หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2562

กองทัพเรือจัดหมู่เรือต้อนรับ "เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช"


**** เมื่อเวลา 16.30 น. ของวันที่ 5 ม.ค 62 กองทัพเรือได้จัดเรือหลวงตากสิน (422) เรือหลวงนเรศวร (421) และ เรือหลวงรัตนโกสินทร์ (441) พร้อมอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 2 ลำ ออกเดินไปยังกลางอ่าวไทย เพื่อต้อนรับเรือฟริเกตสมรรถนะสูง เรือหลวงท่าจีน (471)  ซึ่งได้รับการพระราชทานชื่อใหม่ เป็น "เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช” หลังเดินทางมาจากประเทศเกาหลีใต้ กองทัพเรือไทยได้จัดซื้อ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลำนี้ โดยต่อเรือจาก DSME.-DAEWOO Shipbuilding & Marine Engineering CO., LTD.) ประเทศเกาหลีใต้ ในงบฯ ลำละ เกือบ 1.5 หมื่นล้านบาท
***** โดย พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผบ.ทร.จะเป็นประธานในพิธีต้อนรับ และขึ้นระวางเรือประจำการ ในที่ 7 ม.ค.62 นี้ ณ ท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี สำหรับการพระราชทานชื่อ “เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช” ยังความปลาบปลื้มให้กำลังพลประจำเรือ และ กองทัพเรืออย่างยิ่งเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลำนี้ เป็นการพัฒนามาจากเรือพิฆาตชั้น Kwanggaeto Class Destroyer (KDX-I) โดยใช้มาตรฐานทางทหารของสหรัฐฯ และกองทัพเรือเกาหลีใต้ในการต่อเรือ มีระวางขับน้ำสูงสุด 3,700 ตัน ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง 30 นอต ระยะปฏิบัติการประมาณ 4,000 ไมล์ทะเล กำลังพล 136 นาย สามารถทนทะเลได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 6 ขึ้นไป โครงสร้างเรือแข็งแรง มีโอกาสอยู่รอดสูงในสภาพแวดล้อมของการสู้รบและการปนเปื้อนทางนิวเคลียร์ เคมี ชีวะ และสามารถตรวจการครอบคลุมทุกมิติและทั้งกลางวันและกลางคืน เนื่องจาก มีการติดตั้งระบบอำนวยการรบและระบบตรวจการที่ทันสมัยและขีดความสามารถสูง รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและสื่อสารกับเรือ อากาศยาน และหน่วยบนฝั่งสามารถปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติ ทั้งผิวน้ำ ใต้น้ำ และทางอากาศ โดยการปฏิบัติการสงครามใต้น้ำ สามารถตรวจจับเป้าหมายระยะไกลด้วยโซนาร์ลากท้ายและโซนาร์ติดใต้ท้องเรือ แล้วต่อตีเรือดำน้ำได้ที่ระยะไกลด้วย Vertical Launch Anti-Submarine Rocket หรือตอร์ปิโด การปฏิบัติการสงครามต่อต้านภัยทางอากาศ ใช้เรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติระยะไกล และระยะปานกลางในการค้นหา ตรวจจับ และติดตามเป้าข้าศึก รวมทั้งแลกเปลี่ยนและประสานการปฎิบัติกับเรือและอากาศยานที่ร่วมปฏิบัติการ แล้วโจมตีเป้าหมายด้วยอาวุธปล่อยนำวิถี แบบ ESSM และอาวุธปืนของเรือ
*******มีระบบการป้องกันทางอากาศระยะไกล (ผิวน้ำ) หรือพื้นที่ชั้นนอกของกองเรือ (Battle Group) จะใช้การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยานของกองทัพอากาศในการค้นหา ตรวจจับและโจมตี และการปฏิบัติการสงครามผิวน้ำ โดยสามารถโจมตีเป้าหมายได้ที่ระยะไกล โดยปฏิบัติร่วมกับเรือและอากาศยานในการพิสูจน์ทราบเป้า ส่งมอบเป้าและให้ใช้อาวุธจากระยะพ้นขอบฟ้า รวมทั้งโจมตีเป้าพื้นน้ำและใต้น้ำด้วยเฮลิคอปเตอร์ประจำเรือ
*******ส่วนการป้องกันตนเองนั้น จะโจมตีด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีปืนใหญ่เรือและปืนรองต่อสู้อากาศยาน ระบบอาวุธป้องกันระยะประชิด (CIWS) ระบบลวงทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุมความเสียหายแบบรวมการที่สั่งการได้จากศูนย์กลางหรือแยกสั่งการ มีระบบควบคุมการแพร่สัญญาณออกจากตัวเรือ อีกทั้งสามารตรวจจับ ดักรับ วิเคราะห์ และก่อกวนสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าของเป้าหมายได้ทั้งยังสามารถใช้ในการปฏิบัติการรบร่วม โดยผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี ให้สามารถปฏิบัติการรบร่วมในลักษณะกองเรือ (Battle Group) ได้แก่ ร.ล.จักรีนฤเบศร เรือฟริเกต ชุดเรือหลวงนเรศวร เรือคอร์เวต ชุดเเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
*****รวมทั้งการปฏิบัติการรบร่วมกับ เครื่องบินกองทัพอากาศ ตามบทบาทหน้าที่ที่จะได้รับมอบหมาย ซึ่งเรือฟริเกตสมรรถนะสูง จะทำหน้าที่ควบคุมการปราบเรือดำน้ำเป็นหลัก กองทัพเรือมีแผนต่อเรือฟริเกตสมรรถนะสูง อีก 1 ลำเอง โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยี่จากแดวู
นิราช ทิพย์ศรี /นันทพล ทิพย์ศรี อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

--------------------------------------------------------------------------------
กองทัพเรือจัดหมู่เรือต้อนรับ "เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น