กองทัพอากาศไทย Royal Thai Air Force (รวมภาพ)
www.thaidefense-news.blogspot.com/by sukom วัตถุประสงค์ของการเปิดบล็อกนี้ เพื่อการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนข้อมูล-ความคิดเห็น รวมถึงเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข่าวคราว ความเป็นไปทางด้านการทหาร และ เทคโนโลยีด้านการทหาร แก่บุคคลที่สนใจและบุคคลทั่วไป
วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
Defense and Security Thailand 2019 Tri Service Asian Exhibition Bangkok ...
------------------------------------------------------------
วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
การจัดส่ง ยานเกราะล้อยาง VN-1 และ รถถังหลัก VT-4...
ทางการจีนได้ทยอยทำการจัดส่ง ยานเกราะล้อยาง VN-1 และ รถถังหลัก VT-4 ให้กับทางการไทย คาดว่าจะถึงประเทศไทย ปลายเดือนนี้
รถเกราะ มังกร เสริมเขี้ยวเล็บ ทหารม้าเหนือ
กองทัพบกไทย เตรียมแผน โชว์สมรรถนะ 'รถเกราะ VN-1” หลัง จีน ส่งลงเรือมาล็อทแรก 34+4 คัน พร้อม “รถถัง VT-4” ล็อท 2 อีก 11 คัน คาด ถึงไทย 28 พ.ย.นี้ /โดยมีเจ้าหน้าที่จีน และคณะกรรมก
โดย กองทัพบกอาจมีการทดสอ
โดยรถเกราะ VN-1 ทั้ง 38 คัน ที่ส่งมานั้น มีรถยานเกราะ 34 คัน รถกู้ซ่อม 2 คัน รถซ่อมบำรุง 1 คัน รถซ่อมบำรุงอุปก
นอกจากนี้ ทาง บริษัท นอรินโค เตรียมจัดส่งรถย
/https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2664294420295666&set=a.440635312661599&type=3&theater
------------------------------------------------------------
วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
RTAF U1 Walk Around
RTAF U1 Walk Around : ในพิธีบรรจุประจำการอากาศยานไร้คนขับ แบบ RTAF U1 ณ ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ดอนเมือง เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งกองทัพอากาศบรรจุเข้าประจำการ จำนวน 17 เครื่อง ...
F-5TH Walk Around
F-5TH Walk Around : ในพิธีบรรจุประจำการเครื่องบินขับไล่ แบบ ๑๘ ข/ค หรือเครื่องบินแบบ F-5TH ณ ท่าอากาศยานทหาร ๒ กองบิน ๖ ดอนเมือง เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๒
ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์
ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีบรรจุประจำการเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข/ค
หรือเครื่องบินแบบ F-5TH ณ ท่าอากาศยานทหาร ๒ กองบิน ๖
ดอนเมือง
กองทัพอากาศมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นกองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค
ด้วยการพัฒนาขีดความสามารถทั้ง ๓ มิติ ได้แก่ มิติทางอากาศ มิติไซเบอร์
และมิติอวกาศ โดยเน้นวางรากฐานการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน
รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับสรรพกำลังของชาติทุกภาคส่วน
ในการพัฒนากำลังของกองทัพอากาศ และการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
ตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
ซึ่งจะทำให้กองทัพอากาศสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน
กองทัพอากาศตระหนักถึงการใช้ขีดความสามารถในการป้องกันประเทศอย่างมีประสิทธิภาพตามโครงสร้างกำลังรบ
ภายใต้กรอบงบประมาณของกองทัพอากาศที่มีอยู่อย่างจำกัด
ซึ่งกองทัพอากาศ
ได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างอากาศยาน และเพิ่มขีดความสามารถของเครื่องบินแบบ
F-5TH จำนวนทั้งสิ้น ๑๔ เครื่อง โดยปรับปรุงติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบ
Avionics ที่ทันสมัย ระบบป้องกันตนเอง ระบบเรดาร์ใหม่
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับเป้าหมาย
รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการใช้อาวุธสมัยใหม่ที่มีความแม่นยำสูงและระยะยิงไกล
อีกทั้งยังมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network
Centric Operation) ระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link)
เพื่อรองรับการใช้งานระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Link-T)
เทียบเท่าเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐/ก หรือ เครื่องบินแบบ GRIPEN 39 C/D ในยุค
๔.๕
โดยพิธีบรรจุอากาศยานเข้าประจำการในวันนี้
ถือเป็นประวัติศาสตร์ก้าวสำคัญของกองทัพอากาศ
ในการดำเนินการตามแนวทางการพึ่งพาตนเอง
การระดมสรรพกำลังความร่วมมือของชาติทุกภาคส่วน
และการใช้บุคลากรของกองทัพอากาศในการดำเนินการเป็นส่วนใหญ่
ทำให้บุคลากรดังกล่าวสามารถเข้าถึงและได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยตรง
ซึ่งทำให้สามารถนำวิทยาการดังกล่าวมาประยุกต์ พัฒนา
และต่อยอดเทคโนโลยีกำลังทางอากาศ
ทำให้กองทัพอากาศมีขีดความสามารถสูงขึ้นในการป้องกันประเทศ
และสามารถเผชิญภัยคุกคามได้ในทุกรูปแบบ
เพื่อเป็นกองทัพอากาศที่สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างชาญฉลาดและมีความยั่งยืน
รวมถึงเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดในการจัดหา
พร้อมการพัฒนาให้กับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
เพื่อร่วมกันพัฒนาและขับเคลื่อนกองทัพอากาศให้ก้าวสู่กองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค
“One of the Best Air Forces in ASEAN”
และการพัฒนากองทัพอากาศภายใต้การพึ่งพาตนเองได้ในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม
Source
:
กองประชาสัมพันธ์
สำนักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์
กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ
ภาพโดย
: นายกิตติเดช สงวนทองคำ
วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
พิธีบรรจุเข้าประจำการ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5 TH) และอากาศยานไร้คนขับ แบบ RTAF U1
กองทัพอากาศเผย F-5TH กับ U-1 ฝีมือคนไทย-บริษัทไทยล้วน ๆ ต่อไปเตรียมพัฒนา UAV ติดอาวุธ พร้อมวางแผน 2580 มีขีดความสามารถผลิตอากาศยาน
วันนี้ ผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นประธานในพิธีบรรจุเข้าประจำการเครื่องบินขับไล่แบบ F-5TH และอากาศยานไร้นักบินแบบ RTAF U-1 ของกองทัพอากาศ ซึ่งกองทัพอากาศกล่าวว่าเป็นโครงการที่กองทัพอากาศมีความภาคภูมิใจ เนื่องจากทั้งหมดดำเนินการด้วยคนไทยที่มีทั้งบุคลากรในกองทัพอากาศและภาคเอกชนร่วมมือกัน โดยหลังจากพิธีเสร็จสิ้น ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอกมานัต วงษ์วาทย์ เสนาธิการทหารอากาศ พลอากาศเอกสุทธิพันธ์ ต่ายทอง หัวหน้าคณะฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา พลอากาศเอกสฤษฎ์พงศ์ วัฒนวรางกูร ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน สำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารอากาศ นาวาอากาศเอกสุรพงษ์ ศรีวนิชย์ ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการรบ สำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารอากาศ นาวาอากาศเอกสุรศักดิ์ เสสะเวช และผู้รับผิดชอบการจัดตั้งศูนย์อากาศยานไร้คนขับกองทัพอากาศ นาวาอากาศเอกนภดร คงสเถียร ได้ร่วมกันแถลงข่าวถือรายละเอียดของโครงการและแผนงานในการพัฒนา TAF จึงขอสรุปข้อมูลมาให้ทุกท่าน ณ ที่นี้ครับ
-----------------------
โครงการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากกองทัพอากาศระดมมันสมองร่วมกับคนไทยและภาคเอกชนในการสร้างขีดความสามารถที่มีนัยยะสำคัญและแข็งแกร่ง รวมถึงไม่มีใครรู้ เพราะกองทัพอากาศเป็นผู้ถือเทคโนโลยี
สำหรับ U-1 นั้น เครื่องยนต์เป็นสิ่งเดียวที่ต้องซื้อจากต่างประเทศ นอกนั้นเป็นการพัฒนาและผลิตในประเทศทั้งหมดทุกระบบ ส่วนของ F-5 นั้น แม้จะใช้อากาศยานที่ผลิตจากต่างประเทศ แต่ในจิตวิญญาณของความเป็นคนไทยเข้าไป เราใช้บุคลากรของเราที่มีความรู้ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก และจะพัฒนาให้มากขึ้นในการปรับปรุง AU-23 และ Alphajet
และตามยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศนั้น กองทัพอากาศจะมีขีดความสามารถในการผลิตอากาศยานด้วยตนเอง แม้จะไม่ต้องผลิตได้เองทุกชิ้นส่วน แต่ชิ้นส่วนที่สำคัญต้องผลิตได้เอง และส่วนที่สำคัญคือ Software ที่จะต้องเป็นของเราและเราต้องควบคุมเองได้ เราเน้นที่การสร้าง Software Engineer ที่มีขีดความสามารถในการพัฒนา Embedded Software ที่จะทำให้เราลงลึกในการปรับปรุงและพัฒนาอากาศยานแบบใดก็ได้
กองทัพอากาศมีแนวทางในการพัฒนาอากาศยานไร้นักบินตามแผนงาน 20 ปี RTAF U-1 นั้นเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและการสร้างต้นแบบ เมื่อเราได้ต้นแบบแล้วเราก็นำต้นแบบมาผลิตใช้งาน ซึ่งเป็นผลงานที่เกิดจากคนไทยทั้งหมด และในอนาคตเราจะมีการพัฒนาต่อให้เป็น UCAV หรืออากาศยานไร้นักบินติดอาวุธ เชื่อว่าแนวคิดของกองทัพอากาศนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาของคนไทย เพราะจะเห็นได้ว่ายุทโธปกรณ์ในปัจจุบันมีราคาแพง ถ้าเราไม่คิดที่จะพัฒนาเองแต่จะซื้อใช้เรื่อยไป ก็จะทำให้กองทัพสิ้นเปลืองเงินภาษีเป็นอย่างมาก แต่ถ้าเราพัฒนาได้เอง งบประมาณที่ใช้ก็จะลดลง ซึ่งเป็นไปตามแนวนโยบาย Purchase and Development ของกองทัพอากาศ ซึ่งเป็นการจัดหาควบคู่ไปกับการพัฒนา และมีผลงานแรกคือ RTAF U-1
ในส่วนของความคืบหน้าของการปรับปรุง F-5TH นั้น การดำเนินการปรับปรุงจะใช้เวลาอีก 3 ปีจนจบโครงการในปี 2565 โดยตอนนี้ดำเนินการปรับปรุงเสร็จแล้ว 2 เครื่อง เครื่องแรกนั้นเป็นการปรับปรุงโดยใช้ Know How จากต่างประเทศ แต่ตั้งแต่เครื่องที่ 2 เป็นต้นไปจะเป็นการดำเนินการโดยคนไทยทั้งหมด ซึ่งประสบการณ์และทักษะนั้นจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อไป
สิ่งที่สำคัญที่สุดของโครงการก็คือแนวความคิดที่ยึดถือคือการพัฒนากำลังรบ ซึ่งการใช้งบประมาณเพื่อจัดซื้ออาวุธอย่างเดียวนั้นมีเงินเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอ และไม่ตอบสนองความต้องการของเรา การใช้อุตสาหกรรมภายในประเทศคือแนวคิดอันดับแรกของกองทัพอากาศ และการพัฒนานั้นจะต้องเป็นไปตามความต้องการของกองทัพอากาศ ยกตัวอย่างง่ายๆ คือโทรศัพท์มือถือทุกวันนี้ มีบางฟังก์ชั่นที่ไม่ได้ใช้ และมีบางฟังก์ชั่นที่อยากใช้แต่ใช้ไม่ได้เพราะโรงงานผลิตไม่ได้ผลิตมา ยุทโธปกรณ์ก็เช่นเดียวกัน ตอนนี้เปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้นคือกองทัพอากาศนำโทรศัพท์มือถือมาติดตั้งฟังก์ชั่นที่กองทัพอากาศต้องการใช้ด้วยวิศวกรและบุคลากรในประเทศ แปลว่าเราจะได้ใช้งานในสิ่งที่เราต้องการจริงๆ และเราสามารถพัฒนาต่อยอดได้
สุดท้ายคือบุคลากรซึ่งกองทัพอากาศเห็นว่า Peopleware เป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด คนไทยมีความสามารถ แต่เราต้องสนับสนุนให้เขามีส่วนร่วมในการพัฒนา ผลงานต่างๆ ทั้ง F-5TH หรือ U-1 นั้นเป็นฝีมือของคนไทยทั้งสิ้น โดยเฉพาะด้าน Software และเรามีนักบินทดสอบที่ทำการทดสอบจนได้รับใบสมควรเดินอากาศตามมาตรฐานสากล ทั้งหมดนี้คือความหมายของแนวคิด Purchase and Development ซึ่งก็คือการจัดหายุทโธปกรณ์นั้นจะต้องสามารถต่อยอดเพื่อพัฒนาเองได้
และด้วยหลักการ Purchase and Development นั้นทำให้กองทัพอากาศสามารถติดตั้งจรวดอากาศสู่อากาศแบบ IRIS-T ได้ด้วยฝีมือของคนไทย ซึ่งในอดีตเรามีการจัดหาเครื่องบิน Gripen ที่ตรงกับความต้องการของเรา แต่เราไม่สามารถจัดหาเพิ่มเติมได้เนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอ จึงใช้วิธีนำแนวคิดของ Gipen มาใส่ลงใน F-5TH เช่นเดียวกับที่เราใช้งาน Aerostar และกำลังจะใช้งาน Dominator นั้น เราก็นำแนวคิดและประสบการณ์ในการใช้งานมาใส่ใน RTAF U-1 ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของกองทัพอากาศ
สำหรับการพัฒนาต่อจากนี้ แผนงานต่อไปคือการพัฒนาอากาศยานไร้นักบินขนาดกลางหรือ MALE (Medium-Altitude Long-Endurance) ภายในไม่กี่ปีนี้ สำหรับในแง่ของโครงสร้างกำลังรบนั้น วันนี้ทั้ง F-5TH และ U-1 ก็คือการแสดงขีดความสามารถในการพัฒนาทั้ง Shooter และ Sensor ด้วยฝีมือคนไทย ทิศทางในการพัฒนาในอนาคตนั้น กองทัพอากาศวางแผนที่จะไม่จัดหาเพียงอย่างเดียว แต่จะจัดหาพร้อมพัฒนา อากาศยานที่มีขีดความสามารถสูงและพัฒนาได้เราก็จะพัฒนาเอง จะสังเกตุว่าเราไม่ได้จัดหาอากาศยานใหม่อย่างเดียว ซึ่งถือว่าช่วยประหยัดงบประมาณได้มาก กองทัพอากาศตระหนักดีเรื่องการใช้ภาษี ดังนั้นกองทัพอากาศจึงมียุทธศาสตร์ในการจัดหาอากาศยานให้คุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งอากาศยานที่จัดหานั้นต้องตอบสนองยุทธศาสตร์ Purchase and Development ให้ได้เท่านั้น
ทั้งนี้ โครงการนี้มีภาคเอกชนร่วมงานเยอะมาก (บริษัท R V Connex เป็นคู่สัญญาหลัก) มี SME เกิดขึ้นจากโครงการนี้หลายราย และสร้างตำแหน่งงานขั้นสูงในภาคเอกชนขึ้นหลายตำแหน่งที่มีค่าตอบแทนสูง ซึ่งทำให้ประชาชนและระบบเศรษฐกิจเกิดรายได้ แต่แม้จะอย่างนั้นก็ยังใช้งบประมาณต่ำกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ
อย่าง F-5TH นั้น คนไทยมีส่วนร่วมทั้งในส่วนของ Mechanism และ Software การออกแบบสถาปัตยกรรมและโครงสร้างการปรับปรุง การออกแบบการวางสายไฟหรืออุปกรณ์ต่างๆ บนอากาศยานนั้นเป็นฝีมือคนไทยทั้งสิ้น ส่วน Software นั้น การใช้วิศวกรไทยในการพัฒนาจะทำให้เราสามารถสร้าง Algorithm ที่ตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะตาม Concept of Operation ของกองทัพอากาศไทยได้ ซึ่งในอีกด้านการที่กองทัพอากาศสามารถวาง Concept of Operation ได้เองก็ทำให้สามารถแปลงความต้องการทางยุทธการไปเป็นเทคโนโลยีเป้าหมายและไปจนถึงรายการอุปกรณ์ที่ต้องการได้
แต่ที่ผ่านมาที่มักจะพูดกันว่าคนไทยทำอาวุธไม่เป็นนั้น เพราะเราตั้งโจทย์กันไม่เป็น คนไทยเป็นคนที่ฉลาด แต่เราไม่สอนให้ตั้งโจทย์ให้เป็น งานนี้คือการสอนให้คนไทยตั้งโจทย์ เรามียุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กองทัพ เราต้องหาว่าอะไรคือโจทย์ที่เกิดขึ้นจากยุทธศาสตร์ และดึงโจทย์ออกมา และหาคำตอบให้กับโจทย์นั้นให้ได้
ส่วนการผลิตอากาศยานเองนั้น แผนงานของกองทัพอากาศเริ่มจาก Purchase and Development โดยเรียนรู้ที่จะทำมันสมองของเครื่องบินหรือ Software ให้ได้เองก่อน ส่วนจะนำไปสู่การผลิตอากาศยานเองหรือไม่นั้น ต้องดูว่าการผลิตอากาศยานนั้นเป็นการดำเนินการที่ต้องลงทุนสูง การผลิตอากาศยานเพียง 12 เครื่องนั้นอาจจะไม่คุ้มค่า แต่ถ้าเราพัฒนา Software ได้เอง ซึ่งจะทำให้อากาศยานนั้นมีขีดความสามารถที่เราต้องการได้ เพราะการสร้างเครื่องบินได้เองไม่ได้หมายความว่าจะตอบโจทย์ได้ทั้งหมด แต่การที่คนไทยมีขีดความสามารถในการพัฒนา Software และระบบอาวุธต่างๆ ได้ในส่วนซึ่งเป็นหัวใจหลักของระบบอาวุธนั้นๆ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่า ซึ่งในปี 2580 นั้นจะต้องมาดูเรื่องความคุ้มค่าอีกครั้ง
สำหรับโครงการปรับปรุง AU-23A และ Alphajet นั้นจะดำเนินการได้ลึกและกว้างกว่าการปรับปรุง F-5TH ในสองมิติ ทั้ง Platform และ Software ซึ่งเรามีแนวคิดที่จะทำให้อากาศยานเหล่านั้นสามารถเลือกติดตั้งระบบอาวุธจากที่ใดก็ได้ตามความต้องการของเราโดยไม่มีข้อจำกัดจากผู้ผลิตต่างประเทศ และทั้งหมดจะต้องใช้งาน Link-TH ได้ ในส่วนของอากาศยานไร้นักบินนั้น เรายังสามารถพัฒนาได้ต่อทั้งในแง่ของภารกิจ ISR (Intelligence Surveillance and Reconnaissance) และในเรื่องของระบบอาวุธ ซึ่งเรามีเทคโนโลยีและความรู้พื้นฐานแล้ว จะพัฒนาไปทางไหนเราก็สามารถวิเคราะห์เองได้
ที่มา: https://www.facebook.com/groups/thaiarmedforce/permalink/2490763934501615/
------------------------------------------------------------
แนวคิดในการจัดหาและพัฒนา (Purchase and Development) จะถือเป็นแนวคิดหลักในการดำเนินงานของกองทัพอากาศต่อไป การจัดหาระบบอาวุธจะต้องตามมาด้วยการพัฒนา และรวมขีดความสามารถของทั้งหน่วยงานราชการ ภาคการศึกษา และโดยเฉพาะภาคเอกชนเข้ามามีส่วนในโครงการ
การปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-5TH และอากาศยานไร้นักบิน RTAF U-1 ถือเป็นผลผลิตแรกของแนวคิด
วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
กองทัพอากาศ กำหนดจะมีพิธีบรรจุเข้าประจำการ บ.ข. F-5 TH และ UAV แบบ U1
พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้ทำการบินกับเครื่องบินแบบ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5 TH) ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจ ของพี่น้องกองทัพอากาศ และคนไทยทุกคน ที่คนไทยมีส่วนร่วมในการออกแบบ พัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย
#เทคโนโลยีที่พึ่งพาตนเอง
#F-5TH ความภาคภูมิใจของคนไทย
#กองทัพอากาศเคียงข้างประชาชน
#MayTheAirForceBeWithYou
#เทคโนโลยีที่พึ่งพาตนเอง
#F-5TH ความภาคภูมิใจของคนไทย
#กองทัพอากาศเคียงข้างประชาชน
#MayTheAirForceBeWithYou
กองทัพอากาศไทย Royal Thai Air Force กำหนดจะมีพิธีบรรจุเข้าประจำการ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5 TH) หรือ F-5 Super Tigris ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่...โดยจะมีพิธีรับมอบเข้าประจำการ ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 นี้ พร้อมด้วย อากาศยานไร้คนขับ แบบ RTAF U1
ตามภาพจะเห็นหมวกบินติดศูนย์เล็ง DASH และจรวดอากาศสู่อากาศ IRIS-T ติดตั้งอยู่ด้วย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้มีการติดตั้ง IRIS-T กับเครื่องบินขับไล่แบบ F-5
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)