นับตั้งแต่เมื่อปี ๒๔๕๓ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ กิจการด้านการบินของประเทศไทยกําเนิดขึ้นเมื่อ นาย Charles van den born นักบินชาวเบลเยี่ยม ทำการแสดงการบินของเครื่องบินปีกสองชั้นแบบ Henri Farman IV (อ็องรีฟาร์ม็อง ๔) ชื่อ "Wanda" เป็นครั้งแรกที่ชาวไทยได้รู้จักกับเครื่องบิน ณ สนามม้าสระปทุม (ราชกรีฑาสโมสร)
๑. นายพันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรณประทีป) ผู้บังคับการกองพันพิเศษ กองพลที่ ๕
๒. นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) ผู้รั้งผู้บังคับการกองพันพิเศษ กองพลที่ ๙
๓. นายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ผู้บังคับกองร้อยที่ ๓ โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม
ในขณะที่นายทหารทั้งสามกําลังศึกษาวิชาการบินอยู่นั้น ทางราชการได้สั่งซื้อเครื่องบิน ๗ เครื่อง และเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ได้ร่วมสมทบเงินซื้อเครื่องบินให้ทางราชการด้วย ๑ เครื่อง รวมมีเครื่องบิน ๘ เครื่อง คือ เครื่องบินเบรเกต์ ปีก ๒ ชั้น จํานวน ๔ เครื่อง และเครื่องบินนิเออปอรต์ปีกชั้นเดียวจํานวน ๔ เครื่อง
ในระยะแรกได้ใช้สนามม้าสระปทุม หรือราชกรีฑาสโมสรในปัจจุบันเป็นสนามบิน แต่ด้วยความไม่สะดวกหลายประการ จึงได้พิจารณาหาพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการบิน และได้เลือกเอาตําบลดอนเมืองเป็นที่ตั้งสนามบิน พร้อมทั้งได้ก่อสร้างอาคารต่างๆ อย่างถาวรขึ้น พร้อมกับย้ายกําลังพล อุปกรณ์และเครื่องบินไปไว้ยังที่ตั้งใหม่
ตามคําสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ ๒๙๑/๒๖๘๒๖ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๗ ให้จัดตั้ง "กองบินทหารบก" และให้ย้ายนายทหาร ๓ คน ไปดํารงตําแหน่ง ดังนี้
๑. นายพันโท พระเฉลิมอากาศ เป็นผู้บังคับการกองบิน
๒. นายพันตรีหลวงอาวุธสิขิกร เป็นผู้ช่วยผู้บังคับการกองบิน
๓. นายร้อยเอก หลวงทะยานพิฆาต เป็นผู้ช่วยผู้บังคับการกองบิน
กองทัพอากาศได้ถือเอาวันที่ ๒๗ มีนาคม ของทุกปี เป็น “วันที่ระลึกกองทัพอากาศ” และได้ยกย่องนายทหารทั้ง ๓ คน เป็น "บุพการีทหารอากาศ"
บทบาทของกําลังทางอากาศได้แสดงให้เห็นถึงความสําคัญ และมีการพัฒนาอย่างเป็นลําดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ กับพันธมิตรในยุโรป เมื่อปี ๒๔๖๐ ซึ่งทําให้ชื่อเสียงและเกียรติภูมิของชาติเป็นที่ยอมรับและยกย่องเป็นอันมาก
ต่อมาทางราชการได้ยกฐานะกองบินทหารบกขึ้นเป็น “กรมอากาศยานทหารบก” ในปี พ.ศ.๒๔๖๕ กระทรวงกลาโหม ได้พิจารณาเห็นว่ากําลังทางอากาศ มิได้มีความสําคัญเฉพาะทางด้านการทหารเท่านั้น แต่มีประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อกิจการด้านอื่นๆ อีกด้วย จึงได้แก้ไขการเรียกชื่อจากกรมอากาศยานทหารบกเป็น “กรมอากาศยาน” และเป็น “กรมทหารอากาศ” ในเวลาต่อมา โดยให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยตรง พร้อมทั้งได้มีการกําหนดยศทหารและการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบจากสีเขียวมาเป็นสีเทาดังเช่นปัจจุบัน
ต่อมากระทรวงกลาโหม ได้ยกฐานะกรมทหารอากาศขึ้นเป็น “กองทัพอากาศ”เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๔๘๐ ภายหลังจึงได้กําหนดให้วันที่ ๙ เมษายน ของทุกปีเป็น “วันกองทัพอากาศ”
กําลังทางอากาศได้พัฒนารุดหน้าอย่างรวดเร็ว และเป็นกําลังสําคัญในการปกป้องรักษาอธิปไตยของชาติอาทิ กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส สงครามมหาเอเชียบูรพา และการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ รวมทั้งเข้าร่วมกับกองกําลังสหประชาชาติ ในสงครามเกาหลีและพันธมิตรในสงครามเวียดนาม ตลอดจนการปฏิบัติการรักษาสันติภาพร่วมกับสหประชาชาติในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก จากเครื่องบินใบพัดเพียง ๘ เครื่องในอดีตจนถึงเครื่องบินไอพ่นที่ทันสมัยในปัจจุบัน กองทัพอากาศขอยืนยัน
ที่จะดํารงความมุ่งมั่นในภารกิจที่จะพิทักษ์รักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติไว้ให้มั่นคงสถาพรสืบไป
http://www.rtaf.mi.th/th/DailyNews/27-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%202563.pdf
http://www.rtaf.mi.th/th/EventActivities/Pages/C20200326.aspx
https://issuu.com/rtafnews/docs/2020-03
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น