หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความคืบหน้าโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง OPV: Offshore Patrol Vessel


ความเป็นมาของโครงการ

กองทัพเรือมีความต้องการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง จำนวน 6 ลำ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถที่ต้องการตามยุทธศาสตร์ ในสภาวะแวดล้อมช่วง 10 ปี ข้างหน้า ที่ ทร.จะต้องปฏิบัติภารกิจตามบทบาทที่ได้รับ คือ การปฏิบัติการทางทหารในการป้องกันประเทศ และการรักษากฎหมายหมายและช่วยเหลือประชาชน โดยให้มีขีดความสามารถในการลาดตระเวนตรวจการณ์ รักษาฝั่ง ป้องกันการแทรกซึม คุ้มครองเรือประมง ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ตลอดจนรักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

การปฏิบัติภารกิจตามบทบาทที่ได้รับ โดยเฉพาะในพื้นที่ไกลฝั่งประมาณ 75-200 ไมล์ มีความจำเป็นต้องใช้กำลังทางเรือที่มีคุณลักษณะและขีดความสามารถที่เหมาะสม และเพียงพอสำหรับปฏิบัติภารกิจ ซึ่ง ทร.ได้ใช้เรือ ตกก.ปฏิบัติภารกิจดังกล่าว เนื่องจากเป็นเรือที่คุณลักษณะเหมาะสมกับภารกิจ และมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการน้อยกว่าการใช้เรือขนาดใหญ่ เช่น เรือฟริเกต ดังนั้นการจัดหาเรือ ตกก.เพิ่มเติม จะทำให้ ทร.สามารถสนับสนุนการป้องกันประเทศและการช่วยเหลือประชาชน ตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ครอบคลุมพื้นที่ที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางการสร้างเรือ ทร.ได้กำหนดให้ อร.เป็นหน่วยสร้างเรือ โดยกำหนดให้ใช้พื้นที่ของ อรม.อร.เป็นสถานที่สร้างเรือ ซึ่งจะเป็นไปในลักษณะเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.991 ที่ ทร.ได้จัดเป็นโครงการจัดสร้างเป็นเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาศเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการดำเนินการตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งพาตนเอง กับเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการสร้างเรือของ อร. ในการสร้างเรือตรวจการณ์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นโดยกำหนดเป้าหมายให้สร้างเรือ ทดสอบทดลองแล้วเสร็จ และ ทร.ได้รับมอบเรือ ตกก. จำนวน 1 ลำ ภายใน มิ.ย.55 ทั้งนี้จะใช้แบบรูปทรงตัวเรือ (Hull Form) ของเอกชน ที่มีลักษณะทั่วไปใกล้เคียงกับ SR ที่ ทร.กำหนดโดย ทร.จะจัดทำแนวคิดเบื้องต้นของการจัดทำแบบเรียบเรียงทั่วไป (General Arrangement) และแนวคิดในการออกแบบระบบต่างๆ



คุณลักษณะทั่วไปของเรือ

ความยาวตลอดลำ 90.50 เมตร ความยาวที่แนวพื้นน้ำ 83 เมตร
ความกว้าง 13.50 เมตร ความสูงกาบเรือ 7.70 เมตร
ระดับกินน้ำลึก 3.80 เมตร
ระวางขับน้ำเต็มที่ไม่น้อยกว่า 1,000 ตัน แต่ไม่เกิน 2,000 ตัน
ความเร็วสูงสุด 25 นอต
ความเร็วสูงสุดต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 23 นอต
รัศมีทำการที่ความเร็ว 15 นอต 3,500 ไมล์ทะเล ที่ระวางขับน้ำเต็มที่ (Full Load)
มีดาดฟ้าท้ายเรือสำหรับ ฮ.ขนาด 7 ตัน
สามารถปฏิบัติการทางเรืออย่างต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 14 วัน ที่สภาวะทะเล Sea state 5
ที่อยู่อาศัยเพียงพอสำหรับกำลังพล ไม่น้อยกว่า 89 นาย
ระบบปืนประกอบด้วย ปืนหลัก ปืน 76 มม. อัตโนมัติ 1 แท่น
ปีนกล ปืนรอง 30 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
ปืนกล .50 นิ้ว 2 แท่น
ระบบขับเคลื่อนประกอบด้วย เครื่องจักรใหญ่ดีเซล 2  เครื่อง



ลานจอดเฮลิคอปเตอร์สำหรับ ฮ.Super Lynx 300  1เครื่อง
เรดาร์ตรวจการพื้นน้ำ Thales Variant
เรดาร์และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Thales LIROD MK.2
เรดาร์เดินเรือ
ระบบพิสูจน์ฝ่าย TSA 2525
ระบบอำนวยการรบ Thales TACTICOS
ระบบสื่อสารแบบรวมการ Thales FICS (Fully Integrated Communications System)
ระบบ IPMS (Integrate Platform Management System) Servowatch

การสร้างเรือดำเนินการโดย บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด โดยใช้แบบเรือของ บริษัท BVT Surface Fleet (ประเทศอังกฤษ) สร้างที่อู่เรือราชนาวีมหิดลอดุลยเดช

ตามแผนการสร้างเรือ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 27 พ.ย. 52  ปล่อยเรือลงน้ำ ก.ย. 54 และมีกำหนดส่งมอบเรือให้กองทัพเรือ ใน มิ.ย.55 รวมระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 1,080 วัน 



ความคืบหน้าการสร้างเรือเดือน ก.ย.-ต.ค. 53


(โพสต์บทความเพิ่มเติม/17 ธ.ค.53)
ความคืบหน้าการสร้างเรือ เดือนพฤศจิกายน 2553


ภาพข่าว : สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ (14 ธ.ค.53)
(OPV) ณ บก.อรม.อร. ระหว่างเวลา 100 - 1130

(โพสต์บทความเพิ่มเติม/25 ม.ค.54)
ความคืบหน้าการสร้างเรือ เดือนธันวาคม 2553


(โพสต์บทความเพิ่มเติม/30 มี.ค.54)
ความคืบหน้าการสร้างเรือ เดือนมกราคม 2554


ความคืบหน้าการสร้างเรือ เดือนกุมภาพันธ์ 2554

 
 
 
 
 
 
 

ความคืบหน้าการสร้างเรือ เดือนมีนาคม 2554

(โพสต์บทความเพิ่มเติม/30 พ.ค.54)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ความคืบหน้าการสร้างเรือ เดือนเมษายน 2554

 
 
 
 

ความคืบหน้าการสร้างเรือ เดือนพฤษภาคม 2554



(โพสต์บทความเพิ่มเติม/20 ส.ค.54)
ความคืบหน้าการสร้างเรือ เดือนมิถุนายน 2554


ความคืบหน้าการสร้างเรือ เดือนกรกฎาคม 2554


 ความคืบหน้าการสร้างเรือ เดือนสิงหาคม 2554

http://www.theopv.com/page_a.php?cid=4&cname=ความคืบหน้าของโครงการ

(โพสต์บทความเพิ่มเติม/2 พ.ย.54)
ความคืบหน้าการสร้างเรือ เดือนกันยายน 2554


(โพสต์บทความเพิ่มเติม/29 พ.ย.54)
ความคืบหน้าการสร้างเรือ เดือนตุลาคม 2554

 
 

(โพสต์บทความเพิ่มเติม/29 พ.ย.54)
ความคืบหน้าการสร้างเรือ เดือนพฤศจิกายน 2554

 
 
*กำหนดพิธีการปล่อยเรือลงน้ำวันที่ 2 ธันวาคม 2554

ประมวลภาพถ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรือ ...
(โพสต์ภาพลงบทความเพิ่มเติม 14/6/54)
 แบบจำลองของเรือ

การเคลื่อนย้าย Block ..เพื่อนำไปประกอบเป็นตัวเรือ

เคลื่อนย้ายเครื่องจักรใหญ่เรือ MAN GR. เข้าในโรงเก็บ หลังได้รับจากการนำส่ง ..

(โพสต์ภาพลงบทความเพิ่มเติม 22/8/54)
"ติดตั้งเครื่องจักรใหญ่ เมื่อ 20 ส.ค.54"/ ภาพจาก: ThaiFighterClub.org โดย คุณเสือใหญ่
http://www.thaifighterclub.org/webboard.php?action=detailQuestion&questionid=14785&topic=OPV ติดตั้งเครื่องจักรใหญ่แล้ว !&PHPSESSID=dd8ae86fa72c4d237b5bff627101081e


การเตรียมเรือก่อนจะมีพิธีการปล่อยเรือลงน้ำ โดยการกลับลำเรือหน้าอู่ เพื่อหันหัวเรือเข้าสู่ตำแหน่งที่จะทำพิธีปล่อยเรือ (ภาพถ่ายเมื่อ 30 พ.ย.54 โดย คุณเสือใหญ่)


เข้าไปติดตามชมภาพและข่าวพิธีการปล่อยเรือลงน้ำได้ที่: http://www.thaiarmedforce.com/taf-gallery/41-rtn-photos/405-hrh-sirindhorn-launch-htms-krabi.html

http://www.theopv.com/
http://www.navy.mi.th/dockyard

By Sukom / www.thaidefense-news.blogspot.com

34 ความคิดเห็น:

  1. แบบเรือสวยดีค่ะ

    ตอบลบ
  2. ใช้เวลาสร้างนานเหมือนกันนะครับเกือบ 3 ปี

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ23 ธันวาคม 2553 เวลา 16:33

    อีกก้าวที่มั่นคง ของชาติไทย

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ10 เมษายน 2554 เวลา 03:03

    แบบเรือสวยดีนะครับ อีกหน่อยคงต่อเรือฟรีเกตนะครับ จะดีมากเลย

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ10 เมษายน 2554 เวลา 03:30

    ติดอาวุธเบาไปหน่อยนะครับ เผื่อออกไปเจาะของแข็งแล้วมันจะแย่นะครับ น่าจะติดอาวุธหนัก และระบบป้องกันด้วยก็ดี

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...
    แบบเรือสวยดีนะครับ อีกหน่อยคงต่อเรือฟรีเกตนะครับ จะดีมากเลย

    10 เมษายน 2554, 3:03

    sukom...
    ครับผมก็หวังอยากให้เป็นนั้นเช่นกันครับ แต่การต่อฟริเกตนั้นจะมีรายละเอียดในการออกแบบและการสร้างที่ยุ่งยากซับซ้อน อีกทั้งความต้องการในส่วนของระบบอุปกรณ์และระบบอาวุธที่ติดตั้งก็มีมากกว่าเรือ OPV แต่ถ้าในอนาคตเราสามารถต่อเรือฟริเกตได้เอง ผมก็ว่าดีครับ...

    ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...
    ติดอาวุธเบาไปหน่อยนะครับ เผื่อออกไปเจาะของแข็งแล้วมันจะแย่นะครับ น่าจะติดอาวุธหนัก และระบบป้องกันด้วยก็ดี

    10 เมษายน 2554, 3:30

    sukom...
    สำหรับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง หรือ เรือ OPV ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในภารกิจลาดตระเวนตรวจการณ์ในระยะห่างฝั่ง ซึ่งต้องเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่เพียงพอ มีความคงทนทะเล ปฏิบัติการในทะเลได้เป็นระยะเวลานานโดยไม่ต้องเข้าสู่ฝั่งเพื่อรับการส่งกำลังบำรุง มีสิ่งอุปกรณ์ที่เน้นให้ความสะดวกสบายแก่ลูกเรือในยามที่ออกปฏิบัติภารกิจเป็นเวลานานๆ และมีความสิ้นเปลืองน้อยในการใช้งาน โดยมีภารกิจหลักเพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล,ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล และภารกิจอื่นๆ..ซึ่งเน้นใช้ปฏิบัติภารกิจในยามปกติ หรือภาวะการรบที่มีภัยคุกคามต่ำ ระบบอาวุธที่ติดตั้งกับเรือ เช่น ปืนใหญ่เรือขนาด 76 มม. จำนวน 1 กระบอก และ ขนาด 30 มม. อีก 2 กระบอก พร้อมระบบควบคุมการยิง, ระบบเรดาร์ และระบบอำนวยการรบ (มีลานขึ้นลงของเฮลิคอปเตอร์ที่ดาดฟ้าท้ายเรือ) แค่นี้ก็เพียงพอแล้วครับ

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ17 เมษายน 2554 เวลา 06:06

    ขอแสดงความคิดเห็นบ้างครับ

    อาวุธที่ติดเบาเกินไปครับ ควรติดจรวดนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำอย่างน้อย
    ซัก 2 ท่อยิง อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือใต้น้ำซัก 1 ท่อยิง
    ระบบป้องกันตัวระยะประชิดจำพวกฟาลังค์(Phalanx) 1 ระบบ
    เพราะเรือปฏิบัติการที่ระยะ 75-200 ไมล์ มีโอกาศเจอเรือข้าศึกสูง
    การมีจรวดนำวิถีช่วยให้ต่อกรกับเรือข้าศึกได้ทันที ไม่ตกเป็นเป้าโจมตี
    ถ้าเกินเราไปจ๊ะเอ๋กับเรือข้าศึก ถ้าเค้ามีจรวดนำวิถีเราหนีไม่ทันอยู่แล้ว
    ครั้นจะยิงด้วยปืนใหญ่ก็คงยิงไม่ถึง ก็มีแต่ยิงจรวดนำวิถีสวนไปเท่านั้น
    ที่พอจะทำให้เราไม่เสียเปรียบมากนัก ที่เหลือก็แล้วแต่ดวง.....

    ตอบลบ
  8. โอ้ว..นี่สเปคของเรือประเภทเรือฟริเกต หรือไม่ก็คอร์เวต เลยนะครับนั่น..ก็อย่างที่ผมบอกหล่ะครับ สำหรับเรือ OPV แค่นี้เพียงพอแล้วครับ..แต่จริงๆ แล้วถ้าในยามสงคราม เรือ opv บางแบบจะได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับการติดตั้งอาวุธเพิ่มเติมได้ถ้าจำเป็น ทำให้มีขีดความสามารถใกล้เคียงกับเรือฟริเกต เช่น เรือ OPV ชุดเรือหลวงปัตตานี เป็นต้น

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ17 เมษายน 2554 เวลา 09:53

    [img]http://www.hulashare.com/images/89978857870703295547.jpg[/img]

    ผมมองว่าติดไว้ก็ไม่เสียหายครับ ถึงยังเราสร้างเรือมาใหม่ก็ใช้ไปอีกหลายสิบปี
    ขนาดเรือเร็วของพม่ายังแบกอาวุธปล่อยำนวิถี C-802 ระยะยิง 100 กม. เลย
    นี่ถ้าเกิดมีเรื่องมีราวกันเราคงโดนเรือตรวจการเร็วของพม่ายิงอาวุธนำวิถีใส่ก่อน
    ที่เรือพม่าจะเข้าระยะปืนเรือของเราเป็นแน่ นึกแล้วก็เสียวแทนทหารเรือครับ

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ17 เมษายน 2554 เวลา 09:54

    http://www.hulashare.com/images/89978857870703295547.jpg

    ภาพเรือเร็วตรวจการใกล้ฝั่งพม่าครับ

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...
    http://www.hulashare.com/images/89978857870703295547.jpg

    ภาพเรือเร็วตรวจการใกล้ฝั่งพม่าครับ

    Sukom...
    น่าจะเป็นเรือประเภทเรือเร็วโจมตีอาวุธนำวิถีนะครับ..ไม่ใช่เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง

    ตอบลบ
  12. ไม่ระบุชื่อ18 เมษายน 2554 เวลา 06:51

    ครับ ผมมองว่าต่อไปอาวุธนำวิถีจะเข้ามามีบทบาทสำคัญกว่าปืนเรือครับ
    ด้วยมีพิศัยการยิงที่ไกลกว่ามาก แรงระเบิดแรงกว่า เหมาะที่จะใช้โจมตีเรือ
    ข้าศึกเพื่อรักษาอธิปไตยและรักษาทรัพยากรในทะเลได้ดีกว่าปืนเรือครับ

    เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง OPV: Offshore Patrol Vessel ที่กำลังต่ออยู่ก็มี
    ขนาดใหญ่พอสมควรติดอาวุธนำวิถีได้อยู่แล้ว ในอนาคตผมอยากให้กองทัพเรือหามาติดครับ ทั้งนี้จะได้เสริมเขี้ยวเล็บให้มีเพิ่มมากขึ้น เป็นที่เกรงขามกับข้าศึกด้วยครับ

    ตอบลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ3 พฤษภาคม 2554 เวลา 09:29

    โครงการนี้ถ้าประสบความสำเร็จ เราต้องการ 6ลำ ซึ่งต้องต่อเองทั้ง 6 ลำจะทำให้อุตสาหกรรมของเรามีความพร้อมและชำนาญพอที่จะต่อยอดในการต่อเรือฟรีเกตได้ครับ เพราะ opvลำนี้มีระวางราวๆ 2000 ตัน ซึ่งทร.ต้องการเรือฟรีเกตขนาด 2000-3000 ตัน ซึ่งเหมาะกับการใช้งานในอ่าวไทยครับ ไม่ได้ต้องการเรือขนาดใหญ่ไปกว่านี้
    ผมว่าช่วงเวลาที่เราพร้อมที่จะต่อและมีการออกแบบเรือฟรีเกตเอง ก็น่าจะเป็นช่วงที่เราจะปลดประจำการเรือชุดเจ้าพระยาและชุดนเรศวรพอดีครับ
    หวังว่าช่วงเวลานั้นทร.คงจะได้รับงบประมาณพอสำหรับการทยอยต่อเรือเข้าทดแทนในกองเรือฟรีเกตทั้งสองกองนะครับ
    ปล. ตามแผนเก่า กองเรือฟรีเกตที่1และ2 ต้องมีเรือฟรีเกตประจำการกองละ 10 ลำ รวม 20 ลำครับ(ยุคท่านชวลิตเป็นนายก) หวังว่าเมื่อถึงช่วงเวลานั้นทร. คงจะต่อเข้าประจำการได้ครบนะครับ เพราะราคาจะถูกกว่าต่อจากต่างประเทศมาก

    ตอบลบ
  14. ไม่ระบุชื่อ3 พฤษภาคม 2554 เวลา 09:46

    ภาระกิจของเรือตรวจการก็เอาไว้ตรวจการครับ ไม่ได้เข้าทำการรบโดยตรง ถ้าไปจ๊ะเอ๋ข้าศึกเข้าก็ต้องแจ้งทางทร.ไป แล้วตัวเองก็ถอนตัวครับ หน้าที่หลักคือตรวจตราเขตน่านน้ำ จับกุมการกระทำผิดกฏหมาย เช่น ขนยา ขนน้ำมันเถื่อน อะไรทำนองนี้ ซึ่งเอาวุธที่มีอยู่นั้น เหลือเฟือพอแล้วครับ และเรือพวกนี้ใช้เจ้าหน้าที่ประจำเรือน้อย ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่ำกว่าเรือฟรีเกตมาก และเรือฟรีเกตที่มีอยู่ก็พอถูไถไปแล้ว
    เท่าที่ทราบตอนนี้เรือชั้นนเรศวรก็ได้รับงบปรับปรุงไปแล้ว ซึ่งก็คงจะเป็นระบบอำนวยการรบ แท่นยิง mk-41 และเรด้าร์ แต่ลูกจรวด essm คงจะยังไม่ได้ เพราะงบมาแค่ 2900 กว่าล้านเท่านั้น ส่วนเรือชั้นเจ้าพระยาก็เพิ่งเปลี่ยนจรวดใหม่จาก C-801 ไปเป็น C-802 ซึ่งมีระยะยิงไกลถึง 180 กิโล (เรด้าร์ควบคุมการยิงก็คงเปลึ่ยนใหม่ด้วย) เท่านี้ก็พอถูไถไปก่อนได้แล้วครับ
    ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่ทร. ตัดสินใจลองต่อเรือ OPV ขนาดใหญ่นี้ก่อน เพราะถ้าต่อได้ดีและมีความชำนาญพอแล้ว เราก็อาจจะออกแบบและต่อเรือฟรีเกตขนาด 3000 ตันเองได้ทั้งหมด น่าจะตรงกับข่วงเวลาที่ต้องต่อเรือฟรีเกตและคอร์เวตใหม่เข้าทดแทนในกองเรือฟรีเกตที่1และ2แล้ว
    ด้วยราคา OPV ที่เราต่อนี้ถือว่าถูกมากครับ ดังนั้นถ้าถึงเวลานั้นเราน่าจะต่อเรือฟรีเกตได้ในราคาที่ต่ำกว่าต่อจากยุโรปและอเมริกาเป็นเท่าตัวได้
    ปล. ถึงตอนนั้นโครงการจรวดแห่งชาติคงพร้อมแล้วสำหรับ เห็นว่าต้องพัฒนาอาวุธนำวิถีต่อตีเรือด้วย แหมเหมาะเจาะลงตัวครับ

    ตอบลบ
  15. ไม่ระบุชื่อ9 พฤษภาคม 2554 เวลา 23:05

    อาวุธควรเพิ่มอีกโดยเฉพาะจรวดนำวิถีต่อสู้เรือผิวน้ำ และจรวดนำวิถีต้อสู้อากาศยาน

    ตอบลบ
  16. ไม่ระบุชื่อ19 พฤษภาคม 2554 เวลา 12:38

    มีรูปให้ดูความคืบหน้าให้การต่อเรืออย่างนี้มันส่งผลดีมากเลยว่าเงินที่เราเสียภาษีไปได้ใช้ไปอย่างคุ้มค่ามากๆ

    ตอบลบ
  17. สนับสนุนให้ประเทศไทยและคนไทยช่วยกันคิดผลิต ยุทโธปกรณ์เองครับ ผมว่าอีกไม่นาน คงสร้างเรือดำน้ำได้เองแน่ครับ สู้ๆๆครับ

    ตอบลบ
  18. ไม่ระบุชื่อ30 กรกฎาคม 2554 เวลา 01:37

    ดูสงครามฟอร์คแลนด์เป็นตัวอย่างได้ครับ เรืออังกฤษมีแต่อาวุธนำวิถีไม่มีปืนเรือ
    สรุปคือจม1ลำ

    ตอบลบ
  19. ไม่ระบุชื่อ14 สิงหาคม 2554 เวลา 03:38

    สุดยอด.. ไม่บ้า การ เมือง เหมือน2 กอนั้น...

    ขอบคุณ..

    ตอบลบ
  20. ไม่ระบุชื่อ14 กันยายน 2554 เวลา 23:35

    กองทัพเรือสุดยอดครับบบบ

    ตอบลบ
  21. ไม่ระบุชื่อ16 กันยายน 2554 เวลา 01:35

    ิผมว่าสมควรซื้อเรือดำนำ้มาไว้นะครับ ถึงมันจะเป็นของมือ2
    แต่เราของเยอรมันเป็นผู้นำด้านนี้นะครับแล้วตัวเรือก็เป็นโครงสร้างที่แข็งแกร่งมาก เราเอามาหัดก่อน
    ไว้เป็นแล้วค่อยซื้อของใหม่ ซึ่งการซื้อครั้งนีเราได้เรือมา 6 ลำ ถือว่าคุ้มมากครับ และสามารถปฏิบัติ
    การจริงได้ 4 ลำ ด้วย 2 ลำเราก็ไว้ศึกษาวิจัยไว้ข้างหน้าเราจะผลิตเองได้ ถ้าวื้อมือ1มาจะแกะดูอะไร
    ก็เสียดายแย่ เหมือนคนขับรถยนไม่เป็นจู่ๆจะซื้อเบ็นซ์ป้ายแดงมาขับแล้วถ้าเกิดชนและไม่เสียดายเหรอครับ
    ผมรักกองทัพเรือครับดูแล้วเป็นกองทัพที่มองอนาคตได้ไกล มีวิสัยทัศน์
    (ขออภัยนะครับที่แตกประเด็นไม่รู้จะระบายที่ไหน)

    ตอบลบ
  22. ไม่ระบุชื่อ18 กันยายน 2554 เวลา 09:06

    ออกแบบรูปทรง ทันสมัย มีมิติเหลี่ยมมุมที่สวยงามดี ยุคสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็น
    เครื่องบิน รถถังหรือยานเกราะต่างๆ ล้วนออกแบบ มีมิติเหลี่ยมมุมมากขึ้น ผลที่ดีของการออกแบบอย่างนี้ คือลดการสะท้อนของเรด้าร์ RCS (Radar Cross Section ในอนาคตอาจมีเทคโนโลยี Plasma Stealth ครับ ล้ำยุคมากขึ้น

    ลองอ่านตามLinkนี้ครับ
    http://www.navy.mi.th/oper/pr/plasma.htm

    ตอบลบ
  23. ไม่ระบุชื่อ20 กันยายน 2554 เวลา 07:15

    เรือลำนี้มี อวป รึป่าวครับ
    เห็นว่า 994 ก็จะติด C-801
    อันนี้ลำใหญ่กว่าน่าจะมีสักนิดนะ

    ตอบลบ
  24. เริ่มพึ่งพาตัวเอง ถึงแม้จะไม่ดีอย่างใจใครหลายคน แต่ก็ดีกว่าไม่เริ่มทำอารัยเลย เป็นกำลังใจให้ครับกองทัพเรือ ดีกว่าเอาแต่ซื้ออย่างเดียว (ทัพที่ใครหลายคนมองว่าเป็นทัพลูกเมียน้อย ไม่ค่อยได้เงินซื้อของนอก 5555)

    ตอบลบ
  25. เป็นคอร์เวตสัก2ลำจาก6ก็น่าจะดีนะครับ แต่สำหรับopv ติดอาวุธแค่นี้ก็พอแล้ว หากติดมากกว่านี้ข้างบ้านเขาก็คงติดมั้งครับ

    ตอบลบ
  26. สุดยอด มีความคิดสร้างสรรค์ในทางที่ดีในการต่อเรือใช้เอง ดีกว่าจะไปสั่งอย่างเดียว ขอเป็นกำลังใจให้ต่อๆไป

    ตอบลบ
  27. ยินดีกับกองทัพเรือในความสำเร็จครั้งนี้

    ตอบลบ
  28. ไม่ระบุชื่อ6 ธันวาคม 2554 เวลา 23:13

    อนาคต อยากเห็นไทยต่อ ฟรีเกตใช้เองซักที (แต่ก็อยากเห็นไทยมีเรือดำน้ำเหมือนกัน ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่)

    ตอบลบ
  29. ไม่ระบุชื่อ21 ธันวาคม 2554 เวลา 23:44

    ต่อไปถอดตอปิโดปราบเรือดำน้ำของเรือตาปีและคีรีรัฐที่จะปลดประจำการมาใส่ได้ก็จะดี และซื้อจรวดปราบเรือรบมาใส่เพิ่ม

    ตอบลบ
  30. ผมว่าเราอาจใช้ฮอเป็นอาวุธได้น่ะ เป็นฮอที่สามารถติดจรวดต่อสู้เรือผิวน้ำหรือเรือดำน้ำ
    อย่างเช่น seshawk s-70และเฮลิคอปเตอร์ Super Lynx 300 ที่กองทัพเรือซื้อมาเพื่อปราบเรือดำน้ำนะครับ และ การใช้ฮอโจมตีเรือทางฝั่งยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษก็ใช้ลักษณะแบบนี้

    ตอบลบ
  31. แล้วที่เรือดำน้ำชั้นซ่งโผล่กลางกองเรือ คิตี้ฮอว์ก ล่ะครับ อเมริการะบบดีแค่ไหนก็ยังตรวจได้ไม่สมบูรณ์

    ตอบลบ
  32. กองทัพเรือ มีค่าใช้จ่ายเยอะ กว่าทัพอื่นๆ นะ ผม ว่า และเรือที่ใช้นี่ก็ คงใช้งาน แค่ ตรวจการณ์ไกลฝั้งปกติ ไม่ได้จะไปรบกับใคร แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว เอางบไปพัฒนาด้านอื่นๆ ในกองทัพเรือดีกว่า พวกเรดาร์ตรวจจับ อาวุธนาวิก ปืนใหญ่ป้องกันชายฝั่ง เห็นมีพี่ที่เป็นพลกระตุกปืนบอกว่า ปืนใหญ่ ป้องกัน ชายฝั่งมีอยู่ไม่กี่กระบอก รถลากก็ พังอีก กว่า จะลากออกมาเสร็จพอดีกัน เครื่องบิน บอมเราเละหมด แล้ว

    ตอบลบ
  33. ฝีมือการต่อเรือของไทยเราไม่แพ้ใคร ขอเพียงมีงบประมาณสนับสนุนอย่างเหมาะสมและเพียงพอ เราก็จะมีเรือดีๆไว้ใช้งานโดยไม่ต้องไปจ้างอู่ต่อเรือต่างประเทศ

    ตอบลบ
  34. ไม่ระบุชื่อ31 พฤษภาคม 2555 เวลา 06:14

    ไม่เห็นมีอาวุธนำวิถีเลย ถ้าโดนจรวดยิงจะทำยังไง

    ตอบลบ