หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ประมวลภาพ F-16 AM/BM (eMLU) ของกองทัพอากาศไทย

ประมวลภาพเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ F-16 AM/BM (eMLU) ประจำการ ฝูงบิน 403 กองบิน 4 กองทัพอากาศไทย

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563

RTAF : การสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของ ทอ. 、。。

การสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของ ทอ. 、。。
แนวทางการจัดหาพร้อมการพัฒนา Purchase & Development : P&D 、。。
National Defense Industry | S - Curve 11 、。。
By RTAF 、。。

ทิศทางการพัฒนากองทัพอากาศ และเป็นการกำหนดทิศทางในความร่วมมือ ระหว่างกองทัพอากาศ และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ 、。。

“ กำลังในอากาศ เป็นโล่อันแท้จริงอย่างเดียว ที่จะป้องกันมิให้กำรสงครามมาถึงท่ามกลางประเทศของเราได้ ทั้งเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งในการคมนาคมเวลาปกติ ” 
- จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ
พระบิดากองทัพอากาศ

ยุทธศาสตร์ 20 ปี พ.ศ.2560 - 2579 ของกองทัพอากาศ .. เน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถกำลังทางอากาศ ตลอดจนความเข้มแข็งในมิติไซเบอร์ และมิติอวกาศ รวมทั้งการใช้แนวทางจัดหาพร้อมการพัฒนา Purchase & Development เป็นทิศทางพัฒนาหลักให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม 、。。

กองทัพอากาศจึงมุ่งเน้นการพัฒนากำลังพลให้สอดคล้องตามแนวทางทหารฉลาด อาวุธฉลาด และกลยุทธ์ฉลาด เพื่อให้มั่นใจว่า กองทัพอากาศ พร้อมปฏิบัติภารกิจในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด เพื่อประเทศชาติและประชาชนอย่างเต็มความสามารถและเป็นกองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาคได้อย่างภาคภูมิ 、。。

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย 、。。

ในภาพรวมกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยในปัจจุบันยังอยู่ในระยะเริ่มต้น มีขีดความสามารถเพียงเพื่อการซ่อมบำรุง หรือเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กในการสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์บางประเภทสนับสนุนให้แก่กองทัพเท่านั้น 、。。

หากพิจารณาจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในสังกัดกระทรวงกลาโหม มีจำนวน ๔๘ โรงงาน โดยอยู่ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๘ โรงงาน กองบัญชาการกองทัพไทย ๑ โรงงาน กองทัพบก ๒๑ โรงงาน กองทัพเรือ ๗ โรงงาน กองทัพอากาศ ๑๒ โรงงาน นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในภาคเอกชนอีกจำนวน ๖๐ บริษัท ซึ่งส่วนมากเป็นบริษัทที่ซ่อมแซม ปรับปรุง หรือผลิตยุทโธปกรณ์ทางทหารบางประเภท อาทิ วัตถุระเบิด เชื้อประทุ กระสุนปืน รถยนต์ที่นั่งกันกระสุน ยานพาหนะ เสื้อเกราะป้องกันกระสุน แอมโมเนียมไนเตรส ไนโตรเซลลูโลส รวมถึงอุตสาหกรรมต่อและซ่อมเรือ ซึ่งบริษัทเหล่านี้ส่วนมาก ยังไม่มีขีดความสามารถสูงพอที่จะส่งออกสินค้าหรือแข่งขันในตลาดสากลได้ 、。。

อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมป้องกันประเทศเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่เป็นโอกาส และมีศักยภาพที่จะสร้าง และพัฒนาให้ตอบสนองตรงตามความต้องการด้านยุทโธปกรณ์ของกองทัพ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งหลายประเทศในโลก รวมถึงกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ได้พัฒนาอุตสาหกรรมด้านนี้อย่างจริงจัง เพราะนอกจากจะนำรายได้เข้าสู่ประเทศ และสร้างงานให้แก่ประชาชนเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมประเภทอื่นแล้ว ยังเป็นการสร้างความมั่นคงในด้านการทหารของชาติอีกด้วย 、。。

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2563

การฝึกยิงอาวุธประจำเรือ...ของเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร

การฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี RIM-162 ESSM
คุณลักษณะและสมรรถนะของเรือ:
ขนาด (ระวางขับน้ำ) สูงสุด: 2,985 ตัน
ความยาว: 120.5 ม.
ความกว้าง: 13.7 ม.
กินน้ำลึกหัวเรือ: 3.4 ม. ,ท้ายเรือ: 3.9 เมตร
กินน้ำลึกสูงสุด: 6 ม.
เครื่องยนต์: 2 × เจเนอรัลอีเลคทริค LM2500+ แก็สเทอร์ไบน์ และ 2 × เครื่องยนต์ดีเซล เอ็มทียู 20V1163 TB83
ใบจักร: 2 × ใบจักรแบบปรับมุมได้
ความเร็วสูงสุดมากกว่า: 32 นอต (59 กม./ชม.)
ระยะปฏิบัติการ: 4,000 ไมล์ทะเล (7,408 กิโลเมตร) ที่ 18 นอต
ระบบตรวจการณ์และปฏิบัติการ: 
1 x ระบบอำนวยการรบ แบบ Saab 9LV Mk.4 , 1 x เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ แบบ Saab Sea Giraffe AMB 3D , 1 x EOS 500 , 2 x เรดาร์และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง แบบ Saab CEROS 200 with CWI , 1 x เรดาร์ค้นหาระยะไกล Thales LW08 , ระบบพิสูจน์ฝ่าย แบบ Selex SIT422 interogator และ Selex M425 transponder , 1 x ระบบรวมการสื่อสาร แบบ Saab TactiCall ICS , 1 x ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี แบบ Saab Link-E/G (TIDLS) , 1 x ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี แบบ AviaSatcom Link-RTN , 1 x ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี แบบ Link-11 (TADIL-A) , 1 x ระบบแสดงตนอัตโนมัติสำหรับเรือ (AIS) , 1 x ระบบอุตุนิยมวิทยา , 1 x ศูนย์เล็งกำหนดเป้าหมาย แบบ Saab Bridge Pointers TDS , 1 x ระบบ radar ESM แบบ ITT ES-3601 (AN/SLQ-4) , 1 x ระบบ communication ESM , 1 x ระบบนำร่องด้วยแรงเฉื่อย แบบ Raytheon Anschutz MINS 2 (ring laser gyro) , ระบบวิทยุสื่อสาร และ ระบบ CCTV

โซนาร์หัวเรือ  Atlas AN-SQS24CX

สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง: 
2 x แท่นยิงเป้าลวง แบบ Terma DL-12T แท่นละ 12 ท่อยิง
4 x แท่นยิงเป้าลวง แบบ Terma Mk.137 แท่นละ 6 ท่อยิง

ระบบอาวุธของเรือ:
1 x ปืนใหญ่หัวเรือ 5 นิ้ว/54 (127 มม.) มาร์ค-45 มอด 2
2 x ปืนใหญ่กล MSI-DSL/ATK DS-30MR/Mk.44 ขนาด 30 มม. แท่นเดี่ยว
4 x ปืนกล .50 นิ้ว
8 x ท่อยิง Mk.41 VLS สำหรับ 32 x RIM-162 ESSM
8 x RGM-84 Harpoon
2 x ตอร์ปิโดแฝดสาม 324 มม. มาร์ค-32 มอด.5

อากาศยาน: 1 x เวสต์แลนด์ลิงซ์

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ประมวลภาพถ่ายเรือรบแห่งราชนาวีไทย

ประมวลภาพถ่ายเรือรบแห่งราชนาวีไทย พร้อมด้วยภาพบรรยากาศท้องทะเลไทยในยามเช้าและพลบค่ำ...ภาพถ่ายดังกล่าวรวบรวมมาจาก "เรื่องเล่าท้ายเรือ" ซึ่งมีการโพสต์ไว้ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว จนถึงช่วงกลางเดือนมิถุนายน ปี 2563 ...
https://www.facebook.com/Macaroonnavy56

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2563

การฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี C-802A

เรือหลวงกระบุรี (FF-457) ได้ทำการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น-สู่-พื้น แบบ C-802A บริเวณพื้นที่ทะเลฝั่งอันดามัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ การฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2562 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562
โดยเรือที่รับหน้าที่เป็นเรือยิง คือ เรือหลวงกระบุรี (FF-457) ซึ่งเป็นเรือฟริเกตที่สังกัด กองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ กองเรือฟริเกตที่ 2 มีกำลังทางเรือประกอบด้วยเรือฟริเกตจำนวน 6 ลำ คือ เรือหลวงเจ้าพระยา (FF-455) ,เรือหลวงบางปะกง (FF-456) ,เรือหลวงกระบุรี (FF-457) ,เรือหลวงสายบุรี (FF-458) ,เรือหลวงนเรศวร (FFG-421) และเรือหลวงตากสิน (FFG-422) )
ผลการยิงทดสอบในครั้งนี้ อาวุธปล่อยนำวิถี C-802A พุ่งเข้าชนเป้าอย่างแม่นยำ ที่ระยะห่างจากเรือยิง 100 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะการยิงทดสอบอาวุธปล่อยนำวิถีที่ไกลที่สุดในภูมิภาคอาเซียน


รองเสนาธิการทหารอากาศ และคณะ เดินทางมาตรวจเยี่ยมสำนักงานปรับปรุงขีดความสามารถ บจ. Alpha Jet

กองบิน ๒๓ ให้การต้อนรับ รองเสนาธิการทหารอากาศ และคณะ ในโอกาสเดินทางมาตรวจเยี่ยมสำนักงานปรับปรุงขีดความสามารถอากาศยานโจมตีแบบที่ ๗ ณ กองบิน ๒๓

พลอากาศโท คงศักดิ์ จันทรโสภา รองเสนาธิการทหารอากาศ ในฐานะ ประธานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ โครงการปรับปรุงขีดความสามารถอากาศยานโจมตีแบบที่ ๗ และคณะ เดินทางมาตรวจเยี่ยม สำนักงานปรับปรุงขีดความสามารถอากาศยานโจมตีแบบที่ ๗ ณ กองบิน ๒๓ ในการนี้ นาวาอากาศเอก ชนาวีร์ กลิ่นมาลี ผู้บังคับการกองบิน ๒๓ พร้อมด้วยข้าราชการกองบิน ๒๓ ร่วมให้การต้อนรับ ณ ลานจอด บ. แผนกช่างอากาศ กองเทคนิค กองบิน ๒๓ เมื่อวันพุธที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๓