www.thaidefense-news.blogspot.com/by sukom วัตถุประสงค์ของการเปิดบล็อกนี้ เพื่อการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนข้อมูล-ความคิดเห็น รวมถึงเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข่าวคราว ความเป็นไปทางด้านการทหาร และ เทคโนโลยีด้านการทหาร แก่บุคคลที่สนใจและบุคคลทั่วไป
หน้าเว็บ
▼
วันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
Carry Through the Reform EpN | CCTV
The Political Treatise【Carry Through the Reform】consists of 10 episodes and tells the stories of realizing Chinese dreams through reforms. The most important thing is the reforms continues to achieve greater changes in the future.
วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ภาพการผลิต รถถังหลัก VT-4 (MBT-3000) สำหรับกองทัพบกไทย..
ภาพการผลิต รถถังหลัก VT-4 (MBT-3000) สำหรับกองทัพบกไทย ในโรงงานของ บริษัท นอรินโค ,ประเทศจีน
ภาพถ่ายจาก: ธนพล อรุณวงค์ ASEAN Military Forum
VTR นี้แสดงให้เห็นการผลิต รถถังหลัก VT-4 (MBT-3000) สำหรับกองทัพบกไทย ในโรงงานของ บริษัท นอรินโค ,ประเทศจีน รวมทั้งการทดสอบรถถังที่ผลิตสำหรับกองทัพบกไทยในสนามทดสอบด้วย นอกจากนั้นตาม VTR นี้ ถ้าสังเกตให้ดีตั้งแต่วินาทีที่ 25 - 51 จะเห็น รถถังหลัก VT-4 คันที่ทำสีลายพรางคล้ายกับ รถถังหลัก M60A3 ของกองทัพบก ซึ่งก็เป็นที่แน่นอนแล้วว่า รถถังหลัก VT-4 ที่จะเข้าประจำการในกองทัพบก จะไม่ได้ทำสีลายพรางดิจิตอล..
วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
การตรวจสภาพความพร้อมรบ ฉก.ม.๔ พล.ม.๒ รอ.
การตรวจสภาพความพร้อมรบ กรมทหารม้าเฉพาะกิจที่ ๔ พล.ม.๒ รอ. เมื่อ ๒๕ เม.ย. ๖๐ ..
การฝึกของกรมทหารม้าเฉพาะกิจที่ 4 ..
การฝึกของกรมทหารม้าเฉพาะกิจที่ 4 ..
HTMS NARESUAN Class - Exercise..
รวม VTR กิจกรรมการฝึกในห้วงเวลาต่างๆ ของ เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร (ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน) ..
-------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------
รวมข่าวเกี่ยวกับกองทัพเรือไทย.. จากสำนักข่าว Phu Dong ของเวียดนาม
-------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------
วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
VT ฝึกกองทัพเรือไทย - เวียดนาม'60
*กองทัพเรือจัดเรือลาดตะเวนร่วม ไทย-เวียดนาม เพื่อกระชับความสัมพันธ์..
หมู่เรือฝึกภาคทะเล นักเรียนจ่าทหารเรือ..
**เมื่อวันที่ 21 มี.ค.60 พลเรือโท ช่อฉัตร กระเทศ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ ได้ตรวจเยี่ยม พร้อมให้โอวาทกำลังพล หมู่เรือฝึกภาคทะเล นักเรียนจ่าทหารเรือ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ประจำปี 2560 โดย นาวาเอก วิรัตน์ สมจิตร ผู้บังคับหมู่เรือฝึกนักเรียนจ่าทหารเรือ ได้นำนักเรียนจ่าทหารเรือชั้นปีที่ 1 และ 2 รวม 917 นาย แถวรับฟังโอวาท ณ ดาดฟ้าเรือหลวงอ่างทอง
**ในการนี้ หมู่เรือฝึกฯ ทั้ง 5 ลำ ประกอบด้วย เรือหลวงอ่างทอง เรือหลวงปิ่นเกล้า เรือหลวงคีรีรัฐ เรือหลวงสีชัง และเรือหลวงสุรินทร์ ได้เดินทางออกจากท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี สู่กลางอ่าวสัตหีบ เพื่อกระทำพิธีรับฟังโอวาทและตรวจหมู่เรือฝึกฯ โดยมีเรือหลวงอ่างทอง ลำประธานเป็นเรือหัววิ่งนำขบวน โดยมีเรือหลวงสีชัง กับเรือหลวงสุรินทร์ ซึ่งเป็นเรือลำเลียงพล แล่นขนาบกาบซ้าย และเรือหลวงปิ่นเกล้า กับเรือหลวงคีรีรัฐ ซึ่งเป็นเรือรบพิฆาต แล่นขนาบกาบขวา เป็นภาพที่ยิ่งใหญ่ สวยงามตระการตา อันแสดงออกถึงความเป็นนักรบราชนาวีไทย ที่องอาจเข้มแข็ง
**พลเรือโท ช่อฉัตร กระเทศ กล่าวว่า การฝึกภาคทะเล นับเป็นหลักสูตรสำคัญ ที่นักเรียนจ่าทหารเรือต้องผ่านในหลักสูตรนี้ ก่อนก้าวสู่การเป็นข้าราชการ เข้าประจำการยังหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือ ซึ่งตลอดห้วงระยะเวลา 1 เดือน ในท้องทะเลอันกว้างไกล นักเรียนทุกนายได้ใช้ชีวิตความเป็นชาวเล ทั้งด้านการฝึกบนเรือรบหลวงแห่งราชนาวีไทย และการดำเนินชีวิต ในแบบฉบับการเป็นทหารเรืออย่างแท้จริง ที่จะต้องเผชิญต่อสภาพเส้นทางที่ยากลำบาก การฝึกที่หนักหน่วง และการฝึกฝนเรียนรู้ภาควิชาการที่เข้มข้น มาในเวลานี้ นักเรียนทุกนายได้แสดงให้ประจักษ์เห็นแล้วว่า ท่านจะเป็นจ่าทหารเรือที่มีศักยภาพ พัฒนาความเจริญมาสู่กองทัพเรือ ในภายภาคหน้าอย่างแน่นอน
วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
เปิดเผยข้อมูล เครื่องบินขับไล่ฝึก T-50TH ของกองทัพอากาศไทย
T-50TH เป็นเครื่องบินที่ดี ราคาถูก คุ้มค่า มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่ไม่สูง มีสมรรถนะที่ดี พัฒนาโดยบริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท ล็อกฮีด มาร์ติน ของสหรัฐอเมริกา ผู้ผลิตเครื่องบิน F-16 เป็นหนึ่งในเครื่องบินฝึกหัดไม่กี่รุ่นในโลกที่มีความเร็วเหนือเสียง ทั้งนี้โดยพื้นฐานแล้ว T-50 มีโครงแบบส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับเครื่องบิน F-16
L-39 ZA/ART VS T-50TH
----------------------------------------------------
L-39 ZA/ART เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นในปัจจุบัน
บรรจุประจำการตั้งแต่ปี 2537 มีอายุการใช้งานกว่า (23ปี) มีเทคโนโลยีที่ล้าสมัย ไม่สามารถตอบสนองภารกิจการฝึกกับเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงของกองทัพอากาศต่อไปได้ ปัจจุบันมีสภาพความพร้อมปฏิบัติการ (FMC) ลดลง มีข้อขัดข้องด้านการส่งกำลังและซ่อมบำรุง มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้น และไม่คุ้มค่าในการยืดอายุการใช้งาน
(T-50TH) เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นทดแทน L-39
มีเทคโนโลยีที่เหมาะสม ทันสมัย (Modernize Aircraft and Training System) เป็นเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ที่มีสมรรถนะสูงเพียงพอที่จะพัฒนาการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นให้สามารถปฏิบัติภารกิจกับเครื่องบินขับไล่/โจมตีสมรรถนะสูงของกองทัพอากาศที่มีใช้งานในปัจจุบัน
เปรียบเทียบขนาดกับเครื่องบินฝึกรุ่นอื่น
เปรียบเทียบสมรรถนะเครื่องบินฝึกแต่ละรุ่น
ระบบเครื่องยนต์
ความคุ้มค่า
----------------------------------------------------
- มีขีดความสามารถในการติดตั้งใช้งานอาวุธได้หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะที่กองทัพอากาศมีใช้งานในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งกิจเฉพาะหลัก และกิจเฉพาะรอง
- ติดตั้งเครื่องยนต์ชนิดเดียวกับเครื่องบิน Gripen
- สามารถใช้งานอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้นและเครื่องมือร่วมกับเครื่องบิน F-16 ได้ถึงร้อยละ 70 ส่งผลให้การดูแลรักษา ซ่อมบำรุง มีความง่าย ไม่ต้องลงทุนจัดซื้อเครื่องมือใหม่ทั้งหมด
- ติดตั้งระบบเรดาร์ที่ทันสมัยและสามารถตรวจจับเป้าหมายได้
ระบบฝึกบินทางยุทธวิธี
----------------------------------------------------
- มีระบบฝึกการบินทางยุทธวิธี (Embedded Tactical Training System : ETTS) ติดตั้งทั้งเครื่องบิน ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ระบบ ETTS นี้จะช่วยการฝึกนักบินให้มีความสมจริงเหมือนการรบ (Train-As-You-Fight) โดยจำลองขีดความสามารถการใช้อาวุธของเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง และสร้างสภาพแวดล้อมต่างๆ ในการปฏิบัติภารกิจให้สมจริง สามารถจำลองระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link) จำลองการใช้อาวุธต่อเป้าหมายทั้งแบบอากาศ-อากาศ, อากาศ-พื้น, อาวุธนำวิถีแบบระยะไกลเกินสายตา และจำลองการทิ้งระเบิดแบบต่างๆ
รวมทั้งแสดงผลความแม่นยำ (Scoring) ในการใช้อาวุธ ทำให้สามารถวัดผลการฝึกนักบินได้เป็นอย่างดี สามารถจำลอง เป้าหมาย และภัยคุกคาม (Threat) เพื่อให้นักบินสามารถวางแผนดำเนินกลยุทธ์ หรือยุทธวิธีต่อเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นมีประสิทธิภาพสูง นักบินมีความคุ้นเคยต่อประสิทธิภาพและการใช้อาวุธของเครื่องบินขับไล่ชั้นแนวหน้าของกองทัพอากาศได้เป็นอย่างดี ทำให้การฝึกบินเปลี่ยนแบบจากเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ไปสู่เครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง ให้มีความพร้อมรบได้ในระยะเวลาสั้นลง ส่งผลต่อความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจ และประหยัดงบประมาณของประเทศ
แผนที่ทางอากาศ
----------------------------------------------------
- มีขีดความสามารถด้านการใช้แผนที่ทางอากาศแบบดิจิตอล (Digital Moving Map) ทั้งบนเครื่องบินและในเครื่องฝึกบินจำลอง (Simulator) จะช่วยให้นักบินสามารถวางแผนการบินได้ดีขึ้น เพิ่มความตระหนักรู้สถานการณ์ (Situation Awareness) ให้กับนักบินในขณะที่ปฏิบัติการบินต่อเป้าหมายทั้งภาคพื้นและภาคอากาศ เพิ่มความปลอดภัยในการบิน เพราะสามารถทราบตำแหน่งที่ตั้ง อุปสรรค ความสูงของพื้นที่การรบ เป้าหมาย หรือพื้นที่การฝึก ช่วยในการตัดสินตกลงใจในการปฏิบัติภารกิจ หรือการฝึกนักบิน อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการบินเข้าสู่เป้าหมาย
- สามารถพัฒนาให้ติดตั้งระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link : TDL) หรือระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีที่สามารถใช้งานในระบบบัญชาการและควบคุม หรือใช้ในระบบการปฏิบัติการทางอากาศของกองทัพอากาศได้ในอนาคต
- สามารถติดตั้งระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Warfare : EW) ประกอบด้วย Radar Warning Receiver (RWR) และ Counter Measure Dispenser System (CMDS) ที่ทันสมัย สามารถพัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูล Threat Library ให้ทันสมัยได้ในอนาคต
- มีระบบพิสูจน์ฝ่าย (Identification Friend or Foe : IFF) ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกับระบบของกองทัพอากาศ รวมทั้งสามารถใช้งานได้เมื่อทำการบินในเส้นทางการบิน โดยเป็นไปตามมาตรฐานสากล
ระบบเครื่องช่วยฝึกบินจำลอง
----------------------------------------------------
- มีระบบเครื่องช่วยฝึกบินจำลอง (Simulator) และระบบการฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิคแบบบูรณาการ (Integrated Training System : ITS) ทำให้สามารถฝึกนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิคได้อย่างครอบคลุม สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพในการฝึก
- มีระบบการฝึกเจ้าหน้าที่เทคนิคแบบเสมือนจริง (Virtual Technical Training System : VTTS) เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่เทคนิค เกี่ยวกับการทำงานของระบบต่างๆ ในเครื่องบิน รวมถึงวิธีการซ่อมบำรุงเครื่องบิน
- มีอุปกรณ์ Computer Based Training (CBT) สำหรับฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิค
- มีระบบวางแผนการปฏิบัติภารกิจ (Mission Planning Systems : MPS) เพื่อใช้วางแผนการปฏิบัติภารกิจ และบรรยายสรุปก่อนบิน
- มีระบบบรรยายสรุปภายหลังการปฏิบัติภารกิจ เพื่อเก็บข้อมูล หรือบันทึกข้อมูลด้านการบิน และการปฏิบัติภารกิจ (Mission Debriefing System : MDS) ซึ่งมีขีดความสามารถบันทึกภาพและเสียงเป็นระบบ Digital เพื่อใช้วิเคราะห์การปฏิบัติภารกิจ และบรรยายสรุปภายหลังการบิน
การถ่ายทอดเทคโนโลยี
----------------------------------------------------
การถ่ายทอดเทคโนโลยี และออปชั่นอื่นๆ
- หลักสูตร System Engineering เพื่อสร้างความเข้าใจในระบบต่าง ๆ ของ บ.T-50TH จำนวน ๑๐ คน ระยะเวลา ๔ สัปดาห์ ณ สาธารณรัฐเกาหลี
-หลักสูตร Training Needs Analysis (TNA) เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการวิเคราะห์ความต้องการการฝึกอบรมที่เหมาะสม จำนวน ๓ คน ระยะเวลา ๔ สัปดาห์ ณ สาธารณรัฐเกาหลี
- บริษัทฯ จัดทำ Group A Provisioning (ติดตั้งระบบสายไฟ จัดเตรียมพื้นที่สำหรับ ติดตั้งอุปกรณ์บน บ.ในอนาคต และติดตั้ง Softwareพร้อมใช้งาน) สำหรับระบบเรดาร์ ระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link) แบบ Link-16 ระบบ Radar Warning Receiver (RWR) ระบบ Countermeasures Dispenser System (CMDS) และจัดเตรียมแผงควบคุมอุปกรณ์เหล่านั้นไว้ให้พร้อมใน Cockpit โดยไม่คิดมูลค่า (Free of Charge) (ทอ.สามารถจัดหาอุปกรณ์ข้างต้นมาติดตั้งใช้งานได้ในอนาคต)
- หลักสูตรการฝึกอบรมของ จนท.เทคนิค คือ หลักสูตร Sheet Metal Technician Training โดยไม่คิดมูลค่า (Free of Charge)
Users ประเทศที่นำ T-50 เข้าประจำการ
----------------------------------------------------
1. สาธารณรัฐเกาหลี (T-50 50 เครื่อง, TA-50 22 เครื่อง, T-50B 10 เครื่อง และ FA-50 60 เครื่อง)
2. อิรัก T-50IQ 24 เครื่อง
2. อินโดนีเซีย T-50I 16 เครื่อง
4. ฟิลิปปินส์ T-50PH 12 เครื่อง (FA-50)
L-39 ZA/ART VS T-50TH
----------------------------------------------------
L-39 ZA/ART เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นในปัจจุบัน
บรรจุประจำการตั้งแต่ปี 2537 มีอายุการใช้งานกว่า (23ปี) มีเทคโนโลยีที่ล้าสมัย ไม่สามารถตอบสนองภารกิจการฝึกกับเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงของกองทัพอากาศต่อไปได้ ปัจจุบันมีสภาพความพร้อมปฏิบัติการ (FMC) ลดลง มีข้อขัดข้องด้านการส่งกำลังและซ่อมบำรุง มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้น และไม่คุ้มค่าในการยืดอายุการใช้งาน
(T-50TH) เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นทดแทน L-39
มีเทคโนโลยีที่เหมาะสม ทันสมัย (Modernize Aircraft and Training System) เป็นเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ที่มีสมรรถนะสูงเพียงพอที่จะพัฒนาการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นให้สามารถปฏิบัติภารกิจกับเครื่องบินขับไล่/โจมตีสมรรถนะสูงของกองทัพอากาศที่มีใช้งานในปัจจุบัน
เปรียบเทียบขนาดกับเครื่องบินฝึกรุ่นอื่น
เปรียบเทียบสมรรถนะเครื่องบินฝึกแต่ละรุ่น
ระบบเครื่องยนต์
ความคุ้มค่า
----------------------------------------------------
- มีขีดความสามารถในการติดตั้งใช้งานอาวุธได้หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะที่กองทัพอากาศมีใช้งานในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งกิจเฉพาะหลัก และกิจเฉพาะรอง
- ติดตั้งเครื่องยนต์ชนิดเดียวกับเครื่องบิน Gripen
- สามารถใช้งานอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้นและเครื่องมือร่วมกับเครื่องบิน F-16 ได้ถึงร้อยละ 70 ส่งผลให้การดูแลรักษา ซ่อมบำรุง มีความง่าย ไม่ต้องลงทุนจัดซื้อเครื่องมือใหม่ทั้งหมด
- ติดตั้งระบบเรดาร์ที่ทันสมัยและสามารถตรวจจับเป้าหมายได้
ระบบฝึกบินทางยุทธวิธี
----------------------------------------------------
- มีระบบฝึกการบินทางยุทธวิธี (Embedded Tactical Training System : ETTS) ติดตั้งทั้งเครื่องบิน ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ระบบ ETTS นี้จะช่วยการฝึกนักบินให้มีความสมจริงเหมือนการรบ (Train-As-You-Fight) โดยจำลองขีดความสามารถการใช้อาวุธของเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง และสร้างสภาพแวดล้อมต่างๆ ในการปฏิบัติภารกิจให้สมจริง สามารถจำลองระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link) จำลองการใช้อาวุธต่อเป้าหมายทั้งแบบอากาศ-อากาศ, อากาศ-พื้น, อาวุธนำวิถีแบบระยะไกลเกินสายตา และจำลองการทิ้งระเบิดแบบต่างๆ
รวมทั้งแสดงผลความแม่นยำ (Scoring) ในการใช้อาวุธ ทำให้สามารถวัดผลการฝึกนักบินได้เป็นอย่างดี สามารถจำลอง เป้าหมาย และภัยคุกคาม (Threat) เพื่อให้นักบินสามารถวางแผนดำเนินกลยุทธ์ หรือยุทธวิธีต่อเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นมีประสิทธิภาพสูง นักบินมีความคุ้นเคยต่อประสิทธิภาพและการใช้อาวุธของเครื่องบินขับไล่ชั้นแนวหน้าของกองทัพอากาศได้เป็นอย่างดี ทำให้การฝึกบินเปลี่ยนแบบจากเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ไปสู่เครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง ให้มีความพร้อมรบได้ในระยะเวลาสั้นลง ส่งผลต่อความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจ และประหยัดงบประมาณของประเทศ
แผนที่ทางอากาศ
----------------------------------------------------
- มีขีดความสามารถด้านการใช้แผนที่ทางอากาศแบบดิจิตอล (Digital Moving Map) ทั้งบนเครื่องบินและในเครื่องฝึกบินจำลอง (Simulator) จะช่วยให้นักบินสามารถวางแผนการบินได้ดีขึ้น เพิ่มความตระหนักรู้สถานการณ์ (Situation Awareness) ให้กับนักบินในขณะที่ปฏิบัติการบินต่อเป้าหมายทั้งภาคพื้นและภาคอากาศ เพิ่มความปลอดภัยในการบิน เพราะสามารถทราบตำแหน่งที่ตั้ง อุปสรรค ความสูงของพื้นที่การรบ เป้าหมาย หรือพื้นที่การฝึก ช่วยในการตัดสินตกลงใจในการปฏิบัติภารกิจ หรือการฝึกนักบิน อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการบินเข้าสู่เป้าหมาย
- สามารถพัฒนาให้ติดตั้งระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link : TDL) หรือระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีที่สามารถใช้งานในระบบบัญชาการและควบคุม หรือใช้ในระบบการปฏิบัติการทางอากาศของกองทัพอากาศได้ในอนาคต
- สามารถติดตั้งระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Warfare : EW) ประกอบด้วย Radar Warning Receiver (RWR) และ Counter Measure Dispenser System (CMDS) ที่ทันสมัย สามารถพัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูล Threat Library ให้ทันสมัยได้ในอนาคต
- มีระบบพิสูจน์ฝ่าย (Identification Friend or Foe : IFF) ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกับระบบของกองทัพอากาศ รวมทั้งสามารถใช้งานได้เมื่อทำการบินในเส้นทางการบิน โดยเป็นไปตามมาตรฐานสากล
----------------------------------------------------
- มีระบบเครื่องช่วยฝึกบินจำลอง (Simulator) และระบบการฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิคแบบบูรณาการ (Integrated Training System : ITS) ทำให้สามารถฝึกนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิคได้อย่างครอบคลุม สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพในการฝึก
- มีระบบการฝึกเจ้าหน้าที่เทคนิคแบบเสมือนจริง (Virtual Technical Training System : VTTS) เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่เทคนิค เกี่ยวกับการทำงานของระบบต่างๆ ในเครื่องบิน รวมถึงวิธีการซ่อมบำรุงเครื่องบิน
- มีอุปกรณ์ Computer Based Training (CBT) สำหรับฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิค
- มีระบบวางแผนการปฏิบัติภารกิจ (Mission Planning Systems : MPS) เพื่อใช้วางแผนการปฏิบัติภารกิจ และบรรยายสรุปก่อนบิน
- มีระบบบรรยายสรุปภายหลังการปฏิบัติภารกิจ เพื่อเก็บข้อมูล หรือบันทึกข้อมูลด้านการบิน และการปฏิบัติภารกิจ (Mission Debriefing System : MDS) ซึ่งมีขีดความสามารถบันทึกภาพและเสียงเป็นระบบ Digital เพื่อใช้วิเคราะห์การปฏิบัติภารกิจ และบรรยายสรุปภายหลังการบิน
การถ่ายทอดเทคโนโลยี
----------------------------------------------------
การถ่ายทอดเทคโนโลยี และออปชั่นอื่นๆ
- หลักสูตร System Engineering เพื่อสร้างความเข้าใจในระบบต่าง ๆ ของ บ.T-50TH จำนวน ๑๐ คน ระยะเวลา ๔ สัปดาห์ ณ สาธารณรัฐเกาหลี
-หลักสูตร Training Needs Analysis (TNA) เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการวิเคราะห์ความต้องการการฝึกอบรมที่เหมาะสม จำนวน ๓ คน ระยะเวลา ๔ สัปดาห์ ณ สาธารณรัฐเกาหลี
- บริษัทฯ จัดทำ Group A Provisioning (ติดตั้งระบบสายไฟ จัดเตรียมพื้นที่สำหรับ ติดตั้งอุปกรณ์บน บ.ในอนาคต และติดตั้ง Softwareพร้อมใช้งาน) สำหรับระบบเรดาร์ ระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link) แบบ Link-16 ระบบ Radar Warning Receiver (RWR) ระบบ Countermeasures Dispenser System (CMDS) และจัดเตรียมแผงควบคุมอุปกรณ์เหล่านั้นไว้ให้พร้อมใน Cockpit โดยไม่คิดมูลค่า (Free of Charge) (ทอ.สามารถจัดหาอุปกรณ์ข้างต้นมาติดตั้งใช้งานได้ในอนาคต)
- หลักสูตรการฝึกอบรมของ จนท.เทคนิค คือ หลักสูตร Sheet Metal Technician Training โดยไม่คิดมูลค่า (Free of Charge)
Users ประเทศที่นำ T-50 เข้าประจำการ
----------------------------------------------------
1. สาธารณรัฐเกาหลี (T-50 50 เครื่อง, TA-50 22 เครื่อง, T-50B 10 เครื่อง และ FA-50 60 เครื่อง)
2. อิรัก T-50IQ 24 เครื่อง
2. อินโดนีเซีย T-50I 16 เครื่อง
4. ฟิลิปปินส์ T-50PH 12 เครื่อง (FA-50)
ขั้นตอนและกระบวนการจัดซื้อ
-------------------------- --------------------------
กองทัพอากาศแต่งตั้งคณะกรรม การด้านต่างๆ มาดำเนินการ ดังนี้
- แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาและ รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำขอบเ ขตความต้องการของโครงการ (Scope Of Project Requirement : SOPR)
- แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำราย ละเอียดความต้องการ (Detail of Requirement) โดยนำเอา SOPR มาพิจารณา ระบุรายละเอียด คุณลักษณะ ขีดความสามารถ ความต้อง...การด้านต่าง ๆ
- แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร าคากลาง
- แต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อโ ดยวิธีพิเศษ ดำเนินกรรมวิธีจัดซื้อโดยวิ ธีพิเศษ
- เมื่อคณะกรรมการจัดซื้อตรวจ สอบการเสนอราคา โดยมีเอกสารหลักฐานถูกต้อง เชื่อถือได้ เงื่อนไข และรายละเอียดพัสดุเป็นไปตา มความต้องการของทางราชการ มีราคาที่สมเหตุผล สามารถยอมรับได้ จึงสรุปผลการจัดซื้อนำเรียน ผู้มีอำนาจขออนุมัติจัดซื้อ ตามลำดับชั้น
--------------------------
กองทัพอากาศแต่งตั้งคณะกรรม
- แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาและ
- แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำราย
- แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร
- แต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อโ
- เมื่อคณะกรรมการจัดซื้อตรวจ
วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ครม.ได้รับทราบโครงการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ฝึก ของกองทัพอากาศ แบบ T-50TH ระยะที่ 2 จำนวน 8 ลำ
ในวันอังคาร (11 กรกฎาคม 2560) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ณ ทำเนียบรัฐบาล คณะรัฐมนตรี ได้รับทราบโครงการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ฝึก ของกองทัพอากาศ แบบ T-50TH ระยะที่ 2 จำนวน 8 ลำ ในวงเงิน 8.8 พันล้านบาท แล้ว..
โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ฝึก T-50TH ได้รับการอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2557 เป็นการจัดหา เครื่องบิน 1 ฝูงบิน 16 ลำ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 จำนวน 4 ลำ ระยะที่ 2 จำนวน 8 ลำ และระยะที่ 3 จำนวน 4 ลำ ซึ่งโครงการในระยะที่ 1 พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทบ.) เป็นประธานกรรมการจัดซื้อ ตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นเสนาธิการทหารอากาศ และเป็นผู้เดินทางไปลงนามในสัญญาการจัดซื้อที่ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558
สำหรับ การจัดซื้อระยะที่ 2 ซึ่งผ่านการรับรู้ของ ครม.ในวันนี้ เป็นการจัดซื้อเครื่องบินอีก 8 ลำ วงเงิน 8,800 ล้านบาท งบประมาณผูกพัน 3 ปี คาดว่า จะมีการเดินทางไปลงนามสัญญาการจัดซื้อ ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2560 นี้ โดยเป็นสัญญาซื้อแบบผูกพันระหว่างกองทัพอากาศ กับ บริษัท โคเรีย แอโรสเปซ อินดัสตรีส์ (Korea Aerospace Industries - KAI) ของสาธารณรัฐเกาหลี
เครื่องบินขับไล่ฝึก แบบ T-50TH เป็นเครื่องบินขับไล่ฝึก ที่จะเข้ามาประจำการทดแทนเครื่องบินขับไล่ฝึก แบบที่ 1 หรือ แอล-39 แซดเอ/เออาร์ที ของกองทัพอากาศ ที่มีแผนจะปลดประจำการ เนื่องจากถูกใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง และมีเทคโนโลยีที่ล้าสมัย ไม่สามารถฝึกนักบินให้ตอบสนองต่อความต้องการในการผลิตนักบิน เพื่อปฏิบัติการบินกับเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงของกองทัพอากาศ เช่น เครื่องบินขับไล่แบบที่ 20 (กริพเพน 39 ซี/ดี) และเครื่องบินขับไล่แบบที่ 19/ก หรือ เอฟ-16 เอ/บี ปัจจุบัน เครื่องบินแบบ T-50TH ถูกใช้ในประเทศเกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ อิรัก และอินโดนีเซีย แล้ว
http://www.benarnews.org/thai/news/fighter-planes-07112017091509.html
โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ฝึก T-50TH ได้รับการอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2557 เป็นการจัดหา เครื่องบิน 1 ฝูงบิน 16 ลำ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 จำนวน 4 ลำ ระยะที่ 2 จำนวน 8 ลำ และระยะที่ 3 จำนวน 4 ลำ ซึ่งโครงการในระยะที่ 1 พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทบ.) เป็นประธานกรรมการจัดซื้อ ตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นเสนาธิการทหารอากาศ และเป็นผู้เดินทางไปลงนามในสัญญาการจัดซื้อที่ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558
สำหรับ การจัดซื้อระยะที่ 2 ซึ่งผ่านการรับรู้ของ ครม.ในวันนี้ เป็นการจัดซื้อเครื่องบินอีก 8 ลำ วงเงิน 8,800 ล้านบาท งบประมาณผูกพัน 3 ปี คาดว่า จะมีการเดินทางไปลงนามสัญญาการจัดซื้อ ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2560 นี้ โดยเป็นสัญญาซื้อแบบผูกพันระหว่างกองทัพอากาศ กับ บริษัท โคเรีย แอโรสเปซ อินดัสตรีส์ (Korea Aerospace Industries - KAI) ของสาธารณรัฐเกาหลี
เครื่องบินขับไล่ฝึก แบบ T-50TH เป็นเครื่องบินขับไล่ฝึก ที่จะเข้ามาประจำการทดแทนเครื่องบินขับไล่ฝึก แบบที่ 1 หรือ แอล-39 แซดเอ/เออาร์ที ของกองทัพอากาศ ที่มีแผนจะปลดประจำการ เนื่องจากถูกใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง และมีเทคโนโลยีที่ล้าสมัย ไม่สามารถฝึกนักบินให้ตอบสนองต่อความต้องการในการผลิตนักบิน เพื่อปฏิบัติการบินกับเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงของกองทัพอากาศ เช่น เครื่องบินขับไล่แบบที่ 20 (กริพเพน 39 ซี/ดี) และเครื่องบินขับไล่แบบที่ 19/ก หรือ เอฟ-16 เอ/บี ปัจจุบัน เครื่องบินแบบ T-50TH ถูกใช้ในประเทศเกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ อิรัก และอินโดนีเซีย แล้ว
http://www.benarnews.org/thai/news/fighter-planes-07112017091509.html
วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
เรือหลวงแหลมสิงห์ ได้รับการติดตั้งกล้องตรวจการณ์ D CoMPASS
เรือหลวงแหลมสิงห์ (561) เรือตรวจการณ์ปืน ของกองทัพเรือไทย ได้รับการติดตั้ง กล้องตรวจการณ์ ตราอักษร Elbit Systems of America รุ่น Compact Multi-Purpose Advanced Stabilized System (D CoMPASS) เพื่อใช้เพิ่มระยะการพิสูจน์ทราบเป้าหมายของเรือ และตรวจการณ์ในสภาวะต่างๆ ได้ดีขึ้น
กล้อง D CoMPASS เป็นหนึ่งในกล้องตรวจการณ์ที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายแบบหนึ่งในโลก โดยมีการใช้ทั้งบน รถยนต์ ยานเกราะ อากาศยาน UAV และ เรือ โดยสามารถใช้ในภารกิจ Combat SAR // Targeting (ชี้เป้า) // ตรวจการณ์
การทำงานสามารถใช้ได้ ทั้ง TV Sensor และ FLIR (IR mode) รวมทั้งสามารถวัดระยะได้ด้วย Laser วัดระยะ โดยมีระยะไกลสุด 20 กม. ใช้ได้ทั้ง กลางวัน และ กลางคืน หรือยามทัศนวิสัย จำกัด อีกด้วย
By Admin ต้นปืน561 /เรือหลวงแหลมสิงห์
กล้อง D CoMPASS เป็นหนึ่งในกล้องตรวจการณ์ที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายแบบหนึ่งในโลก โดยมีการใช้ทั้งบน รถยนต์ ยานเกราะ อากาศยาน UAV และ เรือ โดยสามารถใช้ในภารกิจ Combat SAR // Targeting (ชี้เป้า) // ตรวจการณ์
การทำงานสามารถใช้ได้ ทั้ง TV Sensor และ FLIR (IR mode) รวมทั้งสามารถวัดระยะได้ด้วย Laser วัดระยะ โดยมีระยะไกลสุด 20 กม. ใช้ได้ทั้ง กลางวัน และ กลางคืน หรือยามทัศนวิสัย จำกัด อีกด้วย
By Admin ต้นปืน561 /เรือหลวงแหลมสิงห์
รูปผังเรือดำนํ้าดีเซลไฟฟ้า รุ่น S26T ชั้น Yuan-Class
เมื่อวันก่อน สำนักข่าว T News Online ได้เผยแพร่ภาพ รูปผังเรือดำนํ้าดีเซลไฟฟ้า รุ่น S26T ชั้น Yuan-Class โดยนำภาพภาพจากนิตยสาร Naval & Merchant Ship เผยแพร่โดยสมาคมวิศวกรรมต่อเรือจีน ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน ซึ่งเป็นอักษรภาษาจีนทั้งหมด ... เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ทางเพจจึงขอเผยแพร่รายละเอียด ตามที่ประกฎในภาพ โดยทำให้สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นนะครับ
เรือดำน้ำ ชั้น S-26T นั้น จะแบ่งออกเป็น 6 Compartment หลักๆ ได้แก่ ส่วนระบบอาวุธ ส่วนของศูนย์ยุทธการ ส่วนที่พักอาศัย ส่วนควบคุมระบบขับเคลื่อน ส่วนระบบขับเคลื่อน (Stirling AIP) และส่วนมอเตอร์ขับเคลื่อนและเพลาใบจักร
สำหรับในส่วนของ Hoistable Device หรือ เสาต่างๆ ที่ยกขึ้นเหนือผิวน้ำได้ ประกอบไปด้วย ท่อ Snorkel เสา Periscope สายอากาศสื่อสาร สายอากาศเรดาร์ เสา Optronics และ ESM
ระบบตรวจจับ (SONAR) ของ S-26T จะประกอบไปด้วย , Interception Sonar, Mine Avoidance Sonar, Integrated Sonar, Flank array sonar และ ระบบ Self Noise Monitor พร้อมกับระบบสื่อสารใต้น้ำ UWT (Underwater Telephone)
สำหรับระบบต่อมา เป็นระบบเกี่ยวกับความปลอดภัย ประกอบไปด้วย ทุ่นลอยสำหรับการสื่อสารฉุกเฉิน (Emergency Life Saving Buoy) จำนวน 2 ทุ่น และมี Rescue Platform และ Fast Float Escape Chamber โดยเป็นมิติตามมาตรฐาน NATO เพื่อสำหรับกูภัยด้วย DSRV (Deep Submersible Rescue Vehicle) และ/หรือ SRC (Submarine Rescue Chamber)
ในส่วนประกอบอื่นๆ รอติดตาม ความคืบหน้าต่อไปครับ
By Admin ต้นปืน561 /Navy For Life