หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561

RTAF RECCE Campaign over Gulf of Thailand 、。。


JOHM 、Joint Operation for Homeland & Maritime Defense 、。。
Support IUU mission 、。。
11 - 15 June 2018 、。。

RTAF RECCE Campaign over Gulf of Thailand 、。。


20 ชั่วโมง 7 ระบบตรวจจับ 6 ฝูงบิน 6 แบบอากาศยาน 14 เที่ยวบิน ต่อคาบ รวมปฏิบัติการไป 2 คาบ ชั่วโมงบินปฏิบัติการรวม 41.6 ชั่วโมงบิน ครอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งอ่าวไทย 、。。

“บิ๊กฉัตร”พร้อมคณะ ดูการฝึกสาธิตการใช้อากาศยานไร้คนขับกองทัพอากาศ แก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ระบุ กองทัพบูรณาการทำงานร่วมกันเป็นประโยชน์กับประเทศชาติ 、。。

ทั้งนี้ ผลการปฏิบัติเพียงช่วงสั้นๆ กรมประมงได้รับหลักฐานที่สามารถใช้จับกุมดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งข้อมูลข่าวสารที่เป็น Real Time ทำให้เจ้าหน้าที่บังคับคดีที่มีอำนาจสามารถเข้าจับกุมผู้กระทำผิดได้ในลักษณะซึ่งหน้าทันที ในภาพรวม ได้ตรวจพบจับกุม และยกเลิกใบอนุญาตเรือที่กระทำผิดกฏหมายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสนับสนุนข้อมูลให้กรมประมง เพื่อดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องต่อไป 、。。

อ่านต่อที่ :-
https://www.dailynews.co.th/politics/...

RTAF Core Values 2556 、。。
https://drive.google.com/file/d/0B1PB...

RTAF Strategy 20 Years .. ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) (ฉบับเผยแพร่) 、。。
https://drive.google.com/open?id=0B1P...

Royal Thai Air Force Official Website、。。
http://www.rtaf.mi.th/

War History Documentary、Collection 、。。
https://plus.google.com/u/0/collectio...


ภาพการสวนสนามทางอากาศ ในพิธีส่งมอบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ

ภาพการบินหมู่ของอากาศยานรบหลักของกองทัพอากาศ ในพิธีส่งมอบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ ในวันนี้ที่โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ประกอบด้วย หมู่บิน"ชาร์ค"JAS-39C/D จากฝูงบิน 701, หมู่บิน"อีเกิ้ล"F-5E/F จากฝูงบิน 211, หมู่บิน"ฟัลค่อน"F-16 A/B จากฝูงบิน 103 และหมู่บิน"ดราก้อน" T-50TH จากฝูงบิน 401 ซึ่งแบบของอากาศยานที่มาทำการบินในวันนี้ล้วนแต่เป็นอากาศยานที่ผู้บัญชาการทั้งสองท่านได้มีส่วนร่วมในโครงการ โดยมีเครื่องบินฝึก/โจมตีแบบ T-50TH เป็นอากาศยานแบบล่าสุดที่ได้มาทำการบินสวนสนามทางอากาศหมู่ 3 เหนือท้องฟ้าของกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก /ThaiArmedForce.com


พิธีรับส่งหน้าที่ผู้บัญชาการทหารอากาศ

ตามที่มีพระราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้นายทหารรับราชการสนองพระเดชพระคุณให้ พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็น ผู้บัญชาการทหารอากาศ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ในวันนี้ (วันศุกร์ที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๑) กองทัพอากาศ จัดพิธีรับส่งหน้าที่ผู้บัญชาการทหารอากาศ ระหว่าง พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ซึ่งเกษียณอายุราชการ กับ พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผู้บัญชาการทหารอากาศท่านใหม่ โดยประกอบพิธี ดังนี้
- เวลา ๑๓.๓๐ น. พิธีวางพานพุ่มถวายสักการะพระอนุสาวรีย์ จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ณ โถงหน้าห้องรับรองกองทัพอากาศ
- เวลา ๑๓.๔๕ น. พิธีลงนามในเอกสารรับส่งหน้าที่ผู้บัญชาการทหารอากาศ ณ ห้องรับรองกองทัพอากาศ
- เวลา ๑๓.๕๐ น. พิธีสวนสนามเนื่องในโอกาสรับส่งหน้าที่ผู้บัญชาการทหารอากาศ และมอบการบังคับบัญชา ณ บริเวณลานอเนกประสงค์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

สำหรับพิธีสวนสนามฯ ในครั้งนี้ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ได้ส่งมอบธงประจำตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศและแฟ้มเอกสารรับส่งหน้าที่ ให้แก่ พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผู้บัญชาการทหารอากาศท่านใหม่ โดยกองทัพอากาศ ได้จัดกองทหารเกียรติยศ จำนวน ๔ กองพัน เข้าร่วมการสวนสนาม ประกอบด้วย
- กองพันที่ ๑ จาก กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
- กองพันที่ ๒ จาก โรงเรียนจ่าอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ
- กองพันที่ ๓ จาก กรมทหารอากาศโยธินรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
- กองพันที่ ๔ จาก กรมทหารต่อสู้อากาศยานรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน

นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีการสวนสนามทางอากาศของหมู่บินขับไล่สมรรถนะสูงของกองทัพอากาศ จำนวน ๔ หมู่บิน ดังนี้
- หมู่บินที่ ๑ นามเรียกขาน EAGLE ประกอบด้วย เครื่องบินแบบ F-5 จำนวน ๔ เครื่อง จากฝูงบิน ๒๑๑ กองบิน ๒๑ จังหวัดอุบลราชธานี
- หมู่บินที่ ๒ นามเรียกขาน FALCON ประกอบด้วย เครื่องบินแบบ F-16 จำนวน ๔ เครื่อง จากฝูงบิน ๑๐๓ กองบิน ๑ จังหวัดนครราชสีมา
- หมู่บินที่ ๓ นามเรียกขาน SHARK ประกอบด้วย เครื่องบินแบบ GRIPEN จำนวน ๔ เครื่อง จากฝูงบิน ๗๐๑ กองบิน ๗ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- หมู่บินที่ ๔ นามเรียกขาน DRAGON ประกอบด้วย เครื่องบินแบบ T-50 จำนวน ๓ เครื่อง จากฝูงบิน ๔๐๑ กองบิน ๔ จังหวัดนครสวรรค์

ในโอกาสนี้ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ได้กล่าวขอบคุณข้าราชการทหารอากาศ ที่ให้ความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามนโยบายที่ให้ไว้ พร้อมทั้งกล่าวว่า “พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล มีประสบการณ์สูง ทั้งด้านการบิน การบริหาร และวิทยาการแขนงต่างๆ พร้อมทั้งเป็นผู้ที่มีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์ และยุติธรรม เชื่อมั่นว่าท่านสามารถเป็นผู้นำกองทัพอากาศ ให้มีความเจริญก้าวหน้าเป็นกองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาคได้อย่างแน่นอน”
ด้าน พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ได้กล่าวรับมอบหน้าที่ โดยมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า “กระผม ขอรับหน้าที่และการบังคับบัญชา ในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ สืบต่อจากท่าน และพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ ทุ่มเทอย่างเต็มกำลังความรู้ความสามารถ ให้สมกับที่ได้รับความไว้วางใจจากท่านและผู้บังคับบัญชา...
...จะนำพากองทัพอากาศ และจะปกครองดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความยุติธรรม ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม เสริมสร้างความรักความสามัคคี ให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่จะร่วมกันพัฒนาและขับเคลื่อนกองทัพอากาศเพื่อก้าวสู่กองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม”

พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๑๘ นักเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ ๒๕ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ
- ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารอากาศไทยประจำกรุงเบอร์ลิน และ รักษาราชการผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารอากาศไทยประจำกรุงปารีส และ รักษาราชการผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารอากาศไทยประจำกรุงโรม และ รักษาราชการผู้ช่วยทูตทหารไทยประจำกรุงเบอร์ลิน
- เจ้ากรมข่าวทหารอากาศ
- เจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ
- รองเสนาธิการทหารอากาศ
- ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ
ก่อนที่จะมีพระราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ คนที่ ๒๕

ขอบคุณ : กองประชาสัมพันธ์
สำนักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์
กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ
๒๘ กันยายน ๒๕๖๑

ภาพโดย : นายกิตติเดช สงวนทองคำ /AirlinesWeek

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561

ความคืบหน้าล่าสุด ในการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เรือหลวงตรัง

One step closer HTMS Trang
เรือหลวงตรัง เริ่มทำสีตัวเรือแล้วครับ เพื่อเตรียมที่จะนำมาเรือออกจากอู่แห้ง เพื่อติดตั้งระบบต่างๆ ต่อไป โดยคาดว่าจะประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ ในช่วงเดือน มี.ค. - เม.ย. ปี 62 ครับ หลังจากนั้นอาจจะรับมอบเพื่อขึ้นระวางประจำการในเดือน ก.ค.62 /Navy For Life

ผู้บัญชาการทหารอากาศ พูดเกี่ยวกับ “T-50TH”

 “T-50TH คือหนึ่งในงานที่ผมภูมิใจที่สุด”
ก่อนจะถึงห้วงเวลาของพิธีส่งมอบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้กับผู้บัญชาการท่านต่อไป พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ได้ให้โอกาสทีมงาน ThaiArmedForce ได้ตั้งข้อซักถามเป็นการส่งท้ายก่อนสิ้นสุดระยะเวลาปฏิบัติงานกว่า 2 ปี ในฐานะผู้รับผิดชอบสูงสุดของกองทัพอากาศ ที่มีขนาดใหญ่และประวัติความเป็นมาที่ยาวนานที่สุดในกลุ่มชาติอาเซี่ยน ด้วยโอกาสที่มีไม่บ่อยนัก เราได้ถามคำถามถึงการมองย้อนกลับไปถึงห้วงเวลาตั้งแต่รับหน้าที่จนมาถึงวันนื้ สิ่งใด คือ ผลงานที่โดดเด่นและจะอยู่ในความทรงจำของท่าน เมื่อก้าวลงจากตำแหน่งนี้? คำตอบที่ได้ในทันทีคือ “ก็ต้อง T-50TH ซิ !"

ท่านได้อธิบายเพิ่มเติมว่า นี้เป็นโครงการที่ท่านปั้นมากับมือตั้งแต่ยังดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทหารอากาศ จากการมองถึงอนาคตที่จะต้องจัดหาอากาศยานแบบใหม่มาทดแทนเครื่องบินฝึกโจมตีแบบ L-39Z/ART โดยจะต้องเป็นอากาศยานที่มีความเท่าทันเทคโนโลยีการบินยุคใหม่ และมีความคุ้มค่าต่อประเทศชาติมากที่สุด การบริหารโครงการจึงเป็นเรื่องที่ยากมากด้วยรายละเอียดที่ซับซ้อน ที่สำคัญคือ บริษัทผู้ผลิตที่เป็นคู่แข่งหลักในโครงการนี้ทุกรายต้องมีการพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ เป็นพิเศษเพื่อให้อากาศยานที่จะได้รับการคัดเลือกมีขีดความสามารถตรงตามความต้องการที่กองทัพอากาศได้กำหนดไว้ทั้งหมด ซึ่งผลที่ออกมาก็คือ T-50 ของ KAI ตอบโจทย์ได้มากที่สุด ซึ่งคุณลักษณะหลายประการของ T-50 ของกองทัพอากาศ มีความเหนือกว่าระบบที่ KAI ติดตั้งใน T-50 รุ่นมาตรฐาน ซึ่ง T-50 ของเกาหลีใต้ในรุ่นต่อๆ มาก็ได้อาศัยรูปแบบจากการพัฒนา T-50TH นำไปใช้งานต่อ ถึงแม้จะเป็นงานที่ยากทั้งคณะทำงานฝ่ายไทยและเกาหลีใต้ แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ได้ตรงตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ทั้งหมด และจะเป็นโครงการที่สามารถสร้างคุณประโยชน์ให้กับกองทัพอากาศต่อไปแม้ว่าท่านจะไม่ได้รับผิดชอบในหน้าที่นี้แล้ว

โดยในพิธีรับส่งหน้าที่ผู้บัญชาการทหารอากาศวันพรุ่งนี้ เครื่องบินแบบ T-50TH จากฝูงบิน 401 กองบิน 4 จะร่วมทำการบินหมู่ 3 เพื่อร่วมเป็นเกียรติแก่พลอากาศเอกจอม รุ่งสว่าง และ พลอากาศเอกชัยพฤกษ์ ดิษยะศรินที่จะรับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศท่านต่อไป /ThaiArmedForce.com

OPLOT-T ชุดสุดท้าย 6 คัน ทดสอบในไทยเรียบร้อยแล้ว

OPLOT-T ชุดสุดท้าย 6 คัน ทดสอบในไทยเรียบร้อยแล้ว...รถถังหลัก OPLOT-T ชุดสุดท้าย จำนวน 6 คัน ได้ทำการทดสอบขีดความสามารถและสมรรถนะ ที่สนามทดสอบบ้านภักดีแผ่นดิน จ.สระแก้ว แล้วเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2561 ที่ผ่านมา โดยได้มีการทดสอบวิ่งในภูมิประเทศ การทดสอบยิงอาวุธปืน 12.7 มม. และการยิงปืนใหญ่รถถัง 125 มม. ทั้งกลางวันและกลางคืน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีคณะกรรมการของกองทัพบกเป็นผู้ตรวจสอบ หลังจากนี้รถถัง OPLOT-T ทั้ง 6 คัน ก็จะเข้าประจำการครบตามจำนวน 49 คัน ที่กองทัพบกสั่งซื้อในกองพันทหารม้าที่ 2 รอ. /Photo: Sompong Nondhasa
ช็อตเด็ด...หมัดเด็ด! รถถัง OPLOT-T ล็อตสุดท้าย 1 ใน 6 คัน กำลังทำการยิงปืนใหญ่รถถังลำกล้องเรียบแบบ 2A46M-1 ขนาด 125 มม. ในการทดสอบสมรรถนะก่อนการส่งมอบให้กองทัพบก ที่สนามฝึกบ้านภักดีแผ่นดิน จ.สระแก้ว เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2561 ที่ผ่านมา…Photo Sompong Nondhasa

HMV-420 เปิดตัวให้ทหารบก-ทหารอากาศ ชมขีดความสามารถครั้งแรก!

รถเกราะล้อยาง 4x4 HMV-420 ผลงานสร้างสรรจาก Panus Assembly Co.,Ltd. ออกแบบและสร้างโดยคนไทยอย่างแท้จริง สำหรับกองทัพไทยไว้ใช้งาน ได้เปิดตัวและทำการทดสอบสมรรถนะให้ทหารบกและทหารอากาศได้ชมเป็นครั้งแรกเมื่อเร็วๆ นี้...จุดเด่นของ HMV-420 คือมีเกราะป้องกันที่ดี จากกระสุนปืนเล็กและแรงระเบิด (มีปุ่มสำหรับการติดตั้งเกราะเสริมทับให้สามารถป้องกันกระสุน 12.7 มม.ได้) มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ ไม่ว่าจะขับเคลื่อนบนถนนหรือในภูมิประเทศ สามารถหันเลี้ยวได้ในวงแคบจากการเลี้ยวแบบ 4 ล้อ ติดตั้งอาวุธได้หลากหลายแล้วแต่ความต้องการ HMV-420 ออกแบบมาเพื่อใช้งานได้หลายภารกิจไม่ว่าจะเป็นรถสำหรับทหารราบ ทหารม้า หน่วยรบพิเศษ อากาศโยธินของทหารอากาศ และทหารนาวิกโยธินรวมถึงหน่วยรบพิเศษของกองทัพเรือ โดยมุ่งเน้นการออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการของกองทัพไทย สำหรับภัยคุกคามในปัจจุบัน การที่สร้างในประเทศทำให้สามารถทำการสนับสนุนอะหลั่ยและซ่อมบำรุงได้สะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่ารถจะเสียหายในระดับใด ราคาของ HMV-420 ประมาณคันละ 25 ล้านบาท ช่วยกันสนับสนุนผลงานของคนไทยครับ...Photo Sompong Nondhasa

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2561

กองทัพเรือ จัดพิธีสวนสนามทางเรือ เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้บัญชาการทหารเรือ ในโอกาสเกษียณอายุราชการ

วันที่ 25 กันยายน 2561 เวลา 10.50 น. พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือ และคณะ ได้เดินทางออกจากหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ภายหลังพิธีสวนสนามทางบก โดยเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพเรือ ไปยังเรือหลวงอ่างทอง ซึ่งจอดลอยลำอยู่ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน เพื่อเป็นประธานในพิธีสวนสนามทางเรือที่กองทัพเรือ โดยกองเรือยุทธการจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้บัญชาการทหารเรือ

สำหรับพิธีสวนสนามทางเรือที่จัดให้มีขึ้นในครั้งนี้ มีเรือหลวงอ่างทองเป็นเรือรับรอง เรือหลวงมกุฎราชกุมาร เป็นเรือยิงสลุต ในส่วนเรือที่เข้าร่วมสวนสนามรวมทั้งสิ้น 8 ลำ ประกอบด้วย เรือหลวงจักรีนฤเบศ เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงบางปะกง เรือหลวงตาปี เรือหลวงท้ายเหมือง เรือหลวงสุรินทร์ เรือหลวงถลางและ เรือหลวงมาตรา พร้อมอากาศนาวีอีกจำนวนหนึ่ง

พิธีสวนสนามทางเรือ

เป็นพิธีที่สำคัญพิธีหนึ่งของทหารเรือ ที่จัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลสำคัญๆ ของประเทศหรือต่างประเทศตามที่จะเห็นสมควร พิธีสวนสนามทางเรือของกองทัพเรือ เริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่ในปี พ.ศ.2457 กองทัพเรือได้จัดให้มีพิธีสวนสนามทางเรือขึ้นตามแบบประเทศตะวันตก พิธีสวนสนามทางเรือคงจะนำแบบอย่างมาจากพิธี CORONATION REVIEW ของอังกฤษซึ่งเป็นธรรมเนียมของพระเจ้าแผ่นดินภายหลังจากพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว จะเสด็จพระราชดำเนินตรวจเรือ พิธีนี้ได้กระทำขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย

ในปี พ.ศ.2496 ทางอังกฤษได้จัดให้มีพิธีพระบรมราชาภิเษกสมเด็จพระนางเจ้าอาลิซาเบธที่ 2 รัฐบาลไทยได้รับเชิญให้ส่งเรือหลวงเข้าร่วมพิธีด้วย กองทัพเรือได้ส่ง เรือหลวงโพสามต้น ไปร่วมพิธีโดยได้เดินทางออกจากประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2496 แล้วเข้าร่วมในพิธี เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2496 และได้เดินทางกลับถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2496

ต่อมาในปี พ.ศ.2497 กองทัพเรือได้จัดให้มีพิธีสวนสนามทางเรือขึ้นตามแบบประเทศตะวันตกเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2497 ณ บริเวณบางแสน จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นเกียรติแก่ จอมพลเรือ ป.พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในขณะนั้น

พิธีสวนสนามทางเรือของทหารเรือตามแบบประเทศตะวันตก ได้เริ่มมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2497 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นพิธีที่สำคัญของทหารเรือพิธีหนึ่ง สถานที่ที่จะใช้ในการสวนสนามก็เปลี่ยนไปตามความเหมาะสม ส่วนเครื่องบินที่ร่วมในพิธีสวนสนามทางเรือในปัจจุบันใช้เครื่องบินของทหารเรือ /ThaiArmedForce.com

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2561

RTAF : กองทัพอากาศเข้าร่วมการฝึกผสม Pitch Black 2018 、。。


Pitch Black 2018 、。。
By RTAF 、。。


Exercise Pitch Black .. is a biennial three week multi - national large force employment exercise conducted from RAAF Base Darwin and RAAF Base Tindal 、。。

Exercise Pitch Black 2018 will be held from 27 July to 17 August 2018 、。。

Exercises such as Pitch Black are pivotal to ensuring Air Force remains ready to respond whenever the Australian Government requires .. The training and integration of forces that occurs during this exercise directly supports Air Force’s ability to conduct operations 、。。

Exercise Pitch Black features a range of realistic, simulated threats which can be found in a modern battle - space environment and is an opportunity to test and improve our force integration, utilising one of the largest training airspace areas in the world - Bradshaw Field Training Area and Delamere Air Weapons Range 、。。

The exercise hosts up to 4000 personnel and up to 140 aircraft from around the globe including participants from Australia, Canada, France (New Caledonia), Germany, Indonesia, Netherlands, New Zealand, Singapore, Thailand, India, Malaysia and the United States and will include day and night flying 、。。

Activities such as Exercise Pitch Black recognises the strong relationship Australia has with its participant nations and the high value it places on regional security and fostering closer ties throughout the Asia Pacific region 、。。

Find out more at the Exercise Pitch Black 2018 :-
https://www.airforce.gov.au/exercises...

"บิ๊กจอม"ให้โอวาท กำลังพลร่วมฝึกผสมPITCH BLACK 2018 :-
https://www.dailynews.co.th/politics/...

RTAF News ผู้บัญชาการทหารอากาศ เดินทางไปตรวจเยี่ยม Pitch Black 2018 :-
http://www.rtaf.mi.th/th/RTAFNews/Pag...

"บิ๊กจอม"ตรวจเยี่ยมการฝึกผสม PITCH BLACK 2018 :-
https://www.dailynews.co.th/politics/...

RTAF_Basic Doctrine 2551 、。。
https://drive.google.com/file/d/0B1PB...

RTAF Core Values 2556 、。。
https://drive.google.com/file/d/0B1PB...

RTAF Strategy 20 Years .. ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) (ฉบับเผยแพร่) 、。。
https://drive.google.com/open?id=0B1P...

Royal Thai Air Force Official Website、。。
http://www.rtaf.mi.th/

War History Documentary、Collection 、。。
https://plus.google.com/u/0/collectio...

-----------------------------------------------------------------------
Photo Gallery : Royal Thai Air Force In Pitch Blac...
10,000 ชั่วโมงบิน Gripen กองทัพอากาศไทย เหนือน่านฟ...
กองทัพอากาศไทย 2561 Royal Thai Air Force 2018

ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานในพิธีสวนสนามทางเรือบนเรือหลวงอ่างทอง

พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีสวนสนามทางเรือ บนเรือหลวงอ่างทอง บริเวณอ่าวไทยตอนบน จังหวัดชลบุรี ซึ่งกองเรือยุทธการ ได้จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้บัญชาการทหารเรือในโอกาสเกษียณอายุราชการ โดยมี พลเรือเอก รังสฤษดิ์ สัตยานุกูล ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ/ผู้บัญชาการกองเรือสวนสนาม ให้การต้อนรับ ในการนี้ เรือหลวงมกุฎราช ยิงสลุต จำนวน ๑๙ นัด เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้บัญชาการทหารเรือ ณ บริเวณอ่าวไทยตอนบน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๑
https://www.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/17010
พิธีสวนสนามทางเรือ
เป็นพิธีที่สำคัญพิธีหนึ่งของทหารเรือ ที่จัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลสำคัญๆ ของประเทศหรือต่างประเทศตามที่จะเห็นสมควร พิธีสวนสนามทางเรือของกองทัพเรือ เริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่ในปี พ.ศ.2457 กองทัพเรือได้จัดให้มีพิธีสวนสนามทางเรือขึ้นตามแบบประเทศตะวันตก พิธีสวนสนามทางเรือคงจะนำแบบอย่างมาจากพิธี CORONATION REVIEW ของอังกฤษซึ่งเป็นธรรมเนียมของพระเจ้าแผ่นดินภายหลังจากพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว จะเสด็จพระราชดำเนินตรวจเรือ พิธีนี้ได้กระทำขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย

ในปี พ.ศ.2496 ทางอังกฤษได้จัดให้มีพิธีพระบรมราชาภิเษกสมเด็จพระนางเจ้าอาลิซาเบธที่ 2 รัฐบาลไทยได้รับเชิญให้ส่งเรือหลวงเข้าร่วมพิธีด้วย กองทัพเรือได้ส่ง เรือหลวงโพสามต้น ไปร่วมพิธีโดยได้เดินทางออกจากประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2496 แล้วเข้าร่วมในพิธี เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2496 และได้เดินทางกลับถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2496

ต่อมาในปี พ.ศ.2497 กองทัพเรือได้จัดให้มีพิธีสวนสนามทางเรือขึ้นตามแบบประเทศตะวันตกเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2497 ณ บริเวณบางแสน จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นเกียรติแก่ จอมพลเรือ ป.พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในขณะนั้น โดยจัดเป็นกองเรือฝึกประกอบด้วยเรือหลวง จำนวน 45 ลำ มีจอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล) ขณะมียศ พลเรือเอก ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นผู้บังคับกองเรือฝึก และ มี พล.ร.อ.หลวงชำนาญ อรรถยุทธ์ (เอื้อน กุลไกรเวส) ขณะมียศ พล.ร.ท. ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็นรองผู้บังคับกองเรือฝึก เรือที่เข้าร่วมสวนสนามทั้ง 45 ลำ อาทิ เรือหลวงสุโขทัย (ลำที่ 1) เรือหลวงรัตนโกสินทร์ (ลำที่ 1) เรือหลวงชุมพร เรือหลวงปัตตานี (ลำที่ 1) เรือหลวงระยอง เรือหลวงกันตัง (ลำที่ 1) เรือหลวงคลองใหญ่ (ลำที่ 1) เรือหลวงตากใบ (ลำที่ 1) เรือหลวงบางปะกง (ลำที่ 1) เรือหลวงตองปลิว เรือหลวงลิ่วลม เรือหลวงล่องลม (ลำที่ 1) เรือหลวงสารสินธุ เรือหลวงสุครีพ เรือหลวงพาลี เรือ ปร.11 - ปร.16 (ปร.:ปราบเรือดำน้ำ) เรือหลวงบางระจัน (ลำที่ 1) เรือหลวงหนองสาหร่าย (ลำที่ 1) เรือหลวงบางแก้ว เรือหลวงท่าดินแดง (ลำที่ 1) เรือหลวงลาดหญ้า (ลำที่ 1) เรือหลวงอ่างทอง (ลำที่ 1) เรือหลวงสีชัง (ลำที่ 1) เรือหลวงกูด (ลำที่ 2) เรือหลวงไผ่ (ลำที่ 2) เรือหลวงปราบ เรือหลวงสัตกูด เรือหลวงอาดัง เรือหลวงมัตโพน เรือหลวงราวี เรือหลวงโกลำ เรือหลวงตะลิบง เรือหลวงสมุย (ลำที่ 2) เรือหลวงปรง เรือหลวงจาน เรือหลวงสุริยะ

พิธีสวนสนามทางเรือของทหารเรือตามแบบประเทศตะวันตก ได้เริ่มมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2497 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นพิธีที่สำคัญของทหารเรือพิธีหนึ่ง สถานที่ที่จะใช้ในการสวนสนามก็เปลี่ยนไปตามความเหมาะสม ส่วนเครื่องบินที่ร่วมในพิธีสวนสนามทางเรือในปัจจุบันใช้เครื่องบินของทหารเรือ

ที่มา: กองประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ