สำหรับห้วงการฝึกในทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนล่างกับทัพเรือภาคที่ 2 กองทัพเรือจัดกำลังเรือ 3 ลำ เป็นหมู่เรือประกอบด้วย เรือหลวงจักรีนฤเบศร พร้อมเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบที่ 1 (S-70B) และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่ 2 (Bell 212) เรือหลวงนเรศวร และเรือหลวงสุโขทัย โดยมี พลเรือตรี อนุพงศ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้บัญชาการกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ กองเรือยุทธการ เป็นผู้บังคับหมู่เรือเดินทางร่วมงาน IMDEX ASIA 2017 ณ ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ระหว่าง 9 - 24 พฤษภาคม 2560 โดยงาน IMDEX ASIA 2017 แบ่งออกเป็น 3 กิจกรรม คืองานสวนสนามทางเรือนานาชาติ (International Maritime Review:KMR) เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี การก่อตั้งกองทัพเรือ สาธารณรัฐสิงคโปร์ การเข้าร่วมงานนิทรรศการทางเรือ IMDEX ASIA 2017 และการฝึกผสม The Sixth Westem Pacific Naval Symposium Maritime Sea Exercise (6th WMSX) โดยกำลังที่เข้าร่วมฝึกประกอบด้วย เรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือหลวงสุโขทัย และกองทัพเรือมิตรประเทศที่เข้าร่วมงานนิทรรศการทางเรือ IMDEX ASIA 2017 ห้วงเวลาการฝึกระหว่าง 12-13 พฤษภาคม 2560 ฝึกบริเวณทะเลจีนใต้ จนถึงฐานทัพเรือชางงี ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยมีหัวข้อการฝึกที่สำคัญ ประกอบด้วย การฝึกติดต่อสื่อสารทางยุทธวิธี และการฝึกติดต่อทางทัศนสัญญาณ
และในระหว่างเดินทางไปกองทัพเรือจัด เรือหลวงนเรศวร เข้าร่วมการฝึกผสมพหุภาคี CARAT 17 กับ กองทัพเรือสหรัฐฯ และ กองทัพเรือสิงคโปร์ ระหว่าง 10 -12 พฤษภาคม 2560 ซึ่งมีกำลังทางเรือจาก 3 ประเทศเข้าฝึกฯ ดังนี้ ฝ่ายกองทัพเรือไทยจัด เรือหลวงนเรศวร ฝ่ายกองทัพเรือสหรัฐฯ จัดเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศ USS Stethem(DDG 104) และเรือ USS Coronado (LCS 4) และฝ่ายกองทัพเรือสิงคโปร์จัดเรือ RSS Intrepid โดยใช้พื้นที่ฝึกระหว่างบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจนถึงฐานทัพเรือชางงี ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ สำหรับหัวข้อการฝึกผสมฯ ที่สำคัญประกอบด้วย การปฝึกป้องกันภัยทางอากาศให้กับกระบวนเรือ การฝึกยิงอาวุธในทะเลต่อเป้า Killer Tomato การตรวจเยี่ยมและตรวจค้น การสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนกำลังพล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความร่วมมือและความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกันของทั้ง 3 ประเทศ ซึ่งตามปกติการฝึก CARAT เป็นการฝึกผสมแบบทวิภาคี (ฝึกระหว่าง 2 ประเทศ) ระหว่าง กองทัพเรือสหรัฐฯ กับ กองทัพเรือมิตรประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่ผ่านมาได้มีแนวคิดในการขยายขอบเขตเป็นการฝึกพหุภาคี (3 ประเทศขึ้นไป) ซึ่งได้เริ่มการฝึกพหุภาคีเป็นครั้งแรกระหว่าง กองทัพเรือสหรัฐฯ กองทัพเรือมาเลเซีย และกองทัพเรือฟิลิปปินส์ เมื่อปีที่แล้ว
ในระหว่างเดินทางกลับกองทัพเรือจัดเรือหลวงสุโขทัยทำการฝึก RTN – RAN PASSEX กับ กองทัพเรือออสเตรเลีย โดยมีกำลังทางเรือประกอบด้วย เรือหลวงสุโขทัย และเรือ HMAS BALlARAT มีห้วงเวลาการฝึกระหว่าง 19 - 23 พฤษภาคม 2560 พื้นมีการฝึกบริเวณเส้นทางเดินเรือระหว่างฐานทัพเรือชางงี ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ถึงฐานทัพเรือสัตหีบ โดยมีหัวข้อการฝึกที่สำคัญ ประกอบด้วย การฝึกป้องกันภัยทางอากาศให้กับกระบวนเรือ การฝึกการติดต่อสื่อสารทางยุทธวิธี การฝึกการติดต่อทางทัศนสัญญาณ และการฝึกประกอบกำลัง
และก่อนเดินทางกลับกองทัพเรือจัดเรือหลวงนเรศวร เดินทางไปร่วมฝึกกับทัพเรือภาคที่ 3 ในการฝึกกองทัพเรือประจำปี 2560 รวมทั้งร่วมการฝึกผสม Guardian Sea 2017 กับ กองทัพเรือสหรัฐฯ ซึ่งกองทัพเรือได้จัดเรือหลวงนเรศวร และเรือหลวงล่องลม พร้อมเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่ 4 (S-76 B) จากทัพเรือภาคที่ 3 ประกอบกำลังในการฝึกเป็นหมู่เรือ โดยมี นาวาเอก วโรดม สุวารี รองผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ เป็นผู้บังคับหมู่เรือฝึก Guardian Sea 2017 สำหรับกำลังทางเรือในการฝึกประกอบด้วย เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงล่องลม เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่ 4 (S-76 B) เรือดำน้ำชั้น Los Angeles เรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศ USS STETHEM และเครื่องบิน P-3C มีห้วงเวลาการฝึกระหว่าง 22 - 27 พฤษภาคม 2560 พื้นมีการฝึกบริเวณทะเลอันดามัน โดยมีหัวข้อการฝึกที่สำคัญ ประกอบด้วย การจัดนายทหารสังเกตการณ์การฝึดลงเรือดำน้ำ เรือพิฆาต USS STETHEM และอากาศยานของกองทัพเรือสหรัฐฯ การฝึกความคุ้นเคย (Familiarization) การฝึดตรวจจับและติดตามเป้า (TRACKEX) เรือดำน้ำ การฝึกแบบอิสระ (Free Play) การฝึกการขัดขวางค้นหาเรือดำน้ำในการเดินทางผ่านในพื้นที่ของหน่วยปราบเรือดำน้ำ การฝึกการเดินทางของหน่วยปราบเรือดำน้ำ ในพื้นที่ทีมีเรือดำน้ำปฏิบัติการ และการถ่ายภาพรูปกระบวนการฝึก (PHOTOEX)
ซึ่งในการฝึกกองทัพเรือประจำปี 2560 และการฝึกผสมกับมิตรประเทศในครั้งนี้จะใช้เวลารวมประมาณ 24 วัน โดยการฝึกฯ ดังกล่าว จะทำให้กำลังทางเรือทุกประเภท ทั้งในส่วนของ กองเรือยุทธการ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กำลังที่ปฏิบัติในทัพเรือภาค และหน่วยสนับสนุนต่างๆ ได้รับการฝึกตามภารกิจหลักควบคู่ไปกับภารกิจอื่นๆ ที่ กองทัพเรือได้รับ ดังนั้นการฝึกกองทัพเรือประจำปี 2560 เป็นการเตรียมความพร้อมที่สำคัญตามภารกิจ บทบาทหน้าที่ ที่กองทัพเรือ ได้รับ และจะทำให้สามารถพัฒนาหน่วยที่มีขีดความสามารถอยู่ในระดับมาตรฐาน (Standard Navy)ไปสู่ระดับมืออาชีพ (Professional Navy) ตามนโยบาย ผู้บัญชาการทหารเรือ โดย กองทัพเรือ จะมีความพร้อมที่จะรับมือกับภัยคุกคามทุกรูปแบบ ตั้งแต่การรักษาอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การรักษากฎหมาย จนถึงการช่วยเหลือประชาชนจากภัยพิบัติ อันจะทำให้ประชาชนเชื่อมั่นได้ว่ากองทัพเรือสามารถสร้างความมั่นคงปลอดภัยและอยู่เคียงข้างประชาชนเสมอ รวมทั้งจะทำให้กำลังของเหล่าทัพต่างๆ ที่เข้าร่วมการฝึก มีความรู้ความเข้าใจในการประสานสอดคล้อง และสร้างความคุ้นเคยในการปฏิบัติการร่วมกัน ซึ่งเป็นไปตามหลักนิยมและแนวทางการปฏิบัติการร่วม กับเป็นพื้นฐานสำหรับการฝึกร่วมกองทัพไทย ที่จะเกิดขึ้นภายใต้การอำนวยการยุทธ์ที่เป็นเอกภาพของกองบัญชาการกองทัพไทย และการฝึกผสมกับมิตรประเทศ เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์กับมิตรประเทศ และเป็นการเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติการทางเรือให้มีมาตราฐานสากล โดยจะส่งผลให้ในภาพรวมของกองทัพไทยมีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนตลอดไป
ที่มา:ภาพ/ข้อมูล กรมยุทธการทหารเรือ กองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ กองเรือยุทธการ สำนักงานผู้ช่วยฑูตฝ่ายทหารเรือประจำสถานเอกอัครราชฑูตไทย ณ สิงคโปร์ https://m.facebook.com/story.php…
Ships from the Royal Thai, Republic of Singapore and U.S. Navy sail together during the second-annual Multilateral CARAT - Cooperation Afloat Readiness and Training exercise.
CARAT is a series of annual maritime exercises aimed at strengthening partnerships and increasing interoperability through bilateral and multilateral engagements ashore and at sea. : Commander Destroyer Squadron SEVEN
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น