หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2562

เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ เข้าประจำการ กองทัพเรือไทย

***เกียรติภูมิแห่ง กองทัพเรือไทย น้อมนำศาสตร์พระราชา การพึ่งพาตนเอง ต่อเรือรบหลวงประจวบคีรีขันธ์ สำเร็จด้วยฝีมือคนไทย สนองภารกิจในการรักษาอธิปไตย และผลประโยชน์ของชาติในทะเล
***เมื่อวันที่ 27 ก.ย.62 พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีรับมอบ เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ หมายเลข 552 พร้อมส่งมอบให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ กองเรือยุทธการ โดยมี พลเรือเอก นพดล สุภากร ผู้บัญชาการ กองเรือยุทธการ และพลเรือตรี สมพงษ์ นาคทอง ผู้บัญชาการ กองเรือตรวจอ่าว เป็นผู้รับมอบ ท่ามกลางผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพเรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นเกียรติในพิธีต้อนรับ และเป็นสักขีพยาน ณ ท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

***นับเป็นเกียรติภูมิอันใหญ่หลวงของ กองทัพเรือไทย ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปทรงวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 ที่ต่อโดยคนไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.60 ต่อมาในปี 2562 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานชื่อเรือลำนี้ว่า เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ มาประกอบพิธีปล่อยเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 2 ส.ค.2 เวลา 10.00 น. ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

**โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติฯ ชื่อ เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ หมายเลข 552 เป็นโครงการที่กองทัพเรือ ดำเนินการต่อขึ้นเพื่อน้อมนำศาสตร์ของพระราชา ยึดถือการพึ่งพาตนเอง ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตามพระกระแสพระราชดำรัสที่ทรงรับสั่งแก่ ผู้บังคับหมู่เรือรักษาการณ์ วังไกลกังวล และผู้เข้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ ณ วังไกลกังวล เกี่ยวกับการใช้เรือของกองทัพเรือ เมื่อวันที่ 15 เม.ย.45 ที่ว่า “กองทัพเรือ จึงควรใช้เรือที่มีขนาดเหมาะสมและสร้างได้เอง ซึ่งเมื่อสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ได้แล้ว ควรขยายแบบเรือให้ใหญ่ขึ้น และสร้างเพิ่มเติม”

***กองทัพเรือ จึงได้แต่งตั้งคณะทำงาน ศึกษาแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ที่มีใช้ในราชการ เพื่อพัฒนาด้านกำลังรบ ตามยุทธศาสตร์ของกองทัพเรือ ในการเพิ่มขีดความสามารถ สนองภารกิจ ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล รักษากฎหมายในทะเล การปฏิบัติการรบผิวน้ำ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล โดยมีมติให้ใช้แบบเรือของเรือหลวงกระบี่ ที่กองทัพเรือต่อขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนม์พรรษา 84 พรรษา เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.54 พร้อมให้มีการพัฒนาคุณลักษณะ ให้สามารถสนองภารกิจของกองทัพเรือ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

***เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ มีระยะดำเนินโครงการ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 – 2561 ดำเนินการสร้างเรือ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช จึงกล่าวได้ว่า กองทัพเรือ ได้ใช้ศักยภาพและความรู้ความสามารถของกำลังพล ในการดำเนินการติดตั้ง ทดสอบ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ ตามแนวทางการพึ่งพาตนเอง โดยภายหลังเสร็จสิ้น จะเข้าประจำการที่ กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ โดยมี นาวาโท วีรุตม์ ฉายะจินดา เป็นผู้บังคับการเรือ พร้อมกำลังพลประจำเรือ 99 นาย

***คุณลักษณะทั่วไป เรือมีความยาวตลอดลำ 90.50 เมตร กว้าง 13.50 เมตร ระวางขับน้ำไม่น้อยกว่า 1,960 ตัน ความเร็วสูงสุดไม่ต่ำกว่า 23 นอต ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 3,500 ไมล์ทะเล สามารถปฏิบัติการในทะเลต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 14 วัน มีอาวุธประจำเรือ ปืนขนาด 76/62 มม. แบบ Automatic ปืนกลกลาง 30 มม. แท่นเดี่ยว ปืนกลกลาง 0.50 นิ้ว M2 จำนวน 2 กระบอก อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น harpoon Block ll จำนวน 2 แท่น ๆ ละ 4 ท่อยิง เครื่องยิงเป้าลวง 2 แท่น

***ณัฐภูมินทร์ – พัชรพล ปานรักษ์ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 064-9893235 /ป๊อปพิฆาตชายฝั่ง

OPV ลำใหม่ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ทันสมัยอย่างไร...?


ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ต่อในประเทศโดยคนไทย 100% ราคา 5,500 ล้านบาท มีข้อมูลอะไรบ้าง…
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ มีระวางขับน้ำ 1,960 ตัน ความยาวตลอดลำ 90.50 เมตร ความยาวที่แนวน้ำ 83.0 เมตร ความกว้าง 13.50 เมตร กินน้ำลึก 3.70 เมตร ความเร็วสูงสุด 23 นอต ระยะปฏิบัติการ 3,500 ไมล์ทะเล อาวุธประจำเรือ : ปืนขนาด 76/62 รุ่น Multi Fleeding Valcano Super Rapid หัวเรือ 1 กระบอก อัตราการยิง 120 นัดต่อนาที ระยะยิงไกลสุด 15.9 กม. ถ้าใช้กระสุน VALCANO ระยะยิงไกลสุด 40 กม. ปืน 30 มม. แท่นเดี่ยว รุ่น Seahawk MSI DS30MR 2 แท่น ระยะยิงไกลสุด 8,800 เมตร อัตราการยิง 200 นัดต่อนาที ปืนกลขนาด 0.50 นิ้ว M2 2 กระบอก อาวุธนำวิถีพื้น-สู่-พื้น Harpoon Block II แบบ Advanced Harpoon Weapon Control System 2 แท่นๆ ละ 4 ท่อยิง ระยะยิงไกล 124 กม. เรดาร์ตรวจการณ์ระยะไกล 2 มิติ VARINT ระยะตรวจการณ์เป้าอากาศ 120 กม. ติดตามเป้าได้ 200 เป้า ระยะตรวจการณ์เป้าพื้นสู่พื้น 70 กม. ติดตามเป้าได้ 200 เป้า เรดาร์ควบคุมการยิง STIR 1.2 EO MKII ระยะตรวจจับ I-band 120 กม. K-band 36 กม. กล้องตรวจการณ์ระยะไกล WESCAM MX10-MS เป็นระบบพิสูจน์เป้าหมายต่างๆ ระบบเรดาร์ VIGILE 100S MK2 สามารถดักรับการแพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านความถี่เรดาร์ 2-18 GHz ระบบเครื่องยิงเป้าลวง C Guard DL-12T 12 ท่อยิง สำหรับการป้องกันตัวเองจากการจู่โจมด้วยอาวุธนำวิถี ระบบสงครามอิเล็กทรอนิคส์ ESM ทำงานร่วมกับเป้าลวงได้ ระบบอำนวยการรบแบบ TACTICOS ระบบเดินเรือแบบรวมการ และระบบสื่อสารแบบรวมการ นอกจากนี้ดาดฟ้าอากาศยานท้ายเรือได้มีการขยายให้ใหญ่ขึ้น พร้อมทั้งการเสริมความแข็งแกร่งของพื้นดาดฟ้า ให้สามารถรองรับการขึ้น-ลงของเฮลิคอปเตอร์ขนาด 11.5 ตัน เช่น SH-70B Seahawk ได้

ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ สามารถออกปฏิบัติการในทะเลต่อเนื่องได้ 14 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุงเพิ่มเติม ทนทะเลได้ในระดับ Sea State 5 สามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันและกลางคืน

ราคาเฉพาะเรือ 2,850 ล้านบาท ระบบอาวุธและระบบการรบอื่นๆ 2,650 ล้านบาท รวมราคาทั้งหมด 5,500 ล้านบาท

ปัจจุบัน กองทัพเรือไทย มีเรือ OPV อยู่แล้วอีก 3 ลำคือ ร.ล.ปัตตานี ร.ล.นราธิวาส และ ร.ล.กระบี

จัดทำโดย Battlefield Defense ; https://www.facebook.com/Battlefield-...

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2562

Royal Thai Armed Forces 2019


ประมวลภาพยุทโธปกรณ์หลักที่มีประจำการอยู่ในกองทัพไทย ณ ปัจจุบัน จากทั้ง 3 เหล่าทัพ ซึ่งประกอบด้วย กองทัพบก กองทัพเรือ และ กองทัพอากาศ...
------------------------------------------------
กองทัพบก

การจ้างปรับปรุงโครงสร้างอากาศยาน และระบบ Avionics รวมทั้งระบบอาวุธของ บ.จ.7 จำนวน 14 เครื่อง

กองทัพอากาศ ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างปรับปรุงโครงสร้างอากาศยานและระบบ Avionics รวมทั้งระบบอาวุธของ บ.จ.7 (Alpha Jet) จำนวน 14 เครื่อง พร้อมอะไหล่ขั้นต้นอุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็น การฝึกอบรม นักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิคที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีเฉพาะเจาะจง

ตามที่ กองทัพอากาศได้มีโครงการ จ้างปรับปรุงโครงสร้างอากาศยานและระบบ Avionics รวมทั้งระบบอาวุธของ บ.จ.7 (Alpha Jet) จำนวน 14 เครื่อง พร้อมอะไหล่ขั้นต้นอุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็น การฝึกอบรม นักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิคที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีเฉพาะเจาะจง นั้น...ผู้ได้รับการคัดเลือกได้แก่ บริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด โดยเสนอราคารวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,388 ล้านบาท...ประกาศ ณ วันที่ 26 กันยายน 2562
มาติดตามกันต่อไปว่าโครงการจ้างปรับปรุง เครื่องบินขับไล่/โจมตี แบบ บ.จ.7 (Alpha Jet) จำนวน 14 เครื่อง ของ ฝูงบิน 231 ที่ได้รับการอัพเกรดความทันสมัยแล้ว จะเป็นอย่างไร...
------------------------------------------------------------
เครื่องบินขับไล่/โจมตี แบบ บ.จ.7 (Alpha Jet)

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2562

รายงานการรับมอบเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ OPV 552

สานต่อปณิธานแห่งการพึ่งพาตนเอง เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ เรือรบต่อในประเทศไทยลำล่าสุด

นับแต่การดำเนินโครงการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (OPV) อันเป็นการนำแผนแบบของเรือตรวจการณ์ของต่างประเทศมาปรับแบบให้เหมาะสมกับความต้องการตามภารกิจของกองทัพเรือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเรือภายในประเทศจนได้เรือหลวงกระบี่ (551) เข้าประจำการ จากนั้นจึงมีดำเนินการโครงการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 อันเป็นการพัฒนาปรับรูปแบบให้ทันสมัยและติดอาวุธปล่อยนำวิถีเพื่อเพิ่มอำนาจการยิง เสริมทดแทนเรือรบรุ่นเก่าของกองทัพเรือที่ทยอยปลดประจำการหลังจากถูกใช้งานมาอย่างยาวนาน

วันที่ 27 กันยายน 2562 พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือได้เป็นประธานในพิธีรับมอบเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ณ ท่าเรือแหลมเทียน พร้อมทั้งกล่าวโอวาทให้แก่กำลังประจำเรืออันเป็นเสมือนการแสดงความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการภายใต้กรอบดำเนินโครงการเป็นเวลา 4 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึง 2561 โดยดำเนินการสร้างเรือที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช แม้จะมีการปรับปรุงรูปแบบของเรือทั้งการปรับรูปแบบของดาดฟ้าท้ายเรือเพื่อให้สามารถรองรับการปฏิบัติงานของเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่อย่างซีฮอว์ค และจัดสร้างพื้นที่ติดตั้งแท่นยิงอาวุธปล่อยแบบฮาร์พูน บล็อค 2 จำนวน 2 แท่น ที่สามารถติดตั้งท่อยิงได้เต็มอัตรา 8 ท่อยิง แต่โครงการก็ดำเนินการไปได้ตามเป้าหมายผ่านการทดสอบตามมาตรฐานของกองทัพเรือได้ตามกำหนดเวลา

เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ได้รับหมายเลขเข้าประจำการคือ 552 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานนามเรือจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นับเป็นเรือหลวงลำแรกที่ดำเนินการสร้างในประเทศที่ได้เข้าประจำการในรัชกาลปัจจุบัน มีระวางขับน้ำ 1,960 ตัน มีความยาวลำเรือ 90.50 เมตร ทำความเร็วสูงสุดได้ 23 น็อต ติดตั้งปืนหลัก ขนาด76/62 มม.วัลคาโน่ ซุปเปอร์ราปิด แท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน แท่นปืนกลขนาด 30 มม. แท่นเดี่ยว ซีฮอว์ค MSI-DS30MR จำนวน 2 แท่น ปืนกล M2 ขนาด .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก แท่นยิงเป้าลวงของเทอร์ม่า DL-12T 12ท่อยิง นอกเหนือไปจากนี้้ยังมีการติดตั้งระบบสร้างคลื่นความถี่สูงเพื่อการป้องปรามการละเมิดกฎหมายทางทะเลโดยไม่จำเป็นต้องใช้อาวุธ LRAD 1000Xi ที่กราบเรือทั้ง 2 ข้าง

ผู้บังคับการเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์คนแรกคือ นาวาโท วีรุตม์ ฉายะจินดา พร้อมลูกเรือจำนวน 99 นายได้ทำการสาบานธงและรับมอบเรือเพื่อปฏิบัติงานเป็นชุดแรก จากผู้บัญชาการทหารเรือ เพื่อดำเนินการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การรักษากฎหมายในทะเล และการปฏิบัติการรบผิวน้ำอย่างเต็มประสิทธิภาพต่อไป /ThaiArmedForce.com

กองทัพเรือจัดพิธีรับมอบเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์

วันนี้ (27 กันยายน 2562) เวลา 09.00 น. พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีรับมอบเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ณ ท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี พลเรือเอก นพดล สุภากร ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ พลเรือตรี สมพงษ์ นาคทอง ผู้บัญชาการกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ กำลังพลประจำเรือ และแขกผู้มีเกียรติให้การต้อนรับ
กองทัพเรือได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปทรงวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดชกรมอู่ทหารเรือ กรมอู่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2560 ต่อมาในปี 2562 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานชื่อเรือลำนี้ว่า เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ และทรงพระกรุณาโปรดกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ มาประกอบพิธีปล่อยเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2562 เวลา 10.00 น. ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เป็นโครงการที่กองทัพเรือขออนุมัติกระทรวงกลาโหมดำเนินการต่อขึ้นจากแบบเรือที่กองทัพเรือมีใช้ราชการ ด้วยการน้อมนำและยึดถือการพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตามกระแสพระราชดำรัสที่ทรงรับสั่งแก่ผู้บังคับหมู่เรือรักษาการณ์วังไกลกังวล และผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ ณ วังไกลกังวล เกี่ยวกับการใช้เรือของกองทัพเรือ เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2545 ที่ว่า “กองทัพเรือจึงควรใช้เรือที่มีขนาดเหมาะสมและสร้างได้เอง ซึ่งเมื่อสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ได้แล้ว ควรขยายแบบเรือให้ใหญ่ขึ้นและสร้างเพิ่มเติม” ซึ่งกองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่กองทัพเรือมีใช้ในราชการ โดยมีมติให้ใช้แบบเรือของเรือหลวงกระบี่ ที่กองทัพเรือได้ต่อขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมพรรษา 84 พรรษา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554 เป็นแบบพื้นฐานในการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่พร้อมกับเสนอแนะให้ปรับปรุงข้อบกพร่องในส่วนต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี และเรือหลวงกระบี่ เพื่อให้เรือลำใหม่มีคุณลักษณะที่เหมาะสมมากขึ้นในการตอบสนองภารกิจของกองทัพเรือ โดยกองทัพเรืออนุมัติให้โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เป็นโครงการเพื่อเฉลิมพระเกียรติ
ทั้งนี้ โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติฯ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากำลังรบตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพเรือในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การรักษากฎหมายในทะเล และการปฏิบัติการรบผิวน้ำ รวมทั้งการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล และสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรืออื่นๆ เพื่อให้เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 นี้ปฏิบัติการตามภารกิจหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย สอดคล้องกับพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระราชทานในพิธีวางกระดูกงูเรือ ต.91 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2510 ณ กรมอู่ทหารเรือที่ว่า “การป้องกันประเทศทางทะเลเป็นหน้าที่โดยตรงและสำคัญที่สุดของกองทัพเรือ หน้าที่นี้เป็นภาระหนักที่ต้องอาศัยทหารซึ่งมีความรู้ความสามารถและเรือรบจะมีคุณภาพดี ประกอบพร้อมกันไป บรรดาเรือรบที่ใช้ในราชการเป็นเรือที่สั่งทำจากต่างประเทศ การที่ทางราชการกองทัพเรือสามารถเริ่มต่อเรือยนต์รักษาฝั่งขึ้นใช้ในราชการได้เช่นนี้ จึงควรจะเป็นที่น่ายินดี และน่าสนับสนุนอย่างยิ่ง นับว่าเป็นความเจริญก้าวหน้าสำคัญก้าวหนึ่งของกองทัพเรือ”
สำหรับการดำเนินโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติฯ มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 - 2561 แบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการจัดหาเฉพาะระบบตัวเรือ จำนวน 1 ลำ ประกอบด้วยแบบและพัสดุในการสร้างเรือ พร้อมระบบสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงรวมและการบริการทางด้านเทคนิค ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 – 2561 ระยะที่ 2 การจัดหาระบบควบคุมบังคับบัญชาและตรวจการณ์ และระบบอาวุธ ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ.2559 – 2561 ดำเนินการสร้างเรือ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช โดยการดำเนินงานทั้ง 2 ระยะ ได้ดำเนินการตามแผนเสร็จสิ้นแล้ว จึงกล่าวได้ว่า กองทัพเรือได้ใช้ศักยภาพ และความรู้ความสามารถของกำลังพลกองทัพเรือ ในการดำเนินการติดตั้ง ทดสอบ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ แม้ว่าจะใช้แบบเรือของต่างประเทศ แต่ถือเป็นการสร้างเรือขนาดใหญ่ด้วยการพึ่งพาตนเอง โดยอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช นับได้ว่าเป็นอู่ซ่อมเรือที่มีขนาดใหญ่มากแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถให้บริการซ่อมบำรุงเรือทุกขนาดที่กองทัพเรือมีประจำการ ภายหลังจากเสร็จสิ้นพิธีรับมอบเรือแล้ว เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ จะเข้าประจำการที่ กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ โดยมี นาวาโท วีรุตม์ ฉายะจินดา เป็นผู้บังคับการเรือ พร้อมด้วยกำลังพลประจำเรือ จำนวน 99 นาย โดยการสร้างเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากำลังรบตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพเรือในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การรักษากฎหมายในทะเล และการปฏิบัติการรบผิวน้ำ รวมทั้งการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล และสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรืออื่นๆ
โอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ให้โอวาทแก่กำลังพลประจำเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ความว่า "กองทัพเรือได้รับเรืออีกลำหนึ่งที่ต่อโดยคนไทย 100% เป็นการเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ได้ทรงวางรากฐานตั้งแต่ เรือ ต.91 มาสู่เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่มีระวางขับน้ำกว่า 2000 ตัน ในปัจจุบันซึ่งมีความใกล้เคียงกับเรือฟริเกต เรือในกองทัพเรือมีเรือหลายประเภทหลายลำ แต่เรือเป็นเพียงเครื่องมือประการหนึ่งแต่คนต่างหากที่สำคัญกว่า ความสอดคล้องระหว่างเครื่องมือกับคน แต่คนต้องเก่งก่อนต้องมีความรู้ความสามารถจึงจะใช้อย่างมีคุณภาพ วันนี้วันเริ่มต้นของการใช้เรือเริ่มจากศูนย์ เกียรติยศไม่ได้มีมาแต่ชาติกำเนิดแต่เกิดจากการกระทำ จะได้เกียรติหรือไม่ควรจะช่วยกันคนละไม้คนละมือ ลงความคิดความรู้ก็ทำให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป"

กองประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ

/ยุทธเศรษฐ วังกานนท์

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562

สหรัฐฯ อนุมัติการขายเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-6i ให้กับกองทัพบกไทย

สหรัฐฯ อนุมัติการขายเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-6i ให้กับกองทัพบกไทย

สำนักงานเพื่อความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศและความมั่นคงหรือ Defense Security Cooperation Agency (DSCA) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ได้แจ้งต่อสภาคองเกรสว่ารัฐบาลสหรัฐได้อนุมัติการขายเฮลิคอปเตอร์โจมตีและลาดตระเวนเบาแบบ AH-6i จำนวน 8 ลำ พร้อมอาวุธ อะไหล่ และ การสนับสนุนอื่นๆ ให้กับกองทัพบกไทย ในมูลค่าโครงการราว 400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1.2 หมื่นล้านบาท

โดยการขายประกอบไปด้วย เฮลิคอปเตอร์โจมตีและลาดตระเวนเบาแบบ AH-6i จำนวน 8 ลำ จรวดนำวิถีโจมตีภาคพื้นดิน AGM-114R Hellfire จำนวน 50 นัด จรวดนำวิถีขนาด 2.75 นิ้ว แบบ Advance Precision Kill Weapon System (APKWS) จำนวน 200 นัด จรวดไม่นำวิถีขนาด 2.75 นิ้วแบบ Hydra 70 จำนวน 500 นัด ปืนกลหกลำกล้องยิงกระสุนขนาด 7.62 แบบ M134 Minigun จำนวน 10 กระบอก แท่นยิงจรวด M260 10 ชุด แท่นยิงจรวด Hellfire แบบ M299 จำนวน 10 ชุด ปืนกลขนาด .50 นิ้ว แบบ GAU-19/B จำนวน 4 กระบอก
สำหรับระบบ Avionic ของอากาศยาน ประกอบไปด้วยเรดาร์วัดความสูงแบบ AN/APN-209 จำนวน 10 ชุด ระบบแจ้งเตือนเรดาร์แบบ AN/APR-39(V)(4) จำนวน 8 ชุด แว่นมองกลางคืนแบบ AN/AVS-6 จำนวน 20 ชุด กล้องตรวจการณ์ของ L3 WESCAM แบบ MX-10Di จำนวน 8 ชุด ระบบพิสูจน์ฝ่าย AN/APX-123 จำนวน 10 ชุด ระบบวิทยุ Harris AN/ARC-201E-VHF-FM จำนวน 10 ชุด ระบบวิทยุภาคอากาศ Raytheon AN/ARC-231 Skyfire จำนวน 10 ชุด ระบบนำร่อง INS/GPS แบบ LN-251 จำนวน 10 ชุด และระบบช่วยฝึกต่างๆ
โดย DSCA กล่าวว่า การขายนี้จะช่วยสนับสนุนยุทธศาสตร์​ความมั่นคงของสหรัฐ ในฐานะที่่ไทยเป็นพันธมิตร​ทางยุทธศาสตร์​ในเอเชียแปซิฟิก AH-6i จะถูกนำไปทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบ AH-1F Cobra จำนวน 7 ลำ ที่จะปลดประจำการในระยะเวลาอันใกล้นี้ และจะทำให้กองทัพบกไทยมีขีดความสามารถในการโจมตีเบาเพื่อการป้องกันประเทศและขัดขวางภัยคุกคามในภูมิภาค และในฐานะส่วนหนึ่งการปรับปรุงและพัฒนากองทัพในภาพรวม เฮลิคอปเตอร์โจมตีเบา AH-6i จะปฏิบัติภารกิจการสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดให้กับหน่วยรบพิเศษ ทหารราบที่ปฏิบัติงานกับยานเกราะ Stryker และหน่วยลาดตระเวนชายแดน
AH-6i พัฒนามาจาก AH-6 Little Bird รุ่นโจมตีและ MH-6 Little Bird รุ่นปฏิบัติการพิเศษที่ใช้งานในกองทัพบกสหรัฐ มีบทบาทในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยรบพิเศษของสหรัฐ และคุ้นตากันดีในฐานะเฮลิคอปเตอร์ที่มีส่วนในการปฏิบัติภารกิจในโซมาเลีย ที่นำเสนอในภาพยนต์เรื่อง Black Hawk Down โดย A/MH-6M มีใช้งานในกองทัพบกสหรัฐ กองทัพบกมาเลเซีย กองทัพบกเกาหลีใต้ ส่วน AH-6i และ AH-6S รุ่นที่พัฒนาขีดความสามารถนั้น มีใช้งานในกองทัพอากาศจอร์แดน และหน่วยป้องกันประเทศของซาอุดิอารเบีย และล่าสุดคือกองทัพบกไทย/ThaiArmedForce.com

https://www.dsca.mil/sites/default/files/mas/thailand_19-62.pdf
https://www.facebook.com/thaiarmedforce/photos/pcb.10157784880909612/10157784948099612/?type=3&theater