หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

พิธีปิดการฝึกคอบร้าโกลด์ 2019

ปิดม่านการฝึกรบร่วมทางการทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของภูมิภาคอาเซี่ยนแล้วสำหรับการการฝึกคอบร้าโกลด์ ประจำปีนี้ แม้จะเป็นการฝึกในวงรอบ Light year ตามวงรอบการฝึกที่มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงของภูมิภาคอาเซี่ยน แต่การจำลองสถานการณ์การดำเนินการยุทธด้วยกระสุนจริง (CALFEX) ที่สนามใช้อาวุธบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ก็ยังเต็มไปด้วยความเข้มข้น โดยฝ่ายสหรัฐจัดกำลังร่วมระหว่างกองทัพบกและนาวิกโยธิน พร้อมด้วยระบบยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยมาฝึกร่วมกับกำลังของกองทัพบกและกองทัพอากาศไทยอย่างเต็มรูปแบบ

ไฮไลท์การฝึกในครั้งนี้คือการนำเอารถถังหลักแบบ M1A1 FEP อบรามส์ ของหน่วยนาวิกโยธิน กองพันรถถังที่ 4 ชาร์ลีคอมพานี ที่มาไกลจากฐานในรัฐไอดาโอ นับเป็นครั้งที่ 2 ของรถถังหลักแบบนี้ที่ได้กลับมาร่วมการฝึกหลังจากว่างเว้นไม่ได้มาร่วมการฝึกรายการนี้กว่า 10 ปี พร้อมกับระบบแท่นยิงจรวดอัตตาจร HIMARS M142 จรวดโจมตีระยะไกลขนาด 227 มม.ที่มาร่วมการฝึกด้วยการยิงลูกจริงเป็นครั้งแรก
ส่วนกำลังทหารราบเป็นกำลังของกรมทหารราบที่ 2 “อินเดียนเฮด” ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยรบชั้นแนวหน้าของสหรัฐที่มีความผูกพันกับกองทัพบกไทยมาตั้งแต่สงครามเกาหลี เพราะนี้คือหน่วยที่ทหารไทยได้เข้าร่วมในสังกัดขณะเดินทางไปร่วมปฏิบัติงานในสงครามเกาหลี โดยพวกเขาได้ให้กองทหารไทยได้ติดตราสัญลักษณ์ของศรีษะอินเดียนอยู่ที่หัวไหล่เช่นเดียวกันเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการรบเคียงบ่าเคียงไหล่ร่วมกันในสงครามครั้งนั้น ซึ่งตราสัญลักษณ์นี้ กำลังพลของกรมทหารราบที่ 2 ยังติดอยู่ที่หัวไหล่ของพวกเขาจนถึงทุกวันนี้


ยุทธยานยนต์ที่เป็นกำลังหลักในการดำเนินการยุทธในการฝึกครั้งนี้คือรถรบสไตร์เกอร์ ยานเกราะ 8 ล้อ ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างใหม่ของกองทัพบกสหรัฐฯ เพื่อใช้ในการลำเลียงพลในสนามรบได้อย่างคล่องตัว จากจำนวนที่ส่งเข้าร่วมการฝึกกว่า 20 คัน มีรูปแบบทีแตกต่างกันไปทั้งรุ่นลำเลียงพล, รุ่นติดปืนครก 120 มม., รถลาดตระเวนตรวจการณ์, รถบัญชาการ และรถกู้ซ่อม โดยเป็นการจัดกำลังจากกำลังยานเกราะของกรมทหารราบที่ 20 ที่มีที่ตั้งอยู่ที่รัฐวอชิงตัน

ฉากในการสาธิตในครั้งนี้เป็นการแสดงให้เห็นรูปแบบการปฏิบัติงานทางยุทธวิธียุคปัจจุบัน ที่ใช้การผสมผสานกันระหว่างเหล่าทัพโดยใช้ยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย ทำหน้าที่เป็นหัวหอกทำลายแนวป้องกันของข้าศึกอันเป็นการปฏิบัติงานร่วมกันโดยเริ่มจากการยิงสนับสนุนระยะไกลจากปืนใหญ่ 155 มม. และจรวดโจมตีแบบ HIMARS ที่เปิดตัวในการฝึกครั้งนี้เป็นครั้งแรก จากนั้นจึงเริ่มฉากการรุกภาคพื้นร่วมกัน ระหว่างรถถัง M1 และรถถังสตริงเรย์ของ ม.3พัน26 และใช้กำลังยานยนต์ล้อยางลำเลียงกำลังพลเข้าสู่พื้นที่โดยรถหุ้มเกราะ BTR และรถสไตร์เกอร์ ที่มีการคุ้มครองทางอากาศโดยเครื่องบินรบแบบ F-16 และอัลฟ่าเจ็ต ทำการสนับสนุนการโจมตีจากทางอากาศอย่างใกล้ชิด ภายใต้การส่งข้อมูลภาพแบบเรียลไทม์จากยาน UAV แอร์โร่สตาร์ของฝูงบิน 404 ส่วนภารกิจการส่งกำลังเสริมทางอากาศเป็นภารกิจของเฮลิคอปเตอร์แบบแบล็คฮอว์คของกองทัพบก และการลำเลียงส่งกลับทางการแพทย์ปฏิบัติภารกิจโดนฮ.EC-725 ของกองทัพอากาศ

แม้จำนวนกำลังพลจะไม่มีจำนวนมากเท่ากับการฝึกใน Heavy year แต่การฝึกในครั้งนี้ยังทำให้เราได้เห็นถึงพัฒนาการของเทคโนโลยีทางการทหารของสหรัฐฯ ที่โดดเด่นในด้านความแม่นยำ โดยเฉพาะการคำนวณหาเป้าหมายและใช้อาวุธระยะไกลทำลายเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ และอุปกรณ์แสดงผลการยิงที่ทำให้สามารถตรวจสอบวิถีการยิง และจำลองผลการปฏิบัติงานเข้าตีของทุกให้เห็นภาพร่วมกันได้อย่างชัดเจน

หลังจากเสร็จสิ้นพิธีปิดการฝึก พลเรือเอกฟิลิป เอส เดวิดสัน ผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด–แปซิฟิก ได้กล่าวย้ำถึงการให้ความสำคัญกับการฝึกคอบร้าโกลด์ที่จะสะท้อนถึงการเพิ่มความร่วมมือกันของเหล่าชาติในภูมิภาคในฐานะมิตรสำคัญของสหรัฐในการฝึกครั้งต่อไป และพวกเขาจะเริ่มประชุมแผนงานสำหรับรูปแบบการฝึกครั้งต่อไปทันทีในเดือนมีนาคมนี้ เพื่อให้การฝึกรายการนี้เป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม.../
ThaiArmedForce.com

รถถัง M1A1 “ABRAMS” ฝึกคอบร้าโกลด์ 19 ในไทย


วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

T-90M Main Battle Tank

คลิก! เข้าไปชมภายในรถถังหลัก T-90M
https://tvzvezda.ru/news/opk/content/201902211720-chu3.htm

การฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง Cobra Gold 19

การฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง Cobra Gold 19…วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562 พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ดอกเตอร์ ปีเตอร์ เฮย์มอนด์ อุปทูตรักษาการเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และ พลเรือเอก ฟิลิป เอส เดวิดสัน ผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด แปซิฟิก เป็นประธานร่วมในพิธีปิดการฝึกคอบร้าโกลด์ 19 ณ สนามฝึกกองทัพภาคที่ 3 อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย พร้อมทั้งชมการสาธิตการฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง (CALFEX) และชมนิทรรศการอาวุธยุทโธปกรณ์พร้อมวีดิทัศน์ประมวลภาพการฝึกคอบร้าโกลด์ 19

...การฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง ประกอบด้วย กำลังพลและยุทโธปกรณ์จากกองทัพไทย กองทัพสหรัฐอเมริกา กองทัพอินโดนีเซีย กองทัพมาเลเซีย และกองทัพสิงคโปร์ ยอดผู้เข้าร่วมการฝึกกว่า 725 นาย กิจกรรมการฝึกฯ ประกอบด้วย การโดดร่มแทรกซึมเบื้องสูง การซุ่มยิง การบินขัดขวางทางอากาศ การยิงเตรียมและการยิงสนับสนุนของปืนใหญ่ การเจาะช่องเปิดเส้นทางของทหารช่าง การเคลื่อนที่ประกอบการยิง การโจมตีทางอากาศ การสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ การส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ และการเข้ายึดที่หมาย โดยมียุทโธปกรณ์สำคัญที่เข้าร่วมการฝึกฯ ประกอบด้วย รถถัง Stingray รถยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 ปืนใหญ่ M198 เครื่องบินขับไล่ F-16 เครื่องบินโจมตี Alpha Jet เฮลิคอปเตอร์ UH-60 Black Hawk และเฮลิคอปเตอร์ AS550 จากกองทัพไทย รถถังแบบ M1A1 Abrams รถหุ้มเกราะล้อยาง Stryker จรวดหลายลำกล้อง HIMARS ปืนใหญ่ M777 เครื่องบินขับไล่ F-16 เฮลิคอปเตอร์ UH-60 Black Hawk เฮลิคอปเตอร์ HH-60 Pave Hawk และ ปืนใหญ่ M777 จากกองทัพสหรัฐอเมริกา

…ปัจจุบันการฝึกคอบร้าโกลด์ ถือเป็นการฝึกทางทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกองทัพไทย และกองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโดแปซิฟิก ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี การฝึกคอบร้าโกลด์ ที่ผ่านมา นับว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างสูง ในการพัฒนาขีดความสามารถกำลังพลของประเทศที่เข้าร่วมการฝึกฯ และเป็นศูนย์รวมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ หลักนิยม และเทคโนโลยีทางทหาร รวมทั้งเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับกำลังพลของกองทัพไทยและกองทัพมิตรประเทศในปฏิบัติการร่วม/ผสม สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการที่จะเสริมสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน เพื่อรักษาเสถียรภาพและผลประโยชน์ร่วมกันของภูมิภาคโดยรวม นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น รวมทั้งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่่ดีของประเทศไทยในสายตาของกำลังพลมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึกอีกด้วย…Cobra gold Media /Sompong Nondhasa

M1A1 ABRAMS โชว์ยิงอาวุธในไทย... เฉียบขาด!

คลิก! M 1 เข้าไปรับชมอัลบั้มภาพ รถถังหลัก M-1 Abrams ในการฝึก COBRA GOLD 2019 ภาพถ่ายโดย ตั้งโอ๋ Photo sport

ประมวลภาพการฝึก Cobra Gold 2019

ประมวลภาพการฝึก Cobra Gold 2019...ภาพยุทโธปกรณ์แบบต่างๆ ทั้งของฝ่ายไทยและสหรัฐอเมริกา ที่นำเข้าร่วมการฝึก Cobra Gold ในปีนี้...

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

Cobra Gold 19 Thailand...


ทอ.ไทย-ทอ.สหรัฐฯ ฝึกภาคการบิน Cobra gold 19

กองทัพอากาศไทย-กองทัพอากาศสหรัฐฯ ฝึกภาคการบิน Cobra gold 19… ในการฝึกคอบร้าโกลด์ 19 กองทัพอากาศไทย และ กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา จัดกำลังพล และอากาศยาน เข้าร่วมการฝึกภาคการบิน โดยวางกำลัง ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 10 - 22 กุมภาพันธ์ 2562  กองทัพอากาศไทย จัดเครื่องบินขับไล่ F-16 จำนวน 15 เครื่อง จากฝูงบิน 102, 103 และ 403 รวมทั้งเครื่องบินลำเลียง C-130 จำนวน 1 เครื่อง จากฝูงบิน 601 เข้าร่วมการฝึก ในส่วนของกองทัพอากาศสหรัฐฯ จัดเครื่องบินขับไล่ F-16 จำนวน 12 เครื่อง จาก 35th Fighter Squadron เข้าร่วมการฝึก สำหรับภารกิจการฝึกภาคการบินในครั้งนี้ เน้นการฝึกทางด้านยุทธวิธีการรบทางอากาศในภารกิจต่างๆ ได้แก่ การบินขับไล่ขั้นมูลฐาน การบินรบในอากาศ การบินสกัดกั้นที่ระยะสูงต่ำ การบินยุทธวิธีการรบในอากาศ การบินสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด การบินสนับสนุนการส่งลงทางอากาศ การบินตอบโต้ทางอากาศเชิงรุก การบินตอบโต้ทางอากาศเชิงรับ รวมถึงการบินประกอบกำลังขนาดใหญ่ ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ และปรับปรุงข้อขัดข้องในการวางแผน ควบคุม และปฏิบัติการทางอากาศผสมระหว่างกองทัพอากาศทั้งสองชาติ รวมถึงแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ยุทธวิธี และเรียนรู้เทคนิคในการปฏิบัติตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัยระหว่างกัน Photo…Cobra Gold media ในส่วนกองทัพอากาศ /ที่มา: Sompong Nondhasa

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ความคืบหน้าล่าสุดในการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่สอง "ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์"

เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ติดตั้งปืน 76/62 Super Rapid Multifeed เป็นอีกอย่างที่จะทำให้เรือลำนี้แตกต่างไปจาก เรือหลวงกระบี่ ครับ.../Navy For Life

เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ หรือ เรือหลวงตรัง (ชื่อเดิม) เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่สอง จากชุดเรือหลวงกระบี่ ซึ่ง เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ มีความแตกต่างไปจาก เรือหลวงกระบี่ อยู่หลายจุด โดยเฉพาะระบบอาวุธที่ทำการติดตั้งกับ เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ นั้น นอกจากปืนใหญ่เรือแบบ OTO Melara 76/62 Super Rapid Multifeed ที่เป็นรุ่นใหม่กว่า ก็ยังมีอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบ Harpoon เป็นต้น.../Live Firing Test ปืน 76/62 Super Rapid Multifeed ของเรือ OPV ลำที่ 2 (เรือหลวงตรัง)