หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ภาพการฝึกกรมทหารราบเฉพาะกิจ ..

ภาพการฝึกเป็นหน่วยกองร้อย ในรูปแบบของกรมทหารราบเฉพาะกิจ ประจำปี 2560 ที่ บ้านภักดีแผ่นดิน จ.สระแก้ว โดยมีรถถังหลัก OPLOT และ รถถังหลัก M48 a5 ของ ม.พัน.2 พล.ร.2 รอ เข้าร่วมทำการฝึก ในห้วงระหว่างวันที่ 21 - 29 มี.ค.2560
คลิก! เข้าไปรับชม รูปภาพ 6 ภาพและวิดีโอ 4 ไฟล์
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

LIMA 2017 ..




วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560

COPE TIGER 2017

การฝึกผสมโคปไทเกอร์ ๒๐๑๗ ในครั้งนี้ เป็นการฝึกครั้งที่ ๒๓ ซึ่งการฝึกผสมโคปไทเกอร์ (Multi-Lateral Exercise Cope Tiger) ถือได้ว่าเป็นการฝึกผสมทางอากาศ ที่มีการสนธิกำลังทางอากาศใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการนำกำลังทางอากาศจาก ๓ ประเทศ ได้แก่ ไทย สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการฝึก มีการพัฒนารูปแบบการฝึกให้เข้ากับสถานการณ์การสู้รบในปัจจุบัน จะมีการสมมติสถานการณ์เสมือนจริง ทั้งด้านการควบคุมและสั่งการ การฝึกยุทธวิธีการรบระหว่างเครื่องบินรบต่างแบบ การฝึกโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมายภาคพื้นดินที่มีการต่อต้านจากกอาวุธของหน่วยต่อสู้อากาศยานภาคพื้น การฝึกด้านการข่าวกรองยุทธวิธีโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ และการให้การสนับสนุนของหน่วยสนับสนุนต่างๆ ทั้งนี้ได้ทำการฝึกปัญหาที่บังคับการ (Command Post Exercise : CPX) ระหว่างวันที่ ๖ - ๙ ธันวาคม ๒๕๕๙ การประชุมวางแผนขั้นสุดท้าย (Final Planning Conference : FPC) ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๙ ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และการฝึกภาคสนาม (Field Training Exercise : FTX) ระหว่างวันที่ ๒๐ - ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐ ณ กองบิน ๑ จังหวัดนครราชสีมา กองบิน ๒ จังหวัดลพบุรี และ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

การฝึกผสมโคปไทเกอร์ ที่มีมากว่า ๒๐ ปี และได้มีการพัฒนาการฝึกให้เข้มข้นมากขึ้น พร้อมทั้งได้นำระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้วยการนำอากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV การใช้ Network Centric Operation มาใช้ในสถานการณ์ทางการฝึก ทำให้เกิดความสมจริง และสะท้อนถึงภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในปัจจุบัน นอกเหนือจากการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศผสมแล้ว ยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึกอีกด้วย

ทั้งนี้กำหนดพิธีเปิดการฝึกผสมฯ มีขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา ณ ฐานทัพอากาศปายาเลบาร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์
เครื่องบินที่ใช้ในการฝึก Cope Tiger 2017

LIMA2017 Airshow Langkawi - Royal Thai AF Gripen Demo



วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประมวลภาพภารกิจ เรือหลวงนเรศวร ในน่านน้ำต่างประเทศ

ประมวลภาพ เรือหลวงนเรศวร ระหว่างการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจในน่านน้ำต่างประเทศ ของการทำหน้าที่เป็นเรือฝึก ในหมู่เรือฝึกนักเรียนนาย.. เมื่อช่วงต้นปี 2559
พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็นประธานในพิธีส่งเรือที่ปฏิบัติราชการหมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือไปปฏิบัติราชการต่างประเทศ โดยมี พลเรือตรี มาศพันธุ์ ถาวรามร เป็นผู้บังคับหมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือ ประกอบด้วย เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงกระบุรี และเรือหลวงกระบี่ ซึ่งเป็นการฝึกของนักเรียนนายเรือ ชั้นปีที่ ๑ - ๔ ณ ดาดฟ้าท้ายเรือหลวงนเรศวร ท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
นาวาเอก กระแสร์  เม่งอำพัน ผู้ช่วยทูตทหารเรือไทยประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์ ให้การต้อนรับ หมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือ ระหว่างวันที่ ๔-๗ มีนาคม ๒๕๕๙ ณ เมืองกูชิง รัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ประมวลภาพการฝึกของนักเรียนนายเรือ..
คลิก! เข้าไปรับชมภาพ>




https://www3.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/10680
http://www.navalattache-kl.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/3193

ข้อมูล เรือหลวงเจ้าพระยา และ เรือหลวงบางปะกง

เรือหลวงเจ้าพระยา (455) :
เรือหลวงเจ้าพระยามีนามเรียกขานสากล HSMA และมีหมายเลขเรือ 455 เป็นเรือสังกัดหมวดเรือที่ 1 กองเรือฟริเกตที่ 2 "เจ้าพระยา" เป็นชื่อของแม่น้ำสายหลักที่สำคัญสายหนึ่งในประเทศไทย แม่น้ำเจ้าพระยามีต้นกำเนิดมาจากแม่น้ำสายเล็ก ๆ 4 สาย ทางตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งไหลมาบรรจบกันทางตอนกลางของประเทศ และกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเมืองที่สำคัญของประเทศหลายเมืองได้แก่ อยุธยา ธนบุรี และกรุงเทพ ฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ชื่อของ แม่น้ำเจ้าพระยา นี้ในอดีตเคยเป็นชื่อของเรือรบของประเทศไทยมาก่อน ซึ่งปัจจุบันได้ปลดระวางประจำการไปแล้ว ต่อมากองทัพเรือได้สั่งต่อเรือฟริเกต ขึ้นใหม่จากสาธารณรัฐประชาชนจีนและ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ พระราชทานนามว่า "เรือหลวงเจ้าพระยา"
ตราประจำเรือของ เรือหลวงเจ้าพระยา ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 พระมหา มงกุฎ หมายถึง เรือหลวงเจ้าพระยา เป็นเรือรบของพระมหากษัตริย์ ส่วนที่ 2 ประกอบด้วยสัญลักษณ์ย่อยอยู่ 4 ส่วนคือ แม่น้ำ หมายถึง แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักที่สำคัญของประเทศไทย สะพานพุทธยอดฟ้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เรือสุพรรณหงษ์ เป็นเรือพระที่นั่งของพระมหากษัตริย์ ซึ่งใช้ในพระราชพิธีต่าง ๆ ทางชลมารค พังงาเรือ ล้อมรอบทั้ง 3 ส่วน มีข้อความปรากฎอยู่บนพังงาเรือ คำว่า " จะปกป้อง ผองภัย ด้วยใจทนง " ส่วนที่ 3 แถบใต้สัญลักษณ์ของเรือ เขียนชื่อ ร.ล.เจ้าพระยา
เรือหลวงบางปะกงมีนามเรียกขานสากล HSMB และมีหมายเลขเรือ  456  เป็นเรือสังกัดหมวดเรือที่  1 กองเรือฟริเกตที่ 2 เป็นเรือฟริเกตชุด เรือหลวงเจ้าพระยา ลำที่ 2  ที่มีสมรรถนะสูงโดยกองทัพเรือได้สั่งต่อจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  มีความสามารถในการทำการรบทั้ง  3  มิติ  ด้วยความเร็วสูง และรัศมีทำการไกล

ผู้สร้างบริษัท HUDONG SHIPYARD รับมอบเมื่อ 8 เม.ย. 34 ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเรือประเภท เรือฟริเกต ประเภท 053 HT ความเร็วสูงสุด 30 นอต ความเร็วมัธยัสต์ 18 นอต

เรือหลวงบางปะกง (456) :
ตราประจำเรือของ เรือหลวงบางปะกง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๓ ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 พระมหามงกุฎ หมายถึง เรือหลวงบางปะกง เป็นเรือรบของพระมหากษัตริย์
ส่วนที่ 2 ประกอบด้วยส่วนย่อยคือ
            - เจ้าสมุทร หมายถึงจะทำหน้าที่พิทักษ์รักษาน่านน้ำและอธิปไตยของประเทศชาติ เหมือนเจ้าสมุทรที่พิทักษ์ท้องทะเล
            - ตรีศูล (สามง่าม) ของพระสมุทรที่ถืออยู่ในพระหัตถ หมายถึง สามารถทำการรบได้ทั้ง 3 มิติ คือ ต่อสู้อากาศยาน ต่อสู้เรือผิวน้ำและใต้น้ำ 
            - ปลาโลมา หมายถึง ความฉลาด และรักสันติ
            - โซ่ ที่ล้อมรอบ หมายถึง การยึดมั่นในความสมัครสมานสามัคคีกลมเกลียวกันอย่างมั่นคง เพื่อพิทักษ์รักษาน่านน้ำและอธิปไตยของประเทศชาติ
            - อักษรบนโซ่ เขียนคำขวัญ"พิทักษ์เอกราช พิฆาตไพรี"
ส่วนที่ 3 แถบใต้สัญลักษณ์ เขียนชื่อ ร.ล.บางปะกง

ผู้สร้าง  HUDONG  SHIPYARD
วางกระดูกงูเมื่อ  19  ตุลาคม  2532
ลงน้ำเมื่อ         25  กรกฎาคม 2533 
สร้างเสร็จเมื่อ   19  กรกฎาคม 2534
รับมอบเมื่อ    20   กรกฎาคม 2534  ที่ HUDONG  SHIPYARD  SHANGHAI  CHINA
ขึ้นระวางประจำการเมื่อ  20  กรกฎาคม  2534
เป็นเรือประเภทฟริเกต  ชั้นเดียวกับ  ร.ล.เจ้าพระยา  สังกัด  กองเรือฟริเกตที่ 2
ข้อมูลทั่วไปของ ร.ล.เจ้าพระยา (455) และ เรือหลวงบางปะกง (456)

ความเร็วสูงสุด  30 นอต         ความเร็วมัธยัสถ์   18  นอต
รัศมีทำการเมื่อความเร็วสูงสุด  1,395 ไมล์  หรือ  47.12 ช.ม.  เมื่อ  29.6  นอต
รัศมีทำการเมื่อความเร็วมัธยัสถ์  3,500  ไมล์ หรือ  194  ช.ม.  เมื่อ  18  นอต

ตัวเรือ
ระวางขับน้ำปกติ  1,676  ตัน  ระวางขับน้ำเต็มที่  1,924  ตัน
ความยาวตลอดลำ  102.87 เมตร  หรือ  342.9  ฟุต
ความยาวที่แนวน้ำ  98.00   เมตร  หรือ  326.67 ฟุต
ความกว้างมากที่สุด  11.36  เมตร หรือ 33.87 ฟุต
ความกว้างที่แนวน้ำ  10.70  เมตร หรือ 35.67 ฟุต
กินน้ำลึกปกติ       3.1  เมตร หรือ 10.2 ฟุต
ระบบขับเคลื่อน
CODAD เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 30 V 1163 TB 83 จำนวน 4 เครื่อง กำลังขับเครื่องละ 6,000 กิโลวัตต์
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล MTU 6V 396 TB53 กำลังไฟฟ้า 440 กิโลวัตต์ 4 เครื่อง
เพลาใบจักร 2 เพลา ใบจักร Wartsila Lips Defence แบบปรับมุมได้

อาวุธ
ปืนใหญ่เรือ Type 79 ขนาด 100 มม./56 คาลิเบอร์ แท่นคู่ 2 แท่น
ปืนใหญ่กล Type 76 ขนาด 37 มม./63 คาลิเบอร์ แท่นคู่ 4 แท่น
ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด 12.7 มม. แท่นแดี่ยว 2 แท่น
แท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น China Precision Machinery Import and Export C-801 4 แท่น แท่นละ 2 ท่อยิง
แท่นยิงจรวดปราบเรือดำน้ำ Type 86 (RBU-1200) 2 แท่น แท่นละ 5 ท่อยิง
ระบบลบล้างสนามแม่เหล็กตัวเรือ XC-4D
แท่นยิงเป้าลวง 2 แท่น แท่นละ 26 ท่อยิง
อิเล็กทรอนิกส์
เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ Type 354 Eye Shield
เรดาร์ควบคุมการยิง Type 341 Rice Lamp
เรดาร์ควบคุมการยิง Type 343 Sun Visor
เรดาร์ควบคุมการยิง Type 352 Square Tie
เรดาร์เดินเรือ Sperry Marine BridgeMaster E และ Furuno
โซนาร์หัวเรือ SJD-5
ระบบตรวจจับสัญญาณเรดาร์ Type 923-1 Jug Pair
ระบบรบกวนสัญญาณเรดาร์ แบบ noise jammer Type 981-2
ระบบอำนวยการรบ ZKJ-3A
ระบบควบคุมการยิง (ปืนใหญ่เรือ) ZPJ-2
ระบบควบคุมการยิง (ปืนใหญ่กล) ZPJ-4
ระบบควบคุมการยิง (อาวุธปล่อยนำวิถี C-801) ZJ-15T
ระบบควบคุมการยิง (จรวดปราบเรือดำน้ำ) ZST-2D
ระบบควบคุมการยิงเป้าลวง Type 945G
ระบบถาม/ตอบรับสัญญาณพิสูจน์ฝ่าย (ติดตั้งคู่กับเรดาร์ Type 354) Type 651
ระบบวิทยุสื่อสารผ่านดาวเทียม INMARSAT-M
ระบบนำร่องด้วยแรงเฉื่อย แบบริงเลเซอร์ Raytheon Anschutz NIMS
เครื่องวัดความเร็วเรือ John Lilley & Gillie Chernikeeff Aquaprobe Mk5 Naval