เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 พลเรือตรี พิสัย สุขวัน ผู้บัญชาการกองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ร่วมให้การต้อนรับ พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเรือเอก แฮรี่ บี แฮร์ริส (Admiral Harry B. Harris, Jr.) เนื่องในโอกาสที่ได้เดินทางมาเป็นประธานร่วมในพิธีปิดการฝึก Cobra Gold 2018 ณ สนามฝึกกองทัพเรือ หมายเลข 16 บ้านจันทเขลม อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี พร้อมทั้งชมการสาธิตการฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง (CALFEX) และชมนิทรรศการอาวุธยุทโธปกรณ์พร้อมวีดิทัศน์ประมวลภาพการฝึก.../กองพลนาวิกโยธิน
www.thaidefense-news.blogspot.com/by sukom วัตถุประสงค์ของการเปิดบล็อกนี้ เพื่อการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนข้อมูล-ความคิดเห็น รวมถึงเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข่าวคราว ความเป็นไปทางด้านการทหาร และ เทคโนโลยีด้านการทหาร แก่บุคคลที่สนใจและบุคคลทั่วไป
วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
การฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง (CALFEX)
การฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง (CALFEX) ปิดฉากการฝึก Cobra Gold 2018 โดยมี กำลังพล และยุทโธปกรณ์จากกองทัพไทย กองทัพสหรัฐอเมริกา และกองทัพสาธารณรัฐเกาหลี กว่า 1,200 นาย
มีทั้ง การโดดร่มแทรกซึมเบื้องสูง การซุ่มยิง การบินขัดขวางทางอากาศ การยิงเตรียมและการยิงสนับสนุนของปืนใหญ่ การเจาะช่องเปิดเส้นทางของทหารช่าง การเคลื่อนที่ประกอบการยิง การโจมตีทางอากาศ การสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ การส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ และการเข้ายึดที่หมาย
โดยมียุทโธปกรณ์สำคัญที่เข้าร่วมการฝึกฯ ประกอบด้วย รถถัง M60A3 รถโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก เครื่องบินขับไล่ F-16 เครื่องบินขับไล่/โจมตี Alpha Jet เฮลิคอปเตอร์ Black Hawk เฮลิคอปเตอร์ MI-17 จากกองทัพไทย เครื่องบินขับไล่ F-18 และ F-16 เฮลิคอปเตอร์ Black Hawk ,Chinook รถโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก ปืนใหญ่ M777 จากกองทัพสหรัฐอเมริกา รถโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก และปืนใหญ่ขนาด 155 มิลลิเมตร จากกองทัพเกาหลีใต้ /ที่มา: Wassana Nanuam
มีทั้ง การโดดร่มแทรกซึมเบื้องสูง การซุ่มยิง การบินขัดขวางทางอากาศ การยิงเตรียมและการยิงสนับสนุนของปืนใหญ่ การเจาะช่องเปิดเส้นทางของทหารช่าง การเคลื่อนที่ประกอบการยิง การโจมตีทางอากาศ การสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ การส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ และการเข้ายึดที่หมาย
โดยมียุทโธปกรณ์สำคัญที่เข้าร่วมการฝึกฯ ประกอบด้วย รถถัง M60A3 รถโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก เครื่องบินขับไล่ F-16 เครื่องบินขับไล่/โจมตี Alpha Jet เฮลิคอปเตอร์ Black Hawk เฮลิคอปเตอร์ MI-17 จากกองทัพไทย เครื่องบินขับไล่ F-18 และ F-16 เฮลิคอปเตอร์ Black Hawk ,Chinook รถโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก ปืนใหญ่ M777 จากกองทัพสหรัฐอเมริกา รถโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก และปืนใหญ่ขนาด 155 มิลลิเมตร จากกองทัพเกาหลีใต้ /ที่มา: Wassana Nanuam
CALFEX...ยิงกระสุนจริง COBRA GOLD 2018
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเรือเอก แฮรี่ บี แฮร์ริส เป็นประธานร่วมในพิธีปิดการฝึกคอบร้าโกลด์ 18 ณ สนามฝึกกองทัพเรือ หมายเลข 16 บ้านจันทเขลม จังหวัดจันทบุรี พร้อมทั้งชมการสาธิตการฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง (CALFEX) และชมนิทรรศการอาวุธยุทโธปกรณ์พร้อมวีดิทัศน์ประมวลภาพการฝึกคอบร้าโกลด์ 18 โดยมี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดมิตรประเทศ และผู้บัญชาการเหล่าทัพร่วมในพิธีด้วย การฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง ประกอบด้วย กำลังพลและยุทโธปกรณ์จากกองทัพไทย กองทัพสหรัฐอเมริกา และกองทัพสาธารณรัฐเกาหลี ยอดผู้เข้าร่วมการฝึกกว่า 1,200 นาย กิจกรรมการฝึกฯ ประกอบด้วย การโดดร่มแทรกซึมเบื้องสูง การซุ่มยิง การบินขัดขวางทางอากาศ การยิงเตรียมและการยิงสนับสนุน ของปืนใหญ่ การเจาะช่องเปิดเส้นทางของทหารช่าง การเคลื่อนที่ประกอบการยิง การโจมตีทางอากาศ การสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ การส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ และการเข้ายึดที่หมาย โดยมียุทโธปกรณ์สำคัญที่เข้าร่วมการฝึกฯ ประกอบด้วย รถถัง M60A3 รถโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก เครื่องบินขับไล่ F-16 เครื่องบินขับไล่ Alpha Jet เฮลิคอปเตอร์ Black Hawk เฮลิคอปเตอร์ MI-17 จากกองทัพไทย เครื่องบินขับไล่ F-18 และ F-16 เฮลิคอปเตอร์ Black Hawk, Chinook รถโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก ปืนใหญ่ M777 จากกองทัพสหรัฐอเมริกา รถโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก และปืนใหญ่ขนาด 155 มิลลิเมตร จากกองทัพเกาหลีใต้ ปัจจุบันการฝึก COBRA GOLD ถือเป็นการฝึกทางทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกองทัพไทยและกองกำลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี /Photo Sompong Nondhasa
วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
กองบิน 4 ประจำการ เครื่องบินตรวจการณ์ P.180 Avanti ll Evo
ข่าวที่ไม่มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการจากทางหน่วยงานราชการ...โดยเมื่อช่วงเเดือนกันยายน ปี 2560 ที่ผ่านมา ทางกองทัพอากาศ ได้รับมอบเครื่องบินตรวจการณ์ลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศ เครื่องใหม่ แบบ P.180 Avanti ll Evo 1 เครื่อง เข้าประจำการ ณ ฝูงบิน 402 กองบิน 4
กองทัพอากาศจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ P.180 Avanti ll Evo จาก บริษัท Piaggio Aero Industries ประเทศอิตาลี 1 เครื่อง เมื่อ 30 กันยายน 2557 สำหรับภารกิจการตรวจการณ์ลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศ ทดแทนเครื่องบินตรวจการณ์ลำเลียง แบบที่ 12 (Learjet 35A) ที่มีภารกิจในการตรวจการณ์ลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศ ชึ่งปลดประจำการไปแล้ว
DA-42M MPP เครื่องบินตรวจการณ์...อีกแบบ ที่มีประจำการอยู่ในฝูงบิน 402 กองบิน 4 ณ ปัจจุบัน
กองทัพอากาศจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ P.180 Avanti ll Evo จาก บริษัท Piaggio Aero Industries ประเทศอิตาลี 1 เครื่อง เมื่อ 30 กันยายน 2557 สำหรับภารกิจการตรวจการณ์ลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศ ทดแทนเครื่องบินตรวจการณ์ลำเลียง แบบที่ 12 (Learjet 35A) ที่มีภารกิจในการตรวจการณ์ลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศ ชึ่งปลดประจำการไปแล้ว
------------------------------------------------
การทดสอบ...เครื่องบินตรวจการณ์ P.180 Avanti ll Evo ของกองทัพอากาศไทย ที่โรงงานของบริษัท Piaggio Aero Industries ประเทศอิตาลี
ภาพ บ.P.180 Avanti ll Evo ของกองทัพอากาศไทย ปรากฎตัวที่ สนามบิน Genoa ,อิตาลี เมื่อ 11 เมษายน 2560 ก่อนส่งมอบให้กับกองทัพอากาศไทยในอีก 5 เดือนถัดมาDA-42M MPP เครื่องบินตรวจการณ์...อีกแบบ ที่มีประจำการอยู่ในฝูงบิน 402 กองบิน 4 ณ ปัจจุบัน
วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
กองบิน 7 ประจำการ บล.SAAB 340 B เพิ่มเติมอีก 2 เครื่อง
เมื่อวันที่ 15 ก.พ.2561 เป็นวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 36 ปี กองบิน 7 ซึ่งในวันดังกล่าว ได้มีการแสดงการบินสวนสนามทางอากาศ 2 หมู่บิน ประกอบด้วย การแสดงการบินของเครื่องบิน SAAB 340 จำนวน 3 ลำ เครื่องบินกริพเพนจำนวน 6 ลำ และการแสดงหมู่บินเกียรติยศเครื่องบินกริพเพ่น..การบินแสดงสมรรถนะ จำนวน 1 ลำ และเฮลิคอปเตอร์ แบบ 11 (EC-725) บินสาธิตการค้นหาช่วยชีวิตผู้ประสบภัย.. และการตั้งแสดงอากาศยานที่ประจำการ ณ กองบิน 7..จากในงานจะสังเกตเห็นเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๑๗ (SAAB 340 B) ที่มีเฉดสีลำตัวเข้มกว่าลำอื่นๆ นั่นคือ บ.ล.๑๗ SAAB 340 B สองเครื่องใหม่ หมายเลข 70205 และ 70206 ของฝูงบิน 702 ที่ได้จัดหาเพิ่มเติมจาก SAAB 340 B หมายเลข 70202 และ 70204 ทั้งนี้ทางกองทัพอากาศได้รับมอบเครื่องบินทั้งสองเครื่อง เมื่อช่วงต้นเดือนกันยายน 2560 ที่ผ่านมา ซึ่ง บ.ล.SAAB 340 B ใหม่ 2 เครื่องนี้ กองทัพอากาศไทยได้มีการจัดหา เมื่อปี 2558 โดยเป็นเครื่องบินที่เคยประจำการอยู่ในสายการบิน ซึ่งถูกเก็บรักษาสภาพไว้ แล้วจึงนำมาปรับปรุงใหม่ให้อยู่ในสภาพดี ก่อนจะส่งมอบให้กับกองทัพอากาศไทย...คาดว่าเครื่องบินใหม่ทั้งสองเครื่อง ทางกองทัพอากาศ อาจจะนำมาดัดแปลงเป็นเครื่องบินตรวจการณ์ลาดตระเวน...เพิ่มเติมจาก SAAB 340 B หมายเลข 70202 ที่ถูกดัดแปลงเป็นเครื่องบินตรวจการณ์ลาดตระเวน...ไปแล้ว
ทำให้ขณะนี้กองทัพอากาศไทยมี บ.ค.๑ (SAAB 340 AEW), บ.ตล.๑๗ (SAAB 340 B...) และ บ.ล.๑๗ (SAAB 340 B) ในฝูงบิน 702 รวมทั้งหมด 6 เครื่อง ซึ่งมีหมายเลขเครื่องดังนี้ หมายเลข 70201 (SAAB 340 AEW) ,หมายเลข 70202 (SAAB 340 B...), หมายเลข 70203 (SAAB 340 AEW) ,หมายเลข 70204 (SAAB 340 B) และหมายเลข 70205 กับ 70206 ตามลำดับ ที่อาจถูกดัดแปลงเป็นเครื่องบินตรวจการณ์ลาดตระเวน...เพิ่มเติมอีก 2 เครื่อง ต่อไป
SAAB 340 B/ 70205
SAAB 340 B/ 70206
พิธีวันสถาปนาครบรอบ 36 ปี กองบิน 7
วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
Wing 7 RTAF 、กองบิน 7 ครบรอบ 36 ปี 、36 Years of PRIDE 、1982 - 2018 、。。
Published on Feb 20, 2018
กองบิน 7 ครบรอบ 36 ปี 、。。
Wing 7 、RTAF 、。。
36 Years of PRIDE 、1982 - 2018 、。。
By ข้าราชการกองบิน 7 、。。
กองบิน 7 ครบรอบ 36 ปี สาน เสริม สร้าง หน่วยให้มีทหาร อาวุธฯ และกลยุทธ์ฉลาด 、。。
36 ปี กองบิน 7 ขอบขอบพระคุณอดีตผู้บังคับบัญชา และผู้เคยปฏิบัติหน้าที่ราชการ ณ กองบิน 7 .. พวกเราสัญญาจะ ' สาน เสริม สร้าง ' กองบิน 7 ให้มั่นคงและยั่งยืน สืบไป 、。。
เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2561 .. พล.อ.อ.จอมรุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ พร้อมด้วย นาวาอากาศเอกหญิง กรนันท์ รุ่งสว่าง นายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพอากาศ ได้เดินทางมาร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 36 ปี กองบิน 7 ทั้งนี้ ได้มีการแสดงการบินสวนสนามทางอากาศ 2 หมู่บิน ประกอบด้วย การแสดงการบินของเครื่องบิน SAAB 340 จำนวน 3 ลำ เครื่องบินกริพเพนจำนวน 6 ลำ และการแสดงหมู่บินเกียรติยศ เครื่องบินกริพเพ่น การบินแสดงสมรรถนะ จำนวน 1 ลำ และเฮลิปคอบเตอร์ แบบ 11 EC 725 บินสาธิตการค้นหาช่วยชีวิตผู้ประสบภัย .. จากนั้น ผบ.ทอ.ได้ตรวจแถวกำลังพลและอากาศยานที่ประจำการ ณ กองบิน 7 、。。
พล.อ.อ.จอม กล่าวให้โอวาทแสดงความชื่นชม ที่กองบิน 7 ได้ปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมาย จนประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ซึ่งความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้น ก็เนื่องมาจากความรัก ความสมัครสมานสามัคคีการร่วมแรง ร่วมใจเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของผู้บังคับบัญชา ทั้งในอดีต และปัจจุบันตลอดจนผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกคน ที่ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจทุ่มเทและเสียสละ ในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ จากรุ่นสู่รุ่น ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกองบิน 71ในยุคของเครื่องบินโจมตี แบบที่ 5 (OV-10) ผลัดเข้าสู่ยุคของเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18(F-5A/B, F-5E/F) เครื่องบินตรวจการณ์ขับไล่ แบบที่ 18 (RF-5A) และปรับความสำคัญจากกองบิน 71 เป็นกองบิน7 จนถึงปัจจุบัน ที่บรรจุประจำการ Gripen 39 C/D และ SAAB 340 AEW กับระบบเชื่อมต่อข้อมูลทางยุทธวิธี รวมทั้งระบบอาวุธฯ ที่สมัยอีกหลายประเภท ณ ที่ตั้งกองบิน 7 นี้ 、。。
------------------------------------------------------------------------------
กองบิน 7 เริ่มจัดตั้ง ณ อ่าวจุดเสม็ด อ.สัตหีบจ.ชลบุรี ต่อมาในปี 2494 มีการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ โดยจัดตั้งเป็น “กองบินน้อยที่7” เมื่อวันที่ 31 ต.ค.2494 กองทัพอากาศได้ปรับโครงสร้างกองทัพอากาศใหม่ โดยได้ยุบเลิกกองบินภาคและตั้งกองบินยุทธการขึ้นแทน “กองบินน้อยที่ 7” จึงได้กลายเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกองบินยุทธการ จนกระทั่งปี 2506 กองทัพอากาศได้แก้ไขอัตรา โดยให้เปลี่ยนชื่อจาก “กองบินน้อยที่ 7” เป็น “กองบิน7” ได้เปลี่ยนภารกิจจากขับไล่ยุทธวิธี เป็น กองบินสนับสนุนทางอากาศยุทธวิธีตามยุทธศาสตร์ชาติในขณะนั้น
กองทัพอากาศได้มีนโยบายปรับวางกำลังของกองทัพอากาศเพื่อความเหมาะสมทางด้าน ยุทธศาสตร์ในการป้องกันประเทศในแถบภาคใต้ตอนบนและใต้ กำหนดให้สนามบินเป็นม่วงเรียงซึ่งเป็นสนามบินเก่าที่ทหารญี่ปุ่นสร้างขึ้นไว้ใช้งาน ตั้งแต่ปี 2486 ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ณ ตำบลหัวเตย และบางส่วนของตำบลมะลวน อ.พนพิน จว.สุราษฎร์ธานี เป็นที่ตั้งกองบิน 71 โดยได้ปรับย้ายกองบิน 7 จากอ่าวจุกเสม็ด อ.สัตหีบจ.ชลบุรี มายังที่ตั้งใหม่นี้ เมื่อวันที่ 15 ก.พ.2525 หรือเป็นที่รู้จักในนามสนามบินหัวเตย โดยให้โอนเครื่องบินโจมตีแบบที่5 (OV-10) จำนวน 11 เครื่องจากฝูงบิน 531 กองบิน 53 จ.ประจวบคีรีขันธ์ มาประจำการในฝูงบิน711 กองบิน 71 ดังนั้นจึงถือเอาวันที่ 15 ก.พ.ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากองบิน 7 จวบจนปัจจุบัน
เมื่อปี2554 กองบิน 7 ได้รับบรรจุเครื่องบินขับไล่แบบที่ 20(Gripen 39 C/D) เครื่องบินควบคุมแบบที่ 1 (SAAB 340 AEW) เครื่องบินตรวจการณ์ลำเลียงแบบที่ 17 (SAAB 340 B) และเครื่องบินลำเลียง แบบที่ 17 (SAAB 340 B) เข้าประจำการ รวมถึง“ระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบบูรณาการ” เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญของกองทัพอากาศ ในการปฏิบัติการโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ “กองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค” และ“ยุทธศาสตร์ 20 ปีกองทัพอากาศ”
กองบิน 7 เป็นกองบินต้นแบบ เป็นกองบินที่ปฎิบัติการ โดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ของกองทัพอากาศ สู่การขับเคลื่อนกองบิน 7 ตามนโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี และนโยบายของรัฐบาลส่งผลให้กองบิน 7 มีความพร้อม ในการเตรียมกำลัง และ การปฏิบัติภารกิจที่กองทัพอากาศได้มอบหมาย เหนือน่านฟ้านภาทักษิณ และการปฎิบัติการเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนเมื่อประสบภัย ขอสัญญาว่า จะมุ่งมั่นพัฒนาและจะยึดมั่น ในเจตนารมณ์ที่จะ สานเสริม สร้าง กองบิน 7 ให้มั่นคง ยั่งยืน ตามเจตนารมณ์ของผู้บัญชาการทหารอากาศคนปัจจุบัน และอดีตผู้บังคับบัญชาของกองบิน7 เพื่อให้กองบิน 7 เป็นกองบินฉลาด ที่มีทหารอาวุธและ กลยุทธที่ฉลาดเพื่อความมั่นคงของชาติ และความผาสุกของประชาชนต่อไป
วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
สำรวจยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก ในงานวันเด็กแห่งชาติ ปี'61 ที่ พล.ม.2 รอ.
งานวันเด็กแห่งชาติ ปี'61 ที่ กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (สนามเป้า) เมื่อวันที่ 13 ม.ค.2561 ที่ผ่านมา ทางกองทัพบกไทย ได้นำยุทโธปกรณ์แบบต่างๆ มาจัดแสดงมากมาย...ลองมาสำรวจดูครับว่ามียุทโธปกรณ์ใหม่ๆ อะไรกันบ้าง...
สำรวจ เรือหลวงสุโขทัย (442) ด้วยภาพ..
สำรวจ เรือหลวงสุโขทัย (442) เรือคอร์เวท สังกัด กองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ ซึ่งมาจอดที่ท่าเทียบเรือ ของ โรงเรียนนายเรือ จ.สมุทรปราการ ในงานวันเด็กแห่งชาติ ปี'61 เปิดให้เด็กๆ เยาวชน รวมทั้งประชาชน ได้เยี่ยมชมเรือ เมื่อวันที่ 13 ม.ค.2561 ที่ผ่านมา..
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)