หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2563

RTAF : การพัฒนาระบบการศึกษา และการวิจัยยุทโธปกรณ์ของโรงเรียนนายเรืออากาศ...

การพัฒนาระบบการศึกษา และการวิจัยยุทโธปกรณ์ของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช 、。。
By RTAF 、。。

กองทัพอากาศ มุ่งพัฒนาระบบการศึกษา และการวิจัยยุทโธปกรณ์ของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เพื่อรองรับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ New S - Curve 11 & New S - Curve 12 、。。

ยุทธศาสตร์ 20 ปี พ.ศ.2560 - 2579 ของกองทัพอากาศ .. เน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถกำลังทางอากาศ ตลอดจนความเข้มแข็งในมิติไซเบอร์ และมิติอวกาศ รวมทั้งการใช้แนวทางจัดหาพร้อมการพัฒนา Purchase & Development เป็นทิศทางพัฒนาหลักให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม 、。。

ทั้งนี้ Purchase & Development Strategy เป็นทิศทางการพัฒนากองทัพอากาศ และเป็นการกำหนดทิศทางในความร่วมมือ ระหว่างกองทัพอากาศ และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งการปรับปรุงหลักสูตรหลักของโรงเรียนนายเรืออากาศฯ และ ให้สำนักบัญฑิตศึกษา รร.นอ.จัดหลักสูตรปริญญาโท เทคโนโลยีป้องกันประเทศ ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป โดยกำหนดโจทย์กลุ่มงานวิจัย 5 กลุ่มงานวิจัย หวังจะนำงานวิจัย มาใช้ได้จริง 、。。

Royal Thai Air Force Gripen 39C/D & Weapons

รวมภาพ เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ Gripen 39C/D ของกองทัพอากาศไทย พร้อมกับระบบอาวุธที่ทำการติดตั้ง ...
https://thaidefense-news.blogspot.com/2020/06/photo-gallery-jet-fighter-weapon-royal.html

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ข้อมูลเกี่ยวกับ เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น T-50TH

มาอัพเดทข้อมูลสมรรถนะและขีดความสามารถของ เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น T-50TH ของกองทัพอากาศไทย กันอีกครั้งครับภายหลังจากที่ T-50TH ทั้ง 12 ลำ ได้เข้าประจำการอยู่ในกองทัพอากาศมาแล้วระยะเวลาหนึ่ง อีกทั้งทางกองทัพอากาศมีแผนจัดหาเพิ่มอีก 2 ลำ แต่เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของ ไวรัส Covid-19 ต่อเศรษฐกิจประเทศ ทางกองทัพอากาศจึงได้เลื่อนการจัดหาออกไป

https://thaidefense-news.blogspot.com/2018/01/t-50th_21.html
https://aagth1.blogspot.com/2019/05/kai-t-50th.html
https://wing4.rtaf.mi.th/wing4/index.php/2015-11-19-08-58-50/1518-1009632
T-50TH เป็นเครื่องบินที่ดี ราคาถูก คุ้มค่า มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่ไม่สูง มีสมรรถนะที่ดี พัฒนาโดยบริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท ล็อกฮีด มาร์ติน ของสหรัฐอเมริกา ผู้ผลิตเครื่องบิน F-16 เป็นหนึ่งในเครื่องบินฝึกหัดไม่กี่รุ่นในโลกที่มีความเร็วเหนือเสียง ทั้งนี้โดยพื้นฐานแล้ว T-50 มีโครงแบบส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับเครื่องบิน F-16
T-50TH เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นทดแทน L-39
มีเทคโนโลยีที่เหมาะสม ทันสมัย (Modernize Aircraft and Training System) เป็นเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ที่มีสมรรถนะสูงเพียงพอที่จะพัฒนาการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นให้สามารถปฏิบัติภารกิจกับเครื่องบินขับไล่/โจมตีสมรรถนะสูงของกองทัพอากาศที่มีใช้งานในปัจจุบัน
คุณลักษณะและสมรรถนะ
-ความยาว: 13.14 เมตร
-ช่วงปีก: 9.45 เมตร
-ความสูง: 4.94 เมตร
-พื้นที่ปีก: 23.69 ตารางเมตร
-น้ำหนักบรรทุกเปล่า: 6,470 กิโลกรัม
-น้ำหนักการทะยานสูงสุด: 12,300 กิโลกรัม
-เครื่องยนต์: 1× General Electric F404 afterburning turbofan
-แรงขับแห้ง 53.07 กิโลนิวตัน
-แรงขับเผาไหม้ 78.7 กิโลนิวตัน
-ความเร็วสูงสุด: 1,640 กิโลเมตร/ชั่วโมง (มัค 1.5)
-พิสัยปฏิบัติการ: 1,851 กิโลเมตร
-เพดานบิน: 14,630 เมตร
-อัตราการไต่เพดานบิน: 11,887 เมตร/นาที
ความคุ้มค่า
----------------------------------------------------
- มีขีดความสามารถในการติดตั้งใช้งานอาวุธได้หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะที่กองทัพอากาศมีใช้งานในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งกิจเฉพาะหลัก และกิจเฉพาะรอง

- ติดตั้งเครื่องยนต์ชนิดเดียวกับเครื่องบิน Gripen

- สามารถใช้งานอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้นและเครื่องมือร่วมกับเครื่องบิน F-16 ได้ถึงร้อยละ 70 ส่งผลให้การดูแลรักษา ซ่อมบำรุง มีความง่าย ไม่ต้องลงทุนจัดซื้อเครื่องมือใหม่ทั้งหมด

- ติดตั้งระบบเรดาร์ที่ทันสมัยและสามารถตรวจจับเป้าหมายได้

ระบบฝึกบินทางยุทธวิธี
----------------------------------------------------
- มีระบบฝึกการบินทางยุทธวิธี (Embedded Tactical Training System : ETTS) ติดตั้งทั้งเครื่องบิน ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ระบบ ETTS นี้จะช่วยการฝึกนักบินให้มีความสมจริงเหมือนการรบ (Train-As-You-Fight) โดยจำลองขีดความสามารถการใช้อาวุธของเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง และสร้างสภาพแวดล้อมต่างๆ ในการปฏิบัติภารกิจให้สมจริง สามารถจำลองระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link) จำลองการใช้อาวุธต่อเป้าหมายทั้งแบบอากาศ-อากาศ, อากาศ-พื้น, อาวุธนำวิถีแบบระยะไกลเกินสายตา และจำลองการทิ้งระเบิดแบบต่างๆ

รวมทั้งแสดงผลความแม่นยำ (Scoring) ในการใช้อาวุธ ทำให้สามารถวัดผลการฝึกนักบินได้เป็นอย่างดี สามารถจำลอง เป้าหมาย และภัยคุกคาม (Threat) เพื่อให้นักบินสามารถวางแผนดำเนินกลยุทธ์ หรือยุทธวิธีต่อเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นมีประสิทธิภาพสูง นักบินมีความคุ้นเคยต่อประสิทธิภาพและการใช้อาวุธของเครื่องบินขับไล่ชั้นแนวหน้าของกองทัพอากาศได้เป็นอย่างดี ทำให้การฝึกบินเปลี่ยนแบบจากเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ไปสู่เครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง ให้มีความพร้อมรบได้ในระยะเวลาสั้นลง ส่งผลต่อความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจ และประหยัดงบประมาณของประเทศ
แผนที่ทางอากาศ
----------------------------------------------------
- มีขีดความสามารถด้านการใช้แผนที่ทางอากาศแบบดิจิตอล (Digital Moving Map) ทั้งบนเครื่องบินและในเครื่องฝึกบินจำลอง (Simulator) จะช่วยให้นักบินสามารถวางแผนการบินได้ดีขึ้น เพิ่มความตระหนักรู้สถานการณ์ (Situation Awareness) ให้กับนักบินในขณะที่ปฏิบัติการบินต่อเป้าหมายทั้งภาคพื้นและภาคอากาศ เพิ่มความปลอดภัยในการบิน เพราะสามารถทราบตำแหน่งที่ตั้ง อุปสรรค ความสูงของพื้นที่การรบ เป้าหมาย หรือพื้นที่การฝึก ช่วยในการตัดสินตกลงใจในการปฏิบัติภารกิจ หรือการฝึกนักบิน อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการบินเข้าสู่เป้าหมาย

- สามารถพัฒนาให้ติดตั้งระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link : TDL) หรือระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีที่สามารถใช้งานในระบบบัญชาการและควบคุม หรือใช้ในระบบการปฏิบัติการทางอากาศของกองทัพอากาศได้ในอนาคต

- สามารถติดตั้งระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Warfare : EW) ประกอบด้วย Radar Warning Receiver (RWR) และ Counter Measure Dispenser System (CMDS) ที่ทันสมัย สามารถพัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูล Threat Library ให้ทันสมัยได้ในอนาคต

**ปัจจุบัน T-50TH ของกองทัพอากาศไทย ได้รับการปรับปรุงติดตั้งอุปกรณ์ประจำเครื่องเพิ่มเติมแล้ว
ประกอบด้วย Radar แบบ Elta EL/M-2032 ประเทศอิสราเอล, ระบบแจ้งเตือนการถูกตรวจจับด้วย Radar (RWR: Radar Warning Receiver) และระบบเป้าลวง (CMDS: Countermeasures Dispenser System)

- มีระบบพิสูจน์ฝ่าย (Identification Friend or Foe : IFF) ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกับระบบของกองทัพอากาศ รวมทั้งสามารถใช้งานได้เมื่อทำการบินในเส้นทางการบิน โดยเป็นไปตามมาตรฐานสากล
ระบบเครื่องช่วยฝึกบินจำลอง
----------------------------------------------------
- มีระบบเครื่องช่วยฝึกบินจำลอง (Simulator) และระบบการฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิคแบบบูรณาการ (Integrated Training System : ITS) ทำให้สามารถฝึกนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิคได้อย่างครอบคลุม สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพในการฝึก

- มีระบบการฝึกเจ้าหน้าที่เทคนิคแบบเสมือนจริง (Virtual Technical Training System : VTTS) เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่เทคนิค เกี่ยวกับการทำงานของระบบต่างๆ ในเครื่องบิน รวมถึงวิธีการซ่อมบำรุงเครื่องบิน

- มีอุปกรณ์ Computer Based Training (CBT) สำหรับฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิค

- มีระบบวางแผนการปฏิบัติภารกิจ (Mission Planning Systems : MPS) เพื่อใช้วางแผนการปฏิบัติภารกิจ และบรรยายสรุปก่อนบิน

- มีระบบบรรยายสรุปภายหลังการปฏิบัติภารกิจ เพื่อเก็บข้อมูล หรือบันทึกข้อมูลด้านการบิน และการปฏิบัติภารกิจ (Mission Debriefing System : MDS) ซึ่งมีขีดความสามารถบันทึกภาพและเสียงเป็นระบบ Digital เพื่อใช้วิเคราะห์การปฏิบัติภารกิจ และบรรยายสรุปภายหลังการบิน

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2563

Gripen E ของกองทัพอากาศบราซิลได้ทำการบินครั้งแรกในบราซิล

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา Gripen E ของกองทัพอากาศบราซิลได้ทำการบินครั้งแรกในบราซิล

เครื่องบินลำนี้บินจาก Navegantes (Santa Catarina) ไปยัง Gavião Peixoto (São Paulo) และดำเนินการโดยนักบินทดสอบของ Saab Marcus Wandt ...

https://www.aereo.jor.br/2020/10/01/video-o-piloto-conta-sobre-o-primeiro-voo-do-gripen-do-brasil/
https://www.aereo.jor.br/2020/10/01/fotos-cacas-gripen-e-f-5m-em-gaviao-peixoto-sp/

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

RTAF : Defence Industrial Cooperation and NKRAFA Academic & Innovation Conference 2020

RTAF Conference 2020 、。。
การประชุมความร่วมมืออุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ประจำปี 2563 、。。
By RTAF 、。。

การประชุม RTAF Defence Industrial Cooperation Conference | NKRAFA Academic & Innovation Conference 2020 、。。

- กองทัพอากาศ และการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
- EEC และการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ New S - Curve 11
- การส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเป้าหมาย
- กลไกการส่งเสริม และสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย
- ความท้าทายระบบการศึกษาไทย กับการสร้างนวตกรรมเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน New S - Curve 12

RTAF Conference 2020 Event Activities | RTAF :-
https://www.rtaf.mi.th/th/EventActivi...

Purchase & Development Strategy เป็นทิศทางการพัฒนากองทัพอากาศ โดยใช้โครงการจัดหายุทโธปกรณ์เป็นเครื่องมือและเงื่อนไขในการเรียนรู้ต่อยอดเทคโนโลยี สร้างนวตกรรมใหม่ๆ การพึ่งตนเอง อีกทั้งเป็นการกำหนดทิศทางในความร่วมมือ ระหว่างกองทัพอากาศ และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ 、。。

“ กำลังในอากาศ เป็นโล่อันแท้จริงอย่างเดียว ที่จะป้องกันมิให้กำรสงครามมาถึงท่ามกลางประเทศของเราได้ ทั้งเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งในการคมนาคมเวลาปกติ ”
- จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ พระบิดากองทัพอากาศ

ยุทธศาสตร์ 20 ปี พ.ศ.2560 - 2579 ของกองทัพอากาศ .. เน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถกำลังทางอากาศ ตลอดจนความเข้มแข็งในมิติไซเบอร์ และมิติอวกาศ รวมทั้งการใช้แนวทางจัดหาพร้อมการพัฒนา Purchase & Development เป็นทิศทางพัฒนาหลักให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม 、。。

กองทัพอากาศจึงมุ่งเน้นการพัฒนากำลังพลให้สอดคล้องตามแนวทางทหารฉลาด อาวุธฉลาด และกลยุทธ์ฉลาด เพื่อให้มั่นใจว่า กองทัพอากาศ พร้อมปฏิบัติภารกิจในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด เพื่อประเทศชาติและประชาชนอย่างเต็มความสามารถและเป็นกองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาคได้อย่างภาคภูมิ 、。。

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย 、。。

ในภาพรวมกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยในปัจจุบันยังอยู่ในระยะเริ่มต้น มีขีดความสามารถเพียงเพื่อการซ่อมบำรุง หรือเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กในการสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์บางประเภทสนับสนุนให้แก่กองทัพเท่านั้น 、。。

หากพิจารณาจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในสังกัดกระทรวงกลาโหม มีจำนวน ๔๘ โรงงาน โดยอยู่ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๘ โรงงาน กองบัญชาการกองทัพไทย ๑ โรงงาน กองทัพบก ๒๑ โรงงาน กองทัพเรือ ๗ โรงงาน กองทัพอากาศ ๑๒ โรงงาน นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในภาคเอกชนอีกจำนวน ๖๐ บริษัท ซึ่งส่วนมากเป็นบริษัทที่ซ่อมแซม ปรับปรุง หรือผลิตยุทโธปกรณ์ทางทหารบางประเภท อาทิ วัตถุระเบิด เชื้อประทุ กระสุนปืน รถยนต์ที่นั่งกันกระสุน ยานพาหนะ เสื้อเกราะป้องกันกระสุน แอมโมเนียมไนเตรส ไนโตรเซลลูโลส รวมถึงอุตสาหกรรมต่อและซ่อมเรือ ซึ่งบริษัทเหล่านี้ส่วนมาก ยังไม่มีขีดความสามารถสูงพอที่จะส่งออกสินค้าหรือแข่งขันในตลาดสากลได้ 、。。

อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมป้องกันประเทศเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่เป็นโอกาส และมีศักยภาพที่จะสร้าง และพัฒนาให้ตอบสนองตรงตามความต้องการด้านยุทโธปกรณ์ของกองทัพ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งหลายประเทศในโลก รวมถึงกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ได้พัฒนาอุตสาหกรรมด้านนี้อย่างจริงจัง เพราะนอกจากจะนำรายได้เข้าสู่ประเทศ และสร้างงานให้แก่ประชาชนเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมประเภทอื่นแล้ว ยังเป็นการสร้างความมั่นคงในด้านการทหารของชาติอีกด้วย 、。。