ประมวลภาพในงาน พิธี "เกียรติยศ 40 ปี เครื่องบินขับไล่ F-5 E/F” และ "ส่งมอบ F-5ST Super Tigris ต้นแบบ.." */Photo: We love F-5
www.thaidefense-news.blogspot.com/by sukom วัตถุประสงค์ของการเปิดบล็อกนี้ เพื่อการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนข้อมูล-ความคิดเห็น รวมถึงเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข่าวคราว ความเป็นไปทางด้านการทหาร และ เทคโนโลยีด้านการทหาร แก่บุคคลที่สนใจและบุคคลทั่วไป
วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
Why Gripen's are Hotter than any other Jet | Nxt-Gen Contender for the B...
Why Gripen's are Hotter than any other Jet | Nxt-Gen Contender for the Biggest Fighter Jet Deal
Gripen E - The Smart Fighter
Sweden’s Saab Technologies hopes to make India its home market as the maker of Gripen-E fighter jet eyes a $15-billion order under Prime Minister Narendra Modi’s initiative to boost local manufacturing in the world’s largest importer of arms.
The Indian order would be key to that investment. “The basics of any investment is the return on it, and building an ecosystem is a very heavy investment,” said MD of Saab India.
Saab already has a footprint in India with ground combat and air defence systems. The company has a research and development facility in Hyderabad that contributes to its global products, he said.
Saab, which has tied up with the Adani Group for the latest order, was part of the earlier programme for procuring medium multi-role combat aircraft, which was scrapped by the Modi government after a 10-year bidding process. Modi opted to strike a government-to-government deal with France to acquire 36 Rafale jets in fly-away conditions from Dassault Aviation.
Saab will now compete with Lockheed Martin's F-16 and Dassault’s Rafale for the single-engine fighter jets.
The entire strategic partnership is different from the earlier process, said Widerstrom. “We would be looking for some answers as the process progresses. There is a strong need for the Indian Air Force, they need the numbers and the fighters and we can provide that.”
Saab has offered transfer of technology and ‘make in India’ to the government. The offer is lot more than moving a second-hand production line to India. Saab plan to bring state-of-the-art technology and production line along with capabilities which will eventually lead to thousands of jobs in India.
Gripen fighter system
“A game changer over the Baltic Sea.” General Micael Bydén, Supreme Commander Swedish Armed Forces, on the Gripen fighter system.
วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
RTAF F-5E/F - 40th Anniversary F-5E/F sine 1978
ภาพการบินของเครื่องบินขับไล่ F-5E/F ฝูงบิน 211 กองบิน 21 บินหมู่ครบรอบ 40 ปี...40th Anniversary F-5E/F sine 1978 (1 สัปดาห์ก่อนวันงานภาคพื้น)
Photo: We love
F-5
"พิธีครบรอบ ๔๐ ปี เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข/ค" และ "พิธีส่งมอบ เครื่องบินขับไล่ แบบที่ ๑๘ ค ต้นแบบ
"พิธีครบรอบ ๔๐ ปี เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข/ค"
เมื่อวันพุธที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ เดินทางมาเป็นประธานในพิธีครบรอบ ๔๐ ปี เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข/ค ณ กองบิน ๒๑ โดยมี นาวาอากาศเอก ฐานันทร์ ทิพเวส ผู้บังคับการกองบิน ๒๑ พร้อมด้วย ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ทหารกองประจำการ ให้การต้อนรับ ณ ท่าอากาศยานทหาร กองบิน ๒๑
"พิธีส่งมอบ เครื่องบินขับไล่ แบบที่ ๑๘ ค ต้นแบบ F-5F PROTOTYPE ROLL OUT CEREMONY"
เมื่อวันพุธที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ เดินทางมาเป็นประธานในพิธีส่งมอบ เครื่องบินขับไล่ แบบที่ ๑๘ ค ต้นแบบ F-5F PROTOTYPE ROLL OUT CEREMONY โดยมี นาวาอากาศเอก ฐานันทร์ ทิพเวส ผู้บังคับการกองบิน ๒๑ พร้อมด้วย ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ทหารกองประจำการ ให้การต้อนรับ ณ แผนกช่างอากาศ กองบิน ๒๑
เดินสำรวจเครื่องบินขับไล่ "F-5ST Super Tigris"
เดินสำรวจเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ค (F-5F) หรือ "F-5ST Super Tigris" ต้นแบบ ตามโครงการปรับปรุงขีดความสามารถ ของ F-5E/F ฝูงบิน 211 กองบิน 21...พิธี "เกียรติยศ 40 ปี เครื่องบินขับไล่ F-5 E/F” แล...
พิธี "เกียรติยศ 40 ปี เครื่องบินขับไล่ F-5 E/F” และ "ส่งมอบ F-5ST Super Tigris ต้นแบบ.."
กองทัพอากาศจัดพิธี “เกียรติยศ 40 ปี เครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ข/ค (F-5 E/F)” และ "พิธีส่งมอบเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ค (F-5F) ต้นแบบตามโครงการปรับปรุงขีดความสามารถ" โดยบริษัท Elbit Systems เมื่อ 23 พฤษภาคม 2561 ณ กองบิน 21 จังหวัดอุบลราชธานี …
กองทัพอากาศ จัดพิธี "เกียรติยศ 40 ปี เครื่องบินขับไล่ F-5 E/F” ฝูงบิน 211 กองบิน21 อุบลฯ ทีบินมา 1.6 แสน ชม.บิน โดยได้ทำการ Mod-Modified จะทำการบินได้อีก 15 ปี
เครื่องบินขับไล่ F-5 E/F ฝูงบินแรก 20 เครื่อง แบบหัวกลม (Conical Nose) เข้าประจำ ฝูงบิน 102 กองบิน 1 โคราช เมื่อปี 2521 ต่อมา ย้ายไป ฝูงบิน 711 กองบิน 7 สุราษฎร์ฯ แล้วย้ายมา ฝูงบิน 211 กองบิน 21 อุบลฯ
ปี 2524 ทอ.จัดหา F5 E/F หัวแบน ปากฉลาม (Shark Nose) ประจำ ฝูงบิน 403 กองบิน 4 ตาคลี นครสวรรค์ อีก 20 เครื่อง ก่อนย้ายมา ฝูงบิน 211 กองบิน 21 อุบลฯ
ปี 2524 ทอ.จัดหา F5 E/F หัวแบน ปากฉลาม (Shark Nose) ประจำ ฝูงบิน 403 กองบิน 4 ตาคลี นครสวรรค์ อีก 20 เครื่อง ก่อนย้ายมา ฝูงบิน 211 กองบิน 21 อุบลฯ
ปี พ.ศ.2530 กองทัพอากาศได้จัดซื้อ F-5E อีกจำนวน 10 เครื่อง โดยในรุ่นที่จัดซื้อนี้เป็นเครื่องบินรุ่นหัวกลมมาตรฐาน ที่ผ่านการใช้งานมาแล้วจากกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาที่ประจำการอยู่ ณ ฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 26 (Aggressor) ฐานทัพอากาศคล๊าก ประเทศฟิลิปปินส์ หลังจากผ่านการตรวจสภาพแล้ว ได้บรรจุเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน 231 กองบิน 23 อุดรธานี จำนวน 6 เครื่อง ร่วมกับเครื่องบิน F-5A/B และ RF-5A และในปี พ.ศ.2539 เครื่องบินทั้งหมดได้ย้ายไปประจำการ ณ ฝูงบิน 711 กองบิน 71 ซึ่งต่อมาได้รับการปรับโครงสร้างเป็น ฝูงบิน 701 กองบิน 7 ในปี พ.ศ.2555 ได้มีการปรับย้าย F-5E จากฝูงบิน 701 กองบิน 7 ทั้งหมด 11 เครื่อง ไปประจำการ ณ ฝูงบิน 211 กองบิน 21 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2555 จนถึงปัจจุบัน รวมยังคงมีเครื่องบิน F-5 ประจำการ ฝูงบิน 211 กองบิน 21 ทั้งหมด 27 เครื่อง
F-5E/F TIGER II เป็นเครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์ความเร็วเหนือเสียง ผลิตโดยบริษัท Northrop Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับการออกแบบให้มีขนาดเล็ก รูปร่างเพรียวลม บำรุงรักษาง่าย ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการและซ่อมบำรุงน้อย ติดตั้งเครื่องยนต์ Turbojet แบบ J85 จำนวน 2 เครื่องยนต์ เริ่มเปิดสายการผลิตในปี พ.ศ.2515 มีขีดความสามารถทั้งการปฏิบัติการรบในอากาศและการโจมตีภาคพื้น ได้รับการผลิตทั้งหมดกว่า 1,400 เครื่อง ก่อนปิดสายการผลิตในปี พ.ศ.2530
การออกแบบเครื่องบินขับไล่ให้มี ๒ เครื่องยนต์นั้น ส่งผลต่อความปลอดภัยในการรบสูงยิ่ง ครั้งหนึ่งในการรบตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณช่องบก จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องบิน F-5E หมายเลข ๙๑๖๘๖ ฝูงบิน ๔๐๓ ทำการบินโดย น.ต.สุรศักดิ์ บุญเปรมปรีดิ์ ถูกยิงด้วยจรวดต่อสู้อากาศยานนำวิถีด้วยความร้อน แบบ SA-7 ทำให้เครื่องยนต์ขวาได้รับความเสียหาย แต่สามารถนำเครื่องบินกลับมาลงสนามบินอุบลราชธานีได้ด้วยความปลอดภัย โดยหลังจากการได้รับการซ่อมแซมแล้ว เครื่องบินดังกล่าวสามารถกลับมาพร้อมปฏิบัติการรบได้อีกครั้งหนึ่ง และในปี พ.ศ.๒๕๓๑ ในกรณีพิพาทบ้านร่มเกล้า นักบินท่านเดียวกันนี้ ได้นำ F-5E เข้าโจมตีเป้าหมายที่มีการป้องกันทางอากาศอย่างหนาแน่น เครื่องบินถูกต่อต้านโดยจรวดต่อสู้อากาศยาน SA-7 จำนวน ๕ ลูก แม้ว่านักบินจะใช้ระบบป้องกันตนเองแล้วก็ตาม แต่จรวดยังถูกเข้าที่ส่วนหางจนเครื่องบินไม่สามารถควบคุมได้ นักบินจึงจำเป็นต้องสละอากาศยาน และได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยค้นหาและช่วยชีวิตในเวลาต่อมา
พัฒนาการของ เครื่องบินขับไล่ F-5E/F (บ.ข.๑๘ ข/ค)
ครั้งที่ ๑ ในปี พ.ศ.๒๕๓๑ (๑๐ ปี หลังบรรจุเข้าประจำการ) F-5E/F ของฝูงบิน ๑๐๒ และฝูงบิน ๔๐๓ ได้รับการปรับปรุงเขี้ยวเล็บเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรบ โดยมีการติดตั้งจอแสดงผลตรงหน้านักบิน (Head Up Display: HUD) คอมพิวเตอร์ช่วยเล็ง (Weapon Aiming Computer) เครื่องรับสัญญาณเรดาร์เพื่อแจ้งเตือน (Radar Warning Receiver) แบบ AN/ALR-46(V)6 ระบบปล่อยเป้าลวง (Chaff & Flare Dispenser) แบบ AN/ALE-40 และเครื่องช่วยเดินอากาศ (Initial Navigation System: INS) รุ่น LN-39
นอกจากนี้ F-5E/ F รุ่น Shark Nose ของฝูงบิน ๔๐๓ ยังได้รับการปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการใช้อาวุธนำวิถีอากาศ-สู่-อากาศพิสัยใกล้ แบบ Python-3 อีกด้วย
ครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ (๒๐ ปี หลังบรรจุเข้าประจำการ) F-5E/F ของฝูงบิน ๗๑๑ และฝูงบิน ๒๑๑ ได้ผ่านการปรับปรุง โดยบริษัท Elbit ประเทศอิสราเอล แบ่งเป็น ๒ โครงการย่อย ได้แก่โครงการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบความปลอดภัยโดยติดตั้งระบบ Anti-Skid ให้กับ F-5E ฝูงบิน ๗๐๑ และโครงการปรับปรุงระบบ Avionics เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับ F-5E/F ฝูงบิน ๒๑๑ หรือที่เรียกว่า โครงการ TIGRIS โดยมีการติดตั้งคอมพิวเตอร์ประมวลผลภารกิจ (Mission Computer: MC) จอสีแสดงผลเอนกประสงค์ (Muiti Function Color Display: MFCD) หมวกนักบินติดศูนย์เล็ง (Display And Sight Helmet: DASH) วิทยุสื่อสาร VHF เครื่องช่วยเดินอากาศด้วยดาวเทียม GPS คันบังคับและคันเร่งติดตั้งปุ่มควบคุมการทำงานของระบบการรบต่าง ๆ (Hands On Throttles And Stick) พร้อมทั้งขีดความสามารถการใช้อาวุธนำวิถีอากาศ-สู่-อากาศพิสัยใกล้แบบ Python-4
ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๗ (๓๖ ปี หลังบรรจุเข้าประจำการ) เป็นการเสริมสร้างเขี้ยวเล็บครั้งสำคัญ เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง หรือ Network Centric Air Force โดยการปรับปรุงครั้งนี้จะเป็นการปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับ F-5E จำนวน ๑๑ เครื่อง และ F-5F จำนวน ๓ เครื่อง ดังนี้
- ปรับปรุงโครงสร้างอากาศยาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้ต่อไป ไม่น้อยกว่า ๑๕ ปี- ดัดแปลงโครงสร้างเพื่อทำการติดตั้งเรดาร์ที่มีรัศมีการตรวจจับในระยะไกล
- ปรับปรุงระบบ Avionics โดยปรับปรุงห้องนักบินให้แสดงผลแบบ Glass Cockpit ติดตั้งจอแสดงผลขนาดใหญ่ ๒ จอ เพื่อแสดงข้อมูลด้านการบิน การตรวจจับ การควบคุมการใช้อาวุธ และภาพสถานการณ์ในพื้นที่การรบ อำนวยการโดย Mission Computer จำนวน ๒ ชุด ที่สามารถทำงานทดแทนกันได้แม้ MC ตัวหนึ่งทำงานผิดพลาด ระบบส่องสว่างทั้งภายนอกและภายในห้องนักบินได้รับการปรับปรุงให้รองรับการปฏิบัติภารกิจในเวลากลางคืนด้วยกล้อง NVG ติดตั้งระบบนำทางด้วย INS/GPS/Radar Altimeter สามารถใช้งานหมวกบินติดศูนย์เล็งแบบ DASH IV ทั้งยังติดตั้งวิทยุ UHF/VHF ที่มีขีดความสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี
- ระบบอาวุธ สามารถใช้งานอาวุธที่ทันสมัย ทั้งอาวุธนำวิถีอากาศ-สู่-อากาศทั้งในระยะสายตา (Within Visual Range: WVR) และนอกระยะสายตา (Beyond Visual Range: BVR) รวมทั้งอาวุธอากาศ-สู่-พื้น ที่มีประจำการในกองทัพอากาศ ทั้งแบบ Guided และ Unguided ซึ่งจะทำให้เครื่องบินขับไล่แบบ F-5E/F นี้ มีขีดความสามารถเทียบเท่ากับเครื่องบินขับไล่ในยุค ๔.๕ เป็นกำลังสำคัญให้กับกองทัพอากาศได้ในระยะยาว
และที่สำคัญที่สุด ในการปรับปรุงครั้งนี้ เป็นการปรับปรุงบนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง โดยบุคลากรของกองทัพอากาศเป็นส่วนใหญ่ เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ทั้งระบบโครงสร้างอากาศยาน ระบบไฟฟ้าอากาศยาน การวางแผนปรับปรุงอากาศยาน ฯลฯ เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่ง นำไปสู่การพัฒนากองทัพอากาศต่อไปอย่างยั่งยืน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)