1 กันยายน 2554 กองทัพไทยได้ลงนามในสัญญาการจัดหารถถังหลัก (OBT) กับทาง "Ukrspetsexport" แห่งยูเครน ภายใต้ข้อตกลงของสัญญาการจัดหาครั้งนี้ ทางการยูเครนจะทำการผลิตรถถังดังกล่าว จำนวน 49 คัน ให้กับทางการไทย มูลค่าของสัญญากว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ
ก่อนหน้านี้ทางการไทยได้ลงนามในสัญญาการจัดหายานเกราะล้อยาง BTR-3E1 กับทางการยูเครน ตามโครงการระยะที่ 2 จำนวน 121 คัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 140 ล้านเหรียญสหรัฐ..
http://www.ukrspecexport.com/
http://www.kyivpost.com/news/business/bus_general/detail/112098/
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบกำ!! ไหงเป็นอย่างนี้อ่ะ!! ตอนแรกจะจัดหามา 200 คันไม่ใช่เรอะ!?
ตอบลบ49 คัน!! นิดเดียวเองสำหรับประเทศที่มีชายแดนติดกับเพื่อนบ้านทุกทิศแบบประเทศเราเนี่ย!! - -" (เซ็งมาก) แล้วรุ่นอะไรอ่าครับ?
การจัดหาทีเดียว 200 คัน ใช้งบประมาณค่อนข้างมากครับ เข้าใจว่าทางกองทัพคงจะทยอยจัดหาไปจนกว่าจะครบตามความต้องการ.. สำหรับรถถังที่จัดหาเป็นรถถังหลัก OPLOT ตามภาพประกอบนั่นหล่ะครับ แต่ในส่วนรายละเอียดต่างๆ ของรถถังคงต้องรอให้ทางกองทัพเปิดเผยให้ทราบอีกทีครับ ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีข่าวอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้จากทางกองทัพเลย ยังเงียบๆ อยู่ครับ
ตอบลบSukom / 2-9-54
ใช้ครับ OPLOT แต่เป็น OPLOT รุ่นอีหยังครับ!?
ตอบลบคาดว่าคงจะเป็นรุ่นล่าสุดคือ OPLOT-M แต่อย่างไรก็ตามอย่างที่บอก คงต้องรอให้ทางกองทัพออกมาเปิดเผยรายละเอียดของรถถังที่ได้จัดหาอีกครั้งครับ
ตอบลบSukom / 4-9-54
ในที่สุดกองทัพไทยก็ปลดแอกจากอาวุธอเมริกันได้สักที
ตอบลบพวกอเมริกันหวงเทคโนโลยี่ กองทัพหันไปซื้อของดีราคาไม่แพง
T-84 OPLOT M รถถังรุ่นอัพเกรดใหม่ล่าสุด เป็นเรื่องที่ดีมากที่กองทัพไทย ไม่ต้องพึ่งอาวุธจากอเมริกันต่อไป เมื่อเรามีเงินเราสามารถไปซื้ออาวุธที่ดีและมีประสิทธิภาพสูงจากแหล่งอื่นที่เขายินดีถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูงให้เรา ขอสนับสนุนครับ
ปีนี้ 2011 เราก็ยังเป็นผู้ซื้ออยู่ เซ็งจริงๆ
ตอบลบจะเป็นรถถังประเทศใดไม่สำคัญ..ขอให้ตรงตามความต้องการของทหารผู้ที่ใช้จะดียิ่ง
ตอบลบกองทัพไทยน่าจะมีรถถังรุ่น oplot-m ซัก 1000 คันนะครับ จึงจะพอกับความต้องการ และเพื่อน
ตอบลบบ้านเราจะได้เกรงใจบ้าง
ถ้าจัดหนักก็ ที-84โอพล็อตเอ็ม 500 คัน แลพเพิร์ด2เอ6 200 คัน สติงเรย์เอ-2 500 คัน บีทีอาร์3อี1 1000 คัน รถหุ้มเกราะสายพานแบรดลี่ย์เอ2 500 คัน ระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยใกล้ ทอร์เอ็ม1/2 36 ระบบ ระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยไกล เอส-300พีเอ็มยู2 12 ระบบ ระบบปืนใหญ่ 155 มม.เอ็ม109 เอ-6 50 กระบอก ระบบปืนใหญ่ 155 มม. ซีซาร์ 150 กระบอก ระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง 300 มม. สเมิร์ช
ตอบลบ50 ระบบ ระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง 300 มม.ดีทีไอ-1 50 ระบบ ฮ.โจมตี เอเอช-64ดี ลองโบว์อาปาเช่ 24 เครื่อง แค่นี้ ก็ไม่มีใครหน้าไหนมาแหยมไทยแลนด์ของเราแล้วครับ แต่จำนวนที่ว่ามานี้คงใช้งบประมาณหลายแสนล้านแน่ๆเลย
ไม่ใช่แค่แสนล้านครับ
ตอบลบน่าจะมากกว่าโขเลย
T-84 OPLOT ตกคันละ 4 ล้านได้ ไม่ไปเอา K1A1 คันละ 2 ล้านกว่าๆเอง หรือ T-90 ล้านนิดๆ คิดได้ไง แล้วถ้าไม่เน้นราคาถูก แล้วพวก Anti-USA ผมถามว่าวันดีคืนดี เพื่อนบ้านเราเมากัญชาบุกไทยขึ้นมา มีกี่ประเทศกันที่จะมาช่วยเรารบ ถ้าไม่นับ เอกากับจีน จะมีไหมอะ ถ้าเป็นผมซื้อของใกล้บ้านดีกว่า หรือไม่ก็ของเจ้าพ่อไปเลย
ตอบลบเรื่องราคา รถถัง K1A1 และ T-90 น่าจะแพงกว่า Oplot นะครับ และกรณีที่ว่าทำไม ทบ.เลือกรถถัง Oplot ผมคิดว่า ทบ.คงจะได้พิจารณาแล้วว่า รถถังมีคุณลักษณะตรงตามข้อกำหนดความต้องการ รวมทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและราคาของรถถัง มีความเหมาะสม โดยสามารถจัดหาได้ตามกรอบวงเงินงบประมาณ
ตอบลบSukom / 10/10/54
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
ตอบลบขอให้ได้ของดีมาแล้วกัน (ประเทศไทยเจริญ)
ตอบลบผมไม่รู้ว่าคุณทำอะไรกันอยู่ ขอให้ดูประเทศไทยเป็นหลัก (ไหว้แล้ว)
ตอบลบผมไปเห็นข่าวอินโด ซื้อ Leo 2 A6 100คัน 260ล้านดอล เองอะไหมเค้าซื้อได้ถูกเราไม่ซื้อแบบเค้าบ้างเหรอ
ตอบลบรถถังหลัก Leopard 2A6 ที่อินโดนีเซียสนใจจะจัดหาเป็นรถถังมือสองครับ ซึ่งก็เป็นธรรมดามือสองก็ต้องราคาถูกอยู่แล้วครับ..แต่สำหรับรถถังหลักที่เราได้จัดหาเป็นรถถังสร้างใหม่มือหนึ่งครับ..
ตอบลบSukom / 20/11/11
เอาที 90 หรือ ลีโอ 2 เอ 6 ไปเลยให้รู้แล้วรู้รอด.. ส่วนตัวชอบลีโอนะ..ของพวกดอยช์ เข้าเจ๋งจริง ปล.อยากได้ เรืออู-214 ของดอยช์ด้วยหง่ะ เอาซัก 6 ลำ ใช้อ่าวไทย สัก 4 อันดามัน ซัก 2 ลำ ..
ตอบลบมือสองแต่ก็คุณภาพสูงกว่า ระบบเชื่อถือได้
ตอบลบดีกว่าอยู่ดีนะ
โอพล็อตไม่เคยผ่านสงครามมาเลย คุณภาพงานคนละเรื่อง
ส่วนเรื่องมือหนึ่งจะอายุยืนยาวกว่าหรือไม่ก็ยังไม่แน่ อาวุธค่ายรัสเซียยิ่งอายุสั้นๆอยู่
คงไม่หลับหูหลับตาซื้อล่ะครับ ซื้อของมือสองไม่ผ่านสภากันง่ายๆหรอก เรือดำน้ำยังเอวังเลยคุณ รถถังแนวคิดคือทนต่อสมรภูมิการรบทุกๆสภาพการณ์ทั้งกลางวัน กลางคืน สภาพอากาศ การซ่อมบำรุง และที่สำคัญมันต้องยิงแม่นและมีระบบป้องกันตัวอย่างเกราะที่ปกป้องอาวุธของทหารราบได้ แต่ก็จอดไม่ต้องแจวถ้าเจอจรวดต่อสู้รถถังยุคใหม่ยิงลงกลางป้อมมีเกราะดีหนาต่อให้เป็น Leopard 2A6 หรือ T-90 ก็เละ
ตอบลบแล้วจะซื้อมาแพงกว่าทำไมมือสองก็ถูกกว่าอันนี้เป็นทหารม้าผมคงไม่อยากได้ของมือสองที่ต้องผ่านมือผ่านการซ่อมมาแน่ ถ้าใช้งานได้เกิน 30 ปีก็เพียงพอแล้วครับถึงตอนนั้นภัยคุกคามต่อรถถังจะเป็นเรื่องที่ต้องจัดหาใหม่เพราะมันจะล้าสมัยไม่สามารถต่อกรกับอาวุธในวันข้างหน้าได้
ทำไมจัดหาน้อยจัง
ตอบลบผมว่าเราจัดหาได้เหมาะสมเเล้วครับ จากการที่ได้ศึกษาระบบการจัดซื้อพัสดุ เเต่เราก็ไม่ต้องการรถถังใหญ่นะครับ ทุกท่านคงรู้ว่าทำไมถึงมีประเทศไทยใช้รถถังstingrayอยู่ผู้เดียวในโลก ก็ดินมันอ่อนนะครับ เอาลีโอมาเเล่นจะเป็นอะไรรึป่าว งบประมาณเราก็ไม่ได้มีมากมาย ผมว่าก็เหมาะสมเเล้วนะ คิดว่าในอนาคตเราคงสร้างอาวุธของเราเองได้หลากหลายขึ้น จะได้ประหยัดงบประมาณเอามาพัฒนาประเทศ
ตอบลบขอไม่เกิน 2017 นะครับ สำหรับการผลิตใช้เอง อืม...
ตอบลบไทยชื้อกี่คันกันแน่49หรือ200คัน
ตอบลบงง
จำนวนรถถังของการจัดหาล็อตนี้ 49 คัน ครับ ซึ่งคิดว่าจำนวนความต้องการจริงๆ คือ 200 คัน แต่ทางกองทัพบกไม่สามารถจัดหาได้ครบในคราวเดียว ทั้ง 200 คัน เนื่องจากต้องใช้เงินงบประมาณค่อนข้างมาก จึงใช้วิธีการทยอยจัดหาเป็นล็อตๆ ไปจนกว่าจะครบตามจำนวนความต้องการ
ตอบลบSukom 3/1/2555
Oplot แตกต่างจากt84 อย่างไรครับ ซึ้งผมได้รับรู้มาว่าT84ของยูเครนมีประสิทธิภาพที่สูงทีเดียวครับผมว่าทางกองทัพคิดถูกแล้วที่เลือกนะครับ
ตอบลบถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นที่ป้อมปืน
ตอบลบติดลิขสิทธิ์ของรัสเซีย
เขาเลยออกแบบใหม่เป็น oplot M
ลำกล้องยิงจรวดนำวิธีใด้เหมือน T90 ของรัฐเซียใหมครับ ดูคล้ายกัน
ตอบลบขอสอบถามเรื่อง AUTO LOADING หน่อยครับ ผมสับสนกับข้อมูลที่ว่า รถถังจะต้องหยุดจนกว่าจะบรรจุกระสุนเสร็จ ว่าเป็นเช่นนั้นหรือเปล่าครับ รบกวนด้วย ขอบคุณครับ
ตอบลบพล
ขอตอบแทนนะครับ สามารถยิงจรวดนำวิถีเลเซอร์ได้ และไม่ต้องหยุดรถ ขณะที่รถถังทำการยิงหรือบรรจุกระสุนครับ
ตอบลบแต่ที่ดูศึกษามา จะต้องหยุดรถก่อน ผมแปลกใจว่าทำไมประเทศอื่นซื้อได้ถูกกว่าและได้ของดีกว่าประเทศเรา(คนรู้ตอบผมด้วย)
ตอบลบไปเบิดยูธูบ ดูซิคุณ พิม ชื้อรถถังลงไป จะเห็นว่ามันยิงยังไงใด้บ้าง ทำอะไรใด้บ้าง ยุกนี้รถถังเขาสร้างไห้ดำน้ำใด้แล้ว อย่าว่าแต่วิ้งยิงเลย oplot M นี้ก็ไปดำน้ำโชที่ดูไบมาแล้ว แวะมาดูก็เลยอวดรู้ซะหน่อย ไม่ว่ากันนะครับ
ตอบลบดีครับอย่าพึงแต่พวกอเมริกันมากนัก อาวุธที่มันนำมาขายทั้งราคาแพงแถมตกรุ่นอีกต่าง
ตอบลบสร้างเองดีสุด
ตอบลบเห็นด้วยพี่
ลบสนับสนุนครับทยอยชื้อก็ได้อยากให้เปลี่ยนตั้งนานแล้วล่ะครับไปอิงอะไรกะอเมริกามากแค่นี้ก็ขี้ข้ามันอยู่แล้ว
ตอบลบผมว่ากองทัพบกน่าจะซื้อLeopard2A7รุ่นใหม่ล่าสุด ดีกว่านะคับ
ตอบลบไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี ระบบอาวุธที่ทันสมัย ความคล่องตัวของรถ รวมทั้งราคาของมัน
ที่ไทยพอจะสามารถจัดหาได้มาใช้งานได้ตามความต้องการของกองทัพได้ครบ200คัน
และก็สามารถต่อกรกับรถถังทุกรุ่นของกองทัพเพื่อนบ้านของเราอย่างมีประสิทธิภาพเป็น
อย่างดีเยี่ยม...อีกด้วยครับ
เจ้าA7มันแพงครับ ซื้อไม่ไหวหรอกเจ้าครับ A7 ถ้าจะให้ครบ 200 คัน
ลบทหารบก หมดตัวแน่ ลองเองราคาของเจ้า A7 ไปคูณ 49 ดูครับ เพราะจัดหามา 49 คัน บวกค่าจิปาถะอื่นๆ รับรองทหารบกหมดตัวแน่ๆ
ผมว่ากองทัพน่าจะจัดหาระบบต่อต้านรถถังอันใหม่ด้วยนะครับ ตัวเลือกที่น่าสนใจที่สุดKornet-Eครับ พิสูจน์ตัวเองมาแล้วจากการล้มยังของอเมริกาอย่างM-1A1 Merkava MK4ของพี่ยิว เกราะหนักๆอย่าง Chalengerเมืองผู้ดียังต้องออกจากการรบมาแล้ว ราคาค่าตัวไม่ทราบครับแต่ถูกกว่ารถถังแน่นนอน มีซักกองร้อยละลายกองพันรถถังได้สบายละครับ
ตอบลบเห็นด้วยอย่างแรงเลยครับ เครื่องยิงจรวดต่อต้ารรถถังรุ่นใหม่ๆ ของเค้าดีจริงราคาถูกกว่ารถถังอีก โดนจังๆ M1 หรือ LEO ก็จอด
ลบผมว่าถ้าจะไม่ให้ยุ่งยากทำไมประเทศเราไม่ผลิตเองเลยละครับ
ตอบลบคิดดูนะครับถ้าเกิดว่าเราผลิตเองข้อดีจะเยอะมากกว่าข้อเส๊ยเลยครับ
1.เราสามารถออกแบบอาวุธที่ต้องการกับความต้องการของกองทัพ
เรา(เหมือนกับญี่ปุ่นที่หลังแพ้สงครามโลกครั้งที่2ได้ออกแบบปืน
ที่เหมาะสำหรับคนญี่ปุ่น)
2.หารายได้เข้าประเทศอีกหนึ่งทาง
3.งบประมานในการผลิตน้อย
ที่ผมกล่าวมาข้างต้นนั้นคุณอย่าเพิ่งคิดว่าคนไทยทำไม่ได้นะ
เพราะว่าเมื่อก่อนทางกองทัพเคยคิดที่จะยืนด้วยขาของตนเหมือนกัน
และได้ผลิตปืนมาทดลองใช้แต่ไม่นานได้มีกฏหมายใหม่ขึ้นมาทำให้
บริษัทและแนวคิดที่ว่าไม่พึ่งต่างชาติมากเกินไปได้ลอยหายไป
***ที่ผมว่าเราไม่สามารถยืนด้วยขาของตนเองได้เพราะแนวคิดที่
คัดแย้งกับนโยบายของรัฐบาลทำให้เราไม่สามารถผลิตอาวุธยุธโธปรกรณ์
ได้ด้วยประการฉะนั้น
ไม่ว่าจะจัดซื้อรถถังรุ่นใดมาประจำการก้อขอให้ได้มาครบ200คันนะครับ
ตอบลบจะได้เพียงพอต่อการรับมือสงครามหลายๆด้านในเวลาเดียวกัน
เอาไว้เผื่อกองทัพเราโดนรุม จะได้สู้กองทัพอื่นเขาได้
ตามที่ผมเข้าใจ
ตอบลบ- เรื่องราคา คงขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ ที่เราสั่งให้เขาติดตั้งให้เราว่าจะมีอะไรบ้าง คุณภาพดี ราคาก็แพงกว่า
_ เรื่องจำนวนขึ้นอยู่กับ ภัยคุกคามในปัจจุบัยและอนาคต,รถ ฯ เดิมที่มีอยู่แล้ว, งบประมาณที่มี ฯลฯ ผมว่าประสิทธิภาพของอุปกรณ์และคน น่าจะสำคัญกว่าจำนวน
_ การซื้อควรซื้อ สัก ๕ ปี ซื้อที เพื่อจะได้ทยอยปลดเมื่อเก่าหรือล้าสมัยในอนาคตข้างหน้า การซื้อครั้งเดียวจำนวนมาก จะมีผลเสีย หากของรุ่นใหม่คุณภาพดีกว่าออกมา ของที่ซื้อสะสมไว้จะล้าสมัย
ภัยคุกคามเรามีเขมรเเค่จัดกรินพรินไปให้ก็ราบคราบเเล้วยิงมีdti-1ไปเเล้วไม่ต้องพูดเลยว่าจะเป็นอย่าไง ภัยคุกคามในอนาคคือมาเลเซียเเย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติด้านพลัง เวียดนามด้วยชอบมาช่วยเขมร
ตอบลบขออภัย LEO 1 ครับ เพราะหลายปีแล้ว not LEO 2
ตอบลบผมเคยซุกซน แอบปีนขึ้นไปบน LEO 1 เมื่อครั้งที่มันถูกส่งเข้าประเมินในไทย ตัวรถยาวยังกะเรือ ถามคุณน้า แกบอกว่าเพิ่งถอดแยกชิ้น แล้วประกอบรวมเข้าไปใหม่ ผลการประเมินจากหลายฝ่าย สอบตกเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี และราคา ( หวงวิชา ) วันนี้เลยเห็นว่ามาคบกะยูเครน ขนาดสิงคโปร์ ยังได้มือสองเล้ย....
ตอบลบของยูเครน..ให้วิชามาด้วย..น่าสน..ทำเองเมือไหร่ ลดงบลงไปเยอะ..
ตอบลบซื้อเยอะๆ ครับ เดียวประเทศอื่นแซงอันดับนะ
ตอบลบเอาแบบนี้ทำเหมือนคุณพี่จีนเลยง่ายกว่า ก๊อบเขามาเลยง่ายดี
ตอบลบอยากให้กองทัพไทยยิ่งใหญ่เกรียงไกรที่สุดในอาเซี่ยนGDPไทยเป็นรองแค่อินโดนีเซียแต่น่าเสียดายที่โอกาสดีๆต้องสูญสิ้นไปเพราะเกมการเมือง
ตอบลบจุดอ่อนของรถรุ่นนี้คือเรื่องกล้องพาโนรามิคตัวใหญ่ครับ สามารถถูกทำลายด้วยการระดมยิงเป็นกลุ่มแคบ ก็ทำให้หมดประสิทธิภาพในการรบแล้วครับ ต่างจากกล้องทั่วไปที่ต้องใช้การยิงด้วยความแม่นยำ ขนาด T-72M4CZ ของสาธารณรัฐเชค แม้จะติดตั้งในลักษณะเดียวกัน แต่ก็ไม่ขวางปืนขนาด 12.7 มม. เหมือนกับรถแบบนี้ครับ
ตอบลบที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ไม่สามารถเล็งยิงได้ทันที ซึ่งตรงนี้ต่างจาก T-90 ของรัสเซีย โดยสิ้นเชิงครับ ของรัสเซียสามารถหันตามไปได้ทันที เพราะตัวกล้อง , ระบบควบคุม และตัวปืนเป็นชุดเดียวกันครับ
ข้อดีที่ยอมรับได้อย่างเดียวคือเรื่องของระบบ ERA ครับ ที่ดูมีน้ำหนักน้อยกว่า KONTATK-5 ของรัสเซียครับ และข้อที่ควรปรับปรุงก็คือ ถอดกระโปรงข้างรถออกครับ เพราะบ้านเราไม่ใช่ประเทศทะเลทราย และใช้เกราะ ERA แบบเดียวกับตัวป้อมปืน น่าจะดีกว่า สามารถใช้งานร่วมกันได้
"กล้องพาโนรามิค" เป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของรถถัง Oplot เท่านั้น ถ้าในการรบ ถูกทำลาย หรือ ได้รับความเสียหาย ก็ํไม่ได้ทำให้รถถังหมดประสิทธิภาพในการรบหรอกครับ เพราะในส่วนของระบบอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจการณ์และเพื่อเล็งยิงเป้าหมาย ยังมีกล้องเล็งและอุปกรณ์ควบคุมการยิงอื่นๆ ติดตั้งอยู่กับรถถังอยู่ครับ สำหรับกล้องพาโนรามิค เป็นอุปกรณ์ใหม่ ที่มีแนวโน้มว่า รถถังรุ่นใหม่ๆ ปัจจุบัน จะติดตั้งกันนะครับ
ตอบลบส่วนระบบปืนรอง หรือ ปืนกลที่ติดตั้งอยู่บนหลังคาป้อมปืน ซึ่งตัวกล้องพาโนรามิคที่ติดตั้งอยู่จะกีดขวางเป็นอุปสรรคต่อการยิง สำหรับประเด็นนี้ ต้องพิสูจน์การใช้งานกันดูครับ และ คนที่จะรู้ดีที่สุด ก็คือผู้ที่ใช้งานมันนั่นแหละครับ
กระโปรงข้างรถเป็นระบบเกราะ..ป้องกันทางด้านข้างของตัวรถ ที่ผู้ออกแบบและสร้างมัน เขาคงได้ทดสอบทดลองมาอย่างดีและแน่ใจแล้วล่ะครับ ว่ามันเหมาะสมกับตัวรถถัง เขาถึงนำมาติดตั้งเป็นระบบป้องกันของรถถังรุ่นนี้.. แล้วมันไม่เหมาะกับบ้านของเรายังไงครับ และทำไมถึงบอกว่า มันเหมาะกับประเทศที่เป็นทะเลทราย..??
เหตุผลเพราะว่า มันช่วยบังคับฝุ่นทรายให้ฟุ้งไปทางด้านหลังของรถแทนนะครับ ลดการตรวจจับจากระยะไกลของรถถังข้าศึกไปได้เยอะ และประเทศไทยนั้นก็เป็นประเทศที่ฝนตกชุกครับ หากเปื้อนโคลนเลนมาแล้ว ถอดทำความสะอาดกินเวลานานครับ ทางที่ดีทำให้ชายกระโปรงข้างรถมันสูงขึ้นหน่อย ( แต่อย่าให้ติดพื้น ) เป็นใช้ได้ครับ จะได้ทำความสะอาดง่ายครับ
ตอบลบส่วนเรื่องของกล้องพาโนรามิคนั้นถือเป็นหัวใจแห่งการบัญชารถของผู้บังคับรถครับ หากถูกทำลายแล้ว ก็เท่ากับว่าผู้บังคับรถมีความเสี่ยงมากขึ้นครับ เพราะต้องขึ้นมาตรวจการณ์ด้วยตัวเอง เสี่ยงต่อการถูกยิง หากเป็นสถานการณ์รบ กล้องถูกทำลายเมื่อไหร่ เขาก็ซัดด้วยเครื่องยิงจรวดตามทันทีครับ หลายชาติก็เลยทำกล้องพาโนรามิคให้เล็กหรือเตี้ยไว้ก่อน ลดความเสี่ยงไปด้วยครับ
อาวุธยุทโธปกรณ์ส่วนใหญ่ในโลกนี้ มิใช่เน้นเรื่องของจุดแข็งอย่างเดียว แต่ต้องหาทางลดจุดอ่อนด้วยครับ การเลือกนอกจากเรื่องของราคาแล้ว ก็ต้องมีจุดอ่อนให้น้อยที่สุดครับ และต้องชี้ให้ผู้ใช้งานเข้าใจถึงจุดอ่อนมากกว่าจุดแข็งด้วยครับ จะได้วางแผนอย่างรอบคอบ หรือหาทางป้องเนิ่นๆ ดีกว่าเข้าสนามรบแล้ว พบจุดอ่อนทีหลัง บางทีเราอาจต้องแลกด้วยประสบการณ์ราคาแพงที่เราต้องจดจำชั่วชีวิตครับ
ไม่ระบุชื่อ26 ตุลาคม 2555, 11:10
ลบเหตุผลเพราะว่า มันช่วยบังคับฝุ่นทรายให้ฟุ้งไปทางด้านหลังของรถแทนนะครับ ลดการตรวจจับจากระยะไกลของรถถังข้าศึกไปได้เยอะ และประเทศไทยนั้นก็เป็นประเทศที่ฝนตกชุกครับ หากเปื้อนโคลนเลนมาแล้ว ถอดทำความสะอาดกินเวลานานครับ ทางที่ดีทำให้ชายกระโปรงข้างรถมันสูงขึ้นหน่อย ( แต่อย่าให้ติดพื้น ) เป็นใช้ได้ครับ จะได้ทำความสะอาดง่ายครับ
Sukom ..
เหตุผลนี้มันเป็นประเด็นที่เล็กน้อยมากนะครับ..
ไม่ระบุชื่อ26 ตุลาคม 2555, 11:10
ส่วนเรื่องของกล้องพาโนรามิคนั้นถือเป็นหัวใจแห่งการบัญชารถของผู้บังคับรถครับ หากถูกทำลายแล้ว ก็เท่ากับว่าผู้บังคับรถมีความเสี่ยงมากขึ้นครับ เพราะต้องขึ้นมาตรวจการณ์ด้วยตัวเอง เสี่ยงต่อการถูกยิง หากเป็นสถานการณ์รบ กล้องถูกทำลายเมื่อไหร่ เขาก็ซัดด้วยเครื่องยิงจรวดตามทันทีครับ หลายชาติก็เลยทำกล้องพาโนรามิคให้เล็กหรือเตี้ยไว้ก่อน ลดความเสี่ยงไปด้วยครับ
อาวุธยุทโธปกรณ์ส่วนใหญ่ในโลกนี้ มิใช่เน้นเรื่องของจุดแข็งอย่างเดียว แต่ต้องหาทางลดจุดอ่อนด้วยครับ การเลือกนอกจากเรื่องของราคาแล้ว ก็ต้องมีจุดอ่อนให้น้อยที่สุดครับ และต้องชี้ให้ผู้ใช้งานเข้าใจถึงจุดอ่อนมากกว่าจุดแข็งด้วยครับ จะได้วางแผนอย่างรอบคอบ หรือหาทางป้องเนิ่นๆ ดีกว่าเข้าสนามรบแล้ว พบจุดอ่อนทีหลัง บางทีเราอาจต้องแลกด้วยประสบการณ์ราคาแพงที่เราต้องจดจำชั่วชีวิตครับ
Sukom..
อุปกรณ์ทุกอย่างมัีนมีเหตุผลของการออกแบบ และ สร้างมันขึ้นมา ซึ่งกว่าที่มาเป็นรถถังที่ดีคันหนึ่ง ผมคิดว่า คงมีการทดสอบทดลองกันมามากแล้ว และ สำหรับ รถถัง Oplot m ที่สร้างโดย KMDB แห่ง ยูเครน ที่มีประสบการณ์การสร้างรถถัง และ รถประเภทต่างๆ มาค่อนข้างมาก และ ยาวนานมากว่า 80 ปี ซึ่งยาวนานมากขนาดนี้ ก็คงสั่งสมอะไรมาเยอะล่ะครับ..เขาคงมีอะไรดีแน่นอน ฉะนั้น ประเ็ด็นของ กล้่องพาโนรามิค ที่ได้ตั้งข้อสังเกตกันว่า มันใหญ่เกินไป หรือ อะไรก็ตาม.. และจะเป็นจุดอ่อนของรถถังได้ ผมว่ามันเป็นการมองจากที่เราเห็น แล้วคาดคะเนเอา ว่ามันจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อาจจะเรียกว่า จินตนาการ ผสมเข้าไปด้วย ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะพวกเรายังไม่เคยเห็นมันจริงๆ และไม่ได้ทดลองใช้งานหรือสัมผัสมันมาก่อน.. ซึ่งสำหรับความคิดเห็นของผมในตอนนี้ ที่เกี่ยวกับระบบ กล้องพาโนรามิค หรือ ระบบอื่นๆ ของ รถถัง Oplot ผมจะยังไม่วิพากวิจารณ์อะไรมากมาย เพราะ..
1.ผมเชื่อว่ากองทัพบก เขาคงพิจารณา ข้อดี ข้อเสีย ของรถถัง Oplot และ เปรียบเทียบกับ รถถังแบบอื่นๆ มาแล้ว ถึงได้ตัดสินใจเลือกรถถัง Oplot ..
2.ด้วยประสบการณ์การสร้างรถถัง ที่ยาวนาน ของ บริษัท KMDB แห่ง ยูเครน ผู้ผลิตสร้างรถถัง Oplot ..
3.และต้องมีการพิสูจน์การใช้งาน ซึ่งก็โดย กำลังพลของกองทัพบกไทย ที่ได้มีโอกาสใช้งานมันนั่นแหละครับ จะเป็นผู้ให้คำตอบ เป็นอย่างดีว่า รถถัง oplot พร้อมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่กับรถถัง มันดี หรือ ไม่ดี อย่างไร..
ผมว่าเสริมด้วยรถรบทหารราบแบบ BMP-3 กับระบบต่อสู้อากาศยานแบบ 2K22 TUNGUSKA-M ดีกว่าครับ ของรัสเซียเค้าดีพอ ไม่งั้นคงไม่มีใครซื้อไปใช้งาน หรือหลายชาติให้ความสนใจถึงขนาดนี้หรอกครับ ( ถ้าไม่ติดขัดงบประมาณ + ชี้แจ้งให้คณะกรรมาธิการเข้าใจได้ + ไม่ต้องเกรงใจสหรัฐฯมากนัก ก็ซื้อมาเลยครับ เพราะบ้านเราไม่มีใครปกป้องได้ เท่ากับคนในบ้านด้วยกันเองครับ )
ตอบลบเสียดายครับ อยากให้มีการทดสอบภาคสนามเหมือนกับที่เราเคยทำสมัยที่ท่าน พล.อ. เชษฐา ฐานะจาโร เป็นผบ.ทบ. ครับ ทดสอบและได้ตัวเต็งแล้วครับ แต่ตอนนั้นเราไม่มีเงินก็เลยพับไป แต่ก็เเสดงถึงความโปร่งใสได้ในระดับหนึ่งครับ
ตอบลบแต่เรื่องการจัดหารถเกราะสมัย พล.อ. สนธิ นี่ มันไม่ค่อยจะจบสวยเท่าไหร่นัก และการ
ทดสอบก็สู้สมัย พล.อ. เชษฐา ไม่ได้ครับ มันก็เลยมีข้อกังขาอยู่เยอะครับ
รถถังเราซื้อนี่ต้องอยู่อย่างต่ำ 30-40 ปี ครับ ก็เลยอยากให้พิถีพิถันกันหน่อย ไมใช่วิเคราะห์จากข้อมูลที่ตัวแทนจำหน่ายส่งมาพร้อมกับวีดีโอ ไม่งั้นเดี๋ยวจะแย่ยิ่งกว่า BTR-3E1
ส่วนตัวเชียร์ T-90 ครับ และอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทางโรงงาน URALVAGONZAVOD นี่เขาผลิตหลายอย่าง หากต้องการปรับปรุงระบบรางแล้ว หากซื้อของรัสเซีย ก็อาจใช้เป็นใบ
เบิกทางในการเจรจาขอซื้อพวกตู้หรือแค่รถสินค้าได้ครับ หรือเครื่องจักรกลขนาดเล็กเขาก็
มีครับ ( อยากรู้ก็เชิญที่ www.uralvagonzavod.com/ ครับ จะได้รู้ว่าผมไม่ได้โกหกครับ )
BRT-3E1 มันแย่ยังไงไม่ทราบ
ลบชอบพูดกันไปเรื่อย ทุกวันนี้็ก็เห็นแล้วว่ารถเกราะล้อยาง BTR-3E1 เป็นรถที่มีประสิทธิภาพดีแบบหนึ่ง
ลบอีกประการหนึ่งก็คือว่า หากเราซื้อของจากเจ้าเดิมทั้งที่เรื่องรถเกราะล้อยาง
ตอบลบจบไม่สวย เช่นนี้โดนบางกลุ่มบางพวกโจมตีแน่ครับ เป็นไปได้น่าจะมีการเว้นช่วงไปบ้าง ดีกว่าดำเนินการต่อไป แล้วเจอข้อกังขาตามเป็นหางว่าว
ความเห็นอีกประการหนึ่งก็คือว่า เหตุที่เราไปซื้อของยูเครนเพราะว่าตอนนี้
ยูเครนเองกำลังพยายามเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรปกับองค์การนาโต้อยู่ และทางเราเองก็ยังเกรงใจสหรัฐฯอยู่ ก็เลยเลี่ยงๆไปซื้อของยูเครน แต่ว่ารถถังเนี่ย ต้องอยู่กับเรานานมากครับ หากเลือกผิดตอนนี้ก็ต้องฝืนใช้ไปนานเลยครับ ก็เลยอยากให้มีการจัดซื้อและทดสอบก่อน เพื่อให้เกิดความโปร่งใสให้มากเท่าที่จะทำได้ จะได้ช่วยลดเงื่อนไขของบุคคลบางกลุ่มและลดข้อกังขาของประชาชนด้วยครับ
แ้ล้วคุณรู้ได้ยังไงว่าเขาไม่ได้ทดสอบรถถังมาก่อน ผมเชื่อนะว่ากองทัพบก เขาคงไม่ได้เชื่อตามที่ข้อมูลของตัวแทนจำหน่ายส่งมาหรือนั่งดูวิดีโอหรอก คงจะได้มีการทดสอบแล้วล่ะครับ อย่าลืมนะว่าโครงการจัดซื้อจัดหารถถังของกองทัพบกเขามีคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกแบบ ถ้าลองคิดด้วยเหตุผล ต้องมีการทดสอบอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน ผมเชื่ออย่างนั้นนะ
ลบผมชอบเทคโนโลยีต่างๆ
ตอบลบเป็นการดีที่เราได้จัดหาอาวุธที่ดี แต่การสะสมมากเกินไปก็ไม่ได้หมายความถึงข้อดีทางอำนาจ แต่จะหมายถึงความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างเพื่อนบ้าน แต่การจัดหาเพื่อความเหมาะสมเพื่อความพร้อมในการป้องกันเป็นนโบายที่ดีที่สุด ภายใต้กรอบนี้ผมเชื่อว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาถึงความเหมาะสม และประโยชน์บนพื้นฐาน ของข้อจำกัดต่างๆแล้ว ขอชื่นชมในการจัดหาครั้งนี้ และทุกๆครั้ง ทั้งนี้ทั้งนั้นความสำเร็จคือการที่เราสามารถเชื่อมต่อความสัมพันธ์ ระหว่างภูมิภาคนี้ให้ได้ เรานั่งรถไปไหว้พระเก้าวัดได้ตั้งแต่เหนือสุดของพม่า ไปจิบกาแฟสบายๆ ที่นครวัต เหมือนกับที่เราไปตลาดน้ำอัมพวาได้ นี่แหละคือการป้องกันประเทศอย่างแท้จริง
รบกับเขมรทหารพรานทหารราบทหารปืนใหญ่เขาได้ล้างลำกล้องปืนกันขาดทหารม้าเท่านั้นครับเจ้านาย
ตอบลบจำนวนไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะทำให้ได้รับชัยชนะ..
ตอบลบแต่การวางแผนการรบ การรบในแบบของทหาร ถึงจะชนะ
ถ้ารบแบบนักการเมือง ก็ดู สหรัฐ ที่รบกับเวียดนามเป็นตัวอย่าง...
และที่ผ่านมาที่เรารบกับเขมร...ก็ทำแค่ไม่ให้เขมรยกพลรุกเข้ามาในแดนของไทยเท่านั้น
ถ้าจะรบเอาแพ้เอาชนะจริงๆ ให้ทหารวางแผนและทำการรบดูสิ
ด้วยสรรพาวุธ ทั้งทางบก เรือ อากาศ ที่เรามีคณะนี้...ถล่มเขมร ราบพนาสูญ ภายใน หนึ่งอาทิตย์แค่นั้งแหละ
ไม่รู้นะครับว่ามีจำนวนมากเพื่ออะไร ถ้ามากเพื่อนๆข้างบ้านก็จะกลัวเราลุกรานเขาก็ยิ่งจัดหามาสะสมกัน เอาว่ามีพอประมาณแล้วจัดหา คอบร้าหรืออาปาเช่ไว้สำหรับป้องกันและทำลายโดยตรง หรือถ้าดีเลยก็ A-10 เลยครับท่านไม่ต้องกลัวใคร 555...
ตอบลบกล้องพาโนรามิคที่ขนาดใหญ่นั้นเป็นเพราะได้ติดตั้งอุปกณ์ตรวจจับไว้หลายแบบ? โดยส่วนตัวคิดว่ามันน่าจะมีประโยชน์ในการรบมากนะครับ เช่นใช้ในการซ่อนพลางตัวรถอยู่หลังเนิน โผล่มาแต่ตัวกล้องเพื่อตรวจการณ์หาเป้าหมาย จะทำให้ OPLOT-M มีโอกาสตรวจพบเป้าหมายได้ก่อนค่อนข้างมาก บวกกับเกราะที่มีประสิทธิภาพสูง และความเร็วในการเคลื่อนที่ จะทำให้ OPLOT-M ไม่ได้ด้อยกว่ารถถังแบบอื่นๆเลย
ตอบลบOPLOT-M ใช้เครืองยนตร์ อะไรครับ MTU เบ้น เหมือน BTR 3E1 หรือเปลาครับ เพือนผมเป็นช่างของการรถไฟ มันบอกว่า รถไฟสปริ้นเตอร์ ก็ใช้เครื่องยนตร์ MTU เหมือนกัน ทนทายาทเลย แต่อะไหล่แพง เรืองน้ำมันลืมคำว่าประหยัดไปใด้เลย การรถไฟจึงขาดทุนมาจนทุกวันนี้ (เพือนผมว่านะ) 5555
ตอบลบดูข้อมูลแล้ว เหมือนรถถังรุ่นที่เอาอะไรมาปะไว้ ติดระบบแบบไม่มีการออกแบบตัวโครงสร้าง ไว้รองรับ ผิดกับรถถัง M1 Leopard 2 โครงสร้างออกแบบมาระบบที่ถูกออกแบบให้รับการโจมตีจากภายนอกได้ ทน สงใสว่าถ้าโดนจรวด RPG ถล่ม ระบบควบคุม การมอง การยิง จะถูกทำลาย ง่าย ไหม ดูจาดภายนอกแล้วโครงสร้าง Tank OPLOT-M เหมือนเอาอะไรมาปะใส่ มากกว่า หวังว่าคงไม่เหมือน รถถังจีนที่ซื้อมาแล้วไปทิ้งทะเลนะ เสียดายของ ดูข้อมูลเปลียบเทียบแล้ว Tank OPLOT-M vs Tank Leopard 2 http://www.youtube.com/watch?v=YXiehsT-KnU
ตอบลบแนวคิดการออกแบบมันละแบบเอามาเปรียบเทียบกันแบบนี้ยังไงมันก็มีความแตกต่างกันอยู่แล้ว เมื่อพูดถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ถ้ามองที่รูปลักษณ์ของมัน แล้วบอกว่ามันจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ผมก็ว่าไม่น่าจะถูกต้องนักสำหรับการจะวิจารณ์อะไรอย่างนี้ ดังนั้นต้องมาดูที่ข้อมูลสมรรถนะ ขีดความสามารถ และคุณลักษณะด้านต่างๆ แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน ผมว่าน่าจะถูกต้องกว่านะ..
ลบงั้นขอกล่าวถึงเรื่องของการจัดหารถถังหลักของเสือเหลือง ( มาเลเซีย )นั้นมีหลายชาติทั้งรัสเซีย , ยูเครน , โปแลนด์ ฯลฯ ส่งรถถังของตนเองเข้าแข่งขัน โดยจัดให้มีการทดสอบในภูมิประเทศของตนเองทั้งการขับเคลื่อนในภูมิประเทศป่า , การขับเคลื่อนในพื้นที่โคลนเลน เป็นต้น ซึ่งปรากฏว่า รถถังหลักแบบ PT-91M ชนะการแข่งขันได้รับการคัดเลือกเข้าประจำการในกองทัพบกมาเลเซีย แม้ว่าฝ่ายค้านของทางนั้นจะค้านว่าประเทศของเขามีภูมิประเทศเป็นป่าเขา แต่ก็ค้านไม่ได้มากนัก เพราะผลการทดสอบที่เห็นชัดเจน ซึ่งเราเองจัดให้มีการแข่งขันในลักษณะดังกล่าวขึ้นในโครงการจัดหายางเกราะล้อยาง ผลปรากฏว่า รถเกราะแบบ LAV-25 เป็นตัวเต็ง แต่เพราะสภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้นจึงยกเลิกไป
ตอบลบสำหรับการจัดหารรถถังหลักแบบ T-84 OPLOT-M นั้น ที่ปรากฏมีแค่การไปเยือนของ ผบ.ทบ. และคณะเท่านั้น จนถึงข่าวล่าสุดที่คณะของ ผบ.ศม. ไปเยือนที่โรงงาน MALASEV อันเป็นฐานการผลิตหลักเท่านั้น แต่ไม่ปรากฏว่ามีการทดสอบในภูมิประเทศเหมือนอย่างมาเลเซีย เกรงว่าต่อไปในอนาคตอาจมีบางฝ่ายนำไปโจมตีเรื่องของความไม่โปร่งใส
แต่ถึงกระนั้นหากเป็นการตัดสินที่ถี่ถ้วนแล้ว เราก็คงต้องยอมรับ แต่การจัดหารถกู้ซ่อมนั้น แทนที่จะสั่งเป็นรถกู้ซ่อมเพียงอย่างเดียว น่าจะมีการนำรถกู้ซ่อมมาดัดแปลงด้วยการถอดเครน ติดตั้งตัวตักดินเหมือนรถแบ็คโฮ เพื่อใช้เป็นรถของทหารช่างด้วยเพราะเท่าที่ดูลักษณะของรถกู้ซ่อมของยูเครนแล้ว สามารถดัดแปลงเป็นลักษณะดังกล่าวได้
ส่วนการถ่วงดุลด้านรถถังของประเทศเพื่อนบ้านนั้น นอกจากการจัดหารถถังแล้ว ควรจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี ที่มีมิติใกล้เคียงกับ AH-1 COBRA อย่างเจ้าพังพอนพิฆาต ( A-129 MANGUSTA ) หรือจะจัดหาเครื่องบินโจมตีแบบเจ้าหมูป่า ( A-10 THUNDERBOLT ) หรือเจ้ากบพิฆาต ( SU-25 FROGFOOT ) มาเสริมด้วย ส่วนชุดต่อสู้รถถังก็เสริมด้วยจรวด KORNET-E แล้ว รับรองต้องคิดหนักครับ