หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2561

RTAF Knowledge Management 2018 、。。


RTAF Knowledge Management 2018 : การจัดการความรู้ของกองทัพอากาศ 2561 、。。
By RTAF 、。。


ทอ.จัดงานมหกรรมการจัดการความรู้ นวัตกรรม และ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพกองทัพอากาศ ครั้งที่ 35 ประจำปี 2561 เมื่อ 22 สิงหาคม 2561 มุ่งหวังนำกองทัพอากาศก้าวไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน 、。。

“บิ๊กจอม” แนะ 3 ปัจจัยที่เป็นหัวใจพัฒนากำลังพล ทอ.และเป็นหลักในการขับเคลื่อน ทอ.สู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนในยุค 4.0 และเป็นกองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค 、。。

อ่านต่อที่ :-
https://www.dailynews.co.th/politics/...

แผนแม่บท การจัดการความรู้ของกองทัพอากาศ .. KM สู่ LO :-
https://drive.google.com/file/d/1Zd9w...
https://drive.google.com/file/d/12WEW...

Knowledge Management 、。。

Knowledge management (KM) is the process of creating, sharing, using and managing the knowledge and information of an organisation .. It refers to a multidisciplinary approach to achieving organisational objectives by making the best use of knowledge 、。。

An established discipline since 1991, KM includes courses taught in the fields of business administration, information systems, management, library, and information sciences .. Other fields may contribute to KM research, including information and media, computer science, public health and public policy .. Several universities offer dedicated master's degrees in knowledge management 、。。

Many large companies, public institutions and non - profit organisations have resources dedicated to internal KM efforts, often as a part of their business strategy, IT, or human resource management departments .. Several consulting companies provide advice regarding KM to these organisations 、。。

Knowledge management efforts typically focus on organisational objectives such as improved performance, competitive advantage, innovation, the sharing of lessons learned, integration and continuous improvement of the organisation .. These efforts overlap with organisational learning and may be distinguished from that by a greater focus on the management of knowledge as a strategic asset and on encouraging the sharing of knowledge .. KM is an enabler of organisational learning 、。。

4 Learn Concept 、。。
Learn to Learn .. LO : Learning Organisation
Learn to Share .. KM : Knowledge Map
Learn to Connect .. CoP : Community of Practice
Learn to Innovate .. Innovation

Knowledge Map 、。。
https://drive.google.com/file/d/0B1PB...

Knowledge Management 、。。
https://drive.google.com/file/d/0B1PB...

Royal Thai Air Force Official Website、。。
http://www.rtaf.mi.th/

นโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศ ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๑​ 、。。
http://www.rtaf.mi.th/th/Documents/Pu...

RTAF Core Values 2556 、。。
https://drive.google.com/file/d/0B1PB...

RTAF Strategy 20 Years .. ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) (ฉบับเผยแพร่) 、。。


ผู้บัญชาการทหารอากาศ เดินทางไปกระทําพิธีอําลาเกษียณอายุราชการ กองบิน ๔

พลอากาศเอก จอม  รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ พร้อมด้วย นาวาอากาศเอกหญิง กรนันท์ รุ่งสว่าง นายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ เดินทางไปกระทําพิธีอําลาเกษียณอายุราชการ กองบิน ๔ โดยมี นาวาอากาศเอก พูนศักดิ์  ปิยะรัตน์ ผู้บังคับการกองบิน ๔ และ คุณณัฐกานต์  ปิยะรัตน์ ประธานชมรมแม่บ้านทหารอากาศกองบิน ๔ พร้อมด้วย ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ทหารกองประจำการ และสมาชิกชมรมแม่บ้านทหารอากาศ กองบิน ๔ ให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๑ ณ กองบิน ๔ จังหวัดนครสวรรค์

http://www.rtaf.mi.th/th/RTAFNews/Pages/A20180827-3.aspx

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561

RTA : OPLOT-T Maim Battle Tank Photo Gallery

ประมวลภาพรถถังหลัก OPLOT-T ของกองทัพบก ซึ่งเป็นภาพถ่ายในช่วงเวลาต่างๆ จนถึง ณ ปัจจุบัน ทั้งนี้ กองทัพบกไทย ได้รับรถถังหลัก OPLOT-T จำนวน 49 คัน ครบตามจำนวนที่ทำการจัดหาจากทางการยูเครน เรียบร้อยแล้ว สิ้นสุดการรอคอยอันยาวนาน...
กองทัพบกไทยได้ทำสัญญาสั่งซื้อรถถังหลัก OPLOT-T 49 คัน รถกู้ซ่อม 2 คัน รถซ่อมบำรุง 4 คัน พร้อมเครื่องซิมูเลเตอร์ จากยูเครนในปี 2554 รถถังหลัก OPLOT-T ชุดแรกจำนวน 5 คัน ได้เดินทางมาถึงไทย เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2557 ต่อมายูเครนได้เกิดวิกฤติการณ์สู้รบขึ้นภายในประเทศ ทำให้สายการผลิตต้องล่าช้าจึงต้องทยอยส่งมอบ โดยปี 2558 จำนวน 5 คัน ปี 2559 จำนวน 10 คัน จนในปี 2560 KMBD สามารถดำเนินการผลิตได้ตามปกติและผลิต รถถังหลัก OPLOT-T ได้ทั้งหมดพร้อมส่งมอบให้กองทัพบกไทย จำนวน 17 คัน และปี 2561 จำวน 12 คัน โดยชุดสุดสุดท้ายได้เดินทางมาถึงไทยเมื่อ 29 กรกฎาคม 2561 เป็น รถถังหลัก OPLOT-T จำนวน 6 คัน และรถถังกู้ซ่อมอีก 2 คัน และนำไปเก็บไว้ที่ กองพันทหารม้าที่ 2 กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ มีกำหนดการที่จะทดสอบสมรรถนะและขีดความสามารถพร้อมทดสอบระบบอาวุธในเดือนกันยายนนี้ ก่อนที่จะนำเข้าประจำการใน กองพันทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ ต่อไป ในปัจจุบัน KMBD กำลังดำเนินการร่วมกับกองทัพบกเพื่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและมีคลังสำรองอะไหล่สำหรับรถลำลียงพล BTR-3E และรถถังหลัก OPLOT-T ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในเร็วๆ นี้ อันจะทำให้เกิดความสะดวกสบายและรวดเร็วในการซ่อมบำรุง และ KMBD ได้ยืนยันว่าโรงงานสามารถดำเนินการด้านสายการผลิตได้ตามปรกติแล้ว ไม่มีปัญหาและอุปสรรคใดๆ จึงทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อลูกค้า อีกทั้งกองทัพบกไทยยังมีความต้องการรถถังที่จะมาทดแทนรถถัง M-41 ที่หมดอายุการใช้งานอีกกว่า 100 คัน ทำให้ รถถังหลัก OPLOT-T ยังมีโอกาสในแผนจัดหารถถังในอนาคตของ กองทัพบกไทยอยู่ ถึงแม้ว่ากองทัพบกเพิ่งจะจัดซื้อและนำเข้าประจำการด้วยรถถังหลัก VT-4 จากจีนแล้วจำนวนหนึ่งเมื่อต้นปีนี้ก็ตาม...by Sompong Nondhasa

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561

10,000 ชั่วโมงบิน Gripen กองทัพอากาศไทย เหนือน่านฟ้าออสเตรเลีย

10,000 ชั่วโมงบิน กริเพนกองทัพอากาศไทยเหนือ น่านฟ้าออสเตรเลียระหว่างการฝึก PITCH BLACK 2018

"ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้น ก็เนื่องมาจากความรัก สมัครสมาน สามัคคี ของผู้บังคับบัญชา นักบิน ตลอดจนผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกคน ทั้งในอดีต และปัจจุบัน ที่ได้ร่วมปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ ตั้งใจทุ่มเท เสียสละ ทั้งพลังกาย พลังใจ และสติปัญญา นับเป็นความภาคภูมิใจของกองทัพอากาศเป็นอย่างยิ่ง การบินครบ 1 หมื่นชั่วโมงบิน เป็นตัวชี้วัด ที่บ่งบอกความสำเร็จดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ผมขอแสดงความยินดี และขอชื่นชมทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้อง”

(โดย พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ระหว่างการตรวจเยี่ยมกองกำลัง ทอ. ที่เข้าร่วมการฝึกผสม PITCH BLACK 2018, 14 ส.ค.61)

==========================
Gripen 39 C/D หรือ เครื่องบินขับไล่แบบที่ 20/ก เป็นเครื่องบินขับไล่ที่กองทัพอากาศจัดหาเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของกำลังทางอากาศ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนากองทัพอากาศ ตามวิสัยทัศน์ “กองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค” ภายใต้ชื่อโครงการ “PEACE SUVARNABHUMI” โดยโครงการระยะที่ 1 เครื่องบินขับไล่แบบที่ 20/ก จำนวน 6 เครื่องแรก ได้มาถึงกองบิน 7 เมื่อวันที่ 22 ก.พ.2554 หลังจากผ่านขั้นตอนการตรวจรับ ได้ขึ้นทำการบินเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มี.ค.2554 ได้มีพิธีบรรจุเข้าประจำการ ณ กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 7 ก.ค.2554 โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม เป็นประธาน และเครื่องบิน 3 เครื่องสุดท้าย ตามโครงการจัดซื้อระยะที่ 2 ได้มาถึงกองบิน 7 เมื่อวันที่ 3 ก.ย.2556 ซึ่งเครื่องบินขับไล่แบบที่ 20/ก ของ ฝูง 701 กองบิน 7 ได้ปฏิบัติภารกิจการบินครบ 1 หมื่นชั่วโมงบิน เมื่อวันที่ 13 ส.ค.2561
--------------------------------------------------------------------------------------------
ยามค่ำ...ปีก Gripen ก็ยังคงวาววาม ณ ดาร์วิน, เครือรัฐออสเตรเลีย ระหว่างการฝึก PITCH BLACK 2018

"ไตรรงค์ธงรูปอาร์ม...ปีกทองขาววาววาม...บอกนามสีเทาไทย
เหนือนภาฟ้า...ไทย ใครรุกใครรานอธิปไตย
ทัพอากาศของไทย พลีชีพบูชา" 🎶🎶

==========================
การฝึกผสม PITCH BLACK 2018

เป็นการฝึกการปฏิบัติการทางอากาศผสม โดยมีกองทัพอากาศออสเตรเลียเป็นเจ้าภาพ และมีกองทัพอากาศจากประเทศต่างๆ เข้าร่วม ได้แก่ ประเทศแคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อินเดีย ,อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, เกาหลี, มาเลเซีย, เนเธอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, สหรัฐฯ และ ไทย กำหนดจัดการฝึกฯ ระหว่างวันที่ 23 ก.ค. - 23 ส.ค.61 โดยวางกำลัง ณ ฐานทัพอากาศ Darwin, Tindal และ Townsville รัฐนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ใช้พื้นที่การฝึกภาคสนาม Bradshaw สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศ Delmere และพื้นที่ทางตอนเหนือของออสเตรเลียเป็นพื้นที่การฝึก เพื่อฝึกการวางแผนการปฏิบัติการส่งกำลังบำรุงในการวางกำลัง สำหรับการปฏิบัติการทางอากาศ

การฝึกผสม PITCH BLACK 2018 นับเป็นการเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์ให้กับนักบิน และเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการทางอากาศได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักนิยม ยุทธวิธีการรบ ระบบอาวุธสมัยใหม่ และเทคโนโลยีทางทหาร รวมทั้งการปฏิบัติการร่วมกับกองทัพอากาศมิตรประเทศ นอกจากจะเสริมสร้างภาพลักษณ์ในระดับสากลแล้ว ยังช่วยการกระชับความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอีกด้วย


ภาพรถถังหลัก OPLOT ชุดสุดท้ายจำนวน 6 คัน และรถกู้ซ่อม 2 คัน ที่เดินทางมาถึงไทย

OPLOT-M ชุดสุดท้ายถึงไทยแล้ว!....รถถังหลัก Oplot-M ชุดสุดท้ายจำนวน 6 คัน ได้เดินทางมาถึงไทยแล้ว กองทัพบกเตรียมทดสอบขีดความสามารถและสมรรถนะ เพื่อการรับมอบเข้าประจำการให้ครบตามจำนวน 49 คัน ที่ได้สั่งซื้อไป…กองทัพบกไทยได้ทำสัญญาสั่งซื้อรถถังหลัก 49 คัน รถกู้ซ่อม 2 คัน รถซ่อมบำรุง 4 คัน พร้อมเครื่องซิมูเลเตอร์ จากยูเครนในปี 2554 รถถัง Oplot-M ชุดแรกจำนวน 5 คัน ได้เดินทางมาถึงไทยเมื่อ 4 ก.พ. 2557 ต่อมายูเครนได้เกิดวิกฤติการณ์สู้รบขึ้นภายในประเทศ ทำให้สายการผลิตต้องล่าช้าจึงต้องทยอยส่งมอบ โดยปี 2558 5 คัน ปี 2559 10 คัน จนในปี 2560 KMBD สามารถดำเนินการผลิตได้ตามปกติและผลิตรถถัง Oplot-M ได้ทั้งหมดพร้อมส่งมอบให้ทบ.ไทย 17 คัน และปี 2561 12 คันโดยชุดสุดสุดท้ายได้เดินทางมาถึงไทยเมื่อ 29 ก.ค. 2561 เป็นรถถัง Oplot-M 6 คัน และรถถังกู้ซ่อมอีก 2 คัน และนำไปเก็บไว้ที่ กองพันทหารม้าที่ 2 กองพลทหารราบที่ 2 รอ. มีกำหนดการที่จะทดสอบสมรรถนะและขีดความสามารถพร้อมทดสอบระบบอาวุธในเดือนก.ย.นี้ ก่อนที่จะนำเข้าประจำการในกองพันทหารม้าที่ 2 รอ.ต่อไป ในปัจจุบัน KMBD กำลังดำเนินการร่วมกับกองทัพบกเพื่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและมีคลังสำรองอะไหล่สำหรับรถลำลียงพล BTR-3E และรถถัง Oplot-M ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในเร็วๆนี้ อันจะทำให้เกิดความสะดวกสบายและรวดเร็วในการซ่อมบำรุง และ KMBD ได้ยืนยันว่าโรงงานสามารถดำเนินการด้านสายการผลิตได้ตามปรกติแล้ว ไม่มีปัญหาและอุปสรรคใดๆ จึงทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อลูกค้า อีกทั้งกองทัพบกไทยยังมีความต้องการรถถังที่จะมาทดแทนรถถัง M-41 ที่หมดอายุการใช้งานอีกกว่า 100 คันทำให้ Oplot-M ยังมีโอกาสในแผนจัดหารถถังในอนาคตของทบ.ไทยอยู่ ถึงแม้ว่าทบ.เพิ่งจะจัดซื้อและนำเข้าประจำการด้วยรถถัง VT-4 จากจีนแล้วจำนวนหนึ่งเมื่อต้นปีนี้ก็ตาม..Story by Sompong Nondhasa

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2561

RTAF Gripen 39 C/#70112 Walk Around

เดินสำรวจ RTAF Gripen 39 C หมายเลข 70112_ภาพ Pitch Black 2014

กองบิน ๗ ให้การต้อนรับผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานงบประมาณกลาโหม และคณะฯ

พลตรี กิติ นิมิหุต ประธานฯ/ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานงบประมาณกลาโหม และคณะกรรมการฯ เดินทางมาตรวจและติดตามผลความก้าวหน้าโครงการของกลาโหม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑

โอกาสนี้ นาวาอากาศเอก ทวีศักดิ์ เผ่าวิจารณ์ รองผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพยากร สำนักปลัดบัญชีทหารอากาศ ผู้แทนกองทัพอากาศ และกองบิน ๗ โดยมี หัวหน้าหน่วยขึ้นตรงกองบิน ๗ ให้การต้อนรับ และร่วมรับฟังการบรรยายสรุป ณ ห้องประชุมกองบิน ๗ เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๑

เกี่ยวกับ รถถังหลัก VT-4 ของกองทัพบกไทย

นำวิดีโอที่เกี่ยวกับ รถถังหลัก VT-4 ของกองทัพบกไทย มาให้ได้รับชมอีกครั้งครับ ซึ่งในวิดีโอนี้ กล่าวถึงความเป็นมาในการจัดหา รถถังหลัก VT-4 และพูดถึงเกี่ยวกับรายละเอียดสมรรถนะ และขีดความสามารถของรถถังในด้านต่างๆ รวมถึงการทดสอบขีดสมรรถนะของรถถังในสนามทดสอบอีกด้วย

รถถังหลัก T-84 Oplot ล็อทสุดท้าย อีก จำนวน 6 คัน พร้อมรถกู้ซ่อม 2 คัน ส่งถึง พล.ร.2รอ.

สิ้นสุด การรอคอย !!

มาแล้ว Oplot !! ..รถถัง ยูเครน ล็อทสุดท้าย 6 คัน ส่ง พล.ร.2รอ....ครบ 49 คัน แล้ว เตรียม ทดสอบอาวุธ ต้น ก.ย.นี้

มีรายงานข่าวจากกองทัพบกว่า ยูเครน ส่ง รถถัง T-84 Oplot ล็อทสุดท้าย อีก จำนวน 6 คัน พร้อมรถกู้ซ่อม 2 คัน ส่งถึง พล.ร.2รอ.แล้ว เตรียมรับการทดสอบการใช้อาวุธ ต้นเดือน ก.ย.นี้ ครบ 49 คัน

ทั้งนี้ รถถังและรถกู้ซ่อม ทั้ง 8 คัน ได้ถึงไทย เมื่อ 29 ก.ค.2561 ที่ผ่านมา แล้วนำไปที่ พล.ร.2รอ. ที่ ม.พัน2รอ. ปราจีนบุรี ในวันที่ 30 ก.ค.เลย เพื่อรอการทดสอบการใช้อาวุธ ในเดือน ก.ย.นี้ รอความพร้อมของสนาม และรอทางหน่วยพร้อม เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่หน่วยกำลังฝึก

ทั้งนี้ คณะกรรมการของกองทัพบก ได้ไปตรวจสอบที่ยูเครนมาแล้ว เมื่อ ปลาย มี.ค.-ต้น เม.ย.2561 ที่ผ่านมา โดย บิ๊กตู่ พลโท กู้เกียรติ ศรีนาคา แม่ทัพภาคที่ 1 ไปสังเกตุการณ์การทดสอบและตรวจสอบด้วย

ครบทั้งหมด 49 คัน จากที่ทะยอยส่งมอบทีละ 5 คัน 10 คัน มาตลอด 7 ปี และ 5 คันล่าสุด เมื่อ 9ธ.ค.2560 โดยส่ง 5 คันแรก ในปี 2556 ทั้งนี้เพราะการสู้รบในยูเครน ทำให้การผลิตรถถังและการส่งมอบให้ไทยล่าช้า

กองทัพบก ตกลงซื้อรถถังยูเครน T-84 Oplot จาก Ukroboronprom จำนวน 49 คัน งบประมาณ 7.2 พันล้าน ตั้งแต่ปี 2554 ในสมัยที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้บัญชาการทหารบก ตามสัญญามีกำหนดทยอยส่งมอบภายในปี 2558 แต่สถานการณ์สู้รบในยูเครน ทำให้การส่งล่าช้า 5 คันแรก ปลายปี 2556 จนมาส่งครบหมด ก.ค.2561

‪ส่งผลให้ก่อนหน้านี้ กองทัพบกเปลี่ยนใจ ซื้อ Oplot แค่กองพันเดียว...แล้วหันไปซื้อ รถถัง VT-4 จากจีน แทน /ที่มา: Wassana Nanuam

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Saab to Upgrade Royal Thai Air Force Air Command and Control System

Saab has received an order from the Royal Thai Air Force to upgrade Thailand’s national Air Command and Control System which is based on Saab’s 9AIR C4I.

Saab will upgrade and further enhance the Royal Thai Air Force’s Air Command and Control System (ACCS) which is based on Saab’s 9AIR C4I product and has been in operation with the Royal Thai Air Force since 2010. The system is a core part of Thailand’s network centric air defence capability which also includes Saab’s Gripen fighter, Erieye airborne early warning system and tactical data links.

Saab’s upgrade proposal for the Thai system was selected through a comprehensive evaluation process and demonstrates that Saab can ensure that the system remains fully operational, effective and future-proofed.

“This order demonstrates the competiveness of the 9AIR C4I product. Our advanced Air Command and Control System provides the Royal Thai Air Force with a vital part of its air defence system,” says Anders Carp, Senior Vice President and Head of Saab’s business area Surveillance.

The ACCS upgrade combines new hardware and software that will sustain, enhance and expand the system’s nationwide capabilities for future operations. The work will take place at Saab in Järfälla, Sweden and the contract will run until 2020.

9AIR C4I is Saab’s tactical air operations command and control system. It provides situational awareness and complete control of weapons, sensors and communications.
Saab to Upgrade Royal Thai Air Force Air Command and Control ...

คลิกที่นี่!>A20180807
พิธีลงนามในสัญญาซื้อระบบบัญชาการและควบคุมทางอากาศ กับบริษัท SAAB AB (publ)

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ความคืบหน้าในการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 (ร.ล.ตรัง)

คืบหน้าไปอีกนิด กับ โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำที่ 2 (ร.ล.ตรัง) ซึ่งจากเดิมระยะเวลาดำเนินโครงการ ระหว่างปี 2558 - 2561 แต่คาดการณ์ได้ว่า เรืออาจจะส่งมอบให้กองทัพเรือได้ในห้วงกลางปี 2562

สิ่งหนึ่งที่ประชาชนมักจะเข้าใจผิดคือ บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด เป็นผู้ต่อเรือ ตกก. ลำนี้ แต่ตามจริงแล้ว บรษัท อู่กรุงเทพ จำกัด เป็นผู้เสนอแบบ และจัดหาวัสดุในการต่อเรือ โดยผู้ต่อเรือคือ อู่ราชนาวีมหิดลฯ กรมอู่ทหารเรือ
ที่มา: Navy For Life