กองทัพอากาศเผย F-5TH กับ U-1 ฝีมือคนไทย-บริษัทไทยล้วน ๆ ต่อไปเตรียมพัฒนา UAV ติดอาวุธ พร้อมวางแผน 2580 มีขีดความสามารถผลิตอากาศยาน
วันนี้ ผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นประธานในพิธีบรรจุเข้าประจำการเครื่องบินขับไล่แบบ F-5TH และอากาศยานไร้นักบินแบบ RTAF U-1 ของกองทัพอากาศ ซึ่งกองทัพอากาศกล่าวว่าเป็นโครงการที่กองทัพอากาศมีความภาคภูมิใจ เนื่องจากทั้งหมดดำเนินการด้วยคนไทยที่มีทั้งบุคลากรในกองทัพอากาศและภาคเอกชนร่วมมือกัน โดยหลังจากพิธีเสร็จสิ้น ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอกมานัต วงษ์วาทย์ เสนาธิการทหารอากาศ พลอากาศเอกสุทธิพันธ์ ต่ายทอง หัวหน้าคณะฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา พลอากาศเอกสฤษฎ์พงศ์ วัฒนวรางกูร ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน สำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารอากาศ นาวาอากาศเอกสุรพงษ์ ศรีวนิชย์ ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการรบ สำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารอากาศ นาวาอากาศเอกสุรศักดิ์ เสสะเวช และผู้รับผิดชอบการจัดตั้งศูนย์อากาศยานไร้คนขับกองทัพอากาศ นาวาอากาศเอกนภดร คงสเถียร ได้ร่วมกันแถลงข่าวถือรายละเอียดของโครงการและแผนงานในการพัฒนา TAF จึงขอสรุปข้อมูลมาให้ทุกท่าน ณ ที่นี้ครับ
-----------------------
โครงการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากกองทัพอากาศระดมมันสมองร่วมกับคนไทยและภาคเอกชนในการสร้างขีดความสามารถที่มีนัยยะสำคัญและแข็งแกร่ง รวมถึงไม่มีใครรู้ เพราะกองทัพอากาศเป็นผู้ถือเทคโนโลยี
สำหรับ U-1 นั้น เครื่องยนต์เป็นสิ่งเดียวที่ต้องซื้อจากต่างประเทศ นอกนั้นเป็นการพัฒนาและผลิตในประเทศทั้งหมดทุกระบบ ส่วนของ F-5 นั้น แม้จะใช้อากาศยานที่ผลิตจากต่างประเทศ แต่ในจิตวิญญาณของความเป็นคนไทยเข้าไป เราใช้บุคลากรของเราที่มีความรู้ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก และจะพัฒนาให้มากขึ้นในการปรับปรุง AU-23 และ Alphajet
และตามยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศนั้น กองทัพอากาศจะมีขีดความสามารถในการผลิตอากาศยานด้วยตนเอง แม้จะไม่ต้องผลิตได้เองทุกชิ้นส่วน แต่ชิ้นส่วนที่สำคัญต้องผลิตได้เอง และส่วนที่สำคัญคือ Software ที่จะต้องเป็นของเราและเราต้องควบคุมเองได้ เราเน้นที่การสร้าง Software Engineer ที่มีขีดความสามารถในการพัฒนา Embedded Software ที่จะทำให้เราลงลึกในการปรับปรุงและพัฒนาอากาศยานแบบใดก็ได้
กองทัพอากาศมีแนวทางในการพัฒนาอากาศยานไร้นักบินตามแผนงาน 20 ปี RTAF U-1 นั้นเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและการสร้างต้นแบบ เมื่อเราได้ต้นแบบแล้วเราก็นำต้นแบบมาผลิตใช้งาน ซึ่งเป็นผลงานที่เกิดจากคนไทยทั้งหมด และในอนาคตเราจะมีการพัฒนาต่อให้เป็น UCAV หรืออากาศยานไร้นักบินติดอาวุธ เชื่อว่าแนวคิดของกองทัพอากาศนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาของคนไทย เพราะจะเห็นได้ว่ายุทโธปกรณ์ในปัจจุบันมีราคาแพง ถ้าเราไม่คิดที่จะพัฒนาเองแต่จะซื้อใช้เรื่อยไป ก็จะทำให้กองทัพสิ้นเปลืองเงินภาษีเป็นอย่างมาก แต่ถ้าเราพัฒนาได้เอง งบประมาณที่ใช้ก็จะลดลง ซึ่งเป็นไปตามแนวนโยบาย Purchase and Development ของกองทัพอากาศ ซึ่งเป็นการจัดหาควบคู่ไปกับการพัฒนา และมีผลงานแรกคือ RTAF U-1
ในส่วนของความคืบหน้าของการปรับปรุง F-5TH นั้น การดำเนินการปรับปรุงจะใช้เวลาอีก 3 ปีจนจบโครงการในปี 2565 โดยตอนนี้ดำเนินการปรับปรุงเสร็จแล้ว 2 เครื่อง เครื่องแรกนั้นเป็นการปรับปรุงโดยใช้ Know How จากต่างประเทศ แต่ตั้งแต่เครื่องที่ 2 เป็นต้นไปจะเป็นการดำเนินการโดยคนไทยทั้งหมด ซึ่งประสบการณ์และทักษะนั้นจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อไป
สิ่งที่สำคัญที่สุดของโครงการก็คือแนวความคิดที่ยึดถือคือการพัฒนากำลังรบ ซึ่งการใช้งบประมาณเพื่อจัดซื้ออาวุธอย่างเดียวนั้นมีเงินเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอ และไม่ตอบสนองความต้องการของเรา การใช้อุตสาหกรรมภายในประเทศคือแนวคิดอันดับแรกของกองทัพอากาศ และการพัฒนานั้นจะต้องเป็นไปตามความต้องการของกองทัพอากาศ ยกตัวอย่างง่ายๆ คือโทรศัพท์มือถือทุกวันนี้ มีบางฟังก์ชั่นที่ไม่ได้ใช้ และมีบางฟังก์ชั่นที่อยากใช้แต่ใช้ไม่ได้เพราะโรงงานผลิตไม่ได้ผลิตมา ยุทโธปกรณ์ก็เช่นเดียวกัน ตอนนี้เปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้นคือกองทัพอากาศนำโทรศัพท์มือถือมาติดตั้งฟังก์ชั่นที่กองทัพอากาศต้องการใช้ด้วยวิศวกรและบุคลากรในประเทศ แปลว่าเราจะได้ใช้งานในสิ่งที่เราต้องการจริงๆ และเราสามารถพัฒนาต่อยอดได้
สุดท้ายคือบุคลากรซึ่งกองทัพอากาศเห็นว่า Peopleware เป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด คนไทยมีความสามารถ แต่เราต้องสนับสนุนให้เขามีส่วนร่วมในการพัฒนา ผลงานต่างๆ ทั้ง F-5TH หรือ U-1 นั้นเป็นฝีมือของคนไทยทั้งสิ้น โดยเฉพาะด้าน Software และเรามีนักบินทดสอบที่ทำการทดสอบจนได้รับใบสมควรเดินอากาศตามมาตรฐานสากล ทั้งหมดนี้คือความหมายของแนวคิด Purchase and Development ซึ่งก็คือการจัดหายุทโธปกรณ์นั้นจะต้องสามารถต่อยอดเพื่อพัฒนาเองได้
และด้วยหลักการ Purchase and Development นั้นทำให้กองทัพอากาศสามารถติดตั้งจรวดอากาศสู่อากาศแบบ IRIS-T ได้ด้วยฝีมือของคนไทย ซึ่งในอดีตเรามีการจัดหาเครื่องบิน Gripen ที่ตรงกับความต้องการของเรา แต่เราไม่สามารถจัดหาเพิ่มเติมได้เนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอ จึงใช้วิธีนำแนวคิดของ Gipen มาใส่ลงใน F-5TH เช่นเดียวกับที่เราใช้งาน Aerostar และกำลังจะใช้งาน Dominator นั้น เราก็นำแนวคิดและประสบการณ์ในการใช้งานมาใส่ใน RTAF U-1 ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของกองทัพอากาศ
สำหรับการพัฒนาต่อจากนี้ แผนงานต่อไปคือการพัฒนาอากาศยานไร้นักบินขนาดกลางหรือ MALE (Medium-Altitude Long-Endurance) ภายในไม่กี่ปีนี้ สำหรับในแง่ของโครงสร้างกำลังรบนั้น วันนี้ทั้ง F-5TH และ U-1 ก็คือการแสดงขีดความสามารถในการพัฒนาทั้ง Shooter และ Sensor ด้วยฝีมือคนไทย ทิศทางในการพัฒนาในอนาคตนั้น กองทัพอากาศวางแผนที่จะไม่จัดหาเพียงอย่างเดียว แต่จะจัดหาพร้อมพัฒนา อากาศยานที่มีขีดความสามารถสูงและพัฒนาได้เราก็จะพัฒนาเอง จะสังเกตุว่าเราไม่ได้จัดหาอากาศยานใหม่อย่างเดียว ซึ่งถือว่าช่วยประหยัดงบประมาณได้มาก กองทัพอากาศตระหนักดีเรื่องการใช้ภาษี ดังนั้นกองทัพอากาศจึงมียุทธศาสตร์ในการจัดหาอากาศยานให้คุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งอากาศยานที่จัดหานั้นต้องตอบสนองยุทธศาสตร์ Purchase and Development ให้ได้เท่านั้น
ทั้งนี้ โครงการนี้มีภาคเอกชนร่วมงานเยอะมาก (บริษัท R V Connex เป็นคู่สัญญาหลัก) มี SME เกิดขึ้นจากโครงการนี้หลายราย และสร้างตำแหน่งงานขั้นสูงในภาคเอกชนขึ้นหลายตำแหน่งที่มีค่าตอบแทนสูง ซึ่งทำให้ประชาชนและระบบเศรษฐกิจเกิดรายได้ แต่แม้จะอย่างนั้นก็ยังใช้งบประมาณต่ำกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ
อย่าง F-5TH นั้น คนไทยมีส่วนร่วมทั้งในส่วนของ Mechanism และ Software การออกแบบสถาปัตยกรรมและโครงสร้างการปรับปรุง การออกแบบการวางสายไฟหรืออุปกรณ์ต่างๆ บนอากาศยานนั้นเป็นฝีมือคนไทยทั้งสิ้น ส่วน Software นั้น การใช้วิศวกรไทยในการพัฒนาจะทำให้เราสามารถสร้าง Algorithm ที่ตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะตาม Concept of Operation ของกองทัพอากาศไทยได้ ซึ่งในอีกด้านการที่กองทัพอากาศสามารถวาง Concept of Operation ได้เองก็ทำให้สามารถแปลงความต้องการทางยุทธการไปเป็นเทคโนโลยีเป้าหมายและไปจนถึงรายการอุปกรณ์ที่ต้องการได้
แต่ที่ผ่านมาที่มักจะพูดกันว่าคนไทยทำอาวุธไม่เป็นนั้น เพราะเราตั้งโจทย์กันไม่เป็น คนไทยเป็นคนที่ฉลาด แต่เราไม่สอนให้ตั้งโจทย์ให้เป็น งานนี้คือการสอนให้คนไทยตั้งโจทย์ เรามียุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กองทัพ เราต้องหาว่าอะไรคือโจทย์ที่เกิดขึ้นจากยุทธศาสตร์ และดึงโจทย์ออกมา และหาคำตอบให้กับโจทย์นั้นให้ได้
ส่วนการผลิตอากาศยานเองนั้น แผนงานของกองทัพอากาศเริ่มจาก Purchase and Development โดยเรียนรู้ที่จะทำมันสมองของเครื่องบินหรือ Software ให้ได้เองก่อน ส่วนจะนำไปสู่การผลิตอากาศยานเองหรือไม่นั้น ต้องดูว่าการผลิตอากาศยานนั้นเป็นการดำเนินการที่ต้องลงทุนสูง การผลิตอากาศยานเพียง 12 เครื่องนั้นอาจจะไม่คุ้มค่า แต่ถ้าเราพัฒนา Software ได้เอง ซึ่งจะทำให้อากาศยานนั้นมีขีดความสามารถที่เราต้องการได้ เพราะการสร้างเครื่องบินได้เองไม่ได้หมายความว่าจะตอบโจทย์ได้ทั้งหมด แต่การที่คนไทยมีขีดความสามารถในการพัฒนา Software และระบบอาวุธต่างๆ ได้ในส่วนซึ่งเป็นหัวใจหลักของระบบอาวุธนั้นๆ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่า ซึ่งในปี 2580 นั้นจะต้องมาดูเรื่องความคุ้มค่าอีกครั้ง
สำหรับโครงการปรับปรุง AU-23A และ Alphajet นั้นจะดำเนินการได้ลึกและกว้างกว่าการปรับปรุง F-5TH ในสองมิติ ทั้ง Platform และ Software ซึ่งเรามีแนวคิดที่จะทำให้อากาศยานเหล่านั้นสามารถเลือกติดตั้งระบบอาวุธจากที่ใดก็ได้ตามความต้องการของเราโดยไม่มีข้อจำกัดจากผู้ผลิตต่างประเทศ และทั้งหมดจะต้องใช้งาน Link-TH ได้ ในส่วนของอากาศยานไร้นักบินนั้น เรายังสามารถพัฒนาได้ต่อทั้งในแง่ของภารกิจ ISR (Intelligence Surveillance and Reconnaissance) และในเรื่องของระบบอาวุธ ซึ่งเรามีเทคโนโลยีและความรู้พื้นฐานแล้ว จะพัฒนาไปทางไหนเราก็สามารถวิเคราะห์เองได้
ที่มา: https://www.facebook.com/groups/thaiarmedforce/permalink/2490763934501615/
------------------------------------------------------------
แนวคิดในการจัดหาและพัฒนา (Purchase and Development) จะถือเป็นแนวคิดหลักในการดำเนินงานของกองทัพอากาศต่อไป การจัดหาระบบอาวุธจะต้องตามมาด้วยการพัฒนา และรวมขีดความสามารถของทั้งหน่วยงานราชการ ภาคการศึกษา และโดยเฉพาะภาคเอกชนเข้ามามีส่วนในโครงการ
การปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-5TH และอากาศยานไร้นักบิน RTAF U-1 ถือเป็นผลผลิตแรกของแนวคิด
------------------------------------------------------------
ความภาคภูมิใจ ของพี่น้องกองทัพอากาศ และคนไทยทุกคน
ในการมีส่วนร่วมออกแบบ และพัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย
#เทคโนโลยีที่พึ่งพาตนเอง...
#F-5TH ความภาคภูมิใจของคนไทย
#กองทัพอากาศเคียงข้างประชาชน
#MayTheAirForceBeWithYou
กองทัพอากาศไทย Royal Thai Air Force
การถ่ายทอดเทคโนโลยี
เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนา ทอ.ในด้านต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาด้านบุคลากรให้เท่า ทันเทคโนโลยีปัจจุบันและอนา คต การถ่ายทอดเทคโนโลยีของอากา ศยาน การฝึกศึกษาเพื่อให้สามารถด ูแล และบำรุงรักษาอากาศยานได้บน พื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง ทอ.จะต้องสามารถพัฒนาต่อยอด เทคโนโลยีของอากาศยาน ระบบอาวุธ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม หรือระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยให้สามารถพึ่งพาแ ละพัฒนาได้ด้วยตนเองต่อไป
เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนา
------------------------------------------------------------
ที่มา เทคโนโลยี RTAF U1 ความภาคภูมิใจของพี่น้องชาวกองทัพอากาศ" ออกแบบและผลิตเองโดยคนไทย 90%"
#เทคโนโลยีที่พึ่งพาตนเอง
#RTAFU1ความภาคภูมิใจของคนไทย
#กองทัพอากาศเคียงข้างประชาชน...
#MayTheAirForceBeWithYou
กองทัพอากาศไทย Royal Thai Air Force
กองทัพอากาศเป็นผู้กำหนดควา มต้องการด้านการใช้งานและมา ตรฐานการออกแบบและการผลิต
ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลด ้านอากาศยานไร้คนขับทางทหาร และการบินพลเรือน
"ออกแบบและผลิตเองโดยคนไทย 90%"
ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลด
"ออกแบบและผลิตเองโดยคนไทย 90%"
ส่วนประกอบหลักของระบบอากาศ ยานไร้คนขับ(UAS) ที่ออกแบบ/ ผลิตตามข้อกำหนดความสมควรเดิ นอากาศ (Airworthiness UAS : STANAG-4671, 4703)
1 Aircraft Platform (พัฒนาเองในประเทศ)
- Navigation System :
- Fiberoptic Gyro...
- IFF
- Laser Altimeter
- Pitot Static
(จัดหาจากต่างประเทศโดยพัฒน า Software เพื่อการควบคุม)
- Propulsion System
(จัดหาจากต่างประเทศโดยพัฒน า Software เพื่อการควบคุม)
-Flight Control Computer
(พัฒนาเองในประเทศทั้ง HW และ SW)
-Communication System
(จัดหาจากต่างประเทศโดยพัฒน า Software เพื่อการควบคุม)
-Payload
(จัดหาจากต่างประเทศโดยพัฒน า Software เพื่อการควบคุม)
-Power Management Unit
(พัฒนาเองในประเทศทั้ง HW และ SW)
2 Ground Control Station : GCS
(พัฒนาเองในประเทศ)
- DGPS
(จัดหาจากต่างประเทศโดยพัฒน า Software เพื่อการควบคุม)
-Control Software: AUCS
(พัฒนาเองในประเทศทั้ง HW และ SW)
-Communication System
(จัดหาจากต่างประเทศโดยพัฒน า Software เพื่อการควบคุม)
1 Aircraft Platform (พัฒนาเองในประเทศ)
- Navigation System :
- Fiberoptic Gyro...
- IFF
- Laser Altimeter
- Pitot Static
(จัดหาจากต่างประเทศโดยพัฒน
- Propulsion System
(จัดหาจากต่างประเทศโดยพัฒน
-Flight Control Computer
(พัฒนาเองในประเทศทั้ง HW และ SW)
-Communication System
(จัดหาจากต่างประเทศโดยพัฒน
-Payload
(จัดหาจากต่างประเทศโดยพัฒน
-Power Management Unit
(พัฒนาเองในประเทศทั้ง HW และ SW)
2 Ground Control Station : GCS
(พัฒนาเองในประเทศ)
- DGPS
(จัดหาจากต่างประเทศโดยพัฒน
-Control Software: AUCS
(พัฒนาเองในประเทศทั้ง HW และ SW)
-Communication System
(จัดหาจากต่างประเทศโดยพัฒน
แนวทาง Purchase and Development (P&D)
รัฐบาล
-ยุทธศาสตร์ชาติ
-THAILAND 4.0...
-ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง
กลาโหม
-ยุทธศาสตร์ความมั่นคง 20 ปี
-นโยบายพึ่งพาตนเอง
-การสนับสนุนอุตสาหกรรมป้อง กันประเทศในประเทศ
กองทัพอากาศ
ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี
One of the Best Air Forces in ASEAN
ระเบียบการบริหารการจัดซื้อ จัดจ้าง
รัฐบาล
-ยุทธศาสตร์ชาติ
-THAILAND 4.0...
-ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง
กลาโหม
-ยุทธศาสตร์ความมั่นคง 20 ปี
-นโยบายพึ่งพาตนเอง
-การสนับสนุนอุตสาหกรรมป้อง
กองทัพอากาศ
ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี
One of the Best Air Forces in ASEAN
ระเบียบการบริหารการจัดซื้อ
นวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ = เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
+ บุคลากรในประเทศ + ความต้องการของผู้ใช้
ความมั่นคงของชาติเป็นหน้าท ี่ของคนทุกคนในประเทศ
-ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเ ร็จ คือ นโยบายของกองทัพ (งบประมาณ) และความพร้อมของผู้ประกอบกา รในประเทศ
-ความพร้อมด้านบุคลากร เทคโนโลยี เครื่องมือ เครื่องจักร และความต้องการจากผู้ใช้งาน ต้องสอดประสานและร่วมมือกัน อย่างเป็นรูปธรรม
+ บุคลากรในประเทศ + ความต้องการของผู้ใช้
ความมั่นคงของชาติเป็นหน้าท
-ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเ
-ความพร้อมด้านบุคลากร เทคโนโลยี เครื่องมือ เครื่องจักร และความต้องการจากผู้ใช้งาน
พัฒนาและผลิตจากความต้องการ ด้วยความร่วมมือของบุคลากรภ ายในประเทศตาม "มาตรฐานสากล"
รูปแบบการบริหารโครงการ
-กองทัพอากาศ
-กำหนดความต้องการ และมาตรฐาน
-การทดสอบและประเมิณผล...
-พัฒนาแนวทางการปฏิบัติการแ ละการรบ (Concept of Operations: CONOP)
บ.อุตสาหกรรมการบิน
-คู่สัญญากับกองทัพอากาศ
-บริหารสัญญาและโครงการ
-ประสานงาน
ผู้ประกอบการในประเทศ (บริษัทคนไทย)
-ออกแบบและผลิตระบบอากาศยาน ไร้คนขับ
-พัฒนาและบูรณาการ
-กองทัพอากาศ
-กำหนดความต้องการ และมาตรฐาน
-การทดสอบและประเมิณผล...
-พัฒนาแนวทางการปฏิบัติการแ
บ.อุตสาหกรรมการบิน
-คู่สัญญากับกองทัพอากาศ
-บริหารสัญญาและโครงการ
-ประสานงาน
ผู้ประกอบการในประเทศ (บริษัทคนไทย)
-ออกแบบและผลิตระบบอากาศยาน
-พัฒนาและบูรณาการ
จำนวนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญใน โครงการ RTAF U1 Airworthiness UAS Program
- จำนวนบุคลากรของกองทัพอากาศ 17 คน
- จำนวนบุคลากรสายเทคนิค แยกตามความรู้ความชำนาญ 121 คน
- จำนวนบุคลากรสายบริหารจัดกา ร 12 คน
“เราได้บูรณาการผู้เชี่ยวชา ญที่เป็นคนไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันสร้าง RTAF U1”
- จำนวนบุคลากรของกองทัพอากาศ
- จำนวนบุคลากรสายเทคนิค แยกตามความรู้ความชำนาญ 121 คน
- จำนวนบุคลากรสายบริหารจัดกา
“เราได้บูรณาการผู้เชี่ยวชา
ความร่วมมือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น