หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Gripen Life @ SQDN.701 SRT. AFB

ภาพถ่ายชุด Gripen Life จากอัลบั้มของ Boonyarit Iamsa-ard ถ่ายที่ SQDN.701 SRT. AFB
SQDN.701 SRT. AFB : Here we are....Our home....Home of Shark Wing Air Force Base

RTAF GRIPEN "บรรยากาศ F/L"

ภาพถ่าย RTAF GRIPEN ชุด บรรยากาศ F/L โดย Dangerengineer Chaydan ถ่ายที่ ฝูงบิน 701 กองบิน 7
ภาพถ่ายโดย Dangerengineer Chaydan

ข้อมูลรถถังหลัก T-84 OPLOT


กล่าวทั่วไป
รถถังหลัก T-84 OPLOT ออกแบบโดยบริษัท Kharkiv Morozov Machine Building Design Bureau (KMDB) และสร้างโดย Malyshev Plant ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ (State-owned Enterprise) ของประเทศยูเครน คำว่า “OPLOT” เป็นภาษายูเครน ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Bulwark” ซึ่งหมายถึง “ป้อมปราการหรือที่มั่นสำหรับต่อสู้กับข้าศึก” เป็นรถถังยุคใหม่ที่มีความทันสมัย ถูกออกแบบให้เป็นรถถังที่มีอำนาจการยิงที่รุนแรง มีความแม่นยำสูง มีระบบป้องกันตัวเองที่เชื่อถือได้ และมีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูง สามารถปฏิบัติการในสภาพพื้นที่ที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันอย่างมาก คือตั้งแต่ -40 องศาเซลเซียส ถึง + 55 องศาเซลเซียส หรือแม้กระทั่งการปฏิบัติการในพื้นที่ ที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 3000 เมตร รถถัง OPLOT ก็ยังสามารถปฏิบัติภารกิจได้เป็นอย่างดี
รถถังหลัก T-84 OPLOT เป็นรถถังที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากตั้งแต่ รถถังหลักรุ่น T-64 ซึ่งเป็นรถถังที่ใช้ระบบบรรจุกระสุนแบบอัตโนมัติ (Autoloader) รุ่นแรกของโลก จนมาถึงรถถัง รุ่น T-80UD ก่อนจะกลายมาเป็นรถถัง T-84 OPLOT ในปัจจุบัน รถถังรุ่นนี้ มีการเปลี่ยนแปลงจากรุ่นเดิมหลายรายการ อาทิเช่น ป้อมปืนรุ่นใหม่ เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1,200 แรงม้า เกราะปฏิกิริยาแบบใหม่ กล้องเล็งแบบใหม่ ระบบต่อต้านการตรวจการณ์ด้วยสายตาที่เรียกว่า “Varta” ที่สามารถป้องกันการตรวจจับหรือการเล็งเกาะเป้าหมาย (Tracking) ด้วยแสงเลเซอร์ รวมถึงการมีระบบก่อกวนสัญญานคลื่นอินฟราเรด ซึ่งนิยมใช้ในระบบอาวุธนาวิถีต่อสู้รถถังทั่วๆไปอีกด้วย ซึ่งทำให้รถถังรุ่นนี้สามารถเพิ่มความอยู่รอดในสนามรบได้มากขึ้น
องค์ประกอบหลัก ที่สำคัญของรถถังหลักโดยทั่วไปประกอบด้วย
 อำนาจการยิง (Fire Power)
 การป้องกันตนเอง (Protection)
 ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ (Mobility)


อำนาจการยิง ของรถถัง OPLOT ได้แก่ระบบอาวุธ ประกอบด้วย อาวุธหลัก และอาวุธรอง ดังนี้
1.อาวุธหลัก : ปืนใหญ่รถถังแบบลำกล้องเรียบ ขนาด125 มม. แบบ KBA-3 (ตระกูลเดียวกับปืนใหญ่รถถัง แบบ 2A46M1 หรือ D-81 TM ของสหพันธรัฐรัสเซีย) ผลิตโดยสาธารณรัฐยูเครน ใช้การบรรจุกระสุนแบบอัตโนมัติ (Autoloader ) ความเร็วในการยิง 8 นัด/นาที สามารถทำการยิงกระสุนได้ 4 ชนิดได้แก่
 APDSFS
 HEAT
 HE-FRAG
 ATGM (Anti-Tank Guided Missiles)


2.อาวุธรอง
 ปืนกลร่วมแกน แบบ KT-7.62 (PKT) ขนาด 7.62 มม.
 ปืนกลต่อสู้อากาศยานแบบ KT-12.7 ขนาด 12.7 มม แบบควบคุมระยะไกลจากภายในตัวรถ (Remote Control)


ระบบป้องกันตนเอง
สิ่งที่ช่วยในการป้องกันการถูกโจมตีด้วยการยิงด้วยกระสุนชนิดต่างๆ จากรถถังข้าศึก ประกอบด้วย เกราะแบบหลายชั้น , เกราะปฏิกิริยาชนิดป้องกันหัวรบแบบ Tandem แบบติดตั้งจากโรงงาน (BATW-ERA) เกราะป้องกันทุ่นระเบิด ซึ่งจัดเป็นการป้องกันเชิงรับ รถถัง OPLOT ยังมีระบบป้องกันตนเองเชิงรุก ได้แก่ ระบบต่อต้านการโจมตีโดยอาวุธนำวิถีที่ใช้สายตาในการควบคุม (Optronic) ที่เรียกว่า Varta ซึ่งหมายถึงการคุ้มกัน (Guard) นั่นเอง ระบบนี้จะประกอบด้วย การแจ้งเตือนการถูกเล็งเกาะเป้าหมาย (Tracking) ด้วยแสงเลเซอร์เพื่อนำวิถีให้อาวุธต่อสู้รถถังหรือวัดระยะเพื่อทำการยิงปืนใหญ่รถถัง, การรบกวนคลื่นอินฟราเรดและการสร้างฉากควันเพื่อป้องกันตัว รถถังรุ่นนี้ยังมีระบบป้องกัน นชค., ระบบช่วยลดการมองเห็นจากข้าศึก โดยการใช้สีพรางตัวแบบพิเศษระบบป้องกันการแพร่รังสีความร้อนจากเครื่องยนต์ อีกทั้งสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพื่อกวาดทุ่นระเบิดได้อีกด้วย

    ภาพแสดงระบบป้องกันตัวเองแบบ Varta

ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่
รถถัง OPLOT มีเครื่องยนต์ที่มีกำลังเครื่องยนต์สูงและยังมีระบบช่วยการทำงานของเครื่องยนต์ อันได้แก่ ระบบจ่ายน้ำมัน ระบบป้อนอากาศ ระบบหล่อลื่น ระบบให้ความเย็น ระบบระบายแก๊สจากเครื่องยนต์ ระบบให้ความร้อนเครื่องยนต์เบื้องต้นและระบบทำความร้อนในห้องทำงานพลประจำ จุดเด่นอีกประการหนึ่งของ รถถัง OPLOT คือ การเคลื่อนที่ถอยหลังได้อย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากมีการออกแบบชุดส่งกำลัง อันประกอบไปด้วย กล่องเกียร์ เฟืองท้ายส่งกำลังถอยหลัง ทำงานร่วมกับระบบควบคุมการเคลื่อนที่แบบซับซ้อนเช่น เฟืองขับ ระบบสายพาน ระบบพยุงตัวรถ นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์พิเศษอื่นๆ อีกเช่น อุปกรณ์ลุยน้ำลึก อุปกรณ์ตรวจการณ์ด้วยสายตาและนำทางเบื้องต้น อุปกรณ์ตรวจการณ์ด้วยสายตาเวลากลางวัน อุปกรณ์ช่วยขับเวลากลางคืน อุปกรณ์ช่วยนำทางเบื้องต้น (นำทางด้วยไจโร) อุปกรณ์เป่าลมที่ช่วยทำความสะอาดอุปกรณ์ตรวจการณ์ด้วยสายตาของป้อมปืนและตัวรถ ระบบช่วยนำทางด้วยดาวเทียม ( GPS )

สำหรับการติดต่อสื่อสารของรถถัง OPLOT นั้น คาดว่าทางกองทัพบกคงใช้ชุดวิทยุที่สามารถใช้ร่วมกันกับชุดวิทยุที่มีใช้อยู่เดิมในกองทัพบกแล้ว เพื่อง่ายต่อการฝึกและสอดคล้องกับการปฏิบัติงานด้านยุทธการและการส่งกำลังบำรุง

ระบบป้อนกระสุนปืนใหญ่รถถัง
เป็นระบบที่ทำหน้าที่ป้อนกระสุนที่มีอยู่เข้าสู่ปืนใหญ่รถถังโดยอัตโนมัติ ประกอบไปด้วยสายพาน เครื่องบรรจุกระสุนอัตโนมัติและระบบควบคุม เป็นชนิด กลไกไฟฟ้าไฮดรอลิค ด้วยมุมบรรจุคงที่มีแบบของกระสุน 4 แบบ ความจุกระสุนในช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle) มีจำนวน 28 นัด การหมุนตัวของช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle) สามารถหมุนได้สองทิศทางที่ความเร็วในการหมุนประมาณ 25-33 องศาต่อวินาที อัตราเร็วในการบรรจุกระสุนต่อนัดประมาณ 7 วินาที


การคัดปลอกกระสุนเมื่อทำการยิงไปแล้ว จะถูกนำกลับไปใส่เอาไว้ในช่องว่างในถาดป้อนกระสุนโดยไม่ทำให้เกะกะในห้องปฏิบัติการของพลประจำรถ ชนิดของการป้อนกระสุนแบบสองหัวรบเรียงตามกันป้อนกระสุนและดินส่งพร้อมกันในหนึ่งรอบ ระบบขับอุปกรณ์ป้อนกระสุนสามารถทำการช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle) ด้วยมืออันประกอบไปด้วยกลไกกระสุนด้วยมือ, ล็อคช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle) ด้วยมือและล็อคปืนด้วยมือเวลาที่ใช้ในการเติมกระสุนลงช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle) (ในโหมดเติมกระสุน) 15-20 นาที

ระบบควบคุมการป้อนกระสุนติดตั้งเอาไว้ในรถถังเพื่อ ทำการควบคุมกลไกและไฮดรอลิคของระบบป้อนกระสุน ควบคุมวงรอบการยิงปืนใหญ่และปืนกลร่วมแกนเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชนิดกระสุนที่ถูกบรรจุเอาไว้ในช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle)

ระบบควบคุมการยิงของปืนใหญ่รถถัง
ได้รับการปรับปรุงให้สามารถทำงานอัตโนมัติในการควบคุมระบบอาวุธไม่ว่าจะเป็นการยิงมุมสูงมาก หรือในมุมยิงทางข้างภายใต้สภาพการณ์ต่างๆ ของการยิงนอกเหนือไปจากการยิงแบบมาตรฐาน ผู้บังคับรถสามารถทำการควบคุมปืนใหญ่รถถังและปืนกลร่วมแกนแยกจากพลยิงได้โดยตรง และยังทำให้สามารถทำการยิงปืนกลต่อสู้อากาศยานได้จากสถานีผู้บังคับรถ
 เมื่อทำการเล็งอย่างประณีตตั้งแต่ 0.05 ถึง 1 องศา/วินาที ใช้เวลามากที่สุดไม่เกิน 3 องศา/วินาที
 มุมทิศ ไม่ต่ากว่า 0.05 องศา/วินาที

เครื่องหาระยะด้วยแสงเลเซอร์
สามารถหาระยะได้ตั้งแต่ 400 – 9,000 เมตร ความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 10 เมตร ใช้เวลาเตรียมการภายใน 3 นาที

เวลาในการเตรียมการยิงสำหรับกระสุนนัดแรกของปืนใหญ่รถถัง
 เมื่อรถถังอยู่กับที่ ใช้เวลาในการเตรียมการประมาณ 10-12 วินาที
 เมื่อรถถังเคลื่อนที่ใช้เวลาในการเตรียมการประมาณ 10-15 วินาที

ระยะยิงหวังผลของปืนใหญ่รถถังในกระสุนแต่ละประเภท
 กระสุน APDSFS มีระยะยิงหวังผล 2,800 เมตร
 กระสุน HEAT มีระยะยิงหวังผล 2,600 เมตร
 กระสุน HE-FRAG มีระยะยิงหวังผล 2,600 เมตร

ระบบเครื่องควบคุมการยิง
ประกอบไปด้วย กล้องเล็งกลางวันแบบ 1G46M ของพลยิง, กล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนแบบ PTT-2 กล้องเล็งและตรวจการณ์ของผู้บังคับรถแบบ PNK -6 ศูนย์เล็งปืนกลต่อสู้อากาศยานแบบ PZU -7, ระบบควบคุมการยิงปืนกลต่อสู้อากาศยานแบบ 1ETs 29M1, คอมพิวเตอร์คำนวณ ขีปนวิธีแบบ LIO–V พร้อมด้วยเซ็นเซอร์ป้อนข้อมูล, อุปกรณ์รักษาการทรงตัวของอาวุธแบบ 2E42M และอื่นๆ


กล้องเล็งของพลปืน แบบ 1G46M
กล้องเล็งแบบกลางวันของพลยิงมีระบบการทรงตัวแบบสองแกนตามแนวสายตาทำงานร่วมกับอุปกรณ์หาระยะด้วยเลเซอร์และทำหน้าที่ในการนำวิถีจรวดต่อสู้รถถังได้อีกด้วย มีการติดตั้งอุปกรณ์คำนวณแก้การเอียงของปืนแบบอัตโนมัติ กล้องเล็งมีกำลังขยายตั้งแต่ 2.7-12 เท่า ภายในกล้องเล็งของพลยิงจะแสดงข้อมูลอื่นๆ เช่น เส้นเล็งแบบมีมาตราสำหรับใช้ยิงกระสุนชนิดต่างๆ เช่นเดียวกับข้อมูลสำหรับปืนกลร่วมแกน โดยเส้นเล็งแบบมาตรานี้มีประโยชน์ในการใช้เป็นระบบวัดระยะสำรองในกรณีที่เครื่องหาระยะด้วยแสงเลเซอร์ใช้งานไม่ได้ และเพื่อป้องกันกล้องเล็งจากแสงวาบจากประกายไฟจากการยิงของอาวุธของตัวเองในช่องเล็งได้มีการติดตั้งเซ็นเซอร์แสง ซึ่งจะปิดกล้องเล็งเมื่อมีการยิง ระบบควบคุมกล้องเล็งช่วยให้พลยิงสามารถเล็งตามเป้าได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ อุปกรณ์หาระยะด้วยเลเซอร์มีระยะปฏิบัติการถึง 9,990 เมตร คลาดเคลื่อนเพียง +/- 10 เมตร ระยะที่วัดได้จะแสดงเป็นตัวเลขพร้อมๆ กับข้อมูลการเตรียมการยิงอื่นๆ เช่น ชนิดของกระสุนที่ส่วนล่างของกล้องพลยิง


กล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนแบบ PTT-2
กล้องเล็งแบบสร้างภาพด้วยความร้อน PTT-2 ประกอบไปด้วยกล้องเล็งของพลยิง และจอมอนิเตอร์ของผู้บังคับรถรวมทั้งแผงควบคุม โดยปกติกล้องนี้จะถูกควบคุมการทำงานโดยพลยิง แต่ผู้บังคับรถสามารถควบคุมแยกจากพลยิงได้ไม่ว่าจะเป็นการเล็ง หรือทำการยิงทั้งปืนใหญ่รถถัง หรือปืนกลร่วมแกนโดยใช้ระบบควบคุม และจอมอนิเตอร์สร้างภาพด้วยความร้อนของตน กล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนนี้ช่วยให้ทั้งพลยิงและผู้บังคับรถสามารถทำการยิงได้อย่างแม่นยำในสภาพทัศนะวิสัยจำกัด เช่น มีหมอกควัน หรือการปฏิบัติในเวลากลางคืน รวมทั้งปฏิบัติงานในลักษณะ Hunter killer ได้


กล้องตรวจการณ์ของผู้บังคับรถแบบ PNK -6
เป็นระบบกล้องเล็งและตรวจการณ์ของ ผบ.รถ โดยผสมผสานกล้องกลางวันและกล้องกลางคืนแบบ TKN -5 ไว้ด้วยกัน มีระบบรักษาการทรงตัวของกล้อง โดยกล้องกลางวันมีกำลังขยาย 7.6 เท่า และกล้องกลางคืนมีกำลังขยาย 5.8 เท่า โดยกล้องนี้จะทำงานร่วมกันกับเครื่องวัดระยะด้วยแสงเลเซอร์


ระบบอาวุธนำวิถีของรถถัง
มีไว้เพื่อใช้ทำการยิงอาวุธนำวิถีจากลำกล้องปืนใหญ่รถถัง ด้วยการเล็งจากกล้องเล็งแบบ 1G46M ของพลยิง อาวุธนำวิถีที่ใช้ยิงเป็นแบบ IZD 621, 3UBK 14, 3UBK 20 ชนิดหัวรบแบบระเบิดต่อสู้รถถัง (HEAT ระบบนำวิถีเป็นกึ่งอัตโนมัตินำวิถีด้วยแสงเลเซอร์ ระยะยิงไกลสุด 5,000 เมตร ซึ่งเป็นระยะยิงที่ไกลกว่าระยะของปืนใหญ่รถถัง ทำให้รถถัง OPLOT ได้เปรียบรถถังอื่นๆ