายทั้งภาคพื้นและภาคอากาศ เพิ่มความปลอดภัยในการบิน เพราะสามารถทราบตำแหน่งที่ตั้ง อุปสรรค ความสูงของพื้นที่การรบ เป้าหมาย หรือพื้นที่การฝึก ช่วยในการตัดสินตกลงใจในการปฏิบัติภารกิจ หรือการฝึกนักบิน อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการบินเข้าสู่เป้าหมาย
- สามารถพัฒนาให้ติดตั้งระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link : TDL) หรือระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีที่สามารถใช้งานในระบบบัญชาการและควบคุม หรือใช้ในระบบการปฏิบัติการทางอากาศของกองทัพอากาศได้ในอนาคต
- สามารถติดตั้งระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Warfare : EW) ประกอบด้วย Radar Warning Receiver (RWR) และ Counter Measure Dispenser System (CMDS) ที่ทันสมัย สามารถพัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูล Threat Library ให้ทันสมัยได้ในอนาคต
- มีระบบพิสูจน์ฝ่าย (Identification Friend or Foe : IFF) ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกับระบบของกองทัพอากาศ รวมทั้งสามารถใช้งานได้เมื่อทำการบินในเส้นทางการบิน โดยเป็นไปตามมาตรฐานสากล
----------------------------------------------------
- มีระบบเครื่องช่วยฝึกบินจำลอง (Simulator) และระบบการฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิคแบบบูรณาการ (Integrated Training System : ITS) ทำให้สามารถฝึกนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิคได้อย่างครอบคลุม สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพในการฝึก
- มีระบบการฝึกเจ้าหน้าที่เทคนิคแบบเสมือนจริง (Virtual Technical Training System : VTTS) เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่เทคนิค เกี่ยวกับการทำงานของระบบต่างๆ ในเครื่องบิน รวมถึงวิธีการซ่อมบำรุงเครื่องบิน
- มีอุปกรณ์ Computer Based Training (CBT) สำหรับฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิค
- มีระบบวางแผนการปฏิบัติภารกิจ (Mission Planning Systems : MPS) เพื่อใช้วางแผนการปฏิบัติภารกิจ และบรรยายสรุปก่อนบิน
- มีระบบบรรยายสรุปภายหลังการปฏิบัติภารกิจ เพื่อเก็บข้อมูล หรือบันทึกข้อมูลด้านการบิน และการปฏิบัติภารกิจ (Mission Debriefing System : MDS) ซึ่งมีขีดความสามารถบันทึกภาพและเสียงเป็นระบบ Digital เพื่อใช้วิเคราะห์การปฏิบัติภารกิจ และบรรยายสรุปภายหลังการบิน
การถ่ายทอดเทคโนโลยี
----------------------------------------------------
การถ่ายทอดเทคโนโลยี และออปชั่นอื่นๆ
- หลักสูตร System Engineering เพื่อสร้างความเข้าใจในระบบต่าง ๆ ของ บ.T-50TH จำนวน ๑๐ คน ระยะเวลา ๔ สัปดาห์ ณ สาธารณรัฐเกาหลี
-หลักสูตร Training Needs Analysis (TNA) เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการวิเคราะห์ความต้องการการฝึกอบรมที่เหมาะสม จำนวน ๓ คน ระยะเวลา ๔ สัปดาห์ ณ สาธารณรัฐเกาหลี
- บริษัทฯ จัดทำ Group A Provisioning (ติดตั้งระบบสายไฟ จัดเตรียมพื้นที่สำหรับ ติดตั้งอุปกรณ์บน บ.ในอนาคต และติดตั้ง Softwareพร้อมใช้งาน) สำหรับระบบเรดาร์ ระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link) แบบ Link-16 ระบบ Radar Warning Receiver (RWR) ระบบ Countermeasures Dispenser System (CMDS) และจัดเตรียมแผงควบคุมอุปกรณ์เหล่านั้นไว้ให้พร้อมใน Cockpit โดยไม่คิดมูลค่า (Free of Charge) (ทอ.สามารถจัดหาอุปกรณ์ข้างต้นมาติดตั้งใช้งานได้ในอนาคต)
- หลักสูตรการฝึกอบรมของ จนท.เทคนิค คือ หลักสูตร Sheet Metal Technician Training โดยไม่คิดมูลค่า (Free of Charge)
Users ประเทศที่นำ T-50 เข้าประจำการ
----------------------------------------------------
1. สาธารณรัฐเกาหลี (T-50 50 เครื่อง, TA-50 22 เครื่อง, T-50B 10 เครื่อง และ FA-50 60 เครื่อง)
2. อิรัก T-50IQ 24 เครื่อง
2. อินโดนีเซีย T-50I 16 เครื่อง
4. ฟิลิปปินส์ T-50PH 12 เครื่อง (FA-50)
ขั้นตอนและกระบวนการจัดซื้อ
-------------------------- --------------------------
กองทัพอากาศแต่งตั้งคณะกรรม การด้านต่างๆ มาดำเนินการ ดังนี้
- แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาและ รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำขอบเ ขตความต้องการของโครงการ (Scope Of Project Requirement : SOPR)
- แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำราย ละเอียดความต้องการ (Detail of Requirement) โดยนำเอา SOPR มาพิจารณา ระบุรายละเอียด คุณลักษณะ ขีดความสามารถ ความต้อง...การด้านต่าง ๆ
- แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร าคากลาง
- แต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อโ ดยวิธีพิเศษ ดำเนินกรรมวิธีจัดซื้อโดยวิ ธีพิเศษ
- เมื่อคณะกรรมการจัดซื้อตรวจ สอบการเสนอราคา โดยมีเอกสารหลักฐานถูกต้อง เชื่อถือได้ เงื่อนไข และรายละเอียดพัสดุเป็นไปตา มความต้องการของทางราชการ มีราคาที่สมเหตุผล สามารถยอมรับได้ จึงสรุปผลการจัดซื้อนำเรียน ผู้มีอำนาจขออนุมัติจัดซื้อ ตามลำดับชั้น
--------------------------
กองทัพอากาศแต่งตั้งคณะกรรม
- แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาและ
- แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำราย
- แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร
- แต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อโ
- เมื่อคณะกรรมการจัดซื้อตรวจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น