หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เรือตรวจการณ์ปืน เรือหลวงแหลมสิงห์


คุณลักษณะทั่วไปมีดังนี้
- ความยาวตลอดลำ 58 เมตร - ความกว้างกลางลำ 9.3 เมตร 
- ความลึกกลางลำ 5.1 เมตร - กินน้ำลึกเต็มที่ 2.9 เมตร 
- ระวางขับน้ำสูงสุด 520 ตัน 
ขีดความสามารถของเรือตรวจการณ์ปืน
- ความเร็วสูงสุดที่ระวางขับน้ำสูงสุด 23 นอต 
- ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 2,500 ไมล์ทะเล
- ความคงทนทะเลจนถึงสภาวะระดับ 4 (Sea State 4)
- มีสถานที่จัดเก็บเสบียงอาหาร และระบบน้ำจืด เพียงพอสำหรับการปฏิบัติงานในทะเลต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุง 
- มีห้องและที่พักอาศัยเพียงพอสำหรับกำลังพลประจำเรือตามอัตรา 53 นาย
ขีดความสามารถในการปฏิบัติการ (Operation Capabilities)
- ต่อต้านภัยผิวน้ำ ด้วยการซ่อนพราง การใช้อาวุธปืนหลัก/ปืนรองของเรือ และการชี้เป้าให้กับเรือผิวน้ำและอากาศนาวี 
- การโจมตีที่หมายบนฝั่ง ด้วยอาวุธปืนหลัก/ปืนรองของเรือ
- การป้องกันฝั่ง การสกัดกั้น และการตรวจค้นด้วยระบบตรวจการณ์ และเรือยางท้องแข็งไฟเบอร์กลาสความเร็วสูง (RIB)
- การป้องกันภัยทางอากาศในลักษณะการป้องกันตนเอง ด้วยระบบควบคุมการยิง และการใช้อาวุธปืนหลัก/ปืนรองของเรือ
- การค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลตามแนวชายฝั่ง
- การสนับสนุนการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเลและท่าเรือ
- การสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรืออื่น ๆ

อาวุธประจำเรือ
- ปืนขนาด 76/62 มิลลิเมตร OTO Melara (Refurbished) จำนวน 1 กระบอก 
- ปืนกลขนาด 30 มิลลิเมตร MIS จำนวน 1 กระบอก
- ปืนกลขนาด .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก 
อนึ่ง ตามระเบียบของ กองทัพเรือ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อเรือรบ 
ตามประเภทของเรือต่าง ๆ ไว้ดังนี้
- เรือพิฆาต ตั้งตามชื่อตัวบุคคล บรรดาศักดิ์ หรือสกุล ของผู้ประกอบคุณประโยชน์ไว้แก่ชาติ เช่น เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน
- เรือฟริเกต ตั้งตามชื่อแม่น้ำสายสำคัญ เช่น เรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงบางปะกง 
- เรือคอร์เวต ตั้งตามชื่อเมืองหลวง และเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์ เช่น เรือหลวงสุโขทัย เรือหลวงรัตนโกสินทร์ 
- เรือเร็วโจมตี (อาวุธนำวิถี) ตั้งตามชื่อเรือรบในทะเล สมัยโบราณที่มีความเหมาะสมกับหน้าที่ของเรือนั้น ๆ เช่น เรือหลวงอุดมเดช เรือหลวงปราบปรปักษ์ 
- เรือเร็วโจมตี (ปืน,ตอร์ปิโด) ตั้งตามชื่อจังหวัดชายทะเล เช่น เรือหลวงปัตตานี เรือหลวงนราธิวาส
- เรือดำน้ำ ตั้งตามชื่อผู้อิทธิฤทธิ์ในวรรณคดีในด้านการดำน้ำ เช่น เรือหลวงมัจฉานุ
- เรือทุ่นระเบิด ตั้งตามชื่อสมรภูมิรบที่สำคัญในประวัติศาสตร์ เช่น เรือหลวงบางระจัน
- เรือยกพลขึ้นบก เรือลากจูง เรือส่งกำลังบำรุง เรือน้ำมัน ตั้งตามชื่อเกาะ เช่น เรือหลวงอ่างทอง (เรือยกพลขึ้นบก) เรือหลวงมาตรา (เรือน้ำมัน) เรือหลวงสิมิลัน (เรือส่งกำลังบำรุง) 
- เรือตรวจการณ์ (ปืน) ตั้งชื่อตามอำเภอชายทะเล เช่น เรือหลวงหัวหิน
- เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) ตั้งชื่อตามเรือรบในลำน้ำ สมัยโบราณที่มีความเหมาะสมกับหน้าที่ของเรือนั้น ๆ เช่น เรือหลวงทยานชล
- เรือสำรวจ ตั้งชื่อตามดาวที่สำคัญ เช่น เรือหลวงจันทร์
- เรือหน้าที่พิเศษ ตั้งชื่อด้วยถ้อยคำที่มีความหมายและเหมาะกับหน้าที่ของเรือนั้น เช่น เรือหลวงจักรีนฤเบศร
- เรือขนาดเล็ก (เล็กกว่า 200 ตัน) ตั้งชื่อด้วยอักษรย่อตามชนิดและหน้าที่ของเรือนั้น มีหมายเลขต่อท้าย เช่น เรือ ต.991

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น