หน้าเว็บ

วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

RTAF KM 、มหกรรมการจัดการความรู้กองทัพอากาศ ครั้งที่ ๓๔ ปี ๒๕๖๐ 、。。


เผยแพร่เมื่อ 23 ธ.ค. 2017
KM & Core Value .. มหกรรมการจัดการความรู้กองทัพอากาศครั้งที่ ๓๔ ปี ๒๕๖๐ 、。。
ฉบับเต็ม 、。。
เมื่อ 23 ส.ค.2560 、。。

ผบ.ทอ.เปิดงานมหกรรมการจัดการความรู้ นวัตกรรม และ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพกองทัพอากาศ ครั้งที่ 34 ประจำปี 2560 นำกองทัพอากาศก้าวไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน 、。。
-------------------------------------------------------------------

เผยแพร่เมื่อ 1 ม.ค. 2018
การดำเนินการ KM สู่ LO ของกองทัพอากาศ 、。。
การดำเนินการพัฒนา KM สู่ LO อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 56 จนปัจจุบัน มุ่งสู่ระดับนวตกรรม 、。。

ผบ.ทอ.เปิดงานมหกรรมการจัดการความรู้ นวัตกรรม และ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพกองทัพอากาศ ครั้งที่ 34 ประจำปี 2560 นำกองทัพอากาศก้าวไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน 、。。


RTAF UAV Concept Operations


เผยแพร่เมื่อ 23 ธ.ค. 2017
ประชุม สภา กห. ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๐ เรื่อง การพัฒนาขีดความสามารถด้านอากาศยานไร้คนขับ และระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับของกองทัพอากาศ 、。。

ค่านิยมหลัก 、RTAF Core Value : AIR 、。。


เผยแพร่เมื่อ 29 ธ.ค. 2017
การประชุมสัมมนาแนวทางการปลูกฝังค่านิยมหลัก ทอ. 、。。
"บูรณาการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติในหน่วยงานเพื่อมุ่งสู่วัฒนธรรมองค์กร"
By RTAF 、。。
เมื่อ 20 ธ.ค.2560 ณ ห้องบุษราคัม อาคาร 80 ปี ทอ. 、。。

ค่านิยมหลัก ทอ. : AIR 、。。
A : Airmanship
I : Integrity and Allegiance
R : Responsibility

ความเป็นทหารอากาศ ความซื่อสัตย์และจงรักภักดี และความรับผิดชอบ 、。。


RTAF Space Domain 、。。


เผยแพร่เมื่อ 29 ธ.ค. 2017
RTAF Space Domain 、。。
By RTAF 、。。

Royal Thai Air Force Space Domain 、。。
ทอ.ดำเนินการพัฒนาขีดความสามารถด้านกิจการอวกาศ 3 ด้าน ดังนี้ :-

1. พัฒนาสถานีตรวจวัตถุในอวกาศด้วยกล้องโทรทัศน์เพื่อสังเกตการณืห้วงอวกาศ 、。。

2. พัฒนาดาวเทียมตรวจการณ์จากห้วงอวกาศ 、。。

3. พัฒนาบุคลากรด้านอวกาศของกองทัพอากาศ 、。。

การปฏิบัติการร่วมกับเหล่าทัพภายใต้แนวคิด Network Centric Warfare


เผยแพร่เมื่อ 23 ธ.ค. 2017
การปฏิบัติการร่วมกับเหล่าทัพภายใต้แนวคิด Network Centric Warfare 、。。
By กรมยุทธการทหารอากาศ 、。。

Network-centric warfare, also called network-centric operations or net-centric warfare, is a military doctrine or theory of war pioneered by the United States Department of Defense in the 1990s 、。。

It seeks to translate an information advantage, enabled in part by information technology, into a competitive advantage through the robust computer networking of well informed geographically dispersed forces 、。。

The term "network-centric warfare" and associated concepts first appeared in the Department of Navy's publication, "Copernicus: C4ISR for the 21st Century." The ideas of networking sensors, commanders, and shooters to flatten the hierarchy, reduce the operational pause, enhance precision, and increase speed of command were captured in this document .. As a distinct concept, however, network-centric warfare first appeared publicly in a 1998 US Naval Institute Proceedings article by Vice Admiral Arthur K. Cebrowski and John Garstka .. However, the first complete articulation of the idea was contained in the book Network Centric Warfare : Developing and Leveraging Information Superiority by David S. Alberts, John Garstka and Frederick Stein, published by the Command and Control Research Program (CCRP) .. This book derived a new theory of warfare from a series of case studies on how business was using information and communication technologies to improve situation analysis, accurately control inventory and production, as well as monitor customer relations 、。。


AIR POWER Presentation ศักยภาพกองทัพอากาศไทย


เผยแพร่เมื่อ 23 ธ.ค. 2017
AIR POWER Presentation ศักยภาพกองทัพอากาศไทย 、Version English 、。。

Royal Thai Air Force 、。。is the air force of the Kingdom of Thailand 。。Since its establishment in 1913 as one of the earliest air forces of Asia、the Royal Thai Air Force had engaged in numerous major and minor battles 。。

The History 、。。

In February 1911 the Belgian pilot Charles Van Den Born displayed the first aircraft in Siam at the Sa Pathum Horse Racing Course 。。 The Siamese authorities were impressed enough that on 28 February 1912 they dispatched three officers to learn to fly in France 、the main centre of aviation development of the time 。。After learning to fly 、the three officers returned to Siam in November 1913 with eight aircraft (4 Breguets and 4 Nieuport IVs) 。。In March of the next year they moved from Sa Pathum airfield to Don Muang 、。。

In 1937、the service was again renamed when it became an independent service、 as the Royal Siamese Air Force but the takeover of the country by the Thai ethnic group meant that name would only be used until 1939、when it became the Royal Thai Air Force、。。

<>Air Power Of The Royal Thai Air Force

การแข่งขันใช้อาวุธทางอากาศ Air Tactical Operations Competition 2018 、。。


เผยแพร่เมื่อ 31 ม.ค. 2018
พิธีปิดการแข่งขันใช้อาวุธทางอากาศ Air Tactical Operations Competition 2018 เมื่อ 1 ก.พ.2561 ณ กองบิน 1 โคราช 、。。
By RTAF 、。。
Credit : กรมยุทธการทหารอากาศ 、。。
การปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี เพื่อเป็นประเมินขีดความสามารถของนักบินพร้อมรบ หน่วยต่อสู้อากาศยานหน่วยสนับสนุนรายบุคคล หมู่บิน และฝูงบิน อีกทั้งยังเป็นการประเมินเจ้าหน้าที่ต่อสู้อากาศยาน เจ้าหน้าที่ชุดควบคุมการบ และเจ้าหน้าที่สนับสนุนเพื่อนำผลการประเมินเป็นเกณฑ์พิจารณาในการพัฒนาการฝึกครั้งต่อๆ ไป ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นของกองทัพอากาศให้กับประชาชนในการใช้กำลังทางอากาศเพื่อปกป้องและรักษาอธิปไตยเหนือน่านฟ้าไทย ทั้งในยามสงบ และยามเกิดสงคราม 、。。
โดยผลที่คาดว่าจะได้รับจากการแข่งขันฯ นั้น สามารถนำแนวความคิดต่างๆ ที่ได้จากการแข่งขันเป็นปัจจัยเพื่อพัฒนาหลักนิยมกองทัพอากาศ สร้างความรู้รักสามัคคี การทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สร้างความมั่นใจ หากมีความจำเป็นที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์จริงและที่สำคัญทำให้ได้ทราบถึงความพร้อมรบของกำลังทางอากาศที่จะให้ประชาชน ตลอดจนหน่วยเกี่ยวข้องมีความเชื่อมั่นถึงขีดความสามารถของกองทัพอากาศที่สามารรถออกปฏิบัติภารกิจในทันทีที่ได้รับมอบหมาย และที่สำคัญยังเป็นการแสดงถึงศักยภาพของกำลังทางอากาศให้เป็นที่ประจักษ์แก่นานาประเทศ 、。。
RTAF Core Values 2556 、。。
-------------------------------------------------------------------

เผยแพร่เมื่อ 25 ธ.ค. 2017
การแข่งขันใช้อาวุธทางอากาศ ประจำปี 2561 、。。
By RTAF 、。。
พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง ผบ.ทอ. .. เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี ประจำปี 61 ที่สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จ.ลพบุรี โดยมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพอากาศ ร่วมพิธี ภายในงานยังได้จัดโครงการมิตรประชา โดย ผบ.ทอ.ได้มอบเครื่องกีฬาและผ้าห่มให้กับครูและนักเรียน จากนั้น พล.อ.อ.จอม เป็นประธานพิธีเปิดการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี ประจำปี 61 โดยกล่าวเปิดว่า การแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี จัดขึ้นเพื่อ เป็นการทดสอบ และประเมินค่าความพร้อมรบของนักบินหมู่บิน ฝูงบิน เจ้าหน้าสนับสนุนการบิน เจ้าหน้าที่ต่อสู้อากาศยาน และเจ้าหน้าที่ชุดควบคุมการรบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่หน่วยเกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป ได้เห็นถึงความพร้อมของหน่วยบิน หน่วยต่อสู้อากาศยาน หน่วยสนับสนุนการรบ ตลอดจนเชื่อมั่นในศักยภาพของกองทัพอากาศ 、。。

วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

ประมวลภาพถ่าย รถถังหลัก VT-4 ของกองทัพบกไทย*

ประมวลภาพถ่าย รถถังหลัก VT-4 ของกองทัพบกไทย ในการแสดงสมรรถนะและขีดความสามารถ.. ณ ศูนย์การทหารม้า จ.สระบุรี เมื่อ 24 ม.ค.2561

วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2561

ประมวลภาพถ่าย รถถังหลัก VT-4 ของกองทัพบกไทย

ประมวลภาพถ่าย รถถังหลัก VT-4 ของกองทัพบกไทย ในการแสดงสมรรถนะและขีดความสามารถ.. ณ ศูนย์การทหารม้า จ.สระบุรี เมื่อ 24 ม.ค.2561..

วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561

กองทัพบก จัดแสดงสมรรถนะรถถังหลัก VT-4 l 26 ม.ค.61

กองทัพบก เปิดค่ายอดิศร ศูนย์การทหารม้า โชว์เขี้ยวเล็บใหม่ รถถังหลัก VT-4 จากจีน สมรรถนะแล่นอย่างองอาจ ยิงได้แม่นยำ ถือเป็นรถถังที่ทันสมัย และดีที่สุด โดยกองทัพบกได้จัดซื้อจากประเทศจีน ล็อตแรก 28 คัน มูลค่า 4.9 พันล้านบาท เพื่อนำมาทดแทน รถถัง M-41...

เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2561 เวลา 10.00 น. ที่กองบัญชาการศูนย์การทหารม้า จังหวัดสระบุรี พล.ต.ศักดา ศิริรัตน์ รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก พร้อมด้วย พล.ต.วันชาติ ผลไพบูลย์ ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า (ผบ.ศม.) นำสื่อมวลชนเข้ารับชมการทดสอบสมรรถนะของรถถัง VT-4 ของกองทัพบก จำนวน 6 คัน ที่จัดซื้อจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างเป็นทางการ ตามนโยบายของ พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก ที่ต้องการเปิดเผยข้อมูลและสมรรถนะของรถถัง โดยมีการแสดงสมรรถนะรถถัง VT-4 ประกอบด้วย การขับเคลื่อนด้วยความเร็วตามเส้นทาง การข้ามสิ่งกีดขวาง การข้ามคูดักรถถัง การเคลื่อนที่ในสภาพพื้นที่ลาดชัน การเคลื่อนที่ข้ามเครื่องกีดขวางทางสูง การลุยข้ามน้ำลึก อำนาจการยิง และการแสดงสมรรถนะด้านการเอาตัวรอด และระบบพิเศษ
จากนั้นพล.ต.วันชาติ ผลไพบูลย์ ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า เแถลงข่าวเปิดตัวรถถังแบบ VT-4 และทำการทดสอบสมรรถนะของตัวรถถัง ซึ่งทางกองทัพบกได้สั่งซื้อมาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 28 คัน วงเงิน 4.9 พันล้านบาท เพื่อนำมาแทนรถถัง เอ็ม 41 ที่เก่าล้าสมัย ซึ่งใช้งานมากว่า 50 ปี จากนั้นได้นำคณะสื่อมวลชนได้ลงพื้นที่ ชมสาธิตการปฏิบัติงานภาคสนามจริง ของตัวรถถัง VT-4 ในการ ยิงกระสุนสู่เป้าหมาย และการเคลื่อนตัว
พล.ต.วันชาติ เผยว่า หลังจากการสาธิตของตัวรถถังแบบ VT-4 นั้น ถือว่าผ่านเกณ์มาตรฐานตามลำดับ ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น ทางเราได้นำชุดฝึกไปฝึกที่ประเทศจีน 4 เดือน จากนั้นก็มาขยายผลให้กับตามหน่วยทหารม้าที่สระบุรี และกองพลทหารม้าที่ 2 รวม 2 เดือน ซึ่งมองในภาพรวมแล้วถือว่าเป็นไปตามแผนที่กองทัพวางไว้และน่าพอใจ ส่วนอุปกรณ์การทันสมัยของตัวรถถังแบบ VT-4 นั้น ถือว่า เมื่อนำมาใช้ในประเทศไทยได้ตามปกติเพราะภูมิประเทศจีนคล้ายกับประเทศไทย และการฝึกสาธิตในวันนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเพราะทางเราใช้ชุดนักเรียนของหน่วยที่รับการเรียนมาปฏิบัติจริงทั้งหมด
ส่วนรถถังแบบ VT-4 เป็นรถถังหลักรุ่นล่าสุด ซึ่งได้รวมเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยที่สุด ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ ให้ตอบสนองความท้าทายในสงครามที่ใช้ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งคุณสมบัติที่โดดเด่นและทันสมัยของรถถังแบบ VT-4 จะอยู่ที่ตัวรถและป้อมปืนที่สร้างด้วยแผ่นเกราะใช้เทคโนโลยีทันสมัยล่าสุดเป็นเกราะแบบผสม (composite armor) และเกราะปฏิกิริยา (Reactive Armor) ซึ่งเป็นเกราะที่มีขีดความสามารถใช้ในการป้องกันและลดอันตรายจากกระสุนระเบิด กระสุนเจาะเกราะและจรวดต่อสู้รถถัง ระบบเครื่องควบคุมการยิงของรถถัง VT-4 ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์คำนวณการยิงแบบดิจิตอล กล้องเล็งแบบตรวจจับรังสีความร้อน หาระยะเป้าหมายด้วยแสงเลเซอร์ ระบบติดตามเป้าหมายอัตโนมัติ ระบบตรวจการณ์ค้นหาเป้าหมายในรอบตัว (Hunter killer) และระบบการรักษาการทรงตัวของปืนใหญ่รถถัง (Stabilizer)
ส่วนระบบอาวุธ รถถัง VT-4 ประกอบด้วย ปืนใหญ่รถถังขนาด 125 มม. ลำกล้องเรียบ บรรจุกระสุนแบบอัตโนมัต อัตรากระสุนในรถถัง 38 นัด (Basic loab) โดยมีกระสุนบรรจุอยู่ในรางบรรจุกระสุนอัตโนมัติ พร้อมยิง 22 นัด ความเร็วในการบรรจุ 8 นัด /นาที มีกระสุนที่เลือกใช้งาน 4 แบบ คือ กระสุน ระเบิด (He) กระสุนระเบิดต่อสู่รถถัง (Heat) กระสุนเจาะเกราะสลัดครอบทิ้ง (Apfsds) และกระสุนจรวดนำวิถีด้วยเลเซอร์ (laser Guided Missile) ปืนกลรวมแกนขนาด 7.62 มม. และปืนกลต่อสู้อากาศยานขนาด 12.7 มม. ที่ควบคุมการยิงด้วยระบบรีโมตคอนโทรลจากในรถ เครื่องยิงลูกระเบิดควัน ขนาด 76 มม. ลูกระเบิดควัน 8 ท่อยิง ระเบิดสังหาร 4 ท่อยิง

ขณะที่ระบบการแจ้งเตือนป้องกันภัยให้รถถัง ประกอบด้วย ระบบเตือนภัยเมื่อถูกจับด้วยแสงเลเซอร์ (Laser warning system) อุปกรณ์ตรวจวัด นชค. (Collective Nbc) ระบบบอกตำแหน่งนำทาง (Positioning and navigatiomdevices) ระบบพิสูจน์ฝ่าย ( Friend–or–Foe ldentihcationsystem) สำหรับอุปการณ์เสริมขีดความสามารถพิเศษของรถคืออุปกรณ์ลุยข้ามน้ำลึกที่มีประจำทุกคัน
ส่วนคุณลักษณะเฉพาะรถถังหลัก VT-4 ทั่วไป น้ำหนักพร้อมรบ 52 ตัน พลประจำ 3 นาย ความยาวปืน (ชี้ไปด้านหน้า) 10.10 ม. ความกว้าง 3.50 ม. ความสูง 2.40 ม. ความเร็ว 70 กม./ชม. ความเร็วเฉลี่ยในภูมิประเทศ 35 ถึง 40 กม/ชม. ระยะปฏิบัติการ 500 กม. ปีนลาดชันได้สูงสุด 60 เปอร์เซ็นต์ ข้ามคูกว้าง 2.7 ม. ข้ามเครื่องกีดขวาง สูงสุด 0.85 ม. และ ลุยน้ำลึก 4 - 5 ม. เครื่องยนต์ดีเซลพร้อมเครื่องเพิ่มไอดี ระบายความร้อนด้วยน้ำ ควบคุมด้วยไฟฟ้า ขนาด 1,200 แรงม้า
https://www.thairath.co.th/content/1187535
-----------------------------------------------------------------------------------

วันที่ 26 ม.ค.61 ที่ ค่ายอดิศร จ. สระบุรี  เมื่อเวลา 10.00 น. ศูนย์การทหารม้า (ศม.) ได้จัดแสดงสมรรถนะรถถังจีน VT-4 ที่กองทัพบกไทยจัดซื้อเข้าประจำการ ให้สื่อมวลชนรับชม โดยมี พล.ต.ศักดา ศิริรัตน์ รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก (สพ.ทบ.) ตัวแทนผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานในพิธี

กองทัพบกนำรถถังหลัก VT-4 ที่จัดหาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธิตสมรรถนะ...VT-4 มีระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดของโลก คือการติดตั้งระบบล็อคเป้า...ระบบ IFF ที่สามารถระบุตัวตนของฝ่ายตรงข้ามได้ โดยที่ไม่ต้องให้พลยิงเป็นคนกำหนดเอง ติดตามได้จากรายงานพิเศษ...
-----------------------------------------------------------------------------------

-----------------------------------------------------------------------------------


ภาพชุด VT-4 โชว์สมรรถนะพร้อมเขี้ยวเล็บรอบตัว

ภาพชุด VT-4 โชว์สมรรถนะพร้อมเขี้ยวเล็บรอบตัว...สื่อจีนมาทำข่าวเพียบ.. Photo Sompong Nondhasa

ระบบการฝึกของ Fighter Lead-in เครื่องบินฝึกขับไล่ขั้นต้น T-50TH

“ชั่วโมงการฝึกที่เท่ากัน ลงทุนด้วยงบประมาณที่น้อยกว่า และสามารถทำให้นักบินเก่งมากขึ้น” ด้วย Fighter Lead-in เครื่องบินฝึกขับไล่ขั้นต้น T-50TH Golden Eagle
เครื่องบินฝึกขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50TH
1. Cutting-Edge Fighter Training Technology เทคโนโลยีระบบการฝึกบินขับไล่ที่ทันสมัยที่สุดในโลก
2. Value for Money ความคุ้มค่า และงบประมาณการฝึกลดต่ำลง เนื่องจากใช้ระบบ Embedded Tactical Training System
3. High Performance Fighter Pilot นักบินขับไล่ของกองทัพอากาศมีขีดความสามารถ และทักษะเพิ่มขึ้น
Integrated Training System (ITS)/ Operational Support System (OSS)
“ด้วยชั่วโมงการฝึกที่เท่ากัน ลงทุนด้วยงบประมาณที่น้อยกว่า และสามารถทำให้นักบินเก่งมากขึ้น”
นอกจากเครื่องบินที่มีความทันสมัยแล้วยังมีการฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิคแบบบูรณาการ
Integrated Training System (ITS) / Operational Support Systems (OSS) แบ่งออกเป็น 6 ระบบสำคัญ
1. Computer Based Training (CBT)...
2. Virtual Technical Training System (VTTS)
3. Cockpit procedure trainer (CPT)
4. T-50TH Simulator
5. Mission Planning & Debriefing System (MPDS)
6. Training Management System (TMS)
Computer Based Training (CBT) ระบบ Interactive ที่นักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิคสามารถใช้ในการเรียนรู้ ทำความเข้าใจระบบของเครื่องบินด้วยตนเอง แบ่งได้ 3 ส่วน ได้แก่
- Aircraft Operation & Maintenance System
- Normal & Emergency Procedure
- Ground Handling
ซึ่งนักบิน และเจ้าหน้าที่เทคนิคสามารถเรียนรู้ได้จากคำบรรยาย และข้อความเสียง รวมถึงวิดีโอภาพแบบ 3-D Model อีกทั้งการเข้าถึงสามารถทำได้ง่ายโดยผ่านระบบเครือข่ายภายในอีกด้วย
Virtual Technical Training System (VTTS) ระบบที่ใช้สำหรับฝึกเจ้าหน้าที่เทคนิคก่อนไปปฏิบัติงานกับเครื่องบินแบบ T-50TH จริง ซึ่งระบบสามารถจำลองตำแหน่ง วิธีการติดตั้งและถอดอุปกรณ์ภายในเครื่องบิน โดยระบบแสดงภาพเป็นแบบ Virtual 3D model มีข้อมูลสำหรับใช้ในการฝึกต่างๆ ดังนี้
- Exterior and Interior of T-50TH
- Location of Line Replacement Unit (LRU) and access door through searching function
- Inner structure of T-50TH through access door open/close function
- Possible to understand How to remove and install

T-50TH สองเครื่องแรก มาถึงแล้ว!!

25-01-2561 เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น แบบ T-50TH ทั้ง 2 เครื่อง ที่ 4 นักบินเกาหลีใต้ บินมาส่งที่ กองบิน 4 ตาคลี นครสวรรค์ หลังจอดซ่อม ที่มาเลเซีย 2 สัปดาห์ หลังเครื่องยนต์เสียหาย จากการบินเข้าสภาพอากาศรุนแรง

พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ต้อนรับ เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น แบบ T-50TH จำนวน 2 เครื่อง จากทั้งหมด 4 เครื่อง ที่เรียกกันว่า มินิ F-16

พร้อมทั้งแสดงความยินดีกับนักบินของกองทัพอากาศ จำนวน 6 คน ซึ่งจบหลักสูตร T-50TH จากบริษัท Korea Aerospace Industries, Ltd. (KAI) เกาหลีใต้ และ 4 นักบินเกาหลีใต้ ที่ทำการบินนำส่งเครื่องบิน ที่ กองบิน 4 อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
ตามที่กองทัพอากาศ ได้ดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ทดแทนเครื่องบินขับไล่/ฝึกแบบที่ 1 หรือ L-39 ZA/ART ที่ใช้ในการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นของกองทัพอากาศ ซึ่งบรรจุประจำการมาตั้งแต่ปี 2537

ปัจจุบันได้ทยอยปลดประจำการเนื่องจากมีความพร้อมปฏิบัติการลดลง มีข้อขัดข้องด้านการส่งกำลังและซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้น ไม่คุ้มค่าในการยืดอายุการใช้งาน และมีเทคโนโลยีที่ไม่ทันสมัย ไม่สามารถตอบสนองต่อภารกิจการฝึกกับเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงของกองทัพอากาศต่อไปได้

ดังนั้นกองทัพอากาศจำเป็นต้องจัดหาเครื่องบินขับไล่/ฝึกที่มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการที่ดีกว่า เพื่อให้สามารถฝึกนักบินให้มีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีที่กองทัพอากาศมีอยู่ในปัจจุบันและในอนาคตได้ จึงได้พิจารณาจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น แบบ T-50TH ที่มีขีดความสามารถ และมีเทคโนโลยีระบบการฝึกนักบินขับไล่ที่ทันสมัย และมีระบบ Embedded Tactical Training System (ETTS) ทำให้นักบินสามารถทำการฝึกบินได้อย่างเสมือนจริงและทุกสภาพอากาศ ก่อให้นักบินขับไล่ของกองทัพอากาศมีขีดความสามารถและทักษะเพิ่มสูงขึ้น การใช้ระบบเทคโนโลยีให้กับนักบินที่ทำการฝึกกับ Simulator นี้ ก่อให้เกิดความคุ้มค่า และสามารถประหยัดงบประมาณในการฝึกบินให้กับกองทัพอากาศได้
นอกจากนี้ เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น แบบ T-50TH สามารถปฏิบัติภารกิจครอบคลุมได้ทั้งการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น และมีขีดความสามารถสูงใช้ปฏิบัติภารกิจการรบจริงได้ด้วย อีกทั้งตอบสนองการปฏิบัติภารกิจทั้งกิจเฉพาะหลัก ได้แก่ การฝึกนักบินขับไล่/โจมตีขั้นต้น และกิจเฉพาะรอง ได้แก่ การโจมตีทางอากาศ และการค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ โดยมีความสามารถในการติดตั้งใช้งานระบบอาวุธ ติดตั้งระบบเรดาร์ที่ทันสมัยเพื่อสามารถรองรับระบบอาวุธที่มีระยะไกลเกินสายตา
กองทัพอากาศได้พิจารณาจัดหาเครื่องบิน แบบ T-50TH จำนวน12 เครื่อง (ระยะที่ 1 จำนวน 4 เครื่อง งบฯ 3.7 พันล้าน และระยะที่ 2 จำนวน 8 เครื่อง) จากบริษัท Korea Aerospace Industries สาธารณรัฐเกาหลี โดยจัดทำเป็นโครงการผูกพัน ใช้งบประมาณเสริมสร้างกำลังกองทัพของกองทัพอากาศ ที่ได้รับในแต่ละปีมาจัดทำโครงการ สำหรับระยะที่ ๑ ใช้ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ – ๒๕๖๑ โดยได้จัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น แบบ T-50 TH รวม ๔ เครื่อง พร้อมอะไหล่ อุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็น โดยเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50 TH ๒ เครื่องแรก ได้มาถึงประเทศไทยในวันนี้ (๒๕ มกราคม ๒๕๖๑) ส่วนเครื่องที่ ๓ และ ๔ จะมาถึงในต้นเดือนมีนาคม ๒๕๖๑ และจะมีพิธีบรรจุประจำการอย่างเป็นทางการหลังการตรวจรับขั้นสุดท้ายแล้วเสร็จ

สำหรับการพัฒนากำลังพลให้มีความพร้อม กองทัพอากาศได้ส่งนักบิน จำนวน ๖ คน เข้ารับการฝึกบินกับเครื่องบินแบบ T-50TH ณ สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งขณะนี้นักบินดังกล่าวได้สำเร็จหลักสูตรครูการบิน และนักบินลองเครื่อง กับเครื่องบินแบบ T-50TH เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีผลการฝึกอบรมอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม พร้อมปฏิบัติภารกิจกับเครื่องบิน T-50TH ทันที เมื่อเครื่องบินได้รับการส่งมอบและบรรจุประจำการ /ที่มา: Wassana Nanuam

ภาพแสดงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ในรถถังหลัก VT-4

ภาพแสดงระบบอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ในรถถังหลัก VT-4 ของกองทัพบกไทย
ภายในสถานีของพลขับ
ภายในสถานีของพลยิง

กองทัพบกโชว์สมรรถนะรถถังหลัก VT-4 อย่างเป็นทางการ


กองทัพบกนำรถถังหลัก VT-4 ที่จัดหาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธิตสมรรถนะ...VT-4 มีระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดของโลก คือการติดตั้งระบบล็อคเป้า...ระบบ IFF ที่สามารถระบุตัวตนของฝ่ายตรงข้ามได้ โดยที่ไม่ต้องให้พลยิงเป็นคนกำหนดเอง ติดตามได้จากรายงานพิเศษ...

วันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2561

RTA VT-4 "Baby Abrams?"

กองทัพบกเปิดตัวรถถังหลักแบบ VT-4 อย่างเป็นทางการต่อสื่อมวลชนในวันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา ที่ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จังหวัดสระบุรี โดยทำการสาธิตการขับเคลื่อนบนทางวิ่งที่มีสิ่งกีดขวางรูปแบบต่างๆ และทำการสาธิตการใช้อาวุุธประจำรถ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ได้สำรวจรถถังหลักรุ่นใหม่จากบริษัท นอรินโค สาธารณะประชาชนจีน ได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งเมื่อวิเคราะห์จะมุมมองของตัวรถในหลายมุม จะเห็นได้ชัดเลยว่า VT-4 เป็นรถถังเจเนอเรชั่นใหม่ของจีนที่นำอิทธิพลจากการออกแบบรูปทรงภายนอกของตะวันตกมาปรับใช้แทนที่สไตล์การออกแบบของสหภาพโซเวียตเกือบทั้งหมดแล้ว โดยตัวรถมีรูปทรงคล้ายกับ M-1 อบรามส์ ของสหรัฐฯ ที่ย่อส่วนลงมา ส่วนรูปทรงของป้อมปืนเป็นการผสมกันระหว่าง M-1 กับเลโอปาร์ด 2A5 ของเยอรมันเข้าด้วยกัน โดยมีการออกแบบแผ่นเกราะปฏิกริยา (ERA) ที่แนบไปกับรูปทรงของตัวรถ สิ่งที่ยังดูมีความเป็นโซเวียตเดิมในตอนนี้คือรูปแบบของล้อกดสายพานเท่านั้น แม้แต่ตัวสายพานยังเป็นแบบมีแผ่นยางรอง 2 ชิ้นทรงเหลี่ยมที่มีใช้งานใน M-1A1/2 ในส่วนรายละเอียดการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ จะนำเสนอในแต่ละจุดต่อไป.. /ที่มา: ThaiArmedForce.com