กองทัพอากาศไทย Royal Thai Air Force (รวมภาพ)
www.thaidefense-news.blogspot.com/by sukom วัตถุประสงค์ของการเปิดบล็อกนี้ เพื่อการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนข้อมูล-ความคิดเห็น รวมถึงเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข่าวคราว ความเป็นไปทางด้านการทหาร และ เทคโนโลยีด้านการทหาร แก่บุคคลที่สนใจและบุคคลทั่วไป
หน้าเว็บ
▼
วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
Defense and Security Thailand 2019 Tri Service Asian Exhibition Bangkok ...
------------------------------------------------------------
วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
การจัดส่ง ยานเกราะล้อยาง VN-1 และ รถถังหลัก VT-4...
ทางการจีนได้ทยอยทำการจัดส่ง ยานเกราะล้อยาง VN-1 และ รถถังหลัก VT-4 ให้กับทางการไทย คาดว่าจะถึงประเทศไทย ปลายเดือนนี้
รถเกราะ มังกร เสริมเขี้ยวเล็บ ทหารม้าเหนือ
กองทัพบกไทย เตรียมแผน โชว์สมรรถนะ 'รถเกราะ VN-1” หลัง จีน ส่งลงเรือมาล็อทแรก 34+4 คัน พร้อม “รถถัง VT-4” ล็อท 2 อีก 11 คัน คาด ถึงไทย 28 พ.ย.นี้ /โดยมีเจ้าหน้าที่จีน และคณะกรรมก
โดย กองทัพบกอาจมีการทดสอ
โดยรถเกราะ VN-1 ทั้ง 38 คัน ที่ส่งมานั้น มีรถยานเกราะ 34 คัน รถกู้ซ่อม 2 คัน รถซ่อมบำรุง 1 คัน รถซ่อมบำรุงอุปก
นอกจากนี้ ทาง บริษัท นอรินโค เตรียมจัดส่งรถย
/https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2664294420295666&set=a.440635312661599&type=3&theater
------------------------------------------------------------
วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
RTAF U1 Walk Around
RTAF U1 Walk Around : ในพิธีบรรจุประจำการอากาศยานไร้คนขับ แบบ RTAF U1 ณ ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ดอนเมือง เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งกองทัพอากาศบรรจุเข้าประจำการ จำนวน 17 เครื่อง ...
F-5TH Walk Around
F-5TH Walk Around : ในพิธีบรรจุประจำการเครื่องบินขับไล่ แบบ ๑๘ ข/ค หรือเครื่องบินแบบ F-5TH ณ ท่าอากาศยานทหาร ๒ กองบิน ๖ ดอนเมือง เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๒
ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์
ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีบรรจุประจำการเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข/ค
หรือเครื่องบินแบบ F-5TH ณ ท่าอากาศยานทหาร ๒ กองบิน ๖
ดอนเมือง
กองทัพอากาศมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นกองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค
ด้วยการพัฒนาขีดความสามารถทั้ง ๓ มิติ ได้แก่ มิติทางอากาศ มิติไซเบอร์
และมิติอวกาศ โดยเน้นวางรากฐานการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน
รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับสรรพกำลังของชาติทุกภาคส่วน
ในการพัฒนากำลังของกองทัพอากาศ และการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
ตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
ซึ่งจะทำให้กองทัพอากาศสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน
กองทัพอากาศตระหนักถึงการใช้ขีดความสามารถในการป้องกันประเทศอย่างมีประสิทธิภาพตามโครงสร้างกำลังรบ
ภายใต้กรอบงบประมาณของกองทัพอากาศที่มีอยู่อย่างจำกัด
ซึ่งกองทัพอากาศ
ได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างอากาศยาน และเพิ่มขีดความสามารถของเครื่องบินแบบ
F-5TH จำนวนทั้งสิ้น ๑๔ เครื่อง โดยปรับปรุงติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบ
Avionics ที่ทันสมัย ระบบป้องกันตนเอง ระบบเรดาร์ใหม่
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับเป้าหมาย
รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการใช้อาวุธสมัยใหม่ที่มีความแม่นยำสูงและระยะยิงไกล
อีกทั้งยังมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network
Centric Operation) ระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link)
เพื่อรองรับการใช้งานระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Link-T)
เทียบเท่าเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐/ก หรือ เครื่องบินแบบ GRIPEN 39 C/D ในยุค
๔.๕
โดยพิธีบรรจุอากาศยานเข้าประจำการในวันนี้
ถือเป็นประวัติศาสตร์ก้าวสำคัญของกองทัพอากาศ
ในการดำเนินการตามแนวทางการพึ่งพาตนเอง
การระดมสรรพกำลังความร่วมมือของชาติทุกภาคส่วน
และการใช้บุคลากรของกองทัพอากาศในการดำเนินการเป็นส่วนใหญ่
ทำให้บุคลากรดังกล่าวสามารถเข้าถึงและได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยตรง
ซึ่งทำให้สามารถนำวิทยาการดังกล่าวมาประยุกต์ พัฒนา
และต่อยอดเทคโนโลยีกำลังทางอากาศ
ทำให้กองทัพอากาศมีขีดความสามารถสูงขึ้นในการป้องกันประเทศ
และสามารถเผชิญภัยคุกคามได้ในทุกรูปแบบ
เพื่อเป็นกองทัพอากาศที่สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างชาญฉลาดและมีความยั่งยืน
รวมถึงเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดในการจัดหา
พร้อมการพัฒนาให้กับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
เพื่อร่วมกันพัฒนาและขับเคลื่อนกองทัพอากาศให้ก้าวสู่กองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค
“One of the Best Air Forces in ASEAN”
และการพัฒนากองทัพอากาศภายใต้การพึ่งพาตนเองได้ในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม
Source
:
กองประชาสัมพันธ์
สำนักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์
กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ
ภาพโดย
: นายกิตติเดช สงวนทองคำ
วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
พิธีบรรจุเข้าประจำการ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5 TH) และอากาศยานไร้คนขับ แบบ RTAF U1
กองทัพอากาศเผย F-5TH กับ U-1 ฝีมือคนไทย-บริษัทไทยล้วน ๆ ต่อไปเตรียมพัฒนา UAV ติดอาวุธ พร้อมวางแผน 2580 มีขีดความสามารถผลิตอากาศยาน
วันนี้ ผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นประธานในพิธีบรรจุเข้าประจำการเครื่องบินขับไล่แบบ F-5TH และอากาศยานไร้นักบินแบบ RTAF U-1 ของกองทัพอากาศ ซึ่งกองทัพอากาศกล่าวว่าเป็นโครงการที่กองทัพอากาศมีความภาคภูมิใจ เนื่องจากทั้งหมดดำเนินการด้วยคนไทยที่มีทั้งบุคลากรในกองทัพอากาศและภาคเอกชนร่วมมือกัน โดยหลังจากพิธีเสร็จสิ้น ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอกมานัต วงษ์วาทย์ เสนาธิการทหารอากาศ พลอากาศเอกสุทธิพันธ์ ต่ายทอง หัวหน้าคณะฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา พลอากาศเอกสฤษฎ์พงศ์ วัฒนวรางกูร ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน สำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารอากาศ นาวาอากาศเอกสุรพงษ์ ศรีวนิชย์ ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการรบ สำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารอากาศ นาวาอากาศเอกสุรศักดิ์ เสสะเวช และผู้รับผิดชอบการจัดตั้งศูนย์อากาศยานไร้คนขับกองทัพอากาศ นาวาอากาศเอกนภดร คงสเถียร ได้ร่วมกันแถลงข่าวถือรายละเอียดของโครงการและแผนงานในการพัฒนา TAF จึงขอสรุปข้อมูลมาให้ทุกท่าน ณ ที่นี้ครับ
-----------------------
โครงการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากกองทัพอากาศระดมมันสมองร่วมกับคนไทยและภาคเอกชนในการสร้างขีดความสามารถที่มีนัยยะสำคัญและแข็งแกร่ง รวมถึงไม่มีใครรู้ เพราะกองทัพอากาศเป็นผู้ถือเทคโนโลยี
สำหรับ U-1 นั้น เครื่องยนต์เป็นสิ่งเดียวที่ต้องซื้อจากต่างประเทศ นอกนั้นเป็นการพัฒนาและผลิตในประเทศทั้งหมดทุกระบบ ส่วนของ F-5 นั้น แม้จะใช้อากาศยานที่ผลิตจากต่างประเทศ แต่ในจิตวิญญาณของความเป็นคนไทยเข้าไป เราใช้บุคลากรของเราที่มีความรู้ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก และจะพัฒนาให้มากขึ้นในการปรับปรุง AU-23 และ Alphajet
และตามยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศนั้น กองทัพอากาศจะมีขีดความสามารถในการผลิตอากาศยานด้วยตนเอง แม้จะไม่ต้องผลิตได้เองทุกชิ้นส่วน แต่ชิ้นส่วนที่สำคัญต้องผลิตได้เอง และส่วนที่สำคัญคือ Software ที่จะต้องเป็นของเราและเราต้องควบคุมเองได้ เราเน้นที่การสร้าง Software Engineer ที่มีขีดความสามารถในการพัฒนา Embedded Software ที่จะทำให้เราลงลึกในการปรับปรุงและพัฒนาอากาศยานแบบใดก็ได้
กองทัพอากาศมีแนวทางในการพัฒนาอากาศยานไร้นักบินตามแผนงาน 20 ปี RTAF U-1 นั้นเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและการสร้างต้นแบบ เมื่อเราได้ต้นแบบแล้วเราก็นำต้นแบบมาผลิตใช้งาน ซึ่งเป็นผลงานที่เกิดจากคนไทยทั้งหมด และในอนาคตเราจะมีการพัฒนาต่อให้เป็น UCAV หรืออากาศยานไร้นักบินติดอาวุธ เชื่อว่าแนวคิดของกองทัพอากาศนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาของคนไทย เพราะจะเห็นได้ว่ายุทโธปกรณ์ในปัจจุบันมีราคาแพง ถ้าเราไม่คิดที่จะพัฒนาเองแต่จะซื้อใช้เรื่อยไป ก็จะทำให้กองทัพสิ้นเปลืองเงินภาษีเป็นอย่างมาก แต่ถ้าเราพัฒนาได้เอง งบประมาณที่ใช้ก็จะลดลง ซึ่งเป็นไปตามแนวนโยบาย Purchase and Development ของกองทัพอากาศ ซึ่งเป็นการจัดหาควบคู่ไปกับการพัฒนา และมีผลงานแรกคือ RTAF U-1
ในส่วนของความคืบหน้าของการปรับปรุง F-5TH นั้น การดำเนินการปรับปรุงจะใช้เวลาอีก 3 ปีจนจบโครงการในปี 2565 โดยตอนนี้ดำเนินการปรับปรุงเสร็จแล้ว 2 เครื่อง เครื่องแรกนั้นเป็นการปรับปรุงโดยใช้ Know How จากต่างประเทศ แต่ตั้งแต่เครื่องที่ 2 เป็นต้นไปจะเป็นการดำเนินการโดยคนไทยทั้งหมด ซึ่งประสบการณ์และทักษะนั้นจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อไป
สิ่งที่สำคัญที่สุดของโครงการก็คือแนวความคิดที่ยึดถือคือการพัฒนากำลังรบ ซึ่งการใช้งบประมาณเพื่อจัดซื้ออาวุธอย่างเดียวนั้นมีเงินเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอ และไม่ตอบสนองความต้องการของเรา การใช้อุตสาหกรรมภายในประเทศคือแนวคิดอันดับแรกของกองทัพอากาศ และการพัฒนานั้นจะต้องเป็นไปตามความต้องการของกองทัพอากาศ ยกตัวอย่างง่ายๆ คือโทรศัพท์มือถือทุกวันนี้ มีบางฟังก์ชั่นที่ไม่ได้ใช้ และมีบางฟังก์ชั่นที่อยากใช้แต่ใช้ไม่ได้เพราะโรงงานผลิตไม่ได้ผลิตมา ยุทโธปกรณ์ก็เช่นเดียวกัน ตอนนี้เปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้นคือกองทัพอากาศนำโทรศัพท์มือถือมาติดตั้งฟังก์ชั่นที่กองทัพอากาศต้องการใช้ด้วยวิศวกรและบุคลากรในประเทศ แปลว่าเราจะได้ใช้งานในสิ่งที่เราต้องการจริงๆ และเราสามารถพัฒนาต่อยอดได้
สุดท้ายคือบุคลากรซึ่งกองทัพอากาศเห็นว่า Peopleware เป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด คนไทยมีความสามารถ แต่เราต้องสนับสนุนให้เขามีส่วนร่วมในการพัฒนา ผลงานต่างๆ ทั้ง F-5TH หรือ U-1 นั้นเป็นฝีมือของคนไทยทั้งสิ้น โดยเฉพาะด้าน Software และเรามีนักบินทดสอบที่ทำการทดสอบจนได้รับใบสมควรเดินอากาศตามมาตรฐานสากล ทั้งหมดนี้คือความหมายของแนวคิด Purchase and Development ซึ่งก็คือการจัดหายุทโธปกรณ์นั้นจะต้องสามารถต่อยอดเพื่อพัฒนาเองได้
และด้วยหลักการ Purchase and Development นั้นทำให้กองทัพอากาศสามารถติดตั้งจรวดอากาศสู่อากาศแบบ IRIS-T ได้ด้วยฝีมือของคนไทย ซึ่งในอดีตเรามีการจัดหาเครื่องบิน Gripen ที่ตรงกับความต้องการของเรา แต่เราไม่สามารถจัดหาเพิ่มเติมได้เนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอ จึงใช้วิธีนำแนวคิดของ Gipen มาใส่ลงใน F-5TH เช่นเดียวกับที่เราใช้งาน Aerostar และกำลังจะใช้งาน Dominator นั้น เราก็นำแนวคิดและประสบการณ์ในการใช้งานมาใส่ใน RTAF U-1 ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของกองทัพอากาศ
สำหรับการพัฒนาต่อจากนี้ แผนงานต่อไปคือการพัฒนาอากาศยานไร้นักบินขนาดกลางหรือ MALE (Medium-Altitude Long-Endurance) ภายในไม่กี่ปีนี้ สำหรับในแง่ของโครงสร้างกำลังรบนั้น วันนี้ทั้ง F-5TH และ U-1 ก็คือการแสดงขีดความสามารถในการพัฒนาทั้ง Shooter และ Sensor ด้วยฝีมือคนไทย ทิศทางในการพัฒนาในอนาคตนั้น กองทัพอากาศวางแผนที่จะไม่จัดหาเพียงอย่างเดียว แต่จะจัดหาพร้อมพัฒนา อากาศยานที่มีขีดความสามารถสูงและพัฒนาได้เราก็จะพัฒนาเอง จะสังเกตุว่าเราไม่ได้จัดหาอากาศยานใหม่อย่างเดียว ซึ่งถือว่าช่วยประหยัดงบประมาณได้มาก กองทัพอากาศตระหนักดีเรื่องการใช้ภาษี ดังนั้นกองทัพอากาศจึงมียุทธศาสตร์ในการจัดหาอากาศยานให้คุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งอากาศยานที่จัดหานั้นต้องตอบสนองยุทธศาสตร์ Purchase and Development ให้ได้เท่านั้น
ทั้งนี้ โครงการนี้มีภาคเอกชนร่วมงานเยอะมาก (บริษัท R V Connex เป็นคู่สัญญาหลัก) มี SME เกิดขึ้นจากโครงการนี้หลายราย และสร้างตำแหน่งงานขั้นสูงในภาคเอกชนขึ้นหลายตำแหน่งที่มีค่าตอบแทนสูง ซึ่งทำให้ประชาชนและระบบเศรษฐกิจเกิดรายได้ แต่แม้จะอย่างนั้นก็ยังใช้งบประมาณต่ำกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ
อย่าง F-5TH นั้น คนไทยมีส่วนร่วมทั้งในส่วนของ Mechanism และ Software การออกแบบสถาปัตยกรรมและโครงสร้างการปรับปรุง การออกแบบการวางสายไฟหรืออุปกรณ์ต่างๆ บนอากาศยานนั้นเป็นฝีมือคนไทยทั้งสิ้น ส่วน Software นั้น การใช้วิศวกรไทยในการพัฒนาจะทำให้เราสามารถสร้าง Algorithm ที่ตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะตาม Concept of Operation ของกองทัพอากาศไทยได้ ซึ่งในอีกด้านการที่กองทัพอากาศสามารถวาง Concept of Operation ได้เองก็ทำให้สามารถแปลงความต้องการทางยุทธการไปเป็นเทคโนโลยีเป้าหมายและไปจนถึงรายการอุปกรณ์ที่ต้องการได้
แต่ที่ผ่านมาที่มักจะพูดกันว่าคนไทยทำอาวุธไม่เป็นนั้น เพราะเราตั้งโจทย์กันไม่เป็น คนไทยเป็นคนที่ฉลาด แต่เราไม่สอนให้ตั้งโจทย์ให้เป็น งานนี้คือการสอนให้คนไทยตั้งโจทย์ เรามียุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กองทัพ เราต้องหาว่าอะไรคือโจทย์ที่เกิดขึ้นจากยุทธศาสตร์ และดึงโจทย์ออกมา และหาคำตอบให้กับโจทย์นั้นให้ได้
ส่วนการผลิตอากาศยานเองนั้น แผนงานของกองทัพอากาศเริ่มจาก Purchase and Development โดยเรียนรู้ที่จะทำมันสมองของเครื่องบินหรือ Software ให้ได้เองก่อน ส่วนจะนำไปสู่การผลิตอากาศยานเองหรือไม่นั้น ต้องดูว่าการผลิตอากาศยานนั้นเป็นการดำเนินการที่ต้องลงทุนสูง การผลิตอากาศยานเพียง 12 เครื่องนั้นอาจจะไม่คุ้มค่า แต่ถ้าเราพัฒนา Software ได้เอง ซึ่งจะทำให้อากาศยานนั้นมีขีดความสามารถที่เราต้องการได้ เพราะการสร้างเครื่องบินได้เองไม่ได้หมายความว่าจะตอบโจทย์ได้ทั้งหมด แต่การที่คนไทยมีขีดความสามารถในการพัฒนา Software และระบบอาวุธต่างๆ ได้ในส่วนซึ่งเป็นหัวใจหลักของระบบอาวุธนั้นๆ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่า ซึ่งในปี 2580 นั้นจะต้องมาดูเรื่องความคุ้มค่าอีกครั้ง
สำหรับโครงการปรับปรุง AU-23A และ Alphajet นั้นจะดำเนินการได้ลึกและกว้างกว่าการปรับปรุง F-5TH ในสองมิติ ทั้ง Platform และ Software ซึ่งเรามีแนวคิดที่จะทำให้อากาศยานเหล่านั้นสามารถเลือกติดตั้งระบบอาวุธจากที่ใดก็ได้ตามความต้องการของเราโดยไม่มีข้อจำกัดจากผู้ผลิตต่างประเทศ และทั้งหมดจะต้องใช้งาน Link-TH ได้ ในส่วนของอากาศยานไร้นักบินนั้น เรายังสามารถพัฒนาได้ต่อทั้งในแง่ของภารกิจ ISR (Intelligence Surveillance and Reconnaissance) และในเรื่องของระบบอาวุธ ซึ่งเรามีเทคโนโลยีและความรู้พื้นฐานแล้ว จะพัฒนาไปทางไหนเราก็สามารถวิเคราะห์เองได้
ที่มา: https://www.facebook.com/groups/thaiarmedforce/permalink/2490763934501615/
------------------------------------------------------------
แนวคิดในการจัดหาและพัฒนา (Purchase and Development) จะถือเป็นแนวคิดหลักในการดำเนินงานของกองทัพอากาศต่อไป การจัดหาระบบอาวุธจะต้องตามมาด้วยการพัฒนา และรวมขีดความสามารถของทั้งหน่วยงานราชการ ภาคการศึกษา และโดยเฉพาะภาคเอกชนเข้ามามีส่วนในโครงการ
การปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-5TH และอากาศยานไร้นักบิน RTAF U-1 ถือเป็นผลผลิตแรกของแนวคิด
วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
กองทัพอากาศ กำหนดจะมีพิธีบรรจุเข้าประจำการ บ.ข. F-5 TH และ UAV แบบ U1
พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้ทำการบินกับเครื่องบินแบบ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5 TH) ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจ ของพี่น้องกองทัพอากาศ และคนไทยทุกคน ที่คนไทยมีส่วนร่วมในการออกแบบ พัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย
#เทคโนโลยีที่พึ่งพาตนเอง
#F-5TH ความภาคภูมิใจของคนไทย
#กองทัพอากาศเคียงข้างประชาชน
#MayTheAirForceBeWithYou
#เทคโนโลยีที่พึ่งพาตนเอง
#F-5TH ความภาคภูมิใจของคนไทย
#กองทัพอากาศเคียงข้างประชาชน
#MayTheAirForceBeWithYou
กองทัพอากาศไทย Royal Thai Air Force กำหนดจะมีพิธีบรรจุเข้าประจำการ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5 TH) หรือ F-5 Super Tigris ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่...โดยจะมีพิธีรับมอบเข้าประจำการ ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 นี้ พร้อมด้วย อากาศยานไร้คนขับ แบบ RTAF U1
ตามภาพจะเห็นหมวกบินติดศูนย์เล็ง DASH และจรวดอากาศสู่อากาศ IRIS-T ติดตั้งอยู่ด้วย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้มีการติดตั้ง IRIS-T กับเครื่องบินขับไล่แบบ F-5