วันนี้ (30 พฤศจิกายน 2559) เวลา 13.00 น. พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ชุดเรือ ต.232 จำนวน 6 ลำ ณ ท่าเรือหมายเลข 5 (LST Ramp) ท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี พลเรือเอก สุชีพ หวังไมตรี ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ พลเรือตรี บรรจบ โพธิ์แดง ผู้บัญชาการกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ กำลังพลประจำเรือ และแขกผู้มีเกียรติให้การต้อนรับ
กองทัพเรือ มีแผนจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (ตกช.) จำนวน 10 ลำ เพื่อทดแทน เรือตรวจการณ์ชายฝั่งเดิม ที่ใช้ราชการมาเป็นเวลานาน และมีกำหนดที่จะปลดระวาง ประกอบด้วย เรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุด เรือ ต.21 – ต.29 และชุดเรือ ต.211 - ต.212 ซึ่งเป็นเรือที่ได้รับการช่วยเหลือ จากประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 – 2519 โดยก่อนหน้านี้ กองทัพเรือ ได้เคยว่าจ้าง บริษัทมาร์ซัน จำกัด ในการสร้างเรือ ตกช. แบบเดียวกันนี้มาแล้ว จำนวน 3 ลำ (ต.228 – ต.230) โดยได้ดำเนินการต่อแล้วเสร็จ และส่งมอบให้กองทัพเรือ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2556 ซึ่งสามารถปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี สำหรับเรือ ตกช. จำนวน 6 ลำ มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำไปแล้ว เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2559 โดยมี พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธาน และมี นางปรานี อารีนิจ เป็นสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ ประกอบด้วยเรือ ต.232 เรือ ต.233 เรือ ต. 234 เรือ ต.235 เรือ ต. 236 และ เรือ ต. 237
กองทัพเรือ ได้ว่าจ้างให้ บริษัท มาร์ซัน จำกัด เป็นผู้ดำเนินการสร้างเรือ เพื่อเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือภายในประเทศ อีกทั้งยังเป็นการประหยัดงบประมาณมากกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ โดยเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ต.232 – ต.237 จะเข้าประจำการในกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ มีภารกิจในการตรวจการณ์ สกัดกั้น ลาดตระเวน ป้องกันการแทรกซึมทางทะเลและชายฝั่ง คุ้มครองเรือประมงและเรือพาณิชย์ ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติบริเวณชายฝั่งทะเลในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย รวมถึงการถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์
คุณลักษณะของเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ต. 232 – ต.237
ขีดความสามารถปฏิบัติการรบ (Combat Capabilities) สามารถปฏิบัติภารกิจได้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการบริเวณชายฝั่งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน สามารถตรวจจับ ติดตามและพิสูจน์ทราบเป้าผิวน้ำ สามารถป้องกันตนเองจากเรือผิวน้ำและอากาศยานข้าศึกได้ตามสมรรถนะของอาวุธประจำเรือ สามารถปฏิบัติการทางเรืออย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุงเพิ่มเติมได้ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง สามารถปฏิบัติงานได้ในสภาพทะเลไม่น้อยกว่า Sea State 2 สามารถตรวจค้นเรือที่ต้องสงสัย ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ และมีความสามารถการทรงตัวที่ดีในการบังคับเรือและบังคับเลี้ยวในการปฏิบัติงานที่ความเร็วสูง (Maneuverability)
คุณลักษณะทั่วไป (Ship System Performance)
ระวางขับน้ำเต็มที่โดยประมาณ 45 ตัน ขนาดของเรือ ความยาวตลอดลำ 21.40 เมตร ความกว้างสูงสุดของเรือ 5.56 เมตร ความลึกของเรือ (Molded Depth) 3.15 เมตร กินน้ำลึกตัวเรือ (Molded Draught) 1.05 เมตร ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง ที่ระวางขับน้ำเต็มที่ไม่น้อยกว่า 30 นอต กำลังพลประจำเรือ 9 นาย สามารถปฏิบัติงานในทะเลได้ต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุง ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 350 ไมล์ทะเล ด้วยความเร็วเดินทางมัธยัสถ์ (15 นอต) ที่ระวางขับน้ำเต็มที่ (Full Load Displacement) ขนาดและสัดส่วนของโครงสร้างตัวเรือได้รับการตรวจสอบ และรับรองจากสมาคมต่อเรือ Det Norske Veritas (DNV) เครื่องจักรใหญ่ตราอักษร MAN รุ่น D2862 LE463 กำลังเครื่องยนต์ 1,029 kW ที่ 2,100 RPM พร้อมเพลาใบจักร จำนวน 2 เครื่อง เครื่องไฟฟ้าขนาด 32 kWe, 220 V AC. 1 Phase 50 Hz. จำนวน 2 เครื่อง ประกอบด้วย เครื่องยนต์ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Prime Mover) ตราอักษร PERKINS เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ตราอักษร MARATHON MAGNAPLUS เกียร์ทด ตราอักษร TWIN DISC ชนิด Intermediate Duty ขนาด Input Rating สูงสุดที่ 1,145 kW ที่ความเร็วรอบ 2,100 RPM จำนวน 2 ชุดเครื่อง ระบบเพลาใบจักรแบบ Fixed Pitch จำนวน 2 ชุด
อาวุธประจำเรือ
อาวุธปืนหลัก ปืนกลขนาด 20 มิลลิเมตร จำนวน 1 กระบอก ติดตั้งบริเวณหัวเรือ อาวุธปืนรอง ปืนกลขนาด .50 นิ้ว จำนวน 1 กระบอก เครื่องยิงลูกระเบิด 81 มิลลิเมตร ร่วมแกน จำนวน 1 กระบอก ติดตั้งบริเวณท้ายเรือ
www.thaidefense-news.blogspot.com/by sukom วัตถุประสงค์ของการเปิดบล็อกนี้ เพื่อการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนข้อมูล-ความคิดเห็น รวมถึงเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข่าวคราว ความเป็นไปทางด้านการทหาร และ เทคโนโลยีด้านการทหาร แก่บุคคลที่สนใจและบุคคลทั่วไป
หน้าเว็บ
▼
วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
EC 645 T2 ทำการทดสอบระบบร่วมกับ ร.ล.ตากสิน (422)
28 พ.ย.59 ฝูงบิน 202 กองการบินทหารเรือ ได้จัดอากาศยาน EC 645 T2 ทำการทดสอบระบบร่วมกับ ร.ล.ตากสิน (422) ผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ที่มา: ฝูงบิน202 กองการบินทหารเรือ
EC 645 T2 ทำการทดสอบทดลองระบบร่วมกับ ร.ล.อ่างทอง (791)
22 พ.ย.59 ฝูงบิน 202 กองการบินทหารเรือ ได้จัดอากาศยาน EC 645 T2 เพื่อทำการทดสอบทดลองระบบร่วมกับ ร.ล.อ่างทอง ผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
คณะกรรมการตรวจรับเฮลิคอปเตอร์แบบ EC725 เครื่องที่ ๕ และ ๖
พลอากาศตรี อภิรุม จันทรกุล เสนาธิการกรมช่างอากาศ ในฐานะประธานกรรมการตรวจรับทางเทคนิค และพลอากาศตรี ยุทธชัย วัชรสิงห์ เสนาธิการกรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ/กรรมการตรวจรับพัสดุ ของโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ (ระยะที่ ๒) และคณะกรรมการฯ ร่วมเดินทางไปตรวจรับเทคนิคเฮลิคอปเตอร์แบบ EC725 เครื่องที่ ๕ และ เครื่องที่ ๖ ซึ่งผลิตโดยบริษัท Airbus Helicopters ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ณ สาธารณรัฐฝรั่งเศส
โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางค้นหาและช่วยชีวิต ทดแทนเฮลิคอปเตอร์ปฏิบัติภารกิจค้นหาและช่วยชีวิตในปัจจุบันเพื่อให้กองทัพอากาศดำรงศักยภาพและขีดความสามารถในการค้นหาและช่วยชีวิตในภาพรวมทั้งทางทหารและพลเรือน ในฐานะเป็นหน่วยหลักด้านกำลังทางอากาศของประเทศทั้งนี้ โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางฯ (ระยะที่ ๒) เป็นการจัดหา เฮลิคอปเตอร์แบบ EC725 จำนวน ๒ เครื่อง ซึ่งกำหนดส่งมอบทั้ง ๒ เครื่องให้กองทัพอากาศภายในเดือนธันวาคม ๒๕๕๙
ที่มา: รัชต์ รัตนวิจารณ์
โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางค้นหาและช่วยชีวิต ทดแทนเฮลิคอปเตอร์ปฏิบัติภารกิจค้นหาและช่วยชีวิตในปัจจุบันเพื่อให้กองทัพอากาศดำรงศักยภาพและขีดความสามารถในการค้นหาและช่วยชีวิตในภาพรวมทั้งทางทหารและพลเรือน ในฐานะเป็นหน่วยหลักด้านกำลังทางอากาศของประเทศทั้งนี้ โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางฯ (ระยะที่ ๒) เป็นการจัดหา เฮลิคอปเตอร์แบบ EC725 จำนวน ๒ เครื่อง ซึ่งกำหนดส่งมอบทั้ง ๒ เครื่องให้กองทัพอากาศภายในเดือนธันวาคม ๒๕๕๙
ที่มา: รัชต์ รัตนวิจารณ์
วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
BM OPLOT-T Test ..
ภาพการทดสอบ รถถังหลัก OPLOT-T ในสนามทดสอบรถถังที่ยูเครน ซึ่ง ณ ปัจจุบัน รถถังหลัก PLOT-T ชุดนี้คงน่าจะนำส่งให้กับทางกองทัพบกไทยเรียบร้อยแล้ว แม้ภาพชุดนี้จะไม่ใช่ภาพล่าสุดของรถถังหลัก OPLOT สำหรับกองทัพบกไทย แต่ก็ยังมีความน่าสนใจอยู่ เลยนำกลับมาให้ได้รับชมอีกครั้งครับ