www.thaidefense-news.blogspot.com/by sukom วัตถุประสงค์ของการเปิดบล็อกนี้ เพื่อการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนข้อมูล-ความคิดเห็น รวมถึงเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข่าวคราว ความเป็นไปทางด้านการทหาร และ เทคโนโลยีด้านการทหาร แก่บุคคลที่สนใจและบุคคลทั่วไป
หน้าเว็บ
▼
วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559
พิธีสวนสนามทางเรืออำลาผู้บัญชาการทหารสูงสุด
วันที่ 22 ก.ย.59 พลเอก สมหมาย เกาฏีระ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เดินทางไปเยี่ยมอำลากองทัพเรือ เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ ณ ท่าเทียบเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี โดยมี พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพเรือ ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งจัดให้มีพิธีเพื่อเป็นเกียรติแก่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
และในเวลา 10.50 น. พลเอก สมหมาย เกาฏีระ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้เดินทางพร้อมด้วยผู้บัญชาการทหารเรือ ไปยังเรือหลวงนราธิวาส ซึ่งจอดเทียบท่า ณ ท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ ขึ้นแท่นรับความเคารพ เรือหลวงปิ่นเกล้าได้ยิงสลุต เพื่อเป็นเกียรติ จำนวน 19 นัด จากนั้นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ลงเรือหลวงนราธิวาส ไปยังเรือ ต.112 เพื่อตรวจพลสวนสนาม โดยมีการจัดกำลังพล จำนวน 1 กรมผสม ประกอบด้วย กำลังพลจากกองทัพเรือยุทธการ พร้อมกำลังพลทางเรือที่รับการตรวจพล ประกอบด้วย เรือหลวงมกุฎราชกุมาร เรือหลวงตากสิน เรือหลวงนราธิวาส เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงสุโขทัย เรือหลวงปิ่นเกล้า และเรือหลวงคีรีรัฐ รวมถึงอากาศยาน ประกอบด้วย ฮ.ปด.1 (S-708) ฮ.ลำเลียงและกู้ภัย ( MH -60S) ฮ.ลล.4(S-76B) บ.ลว.1(D-228) กำลังพลและยุทโธปกรณ์ทางบก 1 กรมผสม ประกอบด้วย กำลังพลจากกองเรือยุทธการ 1 กองร้อย กำลังพลจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน 1 กองร้อย พร้อมยุทโธปกรณ์ เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจพลสวนสนาม ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้เรียนเชิญ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กลับขึ้นเรือหลวงนราธิวาส เพื่อกล่าวสดุดีและมอบของที่ระลึกตามลำดับ
กองทัพเรือ จัดพิธีอำลาผู้บัญชาการทหารสูงสุด ..
กองทัพเรือได้ประกอบพิธีอำลาชีวิตราชการให้กับพลเอกสมหมาย เกาฏีระ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดอย่างสมเกียรติ ท่ามกลางผู้บัญชาการเหล่าทัพทั้งทัพบก ทัพเรือ ผู้บัญชาการกองทัพอากาศและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ร่วมเป็นสักขีพยาน เรือหลวงยิงสลุดจำนวน 19นัดอย่างสมเกียรติไปติดตามได้จากรายงาน
ท้ายเรือมีเรื่องเล่า ตอนที่ 4 : การฝึกผสมไทย-จีน Blue Strike 16 ..
“ท้ายเรือมีเรื่องเล่า” รายการโทรทัศน์ รายการแรกของกองทัพเรือ ตอนที่ 4
ช่วง "สารคดีราชนาวี" นำเสนอเรื่องราวการฝึกผสมระหว่าง นาวิกโยธินไทย - จีน ประจำปี พ.ศ.2559 ในชื่อรหัสการฝึกว่า Blue Strike 2016 เป็นเรื่องหลัก
ช่วง "ทั่วท้องน้ำ" จะพาท่านผู้ชมไปรู้จักกับ โรงเรียนพลสัญญาณแตรเดี่ยว สถานที่ฝึกพลสัญญาณแตรเดี่ยว ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตำแหน่งที่สำคัญของหน่วยทหารมานับแต่อดีตกาล
และเรื่องสุดท้าย ในช่วง "จิตวิญาณ ราชนาวี" นำเสนอเรื่องราวต่อเนื่องของ วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทย สัปดาห์นี้ นำเสนอเป็นตอนที่ 3 แล้ว โดยในตอนนี้จะเล่าถึง พระยาชลยุทธโยธินทร์ หรือ กัปตัน ริเชอลิเออร์ ผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อประวัติศาสตร์หน้านั้น
วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559
PROMO ท้ายเรือมีเรื่องเล่า ภาพ action ทหารเรือ สุด สุด
NavyChannel Thailand : กองทัพเรือ ร่วมกับ กลุ่มทรู เปิดตัวสารคดีเชิงข่าว “ท้ายเรือมีเรื่องเล่า”
ถ่ายทอดชิวิตจริง ราชนาวีไทย สร้างความเข้าใจ ศรัทธา สู่ความภาคภูมิใจของคนไทย ทุกวันเสาร์ เวลา 17.00-17.30 น. เริ่มตอนแรกเสาร์ที่ 3 กันยายนนี้ ทาง TNN 24
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เยี่ยมอำลา ทร. ในโอกาสเกษียณอายุราชการ
22 กันยายน 2559 เวลา 10.50 น. พลเรือเอก สมหมาย เกาฏีระ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เดินทางไปเยี่ยมอำลากองทัพเรือ เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ ณ ท่าเทียบเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพเรือ ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งจัดให้มีพิธีเพื่อเป็นเกียรติแก่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ในเวลา 10.50 น. พลเรือเอก สมหมาย เกาฏีระ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้เดินทางพร้อมด้วย ผู้บัญชาการทหารเรือ ไปยังเรือหลวงนราธิวาส ซึ่งจอดเทียบท่า ณ ท่าเทียบเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ เมื่อขึ้นแท่นรับการเคารพ เรือหลวงปิ่นเกล้าได้ยิงสลุต เพื่อเป็นเกียรติ จำนวน 19 นัด จากนั้นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ลงจากเรือหลวงนราธิวาส ไปยังเรือ ต.112 เพื่อตรวจพลสวนสนาม โดยมีการจัดกำลังพล จำนวน ๑ กรมผสม ประกอบด้วยกำลังพลจากกองเรือยุทธการ พร้อมกำลังทางเรือที่รับการตรวจพล ประกอบด้วยเรือหลวงมกุฎราชกุมาร เรือหลวงตากสิน เรือหลวงนราธิวาส เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงสุโขทัยเรือ เรือหลวงปิ่นเกล้า และเรือหลวงคีรีรัฐ รวมถึงอากาศยานประกอบด้วย ฮ.ปด.1 (S-708) ฮ.ลำเลียงและกู้ภัย (MH-60S) ฮ.ลล.4 (S-76B) บ.ลว.1 (D-228) กำลังพลและยุทโปกรณ์ทางบก 1 กรมผสม ประกอบด้วย กำลังพลจากกองเรือยุทธการ 1 กองร้อย กำลังพลจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน 1 กองร้อย พร้อมยุทโธปกรณ์ ประกอบด้วย AAVP7A1 จำนวน 1 คัน BTR – 31E จำนวน 1 คัน V – 150 จำนวน 1 คัน HMMWE จำนวน 1 คัน ป.105 จำนวน 2 กระบอก กำลังพลจากหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง 1 กองร้อย พร้อมยุทโธปกรณ์ ประกอบด้วย ปกค.155 มิลลิเมตร GHH – 45 A1 จำนวน 2 กระบอก ปตอ. 40/70 มิลลิเมตร จำนวน 1 กระบอก ปตอ. 37 มิลลิเมตร จำนวน 1 แท่น คคย. F/C จำนวน1 เครื่อง คคย. 5M1 จำนวน 1 เครื่อง รถเรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำแบบเคลื่อนที่ จำนวน 1 คัน เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจพลสวนสนาม ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้เรียนเชิญ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กลับขึ้นยังเรือหลวงนราธิวาส เพื่อกล่าวสดุดี และมอบของที่ระลึก จากนั้น ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้กล่าวอำลาชีวิตราชการ เป็นอันเสร็จพิธี
กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
ในเวลา 10.50 น. พลเรือเอก สมหมาย เกาฏีระ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้เดินทางพร้อมด้วย ผู้บัญชาการทหารเรือ ไปยังเรือหลวงนราธิวาส ซึ่งจอดเทียบท่า ณ ท่าเทียบเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ เมื่อขึ้นแท่นรับการเคารพ เรือหลวงปิ่นเกล้าได้ยิงสลุต เพื่อเป็นเกียรติ จำนวน 19 นัด จากนั้นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ลงจากเรือหลวงนราธิวาส ไปยังเรือ ต.112 เพื่อตรวจพลสวนสนาม โดยมีการจัดกำลังพล จำนวน ๑ กรมผสม ประกอบด้วยกำลังพลจากกองเรือยุทธการ พร้อมกำลังทางเรือที่รับการตรวจพล ประกอบด้วยเรือหลวงมกุฎราชกุมาร เรือหลวงตากสิน เรือหลวงนราธิวาส เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงสุโขทัยเรือ เรือหลวงปิ่นเกล้า และเรือหลวงคีรีรัฐ รวมถึงอากาศยานประกอบด้วย ฮ.ปด.1 (S-708) ฮ.ลำเลียงและกู้ภัย (MH-60S) ฮ.ลล.4 (S-76B) บ.ลว.1 (D-228) กำลังพลและยุทโปกรณ์ทางบก 1 กรมผสม ประกอบด้วย กำลังพลจากกองเรือยุทธการ 1 กองร้อย กำลังพลจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน 1 กองร้อย พร้อมยุทโธปกรณ์ ประกอบด้วย AAVP7A1 จำนวน 1 คัน BTR – 31E จำนวน 1 คัน V – 150 จำนวน 1 คัน HMMWE จำนวน 1 คัน ป.105 จำนวน 2 กระบอก กำลังพลจากหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง 1 กองร้อย พร้อมยุทโธปกรณ์ ประกอบด้วย ปกค.155 มิลลิเมตร GHH – 45 A1 จำนวน 2 กระบอก ปตอ. 40/70 มิลลิเมตร จำนวน 1 กระบอก ปตอ. 37 มิลลิเมตร จำนวน 1 แท่น คคย. F/C จำนวน1 เครื่อง คคย. 5M1 จำนวน 1 เครื่อง รถเรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำแบบเคลื่อนที่ จำนวน 1 คัน เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจพลสวนสนาม ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้เรียนเชิญ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กลับขึ้นยังเรือหลวงนราธิวาส เพื่อกล่าวสดุดี และมอบของที่ระลึก จากนั้น ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้กล่าวอำลาชีวิตราชการ เป็นอันเสร็จพิธี
กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
กองทัพเรือรับมอบเรือตรวจการณ์ปืน เรือหลวงแหลมสิงห์
พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ปืน เรือหลวงแหลมสิงห์ โดยมี พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ และ พลเรือตรี สุรศักดิ์ เมธยาภา ผู้บัญชาการกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ กำลังพลประจำเรือ แขกผู้มีเกียรติ ให้การต้อนรับ ณ ท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๙ / https://www3.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/12264
กองทัพเรือ ได้จัดหาเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่เข้าประจำการ กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ระยะปานกลาง ตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.2551 – 2560 ซึ่งได้ทยอยปลดประจำการ และใช้ปฏิบัติงานร่วมกับเรือ อากาศนาวี หน่วยกำลังต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง หน่วยกำลังนาวิกโยธิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ ตั้งแต่ในภาวะปกติโดยมีขีดความสามารถปฏิบัติการรบ 2 มิติ ได้แก่ การปฏิบัติการสงครามผิวน้ำ และการต่อสู้ภัยคุกคามทางอากาศ โดยกองทัพเรือ ได้จัดซื้อแบบแปลนรายละเอียด และพัสดุ สำหรับการสร้างเรือตรวจการณ์ปืน จากบริษัท มาร์ซัน จำกัด ในลักษณะ Package Deal โดยใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 699,459,000 บาท ทั้งนี้ กองทัพเรือได้มอบหมายให้ กรมอู่ทหารเรือ เป็นหน่วยรับผิดชอบ ในการสร้างเรือ โดยใช้พื้นที่ของอู่ทหารเรือธนบุรีเป็นสถานที่ต่อเรือ เพื่อเป็นการดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งพาตนเองกับเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของกรมอู่ทหารเรือ ในการต่อเรือตรวจการณ์ปืน หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการต่อเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.991 และนำไปสู่การปรับปรุงเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.994 ที่ได้มีการขยายแบบเรือ และรูปทรง ตามพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และล่าสุด คือ เรือหลวงกระบี่ ซึ่งเป็นเรือประเภทเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่มีขนาดใหญ่และสมรรถนะสูง
ในขั้นตอนของการสร้างเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่นี้ กรมอู่ทหารเรือได้ดำเนินการต่อเอง โดยแบ่งการสร้างเรือออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกทำการต่อเฉพาะตัวเรือ รวมถึงระบบเครื่องจักร ณ อู่แห้งหมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี มีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 13 เดือน และหลังจากที่ได้ปล่อยเรือลงน้ำแล้ว ได้นำตัวเรือไปทำการประกอบในส่วน superstructure (หอบังคับการเรือ เสาสื่อสาร) รวมถึงระบบอาวุธ ณ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยในระยะที่ 2 นี้ มีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 10 เดือน จึงอาจกล่าวได้ว่า กองทัพเรือได้ใช้ศักยภาพและความรู้ความสามารถของกำลังพลกองทัพเรือ ในการดำเนินการติดตั้ง ทดสอบได้อย่างเต็มภาคภูมิ แม้ว่าจะใช้แบบเรือของบริษัทเอกชน แต่ถือเป็นการดำเนินการในการสร้างเรือขนาดใหญ่อีกลำด้วยการพึ่งพาตนเอง
ตามระเบียบของ กองทัพเรือ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อเรือรบ ตามประเภทของเรือ โดยในส่วนของเรือตรวจการณ์ (ปืน) กำหนดให้ตั้งชื่อตามอำเภอชายทะเล โดยเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่นี้ ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า “เรือหลวงแหลมสิงห์” (อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี)
คุณลักษณะทั่วไปมีดังนี้
- ความยาวตลอดลำ 58 เมตร - ความกว้างกลางลำ 9.3 เมตร
- ความลึกกลางลำ 5.1 เมตร - กินน้ำลึกเต็มที่ 2.9 เมตร
- ระวางขับน้ำสูงสุด 520 ตัน
ขีดความสามารถของเรือตรวจการณ์ปืน
- ความเร็วสูงสุดที่ระวางขับน้ำสูงสุด 23 นอต
- ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 2,500 ไมล์ทะเล
- ความคงทนทะเลจนถึงสภาวะระดับ 4 (Sea State 4)
- มีสถานที่จัดเก็บเสบียงอาหาร และระบบน้ำจืด เพียงพอสำหรับการปฏิบัติงานในทะเลต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุง
- มีห้องและที่พักอาศัยเพียงพอสำหรับกำลังพลประจำเรือตามอัตรา 53 นาย
ขีดความสามารถในการปฏิบัติการ (Operation Capabilities)
- ต่อต้านภัยผิวน้ำ ด้วยการซ่อนพราง การใช้อาวุธปืนหลัก/ปืนรองของเรือ และการชี้เป้าให้กับเรือผิวน้ำและอากาศนาวี
- การโจมตีที่หมายบนฝั่ง ด้วยอาวุธปืนหลัก/ปืนรองของเรือ
- การป้องกันฝั่ง การสกัดกั้น และการตรวจค้นด้วยระบบตรวจการณ์ และเรือยางท้องแข็งไฟเบอร์กลาสความเร็วสูง (RIB)
- การป้องกันภัยทางอากาศในลักษณะการป้องกันตนเอง ด้วยระบบควบคุมการยิง และการใช้อาวุธปืนหลัก/ปืนรองของเรือ
- การค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลตามแนวชายฝั่ง
- การสนับสนุนการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเลและท่าเรือ
- การสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรืออื่น ๆ
อาวุธประจำเรือ
- ปืนขนาด 76/62 มิลลิเมตร OTO Melara (Refurbished) จำนวน 1 กระบอก
- ปืนกลขนาด 30 มิลลิเมตร MIS จำนวน 1 กระบอก
- ปืนกลขนาด .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก
กองประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
กองทัพเรือ รับมอบเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่
21ก.ย.2559 เรือหลวงแหลมสิงห์ (561) - กองทัพเรือ รับมอบเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่..
วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559
ท้ายเรือมีเรื่องเล่า ตอนที่ 3 : ภาพการฝึกกองทัพเรือไทย-สหรัฐ CARAT 2016....
“ท้ายเรือมีเรื่องเล่า” รายการโทรทัศน์ รายการแรกของกองทัพเรือ ในตอนที่ 3 นี้ นำเสนอเรื่องราวการฝึกผสมการัต 2016 กับกองทัพเรือสหรัฐฯ เป็นเรื่องหลัก
ช่วง "ทั่วท้องน้ำ" เราจะพาท่านไปพบกับบรรยากาศพิธีรำลึกวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ณ บริเวณเดียวกับที่เกิดเหตุการณ์จริงเมื่อวันนั้น
และช่วงสุดท้าย "จิตวิญญาณราชนาวี" นำเสนอประวัติของปืนเสือหมอบ และป้อมพระจุลจอมเกล้า ผ่านเหตุการณ์ วิกฤตการณ์ ร.ศ.112
SIGMA 10514 PKR Frigate for Indonesian Navy (TNI AL) DAMEN
ข้อมูลเกี่ยวกับเรือ คลิก! SIGMA 10514 PKR Frigate Indonesia Indonesian ... - Navy Recognition
คุณลักษณะ เรือฟริเกต SIGMA 10514 ของกองทัพเรืออินโดนีเซีย
ขนาดระวางขับน้ำ 2,365 ตัน
ความยาว 105.11 เมตร
ความกว้าง 14.02 เมตร
กินน้ำลึก 3.75 เมตร
ความเร็วสูงสุด 28 นอต
ระยะปฏิบัตการ 5,000 nm ที่ความเร็ว 14 kts
ระยะเวลาปฏิบัติการในทะเล 20 วัน (โดยไม่ต้องเข้ารับการส่งกำลังบำรุง)
มีที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับกำลังพลประจำเรือ 120 นาย
ระบบอาวุธที่ติดตั้งกับเรือ
ปืนใหญ่เรือแบบ Oto Melara 76/62 Compact จำนวน 1 กระบอก
ระบบอาวุธป้องกันระยะประชิดแบบ Rheinmetall Millenium 35 mm CIWS จำนวน 1 ระบบ
ระบบอาวุธนำวิถีต่อสู้เรือแบบ MBDA MM40 Blk III จำนวน 8 ลูก
ระบบอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานแบบ MBDA MICA VL ท่อยิงแนวดิ่ง จำนวน 12 ท่อยิง
ตอร์ปิโดแบบ 3 ท่อยิง จำนวน 2 แท่น
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559
หลวงแหลมสิงห์ ทำการทดลองเรือในทะเล ก่อนจะมีการส่งมอบเรือ..
กองทัพเรือ ได้จัดหาเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่ของกองทัพเรือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ระยะปานกลางตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.2551 – 2560 ซึ่งได้ทยอยปลดประจำการ และใช้ปฏิบัติงานร่วมกับเรือ อากาศนาวี หน่วยกำลังต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง หน่วยกำลังนาวิกโยธิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ ตั้งแต่ในภาวะปกติ โดยมีขีดความสามารถปฏิบัติการรบ 2 มิติ ได้แก่ การปฏิบัติการสงครามผิวน้ำ และการต่อสู้ภัยคุกคามทางอากาศ โดย กองทัพเรือ ได้จัดซื้อแบบแปลนรายละเอียดและพัสดุ สำหรับการสร้างเรือตรวจการณ์ปืน จากบริษัท มาร์ซัน จำกัด ในลักษณะ Package Deal โดยใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 699,459,000 บาท ทั้งนี้ กองทัพเรือ ได้มอบหมายให้ กรมอู่ทหารเรือ เป็นหน่วยรับผิดชอบในการสร้างเรือ โดยใช้พื้นที่ของ อู่ทหารเรือธนบุรี เป็นสถานที่ต่อเรือ เพื่อเป็นการดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และการพึ่งพาตนเอง กับเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของ กรมอู่ทหารเรือ ในการต่อเรือตรวจการณ์ปืน หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการต่อเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.991 และนำไปสู่การปรับปรุงเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.994 ที่ได้มีการขยายแบบเรือ และรูปทรง ตามพระบรมราชวินิจฉัย และล่าสุดคือ เรือหลวงกระบี่ ซึ่งเป็นเรือประเภทเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ที่มีขนาดใหญ่ และสมรรถนะสูง
ในขั้นตอนของการสร้างเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่นี้ กรมอู่ทหารเรือ ได้ดำเนินการต่อเอง โดยแบ่งการสร้างเรือ ออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกทำการต่อเฉพาะตัวเรือ รวมถึงระบบเครื่องจักร ณ อู่แห้งหมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี มีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 13 เดือน และหลังจากที่ได้ปล่อยเรือลงน้ำแล้ว จะนำตัวเรือไปทำการประกอบในส่วน superstructure (หอบังคับการเรือ เสาสื่อสาร) รวมถึงระบบอาวุธ ณ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยในระยะที่ 2 นี้ มีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 10 เดือน (ถึงกลางเดือนมิถุนายน 2559) จึงอาจกล่าวได้ว่า กองทัพเรือ ได้ใช้ศักยภาพและความรู้ความสามารถของกำลังพลกองทัพเรือ ในการดำเนินการติดตั้ง ทดสอบ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ แม้ว่าจะใช้แบบเรือของบริษัทเอกชน แต่ถือเป็นการดำเนินการในการสร้างเรือขนาดใหญ่อีกลำด้วยการพึ่งพาตนเอง
ตามระเบียบของ กองทัพเรือ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อเรือรบ ตามประเภทของเรือ โดยในส่วนของเรือตรวจการณ์ (ปืน) กำหนดให้ตั้งชื่อตามอำเภอชายทะเล โดยเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่นี้ ได้รับพระราชทานชื่อจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า “เรือหลวงแหลมสิงห์” คาดว่าจะดำเนินการสร้างแล้วเสร็จ ประมาณเดือนมิถุนายน 2559 มีคุณลักษณะที่สำคัญคือ ยาว 58 เมตร กว้าง 9.30 เมตร กินน้ำลึก 2.50 เมตร ระวางขับน้ำสูงสุด 520 ตัน ทำความเร็วสูงสุดได้ไม่น้อยกว่า 23 นอต (ที่ระวางขับน้ำสูงสุด) มีระยะปฏิบัติการในทะเลไม่น้อยกว่า 2,500 ไมล์ทะเล มีความคงทนทะเลจนถึงสภาวะทะเลระดับ 4 (SEA STATE 4) โดยที่ตัวเรือมีความแข็งแรงเพียงพอที่สภาวะทะเลระดับ 5 (SEA STATE 5) มีสถานที่จัดเก็บเสบียงอาหาร และระบบน้ำจืดเพียงพอสำหรับการปฏิบัติงานในทะเลต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุง มีห้องพักและที่อาศัยเพียงพอสำหรับกำลังพลประจำเรือ จำนวน 53 นาย ในส่วนของระบบอาวุธประจำเรือที่สำคัญ คือ ปืนขนาด 76/62 มิลลิเมตร จำนวน 1 กระบอก ปืนกลขนาด 30 มิลลิเมตร จำนวน 1 กระบอก ปืนกล ขนาด .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก ทั้งนี้ ในการออกแบบได้จัดให้มีพื้นที่ดาดฟ้าท้ายเรือกว้างขวาง ซึ่งสามารถติดตั้งอุปกรณ์หรือยุทโธปกรณ์อื่น ๆ อาทิ อาวุธนำวิถีได้ในอนาคต
เมื่อดำเนินการสร้างแล้วเสร็จ เรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่นี้ จะเข้าประจำการในกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ มีภารกิจในการตรวจการณ์ ลาดตระเวน ป้องกันการแทรกซึมในทะเล คุ้มครองเรือประมงและเรือพาณิชย์ ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย การถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือสาขาต่าง ๆ ตลอดจนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลและชายฝั่ง
แอ๊ดมินขอประมวลภาพการสร้างเรือตรวจการณ์ปืน"เรือหลวงแหลมสิงห์"จากวันั้นจนถึงวันนี้ เรือรบโดยฝีมือคนไทย
ที่มา:ข้อมูล กรมยุทธการทหารเรือ กรมอู่ทหารเรือ และสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์กองทัพเรือ/ภาพ กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ และบริษัท มาร์ซัน จำกัด
ภาพถ่ายจาก: Navy For Life
ภาพถ่ายจาก: Chookiat Thepalai