กองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ มีกำลังทางเรือ ประกอบด้วยเรือรบในสังกัดจำนวน 10 ลำ โดยแบ่งเป็น 3 หมวดเรือ ได้แก่
หมวดเรือที่ 1 ประกอบด้วย ร.ล.มกุฎราชกุมาร ร.ล.ตาปี ร.ล.คีรีรัฐ ร.ล.รัตนโกสินทร์ และ ร.ล.สุโขทัย
หมวดเรือที่ 2 ประกอบด้วย ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช และ ร.ล.ปิ่นเกล้า
หมวดเรือที่ 3 ประกอบด้วย ร.ล.คำรณสินธุ ร.ล.ทยานชล และ ร.ล.ล่องลม
ในครั้งจะเป็นการรวมภาพของ เรือฟริเกตชุด ร.ล.มกุฎราชกุมาร ร.ล.ตาปี ร.ล.คีรีรัฐ และ เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำชุด ร.ล.คำรณสินธุ (3ลำ) เพียงเท่านั้น
—————————————————
เรือฟริเกตชุด ร.ล.มกุฎราชกุมาร (จำนวน 1 ลำ)
ขนาด
ระวางขับน้ำปกติ 1,948 ตัน เต็มที่ 2,072 ตัน
อาวุธ
ปืนใหญ่เรือ Mk.8 ขนาด 114 มม./55 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 2 แท่น
ปืนใหญ่กล Breda ขนาด 40 มม./70 คาลิเบอร์ แท่นคู่ 1 แท่น
ปืนกล ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว 4 แท่น
แท่นยิง PMW49A สำหรับตอร์ปิโด Mk.46 หรือ Stingray 2 แท่น แท่นละ 3 ท่อยิง
แท่นยิง Limbo Mk.10 สำหรับระเบิดลึก 1 แท่น 3 ท่อยิง
รางปล่อยระเบิดลึก 1 ราง
แท่นยิงเป้าลวง Mk.135 4 แท่น แท่นละ 6 ท่อยิง
อิเล็กทรอนิกส์
เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ Thales ZW06
เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ Thales DA05
เรดาร์ควบคุมการยิง Thales WM22 mod.61
เรดาร์เดินเรือ Decca
โซนาร์ Atlas DSQS-21C
ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ Elettronica Newton ประกอบด้วย
ระบบ ESM Elettronica ELT-211
ระบบ ECM แบบ noise jammer Elettronica ELT-318
ระบบยิงเป้าลวง Mk.33 RBOC
ระบบอำนวยการรบ Thales SEWACO (FORESEE-TH)
—————————————————
เรือฟริเกตชุด ร.ล.ตาปี (จำนวน 2 ลำ)
เรือฟริเกตชุด ร.ล.ตาปี (PF-103 Class Patrol Frigate) ผู้สร้าง American Shipbuilding ประเทศสหรัฐอเมริกา สังกัด กองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการร.ล.ตาปี หมายเลข 431 ข้าประจำการ 19 พฤศจิกายน 2514
ร.ล.คีรีรัฐ หมายเลข 432 เข้าประจำการ 10 สิงหาคม 2517
ขนาด
ระวางขับน้ำปกติ 1,079 ตัน เต็มที่ 1,125 ตัน
ระบบอาวุธ
ปืนใหญ่เรือ OTO Melara ขนาด 76 มม./62 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 1 แท่น
ปืนใหญ่กล Bofors ขนาด 40 มม./70 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 1 แท่น
ปืนใหญ่กล Rheinmetall ขนาด 20 มม./90 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 2 แท่น
ปืนกล ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
แท่นยิง Mk.32 mod.5 สำหรับตอร์ปิโด Mk.46 2 แท่น แท่นละ 3 ท่อยิง
รางปล่อยระเบิดลึก 1 ราง
แท่นยิงเป้าลวง Mk.135 2 แท่น แท่นละ 6 ท่อยิง
อิเล็กทรอนิกส์
เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ Thales DA05
เรดาร์ควบคุมการยิง Thales WM22 mod.61
เรดาร์เดินเรือ Decca
โซนาร์ Atlas DSQS-21C
ระบบ ESM Elettronica ELT-211
ระบบยิงเป้าลวง Mk.34 RBOC
ระบบอำนวยการรบ Thales SEWACO (FORESEE-TH)
—————————————————
เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำชุด ร.ล.คำรณสินธุ (จำนวน 3 ลำ)
เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ ชุดเรือหลวงคำรณสินธุ สังกัด กองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ เป็นเรืออีกชั้นหนึ่งที่ต่อขึ้นด้วยอุตสาหกรรมการต่อเรือในประเทศ โดย บริษัทอิตัลไทยมารีน เป็นผู้รับจ้างกองทัพเรือในการต่อเรือดังกล่าว จำนวน ๓ ลำ ได้แก่ เรือหลวงคำรณสินธุ (531) ,เรือหลวงทยานชล (532) และ เรือหลวงล่องลม (533) โดยเป็นเรือที่ต่อตามแบบเรือ Vosper Thornycroft ASW Corvette สหราชอาณาจักร ซึ่งเรือทั้ง ๓ ลำ ตั้งชื่อตามระเบียบกองทัพเรือ กล่าวคือ ตั้งชื่อตามเรือรบในอดีตเรือทั้ง ๓ ลำ วางกระดูกงู ช่วงปี ๒๕๓๑ และขึ้นระวางประจำการในห้วง ๒๕๓๕ - ๒๓๓๖ โดยมีระวางขับน้ำ ๔๗๕ ตัน ความยาว ๖๒ เมตร กว้าง ๘.๒๒ เมตร รัศมีทำการ ๒,๘๕๐ ไมล์ทะเล
คุณลักษณะของเรือ
ความยาวตลอดลำ 62 เมตร
ความกว้าง 8.22 เมตร
กินน้ำลึก 4.5 เมตร
ความเร็วมัธยัสถ์ 15 นอต
ความเร็วสูงสุด 25 นอต
ระวางขับน้ำปกติ 475 ตัน
ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,850 ไมล์
กำลังพลประจำเรือ 58 นาย
ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 12V 1163 TB93 จำนวน 2 เครื่อง
เพลาใบจักร 2 เพลา ใบจักรแบบปรับมุมได้
ระบบตรวจการณ์
เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ AWS-4 ของ BAE
เรดาร์เดินเรือ Bridgemaster E ของ Sperry Marine
ศูนย์รวบ (ปืนใหญ่เรือ) Thales TDS
โซนาร์ DSQS-21 ของ Atlas
ระบบควบคุมการยิง (ตอร์ปิโด) Ultra Electronics ATLAPS
ระบบออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Thales Mirador
ระบบอำนวยการรบ TACTICOS
ระบบตอบรับสัญญาณพิสูจน์ฝ่าย แบบ Mk X (SIF) Bendix AN/APX-72
ระบบอาวุธ
ปืน 76/62 มม. จำนวน 1 กระบอก
ปืน 30 มม. แท่นคู่ 1 กระบอก
ปืน 20 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
ปืน .50 นิ้ว 4 กระบอก
ท่อตอร์ปิโด 2 แท่น (6 ท่อยิง)
แท่นยิงระเบิดลึก 2 แท่น
รางปล่อยระเบิดลึก 1 ราง
—————————————————
ร.ล.มกุฎราชกุมาร (FF433)