หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560

แนะนำเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร

ก่อนหน้านี้ทาง Thaidefense-news ได้เคยนำรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับ เรือฟริเกตชุุดเรือหลวงนเรศวร มาโพสต์ก็หลายครั้ง และครั้งนี้ขอนำกลับมานำเสนออีกครั้งครับ หลังจากที่เรือได้ผ่านการปรับปรุงระบบต่างๆ ให้มีความทันสมัยขึ้น เพื่อพร้อมรับภัยคุกคามต่างๆ ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร อันประกอบด้วย เรือหลวงนเรศวร (421) และ เรือหลวงตากสิน (422) จัดได้ว่าเป็นเรือฟริเกตที่มีความทันสมัย และมีขีดความสามารถมากที่สุดในกองทัพเรือไทย ณ ขณะนี้..ซึ่งที่ผ่านมา ภายหลังจากที่เรือได้รับการปรับปรุงระบบแล้ว เรือทั้ง 2 ลำ ได้ปฏิบัติภารกิจต่างๆ มากมาย โดยการปฏิบัติภารกิจและการใช้งานเรือเป็นไปด้วยดี..
เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร (ร.ล.นเรศวร : 421 และ ร.ล.ตากสิน : 422) เรือทั้งสองลำ สังกัดกองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ นับว่าเป็นเรือฟริเกตที่ทันสมัยที่สุดของกองทัพเรือไทย ณ ขณะนี้ ภายหลังได้รับการปรับปรุงแล้ว ซึ่งทำให้เรือฟริเกตชุดนเรศวร 2 ลำนี้สามารถทำการรบได้ทั้ง 3 มิติสมบูรณ์แบบ..
คุณลักษณะและสมรรถนะของเรือ:
ขนาด (ระวางขับน้ำ) สูงสุด: 2,985 ตัน
ความยาว: 120.5 ม.
ความกว้าง: 13.7 ม.
กินน้ำลึกหัวเรือ: 3.4 ม. ,ท้ายเรือ: 3.9 เมตร
กินน้ำลึกสูงสุด: 6 ม.
เครื่องยนต์: 2 × เจเนอรัลอีเลคทริค LM2500+ แก็สเทอร์ไบน์ และ 2 × เครื่องยนต์ดีเซล เอ็มทียู 20V1163 TB83
ใบจักร: 2 × ใบจักรแบบปรับมุมได้
ความเร็วสูงสุดมากกว่า: 32 นอต (59 กม./ชม.)
ระยะปฏิบัติการ: 4,000 ไมล์ทะเล (7,408 กิโลเมตร) ที่ 18 นอต
ระบบตรวจการณ์และปฏิบัติการ
1 x ระบบอำนวยการรบ แบบ Saab 9LV Mk.4 , 1 x เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ แบบ Saab Sea Giraffe AMB 3D , 1 x EOS 500 , 2 x เรดาร์และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง แบบ Saab CEROS 200 with CWI , 1 x เรดาร์ค้นหาระยะไกล Thales LW08 , ระบบพิสูจน์ฝ่าย แบบ Selex SIT422 interogator และ Selex M425 transponder , 1 x ระบบรวมการสื่อสาร แบบ Saab TactiCall ICS , 1 x ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี แบบ Saab Link-E/G (TIDLS) , 1 x ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี แบบ AviaSatcom Link-RTN , 1 x ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี แบบ Link-11 (TADIL-A) , 1 x ระบบแสดงตนอัตโนมัติสำหรับเรือ (AIS) , 1 x ระบบอุตุนิยมวิทยา , 1 x ศูนย์เล็งกำหนดเป้าหมาย แบบ Saab Bridge Pointers TDS , 1 x ระบบ radar ESM แบบ ITT ES-3601 (AN/SLQ-4) , 1 x ระบบ communication ESM , 1 x ระบบนำร่องด้วยแรงเฉื่อย แบบ Raytheon Anschutz MINS 2 (ring laser gyro) , ระบบวิทยุสื่อสาร และ ระบบ CCTV

โซนาร์หัวเรือ  Atlas AN-SQS24CX

สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง
2 x แท่นยิงเป้าลวง แบบ Terma DL-12T แท่นละ 12 ท่อยิง
4 x แท่นยิงเป้าลวง แบบ Terma Mk.137 แท่นละ 6 ท่อยิง

ระบบอาวุธของเรือ:
1 x ปืนใหญ่หัวเรือ 5 นิ้ว/54 (127 มม.) มาร์ค-45 มอด 2
2 x ปืนใหญ่กล MSI-DSL/ATK DS-30MR/Mk.44 ขนาด 30 มม. แท่นเดี่ยว
4 x ปืนกล .50 นิ้ว
8 x ท่อยิง Mk.41 VLS สำหรับ 32 x RIM-162 ESSM
8 x RGM-84 Harpoon
2 x ตอร์ปิโดแฝดสาม 324 มม. มาร์ค-32 มอด.5

อากาศยาน: 1 x เวสต์แลนด์ลิงซ์
เรือหลวงนเรศวร & เรือหลวงตากสิน
เรือหลวงนเรศวร..
เรือหลวงตากสิน..


วันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ภาพชุด CARAT2017 การปฏิบัติการรบผิวน้ำ การฝึกผสมกองทัพเรือไทย - กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา

ภาพชุด CARAT2017 การปฏิบัติการรบผิวน้ำ การฝึกผสมกองทัพเรือไทย กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ในห้วงของการฝึกระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม – 6 มิถุนายน 2560 นำภาพชุดดังกล่าวกลับมาให้ได้รับชมอีกครั้งครับ..

CARAT2017 เป็นการฝึกผสมพหุภาคีของกองทัพเรือไทยและชาติต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเหล่าทัพมิตรประเทศ ตลอดจนการปฏิบัติการทางทหารร่วมกันอย่างดียิ่ง ๆ ขึ้น การฝึกนี้มีคุณค่าอย่างยิ่งในการพัฒนาองค์ความรู้อย่างเป็นรูปธรรม เพิ่มศักยภาพและประสบการณ์ของกำลังพล
โดยในปีนี้เป็นการฝึกครั้งที่ 23 ทำการฝึกระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม– 6 มิถุนายน 2560 ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน และ จังหวัดชลบุรี
สำหรับการฝึกในห้วง 2 -5 มิถุนายน 2560 เป็นการฝึกในสาขาการปฏิบัติการต่างๆ อันได้แก่ การปฏิบัติการรบผิวน้ำ การป้องกันภัยทางอากาศ การปราบเรือดำน้ำ การปฏิบัติการเกี่ยวกับทุ่นระเบิด การปฏิบัติการตามลำน้ำ และการปฏิบัติการต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีตลอดจนการปฏิบัติงานร่วมกัน โดยมีกำลังที่เข้าร่วมการฝึกประกอบด้วย
ฝ่ายไทย มีเรือหลวงนเรศวร เรือหลวงสุโขทัย เรือหลวงอ่างทอง เรือหลวงราชฤทธิ์ เรือหลวงเทพา เรือหลวงลาดหญ้า และเรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำติ้น เรือปฏิบัติการพิเศษความเร็วสูง 2 ลำ ชุดปฏิบัติการพิเศษ จากหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ เครื่องบินตรวจการณ์ผิวน้ำ 1 ลำ (F-27 MK 200) เครื่องบินตรวจการณ์ 1 ลำ (DO-228) เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง 1 ลำ (Bell 212) เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ 1 ลำ (S-70B) เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง 1 ลำ (S–76B) กำลังรบยกพลขึ้นบก พร้อมรถสะเทินน้ำสะเทินบก 8 คัน (8 AAV) ชุดแพทย์เคลื่อนที่จาก กรมแพทย์ทหารเรือ (พร.)
ฝ่ายสหรัฐฯ มีเรือโจมตีชายฝั่ง USS Coronado (LCS-4) เรือกู้ซ่อม เรือขนสิ่งอุปกรณ์ยกพลขึ้นบก เครื่องบิน P-3C Orion กำลังรบยกพลขึ้นบก 1 กองพัน (USMC Reinforced Company Landing Force) รถสะเทินน้ำสะเทินบก และชุดปฏิบัติการชายหาด ชุดพยาบาลเคลื่อนที่
ที่มาภาพ - CARAT - Cooperation Afloat Readiness and Training
@ตอนหนึ่ง / รวมพล คนรักทหารเรือ (I Love Navy)

คลิก! เข้าไปรับชม VDO >>

ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ตรวจเยี่ยมการฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีกองเรือประจำปี ๒๕๖๑

พลเรือเอก รังสฤษดิ์  สัตยานุกูล ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ ของกองการบิน กองเรือยุทธการ พร้อมด้วยนายทหารในฝ่ายอำนวยการ กองบัญชาการกองเรือยุทธการ ตรวจเยี่ยมการฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีกองเรือ ประจำปี ๒๕๖๑ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ณ เรือหลวงจักรีนฤเบศร กลางอ่าวไทย เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๐

ที่มา: https://www3.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/15662

วันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560

แนะนำเรือหลวงสายบุรี (458)

คุณลักษณะ
ระวางขับน้ำปกติ 1,840 ตัน เต็มที่ 1,961 ตัน
ความยาว 103.0 ม. ความกว้าง 11.3 ม. กินน้ำลึก 4.7 ม.
ความเร็วสูงสุด 30 น็อต ความเร็วเดินทาง 18 น็อต
ระยะปฏิบัติการที่ความเร็วสูงสุด 1,550 ไมล์ ที่ความเร็วเดินทาง 3,550 ไมล์
กำลังพลประจำเรือ 206 นาย
เครื่องจักร
เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 20V 1163 TB83 กำลัง 8,046 แรงม้า 4 เครื่อง
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล MTU 6V 396 TB53 กำลังไฟฟ้า 440 กิโลวัตต์ 4 เครื่อง
เพลาใบจักร 2 เพลา ใบจักร Wartsila Lips Defence แบบปรับมุมได้
ระบบอาวุธ
อาวุธปืนใหญ่เรือ NG12-1 (PJ-33A) ขนาด 100 มม./56 คาลิเบอร์ แท่นคู่ 1 แท่น
ปืนใหญ่กล NG15-2 (Type 76A) ขนาด 37 มม./63 คาลิเบอร์ แท่นคู่ 4 แท่น
ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด 12.7 มม. แท่นแดี่ยว 2 แท่น
แท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น China Precision Machinery Import and Export C-802A 4 แท่น แท่นละ 2 ท่อยิง 
แท่นยิงจรวดปราบเรือดำน้ำ Type 86 (RBU-1200) 2 แท่น แท่นละ 5 ท่อยิง
ระบบลบล้างสนามแม่เหล็กตัวเรือ XC-4D
ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ สำหรับ ฮ. Agusta Westland Super Lynx 300 1 เครื่อง
แท่นยิงเป้าลวง 2 แท่น แท่นละ 26 ท่อยิง
อิเล็กทรอนิกส์
เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ SR-60A (Type 360)
เรดาร์ควบคุมการยิง TR-47C (Type 347) 2 ชุด
เรดาร์ควบคุมการยิง Type 352 Square Tie
ศูนย์รวบ (ปืนใหญ่เรือ) JPT-46 2 ชุด
เรดาร์เดินเรือ Sperry Marine BridgeMaster E และ Furuno
กล้องตรวจการณ์ D CoMPASS
โซนาร์หัวเรือ SJD-5
ระบบตรวจจับสัญญาณเรดาร์ ITT Excelis AN/SLD-4(V) (ES-3601)
ระบบรบกวนสัญญาณเรดาร์ แบบ noise jammer Type 981-2
ระบบอำนวยการรบ Poseidon-3
ระบบควบคุมการยิง (ปืนใหญ่เรือและปืนใหญ่กล) JRNG-5 และ FCU-17
ระบบควบคุมการยิง (จรวดปราบเรือดำน้ำ) ZST-2D
ระบบควบคุมการยิงเป้าลวง Type 945G
ระบบถาม/ตอบรับสัญญาณพิสูจน์ฝ่าย แบบ Mk X (SIF) (ติดตั้งคู่กับเรดาร์ SR-60A) Type 60
ระบบวิทยุสื่อสารผ่านดาวเทียม INMARSAT-M
ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี Avia Satcom Link RTN
ระบบนำร่องด้วยแรงเฉื่อยแบบริงเลเซอร์ Raytheon Anschutz MINS
เครื่องวัดความเร็วเรือ John Lilley & Gillie Chernikeeff Aquaprobe Mk5 Naval
เรือฟริเกต เรือหลวงสายบุรี หมายเลย 458 เป็นเรือที่มีคุณลักษณะเช่นเดียวกับ เรือหลวงกระบุรี หมายเลข 457  (Type 053HT-H Jianghu-III class frigate) อีก 1 ลำ สังกัด กองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ เป็นเรือฟริเกตที่อยู่ในชุดเรือหลวงเจ้าพระยา จำนวน 4 ลำ ที่ต่อโดย China State Shipbuilding Corperation (CSSC) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้เรือสองลำหลัง คือ เรือหลวงกระบุรี (457) และ เรือหลวงสายบุรี (458) จะมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือ และเป็นเรือที่ได้รับการปรับปรุงระบบอำนวยการรบ ระบบเรดาร์ และระบบอาวุธ ใหม่ แล้ว..