กองทัพอากาศจัดพิธี “เกียรติยศ 40 ปี เครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ข/ค (F-5 E/F)” และ "พิธีส่งมอบเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ค (F-5F) ต้นแบบตามโครงการปรับปรุงขีดความสามารถ" โดยบริษัท Elbit Systems เมื่อ 23 พฤษภาคม 2561 ณ กองบิน 21 จังหวัดอุบลราชธานี …
กองทัพอากาศ จัดพิธี "เกียรติยศ 40 ปี เครื่องบินขับไล่ F-5 E/F” ฝูงบิน 211 กองบิน21 อุบลฯ ทีบินมา 1.6 แสน ชม.บิน โดยได้ทำการ Mod-Modified จะทำการบินได้อีก 15 ปี
เครื่องบินขับไล่ F-5 E/F ฝูงบินแรก 20 เครื่อง แบบหัวกลม (Conical Nose) เข้าประจำ ฝูงบิน 102 กองบิน 1 โคราช เมื่อปี 2521 ต่อมา ย้ายไป ฝูงบิน 711 กองบิน 7 สุราษฎร์ฯ แล้วย้ายมา ฝูงบิน 211 กองบิน 21 อุบลฯ
ปี 2524 ทอ.จัดหา F5 E/F หัวแบน ปากฉลาม (Shark Nose) ประจำ ฝูงบิน 403 กองบิน 4 ตาคลี นครสวรรค์ อีก 20 เครื่อง ก่อนย้ายมา ฝูงบิน 211 กองบิน 21 อุบลฯ
ปี 2524 ทอ.จัดหา F5 E/F หัวแบน ปากฉลาม (Shark Nose) ประจำ ฝูงบิน 403 กองบิน 4 ตาคลี นครสวรรค์ อีก 20 เครื่อง ก่อนย้ายมา ฝูงบิน 211 กองบิน 21 อุบลฯ
ปี พ.ศ.2530 กองทัพอากาศได้จัดซื้อ F-5E อีกจำนวน 10 เครื่อง โดยในรุ่นที่จัดซื้อนี้เป็นเครื่องบินรุ่นหัวกลมมาตรฐาน ที่ผ่านการใช้งานมาแล้วจากกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาที่ประจำการอยู่ ณ ฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 26 (Aggressor) ฐานทัพอากาศคล๊าก ประเทศฟิลิปปินส์ หลังจากผ่านการตรวจสภาพแล้ว ได้บรรจุเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน 231 กองบิน 23 อุดรธานี จำนวน 6 เครื่อง ร่วมกับเครื่องบิน F-5A/B และ RF-5A และในปี พ.ศ.2539 เครื่องบินทั้งหมดได้ย้ายไปประจำการ ณ ฝูงบิน 711 กองบิน 71 ซึ่งต่อมาได้รับการปรับโครงสร้างเป็น ฝูงบิน 701 กองบิน 7 ในปี พ.ศ.2555 ได้มีการปรับย้าย F-5E จากฝูงบิน 701 กองบิน 7 ทั้งหมด 11 เครื่อง ไปประจำการ ณ ฝูงบิน 211 กองบิน 21 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2555 จนถึงปัจจุบัน รวมยังคงมีเครื่องบิน F-5 ประจำการ ฝูงบิน 211 กองบิน 21 ทั้งหมด 27 เครื่อง
F-5E/F TIGER II เป็นเครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์ความเร็วเหนือเสียง ผลิตโดยบริษัท Northrop Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับการออกแบบให้มีขนาดเล็ก รูปร่างเพรียวลม บำรุงรักษาง่าย ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการและซ่อมบำรุงน้อย ติดตั้งเครื่องยนต์ Turbojet แบบ J85 จำนวน 2 เครื่องยนต์ เริ่มเปิดสายการผลิตในปี พ.ศ.2515 มีขีดความสามารถทั้งการปฏิบัติการรบในอากาศและการโจมตีภาคพื้น ได้รับการผลิตทั้งหมดกว่า 1,400 เครื่อง ก่อนปิดสายการผลิตในปี พ.ศ.2530
การออกแบบเครื่องบินขับไล่ให้มี ๒ เครื่องยนต์นั้น ส่งผลต่อความปลอดภัยในการรบสูงยิ่ง ครั้งหนึ่งในการรบตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณช่องบก จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องบิน F-5E หมายเลข ๙๑๖๘๖ ฝูงบิน ๔๐๓ ทำการบินโดย น.ต.สุรศักดิ์ บุญเปรมปรีดิ์ ถูกยิงด้วยจรวดต่อสู้อากาศยานนำวิถีด้วยความร้อน แบบ SA-7 ทำให้เครื่องยนต์ขวาได้รับความเสียหาย แต่สามารถนำเครื่องบินกลับมาลงสนามบินอุบลราชธานีได้ด้วยความปลอดภัย โดยหลังจากการได้รับการซ่อมแซมแล้ว เครื่องบินดังกล่าวสามารถกลับมาพร้อมปฏิบัติการรบได้อีกครั้งหนึ่ง และในปี พ.ศ.๒๕๓๑ ในกรณีพิพาทบ้านร่มเกล้า นักบินท่านเดียวกันนี้ ได้นำ F-5E เข้าโจมตีเป้าหมายที่มีการป้องกันทางอากาศอย่างหนาแน่น เครื่องบินถูกต่อต้านโดยจรวดต่อสู้อากาศยาน SA-7 จำนวน ๕ ลูก แม้ว่านักบินจะใช้ระบบป้องกันตนเองแล้วก็ตาม แต่จรวดยังถูกเข้าที่ส่วนหางจนเครื่องบินไม่สามารถควบคุมได้ นักบินจึงจำเป็นต้องสละอากาศยาน และได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยค้นหาและช่วยชีวิตในเวลาต่อมา
พัฒนาการของ เครื่องบินขับไล่ F-5E/F (บ.ข.๑๘ ข/ค)
ครั้งที่ ๑ ในปี พ.ศ.๒๕๓๑ (๑๐ ปี หลังบรรจุเข้าประจำการ) F-5E/F ของฝูงบิน ๑๐๒ และฝูงบิน ๔๐๓ ได้รับการปรับปรุงเขี้ยวเล็บเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรบ โดยมีการติดตั้งจอแสดงผลตรงหน้านักบิน (Head Up Display: HUD) คอมพิวเตอร์ช่วยเล็ง (Weapon Aiming Computer) เครื่องรับสัญญาณเรดาร์เพื่อแจ้งเตือน (Radar Warning Receiver) แบบ AN/ALR-46(V)6 ระบบปล่อยเป้าลวง (Chaff & Flare Dispenser) แบบ AN/ALE-40 และเครื่องช่วยเดินอากาศ (Initial Navigation System: INS) รุ่น LN-39
นอกจากนี้ F-5E/ F รุ่น Shark Nose ของฝูงบิน ๔๐๓ ยังได้รับการปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการใช้อาวุธนำวิถีอากาศ-สู่-อากาศพิสัยใกล้ แบบ Python-3 อีกด้วย
ครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ (๒๐ ปี หลังบรรจุเข้าประจำการ) F-5E/F ของฝูงบิน ๗๑๑ และฝูงบิน ๒๑๑ ได้ผ่านการปรับปรุง โดยบริษัท Elbit ประเทศอิสราเอล แบ่งเป็น ๒ โครงการย่อย ได้แก่โครงการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบความปลอดภัยโดยติดตั้งระบบ Anti-Skid ให้กับ F-5E ฝูงบิน ๗๐๑ และโครงการปรับปรุงระบบ Avionics เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับ F-5E/F ฝูงบิน ๒๑๑ หรือที่เรียกว่า โครงการ TIGRIS โดยมีการติดตั้งคอมพิวเตอร์ประมวลผลภารกิจ (Mission Computer: MC) จอสีแสดงผลเอนกประสงค์ (Muiti Function Color Display: MFCD) หมวกนักบินติดศูนย์เล็ง (Display And Sight Helmet: DASH) วิทยุสื่อสาร VHF เครื่องช่วยเดินอากาศด้วยดาวเทียม GPS คันบังคับและคันเร่งติดตั้งปุ่มควบคุมการทำงานของระบบการรบต่าง ๆ (Hands On Throttles And Stick) พร้อมทั้งขีดความสามารถการใช้อาวุธนำวิถีอากาศ-สู่-อากาศพิสัยใกล้แบบ Python-4
ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๗ (๓๖ ปี หลังบรรจุเข้าประจำการ) เป็นการเสริมสร้างเขี้ยวเล็บครั้งสำคัญ เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง หรือ Network Centric Air Force โดยการปรับปรุงครั้งนี้จะเป็นการปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับ F-5E จำนวน ๑๑ เครื่อง และ F-5F จำนวน ๓ เครื่อง ดังนี้
- ปรับปรุงโครงสร้างอากาศยาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้ต่อไป ไม่น้อยกว่า ๑๕ ปี- ดัดแปลงโครงสร้างเพื่อทำการติดตั้งเรดาร์ที่มีรัศมีการตรวจจับในระยะไกล
- ปรับปรุงระบบ Avionics โดยปรับปรุงห้องนักบินให้แสดงผลแบบ Glass Cockpit ติดตั้งจอแสดงผลขนาดใหญ่ ๒ จอ เพื่อแสดงข้อมูลด้านการบิน การตรวจจับ การควบคุมการใช้อาวุธ และภาพสถานการณ์ในพื้นที่การรบ อำนวยการโดย Mission Computer จำนวน ๒ ชุด ที่สามารถทำงานทดแทนกันได้แม้ MC ตัวหนึ่งทำงานผิดพลาด ระบบส่องสว่างทั้งภายนอกและภายในห้องนักบินได้รับการปรับปรุงให้รองรับการปฏิบัติภารกิจในเวลากลางคืนด้วยกล้อง NVG ติดตั้งระบบนำทางด้วย INS/GPS/Radar Altimeter สามารถใช้งานหมวกบินติดศูนย์เล็งแบบ DASH IV ทั้งยังติดตั้งวิทยุ UHF/VHF ที่มีขีดความสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี
- ระบบอาวุธ สามารถใช้งานอาวุธที่ทันสมัย ทั้งอาวุธนำวิถีอากาศ-สู่-อากาศทั้งในระยะสายตา (Within Visual Range: WVR) และนอกระยะสายตา (Beyond Visual Range: BVR) รวมทั้งอาวุธอากาศ-สู่-พื้น ที่มีประจำการในกองทัพอากาศ ทั้งแบบ Guided และ Unguided ซึ่งจะทำให้เครื่องบินขับไล่แบบ F-5E/F นี้ มีขีดความสามารถเทียบเท่ากับเครื่องบินขับไล่ในยุค ๔.๕ เป็นกำลังสำคัญให้กับกองทัพอากาศได้ในระยะยาว
และที่สำคัญที่สุด ในการปรับปรุงครั้งนี้ เป็นการปรับปรุงบนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง โดยบุคลากรของกองทัพอากาศเป็นส่วนใหญ่ เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ทั้งระบบโครงสร้างอากาศยาน ระบบไฟฟ้าอากาศยาน การวางแผนปรับปรุงอากาศยาน ฯลฯ เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่ง นำไปสู่การพัฒนากองทัพอากาศต่อไปอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ กองทัพอากาศ ภายใต้แนวคิดของ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ เราจะพัฒนาขีดความสามารถอย่างต่อเนื่องตามยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๖๒ โดยการพัฒนาในแต่ละห้วงเวลา มิได้มีเพียงปัจจัยส่งเสริมหรือเอื้อต่อการพัฒนาเท่านั้น หากแต่มีปัจจัยซึ่งเป็นข้อจำกัด ที่ทำให้การพัฒนามิได้ราบรื่นหรือบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ อย่างไรก็ตาม กองทัพอากาศมิได้ละทิ้งความพยายามและความมุ่งมั่นที่จะพัฒนากำลังทางอากาศ (Air Power Domain) ให้บรรลุวิสัยทัศน์อย่างเป็นรูปธรรม กองทัพอากาศจึงทบทวนและประเมินสถานการณ์ ตลอดจนกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๗๙) โดยเน้น “สาน” ต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง “เสริม” เพิ่มขีดความสามารถกำลังทางอากาศให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และ “สร้าง” ความเข้มแข็งในมิติไซเบอร์ (Cyber Domain) เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามด้านไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนริเริ่มและวางรากฐานมิติอวกาศ (Space Domain) เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันภัยคุกคามที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นในอนาคต
กองทัพอากาศมุ่งมั่นพัฒนา
ทหารฉลาด (Smart People)
อาวุธฉลาด (Smart Weapon Systems)
และกลยุทธ์ฉลาด (Smart Tactics)
โดยขอให้มั่นใจว่า กองทัพอากาศจะดำรงขีดความสามารถและความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจ ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุดเพื่อประเทศชาติและประชาชนอย่างเต็มกำลังความสามารถ
>>Wassana Nanuam
ภาพถ่ายจาก: Wassana Nanuam>Sompong Nondhasa>รัชต์ รัตนวิจารณ์>We love F-5>Kittamet Wonghail>Yanaphol Pholseemuang>AAG_th บันทึกประจำวัน>เดอะ มิชชั่น>Nut ThephutteeThaiArmedForce.com Discussion Group
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น