หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

11.11 "SHARK" Elephant Walk

11.11 "SHARK" Elephant Walk

เครื่องบิน Gripen 39 C/D สังกัดฝูงบิน ๗๐๑ กองบิน ๗ พร้อมปฏิบัติการบินทุกเครื่อง คิดเป็น ๑๐๐%

วันที่ ๑๑.๑๑.๒๐๒๐ เวลา ๑๑.๑๑ น. นาวาอากาศเอก พุทธพงศ์  ผลชีวิน ผู้บังคับการกองบิน ๗ มอบหมายให้ ฝูงบิน ๗๐๑ และฝูงบิน ๗๐๒ ร่วมบินประกอบกำลังขนาดใหญ่ ฝึกปฏิบัติการโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ในภารกิจปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลเหนือพื้นที่อ่าวไทย

#wing7RTAF #SEVEN RTAF
S - Strong
E - Effective
V - Victory
E - Enhance
N – Nation

https://www.facebook.com/wing7RTAF/posts/3500415116713504
https://www.facebook.com/sumate.roikaew/posts/3896378473709064

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2563

RTAF : การพัฒนาระบบการศึกษา และการวิจัยยุทโธปกรณ์ของโรงเรียนนายเรืออากาศ...

การพัฒนาระบบการศึกษา และการวิจัยยุทโธปกรณ์ของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช 、。。
By RTAF 、。。

กองทัพอากาศ มุ่งพัฒนาระบบการศึกษา และการวิจัยยุทโธปกรณ์ของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เพื่อรองรับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ New S - Curve 11 & New S - Curve 12 、。。

ยุทธศาสตร์ 20 ปี พ.ศ.2560 - 2579 ของกองทัพอากาศ .. เน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถกำลังทางอากาศ ตลอดจนความเข้มแข็งในมิติไซเบอร์ และมิติอวกาศ รวมทั้งการใช้แนวทางจัดหาพร้อมการพัฒนา Purchase & Development เป็นทิศทางพัฒนาหลักให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม 、。。

ทั้งนี้ Purchase & Development Strategy เป็นทิศทางการพัฒนากองทัพอากาศ และเป็นการกำหนดทิศทางในความร่วมมือ ระหว่างกองทัพอากาศ และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งการปรับปรุงหลักสูตรหลักของโรงเรียนนายเรืออากาศฯ และ ให้สำนักบัญฑิตศึกษา รร.นอ.จัดหลักสูตรปริญญาโท เทคโนโลยีป้องกันประเทศ ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป โดยกำหนดโจทย์กลุ่มงานวิจัย 5 กลุ่มงานวิจัย หวังจะนำงานวิจัย มาใช้ได้จริง 、。。

Royal Thai Air Force Gripen 39C/D & Weapons

รวมภาพ เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ Gripen 39C/D ของกองทัพอากาศไทย พร้อมกับระบบอาวุธที่ทำการติดตั้ง ...
https://thaidefense-news.blogspot.com/2020/06/photo-gallery-jet-fighter-weapon-royal.html

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ข้อมูลเกี่ยวกับ เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น T-50TH

มาอัพเดทข้อมูลสมรรถนะและขีดความสามารถของ เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น T-50TH ของกองทัพอากาศไทย กันอีกครั้งครับภายหลังจากที่ T-50TH ทั้ง 12 ลำ ได้เข้าประจำการอยู่ในกองทัพอากาศมาแล้วระยะเวลาหนึ่ง อีกทั้งทางกองทัพอากาศมีแผนจัดหาเพิ่มอีก 2 ลำ แต่เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของ ไวรัส Covid-19 ต่อเศรษฐกิจประเทศ ทางกองทัพอากาศจึงได้เลื่อนการจัดหาออกไป

https://thaidefense-news.blogspot.com/2018/01/t-50th_21.html
https://aagth1.blogspot.com/2019/05/kai-t-50th.html
https://wing4.rtaf.mi.th/wing4/index.php/2015-11-19-08-58-50/1518-1009632
T-50TH เป็นเครื่องบินที่ดี ราคาถูก คุ้มค่า มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่ไม่สูง มีสมรรถนะที่ดี พัฒนาโดยบริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท ล็อกฮีด มาร์ติน ของสหรัฐอเมริกา ผู้ผลิตเครื่องบิน F-16 เป็นหนึ่งในเครื่องบินฝึกหัดไม่กี่รุ่นในโลกที่มีความเร็วเหนือเสียง ทั้งนี้โดยพื้นฐานแล้ว T-50 มีโครงแบบส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับเครื่องบิน F-16
T-50TH เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นทดแทน L-39
มีเทคโนโลยีที่เหมาะสม ทันสมัย (Modernize Aircraft and Training System) เป็นเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ที่มีสมรรถนะสูงเพียงพอที่จะพัฒนาการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นให้สามารถปฏิบัติภารกิจกับเครื่องบินขับไล่/โจมตีสมรรถนะสูงของกองทัพอากาศที่มีใช้งานในปัจจุบัน
คุณลักษณะและสมรรถนะ
-ความยาว: 13.14 เมตร
-ช่วงปีก: 9.45 เมตร
-ความสูง: 4.94 เมตร
-พื้นที่ปีก: 23.69 ตารางเมตร
-น้ำหนักบรรทุกเปล่า: 6,470 กิโลกรัม
-น้ำหนักการทะยานสูงสุด: 12,300 กิโลกรัม
-เครื่องยนต์: 1× General Electric F404 afterburning turbofan
-แรงขับแห้ง 53.07 กิโลนิวตัน
-แรงขับเผาไหม้ 78.7 กิโลนิวตัน
-ความเร็วสูงสุด: 1,640 กิโลเมตร/ชั่วโมง (มัค 1.5)
-พิสัยปฏิบัติการ: 1,851 กิโลเมตร
-เพดานบิน: 14,630 เมตร
-อัตราการไต่เพดานบิน: 11,887 เมตร/นาที
ความคุ้มค่า
----------------------------------------------------
- มีขีดความสามารถในการติดตั้งใช้งานอาวุธได้หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะที่กองทัพอากาศมีใช้งานในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งกิจเฉพาะหลัก และกิจเฉพาะรอง

- ติดตั้งเครื่องยนต์ชนิดเดียวกับเครื่องบิน Gripen

- สามารถใช้งานอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้นและเครื่องมือร่วมกับเครื่องบิน F-16 ได้ถึงร้อยละ 70 ส่งผลให้การดูแลรักษา ซ่อมบำรุง มีความง่าย ไม่ต้องลงทุนจัดซื้อเครื่องมือใหม่ทั้งหมด

- ติดตั้งระบบเรดาร์ที่ทันสมัยและสามารถตรวจจับเป้าหมายได้

ระบบฝึกบินทางยุทธวิธี
----------------------------------------------------
- มีระบบฝึกการบินทางยุทธวิธี (Embedded Tactical Training System : ETTS) ติดตั้งทั้งเครื่องบิน ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ระบบ ETTS นี้จะช่วยการฝึกนักบินให้มีความสมจริงเหมือนการรบ (Train-As-You-Fight) โดยจำลองขีดความสามารถการใช้อาวุธของเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง และสร้างสภาพแวดล้อมต่างๆ ในการปฏิบัติภารกิจให้สมจริง สามารถจำลองระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link) จำลองการใช้อาวุธต่อเป้าหมายทั้งแบบอากาศ-อากาศ, อากาศ-พื้น, อาวุธนำวิถีแบบระยะไกลเกินสายตา และจำลองการทิ้งระเบิดแบบต่างๆ

รวมทั้งแสดงผลความแม่นยำ (Scoring) ในการใช้อาวุธ ทำให้สามารถวัดผลการฝึกนักบินได้เป็นอย่างดี สามารถจำลอง เป้าหมาย และภัยคุกคาม (Threat) เพื่อให้นักบินสามารถวางแผนดำเนินกลยุทธ์ หรือยุทธวิธีต่อเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นมีประสิทธิภาพสูง นักบินมีความคุ้นเคยต่อประสิทธิภาพและการใช้อาวุธของเครื่องบินขับไล่ชั้นแนวหน้าของกองทัพอากาศได้เป็นอย่างดี ทำให้การฝึกบินเปลี่ยนแบบจากเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ไปสู่เครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง ให้มีความพร้อมรบได้ในระยะเวลาสั้นลง ส่งผลต่อความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจ และประหยัดงบประมาณของประเทศ
แผนที่ทางอากาศ
----------------------------------------------------
- มีขีดความสามารถด้านการใช้แผนที่ทางอากาศแบบดิจิตอล (Digital Moving Map) ทั้งบนเครื่องบินและในเครื่องฝึกบินจำลอง (Simulator) จะช่วยให้นักบินสามารถวางแผนการบินได้ดีขึ้น เพิ่มความตระหนักรู้สถานการณ์ (Situation Awareness) ให้กับนักบินในขณะที่ปฏิบัติการบินต่อเป้าหมายทั้งภาคพื้นและภาคอากาศ เพิ่มความปลอดภัยในการบิน เพราะสามารถทราบตำแหน่งที่ตั้ง อุปสรรค ความสูงของพื้นที่การรบ เป้าหมาย หรือพื้นที่การฝึก ช่วยในการตัดสินตกลงใจในการปฏิบัติภารกิจ หรือการฝึกนักบิน อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการบินเข้าสู่เป้าหมาย

- สามารถพัฒนาให้ติดตั้งระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link : TDL) หรือระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีที่สามารถใช้งานในระบบบัญชาการและควบคุม หรือใช้ในระบบการปฏิบัติการทางอากาศของกองทัพอากาศได้ในอนาคต

- สามารถติดตั้งระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Warfare : EW) ประกอบด้วย Radar Warning Receiver (RWR) และ Counter Measure Dispenser System (CMDS) ที่ทันสมัย สามารถพัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูล Threat Library ให้ทันสมัยได้ในอนาคต

**ปัจจุบัน T-50TH ของกองทัพอากาศไทย ได้รับการปรับปรุงติดตั้งอุปกรณ์ประจำเครื่องเพิ่มเติมแล้ว
ประกอบด้วย Radar แบบ Elta EL/M-2032 ประเทศอิสราเอล, ระบบแจ้งเตือนการถูกตรวจจับด้วย Radar (RWR: Radar Warning Receiver) และระบบเป้าลวง (CMDS: Countermeasures Dispenser System)

- มีระบบพิสูจน์ฝ่าย (Identification Friend or Foe : IFF) ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกับระบบของกองทัพอากาศ รวมทั้งสามารถใช้งานได้เมื่อทำการบินในเส้นทางการบิน โดยเป็นไปตามมาตรฐานสากล
ระบบเครื่องช่วยฝึกบินจำลอง
----------------------------------------------------
- มีระบบเครื่องช่วยฝึกบินจำลอง (Simulator) และระบบการฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิคแบบบูรณาการ (Integrated Training System : ITS) ทำให้สามารถฝึกนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิคได้อย่างครอบคลุม สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพในการฝึก

- มีระบบการฝึกเจ้าหน้าที่เทคนิคแบบเสมือนจริง (Virtual Technical Training System : VTTS) เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่เทคนิค เกี่ยวกับการทำงานของระบบต่างๆ ในเครื่องบิน รวมถึงวิธีการซ่อมบำรุงเครื่องบิน

- มีอุปกรณ์ Computer Based Training (CBT) สำหรับฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิค

- มีระบบวางแผนการปฏิบัติภารกิจ (Mission Planning Systems : MPS) เพื่อใช้วางแผนการปฏิบัติภารกิจ และบรรยายสรุปก่อนบิน

- มีระบบบรรยายสรุปภายหลังการปฏิบัติภารกิจ เพื่อเก็บข้อมูล หรือบันทึกข้อมูลด้านการบิน และการปฏิบัติภารกิจ (Mission Debriefing System : MDS) ซึ่งมีขีดความสามารถบันทึกภาพและเสียงเป็นระบบ Digital เพื่อใช้วิเคราะห์การปฏิบัติภารกิจ และบรรยายสรุปภายหลังการบิน

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2563

Gripen E ของกองทัพอากาศบราซิลได้ทำการบินครั้งแรกในบราซิล

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา Gripen E ของกองทัพอากาศบราซิลได้ทำการบินครั้งแรกในบราซิล

เครื่องบินลำนี้บินจาก Navegantes (Santa Catarina) ไปยัง Gavião Peixoto (São Paulo) และดำเนินการโดยนักบินทดสอบของ Saab Marcus Wandt ...

https://www.aereo.jor.br/2020/10/01/video-o-piloto-conta-sobre-o-primeiro-voo-do-gripen-do-brasil/
https://www.aereo.jor.br/2020/10/01/fotos-cacas-gripen-e-f-5m-em-gaviao-peixoto-sp/

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

RTAF : Defence Industrial Cooperation and NKRAFA Academic & Innovation Conference 2020

RTAF Conference 2020 、。。
การประชุมความร่วมมืออุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ประจำปี 2563 、。。
By RTAF 、。。

การประชุม RTAF Defence Industrial Cooperation Conference | NKRAFA Academic & Innovation Conference 2020 、。。

- กองทัพอากาศ และการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
- EEC และการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ New S - Curve 11
- การส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเป้าหมาย
- กลไกการส่งเสริม และสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย
- ความท้าทายระบบการศึกษาไทย กับการสร้างนวตกรรมเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน New S - Curve 12

RTAF Conference 2020 Event Activities | RTAF :-
https://www.rtaf.mi.th/th/EventActivi...

Purchase & Development Strategy เป็นทิศทางการพัฒนากองทัพอากาศ โดยใช้โครงการจัดหายุทโธปกรณ์เป็นเครื่องมือและเงื่อนไขในการเรียนรู้ต่อยอดเทคโนโลยี สร้างนวตกรรมใหม่ๆ การพึ่งตนเอง อีกทั้งเป็นการกำหนดทิศทางในความร่วมมือ ระหว่างกองทัพอากาศ และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ 、。。

“ กำลังในอากาศ เป็นโล่อันแท้จริงอย่างเดียว ที่จะป้องกันมิให้กำรสงครามมาถึงท่ามกลางประเทศของเราได้ ทั้งเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งในการคมนาคมเวลาปกติ ”
- จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ พระบิดากองทัพอากาศ

ยุทธศาสตร์ 20 ปี พ.ศ.2560 - 2579 ของกองทัพอากาศ .. เน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถกำลังทางอากาศ ตลอดจนความเข้มแข็งในมิติไซเบอร์ และมิติอวกาศ รวมทั้งการใช้แนวทางจัดหาพร้อมการพัฒนา Purchase & Development เป็นทิศทางพัฒนาหลักให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม 、。。

กองทัพอากาศจึงมุ่งเน้นการพัฒนากำลังพลให้สอดคล้องตามแนวทางทหารฉลาด อาวุธฉลาด และกลยุทธ์ฉลาด เพื่อให้มั่นใจว่า กองทัพอากาศ พร้อมปฏิบัติภารกิจในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด เพื่อประเทศชาติและประชาชนอย่างเต็มความสามารถและเป็นกองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาคได้อย่างภาคภูมิ 、。。

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย 、。。

ในภาพรวมกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยในปัจจุบันยังอยู่ในระยะเริ่มต้น มีขีดความสามารถเพียงเพื่อการซ่อมบำรุง หรือเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กในการสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์บางประเภทสนับสนุนให้แก่กองทัพเท่านั้น 、。。

หากพิจารณาจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในสังกัดกระทรวงกลาโหม มีจำนวน ๔๘ โรงงาน โดยอยู่ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๘ โรงงาน กองบัญชาการกองทัพไทย ๑ โรงงาน กองทัพบก ๒๑ โรงงาน กองทัพเรือ ๗ โรงงาน กองทัพอากาศ ๑๒ โรงงาน นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในภาคเอกชนอีกจำนวน ๖๐ บริษัท ซึ่งส่วนมากเป็นบริษัทที่ซ่อมแซม ปรับปรุง หรือผลิตยุทโธปกรณ์ทางทหารบางประเภท อาทิ วัตถุระเบิด เชื้อประทุ กระสุนปืน รถยนต์ที่นั่งกันกระสุน ยานพาหนะ เสื้อเกราะป้องกันกระสุน แอมโมเนียมไนเตรส ไนโตรเซลลูโลส รวมถึงอุตสาหกรรมต่อและซ่อมเรือ ซึ่งบริษัทเหล่านี้ส่วนมาก ยังไม่มีขีดความสามารถสูงพอที่จะส่งออกสินค้าหรือแข่งขันในตลาดสากลได้ 、。。

อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมป้องกันประเทศเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่เป็นโอกาส และมีศักยภาพที่จะสร้าง และพัฒนาให้ตอบสนองตรงตามความต้องการด้านยุทโธปกรณ์ของกองทัพ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งหลายประเทศในโลก รวมถึงกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ได้พัฒนาอุตสาหกรรมด้านนี้อย่างจริงจัง เพราะนอกจากจะนำรายได้เข้าสู่ประเทศ และสร้างงานให้แก่ประชาชนเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมประเภทอื่นแล้ว ยังเป็นการสร้างความมั่นคงในด้านการทหารของชาติอีกด้วย 、。。

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2563

สภากลาโหม Master ก.ย.63

โครงการวิจัยและพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ ขึ้นใช้เองภายในประเทศ ....

“เรือหลวงนเรศวร” แปลอักษร รูป หัวใจสีแดง พร้อมคำว่า MoM บอกรักแม่ ในวันแม่ ...

“เรือหลวงนเรศวร” แปลอักษร รูป หัวใจสีแดง พร้อมคำว่า MoM บอกรักแม่ ในวันแม่  กลางอ่าวไทย

กำลังพลทหารเรือ ของ”เรือหลวงนเรศวร” 140 นาย ร่วมเเปลอักษรคำว่า 421 ♥️MOM  กลางทะเลอ่าวไทย 

ในระหว่างที่เรือหลวงนเรศวร รหัสเรือ 421 ร่วมภารกิจการฝึกยุทธวิธีเรือผิวน้ำ 2563

: กองทัพเรือ

การตรวจการพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพล และประสิทธิภาพหน่วยทหาร ประจำปี 2563 ของ ม.4 พัน.5 รอ.

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563 พลโท ณรงค์ พฤกษารุ่งเรือง ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะกรรมการชุดตรวจคุณภาพชีวิตกองทักบก ดำเนินการเข้าตรวจการพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพล และประสิทธิภาพหน่วยทหารกองทัพบก ประจำปี 2563 ของหน่วย กองพันทหารม้าที่ 5 กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ โดยมี พันโท กษม เตปิยะศิลป์ ผบ.ม.4 พัน.5 รอ. ให้การต้อนรับ ซึ่งมีรายละเอียดหัวข้อการรับตรวจ ดังนี้:-
  1. กองร้อยน่าอยู่/คุณภาพชีวิตทหารกองประจำการ
  2. กองพันเข้มแข็ง/ประสิทธิภาพหน่วยของกองทัพบก
  3. เขตทหารปลอดยาเสพติด/คุณภาพชีวิตกำลังพล และครอบครัว
  • ทั้งนี้ หน่วยได้ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ ผบช. อย่างเคร่งครัด
  • ผลการปฏิบัติ : เป็นไปด้วยความเรียบร้อย