หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เสนาธิการทหารเรือ เป็นประธานชี้แจงสื่อมวลชน กรณี "โครงการเรือสนับสนุนปฏิบัติการทางเรือ และโครงการปรับปรุงเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร"

พลเรือเอก จักรชัย ภู่เจริญยศ เสนาธิการทหารเรือ เป็นประธานการแถลงข่าวชี้แจงต่อสื่อมวลชนกรณี "โครงการเรือสนับสนุนปฏิบัติการทางเรือและโครงการปรับปรุงเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร" ณ ห้องชมวัง อาคารราชนาวิกสภากิจการหอประชุมกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ โดยมีผู้ร่วมแถลงข่าว ประกอบด้วย พลเรือเอก ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ พลเรือโท พัลลภ ตมิสานนท์ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธการ พลเรือตรี นวพล ดำรงพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ และ พลเรือโท ทวีชัย บุญอนันต์ ปลัดบัญชีทหารเรือ ที่มา: http://www3.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/948

รายละเอียดของการชี้แจง ..

MThai News รายงานจาก ราชนาวิกสภา กองบัญชาการกองทัพเรือ บางกอกใหญ่ ว่า พล.ร.อ.จักรชัย ภู่เจริญยศ เสนาธิการทหารเรือ พร้อมด้วย พล.ร.อ.ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ, พล.ร.ท.พัลลภ ตมิสานนท์ ผู้ช่วยเสนาธิการฝ่ายยุทธการ, พล.ร.ท.ทวีชัย บุญอนันต์ ปลัดบัญชีทหารเรือ และ พล.ร.ต.นวพล ดำรงพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทางเรือ ได้ร่วมกันแถลงข่าวกรณีโครงการเรือสนับสนุนปฏิบัติการทางเรือ และโครงการปรับปรุงเรือฟริเกต ชุดเรือหลวงนเรศวร
โดย พล.ร.อ.จักรชัย กล่าวว่า หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรได้มีการอภิปรายถึงการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของกองทัพเรือ ทาง พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้สั่งการให้กองทัพเรือเร่งชี้แจงถึงกรณีดังกล่าว
ซึ่งทางกองทัพเรือขอบคุณทางสภาผู้แทนราษฎรที่มีความรู้สึกที่ดีและห่วงใยกองทัพเรือในการตรวจสอบ ในการดำเนินการของกองทัพเรือ อีกทั้งยังห่วงใยต่อกำลังพลที่ต้องเผชิญกับภัยอันตรายในปฏิบัติงาน ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าเม็ดเงินแต่ละเม็ดที่กองทัพเรือ กว่าจะได้มาเป็นไปด้วยความยากลำบาก
ดังนั้นการที่จะนำไปใช้จะต้องมีเหตุผล รวมถึงการตอบสนองความต้องการทางด้านยุทธศาสตร์ และเรามองประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงการรักษาทรัพยากรทางทะเล และอธิปไตยของประเทศชาติ
ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้กองทัพเรือสอบตกไม่ได้ เพราะเป็นผลประโยชน์ของประชาชนโดยรวม ทั้งนี้ยุทโธปกรณ์ดังกล่าวที่นำมาติดตั้งเราสามารถป้องกันตัวเองได้ และครอบคลุมถึงความปลอดภัยของลูกเรือ
ทั้งนี้ พล.ร.อ.ทวีวุฒิ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ที่แตกต่างจากความต้องการของฝ่ายเสนาธิการในเรื่องระบบเป้าลวง (Decoy) ซึ่งเป็นระบบการรบ โดยเปลี่ยนจากแท่นยิงแบบหมุนได้มาเป็นแท่นยิงแบบหมุนไม่ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัด และมีผลกระทบจากการติดตั้งแท่นยิงแบบเป้าลวงแบบหมุนได้ที่มีขนาดใหญ่ โดยใช้พื้นที่มาก นอกจากนี้ยังได้เสนอให้มีการติดตั้งแท่นยิงเป้าลวงดังกล่าวไว้ในตำแหน่งบริเวณดาดฟ้าเหนือโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์
ซึ่งทางคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่หน่วยเทคนิครวมทั้งผู้ใช้ พบว่าจะต้องรื้อถอนและย้ายอุปกรณ์บางอย่างออก ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติการขึ้นลงของเฮลิคอปเตอร์ และระบบการควบคุมการยิง
อย่างไรก็ตาม ยังบดบังมุมยิงด้านหัวเรือทำให้เกิดมุมอับ และส่งผลให้ประสิทธิภาพลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ หรือ ประมาณ 180 องศา จาก 360 องศา ในขณะที่แท่นยิงแบบหมุนไม่ได้ โดยจะติดตั้งในตำแหน่งที่ยิงลูกเป้าลวงได้ทุกทิศทางครอบคลุมมุมยิงได้มากกว่าแท่นยิงแบบหมุนได้ และสามารถยิงได้ครอบคลุม 360 องศา
ส่วนกรณีที่มีการระบุแท่นยิงแบบหมุนไม่ได้มีความล้าหลัง เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบแล้ว โดยการยิงไม่ต้องมีการกลับเรือ
ซึ่งขณะนี้ประเทศที่ใช้แท่นยิงแบบหมุนได้ อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา โมร็อกโก สิงคโปร์ และอีกบางพื้นที่ในประเทศแถบเอเชีย แต่ประเทศเหล่านี้ได้ซื้อเรือรบจากประเทศฝรั่งเศสจึงไม่มีทางเลือกจึงต้องใช้ระบบแท่นยิงแบบหมุนได้
ในขณะที่แท่นยิงแบบหมุนไม่ได้ ส่วนใหญ่เป็นประเทศในชาตินาโต้ ที่ใช้กันมาก อาทิประเทศเดนมาร์ก ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย โมร็อกโก ชิลี โรมาเนีย สำหรับจุดอ่อนแท่นยิงแบบหมุนได้ ถ้ามีชิ้นส่วนท่อยิงท่อใดเกิดเสียหายก็ไม่สามารถใช้การได้ทั้งหมด
ในขณะนี้ที่แท่นยิงแบบหมุนไม่ได้หากเสียก็ยังสามารถใช้ท่อยิงอันอื่นได้ สำหรับโครงการดังกล่าวอยู่ในช่วงระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการจัดซื้อระบบการรบ และจัดซื้อลูกอาวุธปล่อยพื้น-สู่-อากาศ แบบ ESSM วงเงิน 3,300 ล้านบาท ประกอบด้วย ระบบการรบ 2,700 ล้านบาท และลูกอาวุธปล่อย 600 ล้านบาท
แต่จากเดิมได้มีการตกลงเป็นเงิน 2,725 ล้านบาท แต่เนื่องจากกองทัพเรือได้รับจัดสรรงบประมาณจัดหาในส่วนนี้ 2,700 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลางที่กำหนดไว้เดิม ทำให้บริษัทต้องลดราคาลงในขั้นแรก 25 ล้านบาท
และลดราคาในขั้นการจัดหาอีก 1,000 บาท รวมราคาที่ลดทั้งสิ้น 25,001,000 บาท และโครงการระยะที่ 3 จัดซื้อระบบโซนาร์ และระบบปืนรอง รวมทั้งการปรับปรุงเรือและสนับสนุน วงเงิน 810 ล้านบาท
ขณะเดียวกันระบบเป้าลวง มีราคาประมาณ 300ล้านบาท แต่ระบบเป้าลวง มีราคาประมาณ 200 ล้านบาท บริษัท Saab AB จึงเสนอระบบ และอุปกรณ์ชดเชย อาทิเช่น ไยโรแบบ หรือ อุปกรณ์บอกค่าทิศทาง
อุปกรณ์ Broad Cast II Output upgrade sets for the RTU คือ อุปกรณ์ที่ใช้จัดการสัญญาณ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่กองทัพเรือต้องการจัดหาอยู่แล้ว คิดเป็นมูลค่าอุปกรณ์ชดเชยรวม 103 ล้านบาท
จึงทำให้กองทัพเรือประหยัดงบประมาณได้จำนวนหนึ่ง กองทัพเรือ โดยคณะกรรมการและหน่วยเกี่ยวข้องได้พิจารณาอย่างรอบคอบและรัดกุมในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งความต้องการทางยุทธการ ขีดความสามารถของระบบแท่นยิงแบบหมุนไม่ได้ และการติดตั้ง และมุมยิงของลูกเป้าลวง รวมถึงการเชื่อมต่อระบบการรบ การบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานแล้วเห็นว่า
การเสนอติดตั้งระบบแท่นยิงเป้าลวงมีความเหมาะสมสำหรับการใช้งานในเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร จึงรับข้อเสนอจากบริษัท Saab AB ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่เรารับเงินทอนมา 1,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนต่างจริง ๆ เราได้รับมาคือ 100 ล้านบาทเท่านั้น
ไม่เคยได้รับเงินเหมือนกับที่นายศิริโชค สิริโสภา ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาระบุ ซึ่งคนอื่นอาจจะเคยทำจนเคยชิน แต่กองทัพเรือไม่เคยทำ จึงไม่แน่ใจว่าไปเอาข้อมูลมาจากไหน เพราะข้อมูลที่กองทัพเรือมีอยู่เป็นข้อพื้นฐานที่เราเห็นตัวเลขกันอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ปรากฏขึ้นมาอาจจะขึ้นที่ นายศิริโชค เอาเอกสารขึ้นมาประกอบอาจจะมีความคาดเคลื่อน หรือ เอกสารดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์
พร้อมกันนี้ โครงการจัดหาเรือสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือ จำนวน 3 ลำ ในวงเงิน 553.5ล้านบาท ทางกองทัพเรือยืนยันว่า การดำเนินการเป็นไปตามข้อกำหนดตามหนังสือเชิญชวนเสนอแบบเรือ (TOR) ที่ได้กำหนดไว้ว่า
“ระบบควบคุมการขับเคลื่อนต้องเป็นผลิตภัณฑ์ตราอักษรเดียวกันกับเครื่องจักรใหญ่ ยกเว้นกรณีที่ไม่มีระบบควบคุมฯ ที่เป็นตราอักษรเดียวกันกับเครื่องจักรใหญ่สามารถใช้ระบบควบคุมฯ ตราอักษรที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ”
ข้อกำหนดดังกล่าวมิได้เป็นสาระสำคัญที่จะไม่รับพิจารณาข้อเสนอ(ตัดตก) กองทัพเรือต้องพิจารณาให้คะแนนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้แล้ว โดยบริษัทมาร์ซัน จำกัด ได้เสนอเครื่องจักรใหญ่ตราอักษร Comminsรุ่น K50-M และ ระบบควบคุมการขับเคลื่อนตราอักษร Kobelt โดยได้ใช้หนังสือแนะนำจากบริษัท ComminsDKSH(Thailand)Ltd. ลงวันที่ 29 เมษายน 2554 เป็นหลักฐานว่า
สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องจักรใหญ่ดังกล่าวได้ ซึ่งต่อมาหลังจากประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือกให้ต่อสร้างเรือแล้ว กองทัพเรือได้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าวอีกครั้ง โดยกองทัพเรือได้มีหนังสือขอให้บริษัท Cummins สาธารณรัฐสิงคโปร์ และบริษัท CumminsIns สหรัฐอเมริกายืนยันความถูกต้องอีกครั้ง
ดังนั้นหนังสือรับรองของบริษัท Cumminsสาธารณรัฐสิงคโปร์ และบริษัท CumminsInsสหรัฐอเมริกา จึงมิได้ถือว่าเป็นการยื่นเอกสารเพิ่มเติมในภายหลัง แต่เป็นเอกสารที่ยืนยันความถูกต้องของข้อมูลเท่านั้น
สำหรับกรณีข้อกำหนดว่าแบบของเรือต้อง “สามารถปฏิบัติงานได้ในสภาวะทะเลไม่น้อยกว่า SeaState 5 ” (ความสูงของคลื่น 2.5 – 4 เมตร) นั้น แบบของบริษัทมาร์ซัน จำกัด ที่เสนอสามารถปฏิบัติงานได้ในสภาวะทะเลไม่น้อยกว่า SeaState 5
ส่วนแบบของบริษัทซีเครสท์ มารีน จำกัด สามารถปฏิบัติงานได้ในสภาวะทะเลไม่น้อยกว่า SeaState 6 (ความสูงของคลื่นมากกว่า 4 เมตร) บริษัทซีเครสท์ มารีน จำกัด จึงได้คะแนนในหัวข้อนี้มากกว่าบริษัทมาร์ซัน จำกัด
การให้คะแนนเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์และยุติธรรมการดำเนินการของคณะกรรมการโครงการต่างๆ ของกองทัพเรือทุกโครงการดำเนินการด้วยความโปร่งใสเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย การพิจารณาตัดสินปราศจากอคติใดๆ
ทั้งนี้การดำเนินการในโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพเรือไม่ว่าจะเป็นโครงการปรับปรุงเรือฟริเกต ชุดเรือหลวงนเรศวร โครงการจัดหาเรือสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือหรือโครงการอื่นๆ ที่กองทัพเรือได้ดำเนินการไปแล้ว และที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการนั้น
กองทัพเรือจะดำเนินการโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่ทางราชการจะได้รับ และผลของประเทศชาติเป็นหลัก ภายใต้กรอบงบประมาณที่กองทัพเรือได้รับจัดสรรตามขอบเขตอำนาจและหน้าที่สอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับของทางราชการ
MThai News







ที่มา: http://news.mthai.com/headline-news/205028.html

เนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม โดย เป็นบทวิเคราะห์ในกรณีดังกล่าวจาก TAF :-
ข้อสงสัย คำชี้แจง และข้อมูลเปรียบเทียบของเป้าลวงของเรือหลวงนเรศวรจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ   
http://www.thaiarmedforce.com/taf-military-news/54-rtn-news/540-htms-naresuan-from-no-confidence-vote.html




การฝึกรับรถ AAV ของ เรือหลวงอ่างทอง

มวฝ.กยพ. จัด เรือหลวงอ่างทอง ฝึกการรับรถสะเทินน้ำสะเทินบก (AAV) ทางข้างเรือ เพื่อฝึกความชำนาญในการปฏิบัติราชการร่วม ณ บริเวณท่าเที่ยบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2555

















ที่มา: http://www.koryorpor.com/?p=1865

เรือหลวงอ่างทอง ต้อนรับคณะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

พลเรือตรี ปิติ วัลยะเพชร์ ผู้บัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ (ผบ.กยพ.กร.) และ ผู้บังคับหมวดเรือฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธี กยพ.กร. ประจำปี 2555 ให้การต้อนรับคณะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ประจำปี 2555 และนำเยี่ยมชมการฝึกบนเรือหลวงอ่างทอง บริเวณอ่าวสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2555















วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

J-15 ทำการบินขึ้น-ลง บน เรือบรรทุกเครื่องบิน Liaoning ครั้งแรก

ภาพถ่าย เครื่องบินรบ J-15 ขณะทำการทดสอบบินขึ้น-ลง บนดาดฟ้า.. เรือบรรทุกเครื่องบิน Liaoning ของ กองทัพเรือจีน เป็นครั้งแรก









คลิกที่รูปภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่


คลิกที่รูปภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่


คลิกที่รูปภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่


คลิกที่รูปภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่


คลิกที่รูปภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่


คลิกที่รูปภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่


คลิกที่รูปภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่



J-15 take off and landing on board Liaoning J-15 take off and landing on board Liaoning