หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ภาพถ่ายภายในห้องปฏิบัติการของพลประจำรถ รถถัง T-84 Oplot

าพถ่ายภายในห้องปฏิบัติการของพลประจำรถ รถถังหลัก T-84 Oplot ซึ่งสร้างโดย บริษัท KMDB แห่ง ประเทศยูเครน เผยให้เห็นระบบอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ภายในรถถัง.. โดยในระยะเวลาอันใกล้นี้ รถถัง Oplot จะได้เข้าประจำการอยู่ใน กองทัพบกไทย ทั้งนี้ระบบอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ภายในรถถัง Oplot ที่ผลิตสร้างให้สำหรับทางการไทย จะเหมือนหรือแตกต่าง จากที่ปรากฎตามภาพถ่ายนี้เพียงใด จะต้องคอยติดตามดูกันต่อไป.. เพราะในส่วนของรายการอุปกรณ์ปลีกย่อยต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ภายในรถถัง Oplot ของ กองทัพบกไทย จะมีรายการเปลี่ยนแปลงถึง 40 รายการ


ภาพภายในห้องปฏิบัติการ.. รถถัง T-84 Oplot แสดงให้เห็นระบบอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ภายใน

ภายในสถานีของพลยิง
ภายในสถานีของผู้บังคับรถ
ภายในสถานีของพลขับ
ระบบพวงมาลัยรถ หรือ ระบบบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ของรถ
และระบบเกียร์อัตโนมัติ
http://olarhat.livejournal.com/19911.ht ml

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เรือดำน้ำ มิติที่ ๓ ของกำลังทางเรือ


Published on Oct 28, 2012 by NavyChannelTH
"เรือดำน้ำ มิติที่สามของกำลังทางเรือ" สารคดีพิเศษ​ เนื่องในวันเรือดำน้ำ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉายครั้งแรกภายในงานวันเรือดำน้ำ ที่จัดโดย กองเรือดำน้ำ ณ ราชนาวีสโมสร 

สารคดีในตอนนี้ นำเสนอความน่ากลัว และร้ายกาจของเรือดำน้ำ ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการรณรงค์ของกองทัพเรือของชาติมหาอำนาจทั้งหลาย และหนึ่งในเหยื่อของเรือดำน้ำก็คือ เรือของไทย ทั้งเรือในราชนาวี และเรือสินค้าของเอกชน ซึ่งมีทั้งที่โดนจมด้วยตอร์ปิโด และจมหรือเสียหายด้วยทุ่นระเบิด ชาวสยามในสมัยนั้น ต่างตระหนักถึงความร้ายแรงของภาวะข้าวยากหมากแพง ในช่วงสงครามโลก อันเกิดจากการที่ปากน้ำเจ้าพระยาถูกปิดกั้น ทำให้เรือโดยสารที่จะนำสินค้าอุปโภคบริโภค และน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาขายในประเทศ ไม่สามารถเดินทางเข้าหรือออกได้ 

นอกจากนี้ ทีมงานสารคดี ยังได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านเรือดำน้ำของไทย คือ พลเรือตรี สุริยะ พรสุริยะ ผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำ ในขณะนั้น (ก.ย. ๒๕๕๕) และ พลเรือตรี วิเลิศ สมาบัติ ผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำ ท่านปัจจุบัน (ต.​ค ๒๕๕๕) โดยท่านทั้งสองได้ให้สัมภาษณ์ถึงขีดความสามารถของเรือดำน้ำ และความเหมาะสมต่อราชนาวีไทย

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

CARAT & BLUE STRIKE 2012


Published on Oct 26, 2012 by
ในช่วงเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2555 กองทัพเรือได้มีโอกาสฝึกร่วมผสมกับ กองทัพเรือ (Navy) นาวิกโยธิน (Marine) และกองเรือยามฝั่ง (Coast Guard) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ในรหัสการฝึก CARAT 2012 ส่วนนาวิกโยธินของกองทัพเรือไทย ก็ได้มีโอกาสฝึกร่วมกับนาวิกโยธิน ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้รหัส Blue Strike 2012 ที่ประเทศจีนในห้วงเวลาเดียวกัน

สารคดีชุดนี้ จึงได้นำเสนอเรื่องราวของการฝึกระหว่างกองทัพเรือไทย กับสองขั้วอำนาจของโลกทั้งสองประเทศนี้ ให้ท่านผู้ชม ได้รับชมไปพร้อมๆ กัน ในคราวเดียวกัน