หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2564

เรือตรวจการณ์ปืน ของกองทัพเรือไทย

ประมวลภาพ เรือตรวจการณ์ระยะปานกลาง ชุดต่างๆ ที่ สังกัด กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ

กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ มีเรือตรวจการณ์ประเภทต่างๆ อยู่ในสังกัด อาทิ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง จำนวน 4 ลำ ประกอบด้วย เรือหลวงปัตตานี (511) เรือหลวงนราธิวาส (512) เรือหลวงกระบี่ (551) และ เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ (552) นอกจากนั้นยังมีเรือตรวจการณ์ระยะปานกลาง ชุดต่างๆ จำนวนรวมกันทั้งสิ้น 14 ลำ ดังต่อไปนี้

เรือหลวงราชฤทธิ์ (จำนวน 1 ลำ)

เป็นเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุดที่ 2 ของกองทัพเรือไทย โดยเป็นเรือชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ (หมายเลข 321) และอีก 2 ลำ คือ ร.ล. วิทยาคม (หมายเลข 322) และ ร.ล. อุดมเดช (หมายเลข 323) ติดอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น-สู่-พื้น เอ็กโซเซ่ต์ เอ็มเอ็ม 38 จำนวน 4 ท่อยิง มีระวางขับน้ำเต็มที่ 300 ตัน ตัวเรือมีความยาว 49.80 เมตร ความกว้าง 7.50 เมตร กินน้ำลึก 1.70 เมตร ความเร็วสูงสุด 38 นอต กำลังพลประจำเรือ 46 นาย ส่วนอาวุธปืนที่ติดตั้งบนเรือได้แก่ ปืนใหญ่เรือ 76/62 มม. ออโด เมราลา หัวเรือ ปืนกล 40/70 มม. ท้ายเรือ และปืนกล .50 นิ้ว อีก 2 กระบอก ต่อโดย ซีเอ็น บรีดา ประเทศอิตาลี

ทั้งนี้ เรืออีก 2 ลำ คือ ร.ล. วิทยาคม และ ร.ล. อุดมเดช ได้ถูกปลดประจำการไปแล้ว ส่วน เรือหลวงราชฤทธิ์ ก็คาดว่าจะถูกปลดประจำการในเร็วๆ นี้ เช่นเดียวกัน

**เรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุดแรก คือ เรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี ชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ จำนวน 3 ลำ ซึ่งถูกปลดประจำการไปแล้ว

เรือตรวจการณ์ระยะปานกลาง “เรือเร็วโจมตีปืน ชุด ร.ล.ชลบุรี” (จำนวน 3 ลำ)

คุณลักษณะทั่วไป

มิติ (ก x ย x ส) : 8.8 x 60.40 x 20 ม. น้ำลึกหัว(2.1) ท้าย(2.3 ) ม.

ความเร็ว : มัธยัสถ์(18) สูงสุด(29) Kts.

ระยะปฏิบัติการสูงสุด : 2,946 Nm.

ขีดความสามารถ :

 - ระดมยิงฝั่งด้วย ปืน 76/62 

 - ต่อสู้อากาศยานด้วย ปืน 76/62 ปืน 40/70

 - Picket ของกองเรือ

 - ปฏิบัติการร่วมกับ บ./ฮ.

 - ควบคุมบังคับบัญชา ระดับหมู่เรือ

 - ป้องกันระยะประชิดด้วย ปก. 40/70 มม.และ ปก. .50 นิ้ว

เรือตรวจการณ์ระยะปานกลาง “เรือตรวจการณ์ปืน ชุด ร.ล.หัวหิน” (จำนวน 3 ลำ)

คุณลักษณะทั่วไป

มิติ (ก x ย x ส) : 8.9 x 61.67 x 17.10 ม. น้ำลึกหัว(2.64) ท้าย(2.26) ม.

ความเร็ว : มัธยัสถ์(15) สูงสุด (25) Kts.

ระยะปฏิบัติการสูงสุด : 2,667 Nm.

ขีดความสามารถ :

 - ระดมยิงฝั่งด้วย ปืน 76/50 

 - ต่อสู้อากาศยานด้วย ปืน 76/50

 - Picket ของกองเรือ

 - ปฏิบัติการร่วมกับ บ./ฮ.

 - ควบคุมบังคับบัญชา ระดับหมู่เรือ

 - ป้องกันระยะประชิดด้วย ปก. 40/60 มม.และ ปก. .50 นิ้ว

เรือตรวจการณ์ระยะปานกลาง เรือตรวจการณ์ปืน ชุด ร.ล.สัตหีบ (จำนวน 3 ลำ)

คุณลักษณะทั่วไป

มิติ (ก x ย x ส) : 7.28 x 50.14 x 16.31 ม. น้ำลึกหัว(1.8) ท้าย(2.8) ม.

ความเร็ว : มัธยัสถ์(15) สูงสุด(22) Kts.

ระยะปฏิบัติการสูงสุด : 2,500 Nm.

ขีดความสามารถ :

 - ระดมยิงฝั่งด้วย ปืน 76/62 

 - ต่อสู้อากาศยานด้วย ปืน 76/62

 - Picket ของกองเรือ

 - ปฏิบัติการร่วมกับ บ./ฮ.

 - ควบคุมบังคับบัญชา ระดับหมู่เรือ

 - ป้องกันระยะประชิดด้วย ปก. 40/70 มม. ปก.20 มม.และ ปก. .50 นิ้ว

เรือตรวจการณ์ระยะปานกลาง “เรือตรวจการณ์ปืน ชุด ร.ล.กันตัง” (จำนวน 3 ลำ)

คุณสมบัติทั่วไป

มิติ (ก x ย x ส) : 7.278 x 50.14 x 16.31 ม. น้ำลึกหัว(1.8) ท้าย(2.9) ม.

ความเร็ว : มัธยัสถ์(15) สูงสุด(22) Kts.

ระยะปฏิบัติการสูงสุด : 3,268.35 Nm.

ขีดความสามารถ :

 - ระดมยิงฝั่งด้วย ปืน 76/50 

 - ต่อสู้อากาศยานด้วย ปืน 76/50

 - Picket ของกองเรือ

 - ปฏิบัติการร่วมกับ บ./ฮ.

 - ควบคุมบังคับบัญชา ระดับหมู่เรือ

 - ป้องกันระยะประชิดด้วย ปก. 40/60 มม. ปก.20 มม.และ ปก. .50 นิ้ว

เรือหลวงแหลมสิงห์ เรือตรวจการณ์ระยะปานกลาง “เรือตรวจการณ์ปืน” (จำนวน 1 ลำ)

คุณลักษณะทั่วไป

รบ ๒ มิติ กว้าง ๙.๓ ม. ยาว ๕๘ ม.  กินน้ำลึก ๓.๒ ม.

ความเร็ว ๒๓ น๊อต

ระยะปฏิบัติการสูงสุด ๑,๕๐๐ ไมล์ทะเล

ขีดความสามารถ

๑. ต่อตีเป้าพื้นน้ำ อากาศยาน ด้วยปืน ๗๖/๖๒ มม.

๒. ระดมยิ่งฝั่งด้วยปืน ๗๖/๖๒ มม.

๓. ป้องกันระยะประชิด ด้วยปืนกล .๕๐ นิ้ว

๔. ตรวจการณ์ป้องกันการแทรกซึมทางผิวน้ำ

๕. ควบคุมบังคับบัญชาระดับหมู่เรือ

๖. ปฏิบัติการร่วมกัน บ./ฮ.

—————————————————

เรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี เรือหลวงราชฤทธิ์ (321)

—————————————————
เรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี เรือหลวงวิทยาคม (322) ปลดประจำการแล้ว
—————————————————
เรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถีชุดแรก ร.ล.หาญหักศัตรู (312) ปลดประจำการแล้ว
—————————————————
เรือหลวงราชฤทธิ์ (321) แล่นฝ่าคลื่นลมในทะเล กับ เรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถีชุดแรก คือ ร.ล.หาญหักศัตรู (312) ปลดประจำการแล้ว และ เรือตรวจการณ์ปืน เรือหลวงสัตหีบ (521)
—————————————————
เรือเร็วโจมตีปืน ร.ล.ชลบุรี (331) ร.ล.สงขลา (332) และ ร.ล.ภูเก็ต (333)
—————————————————
เรือตรวจการณ์ปืน ร.ล.หัวหิน (541) ร.ล.แกลง (542) และ ร.ล.ศรีราชา (543)
—————————————————
เรือตรวจการณ์ปืน ร.ล.สัตหีบ (521) ร.ล.คลองใหญ่ (522) และ ร.ล.ตากใบ (523)
เรือตรวจการณ์ปืน ร.ล.กันตัง (524) ร.ล.เทพา (525) และ ร.ล.ท้ายเหมือง (526)
—————————————————
เรือตรวจการณ์ปืน ร.ล.แหลมสิงห์ (561)
—————————————————
ทัพเรือภาคที่ ๓
1 เมษายน
เรือหลวงแหลมสิงห์ และ เรือหลวงกระบี่

2 เขี้ยวเล็บสำคัญของกองทัพเรือ ที่สามารถปฏิบัติการได้ในทุกพื้นที่ ขณะกำลังลาดตระเวนในทะเลอันดามัน โดยภารกิจที่สำคัญ คือการปกป้องอธิปไตย และให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบเหตุการณ์ต่างๆ ในทะเล

นับว่าทั้ง 2 ลำนี้ เป็นกำลังทางเรือที่สำคัญ ของทัพเรือภาคที่ 3 ในการปฏิบัติทุกภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

#ทัพเรือภาคที่3
#เรือหลวงกระบี่
#เรือหลวงแหลมสิงห์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น