หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

มาทำความรู้จัก EC–725 “ค้นหา และ ช่วยชีวิต” ทุกภารกิจเพื่อประชาชน

กองทัพอากาศไทยได้มีการจัดเตรียม RTAF Search & Rescue พร้อมบทบาทหน้าที่ โดยได้พัฒนาระบบการค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่เสี่ยงภัยได้อย่างสมบูรณ์ มีการฝึกเพื่อทดสอบแผนระบบการสั่งการ อุปกรณ์และบริภัณฑ์ต่างๆ เพื่อฝึกการค้นหาและช่วยชีวิต

ปัจจุบันกองทัพอากาศ ได้จัดหาเฮลิคอปเตอร์รุ่นใหม่ แบบ EC-725 เพื่อทดแทน เฮลิคอปเตอร์แบบ UH-1H เดิม

จากสภาวะโลกในอนาคตข้างหน้า เราจะต้องเผชิญกับภัยพิบัติ เช่นน้ำท่วม แผ่นดินไหว หรือ สึนามิเฮลิคอปเตอร์ค้นหาช่วยชีวิตขนาดใหญ่ จะสามารถบินได้นาน บินได้ทนต่อสภาวะอากาศและติดตั้งอุปกรณ์ค้นหา รวมทั้งการค้นหาด้วยความร้อ
เนื่องด้วยเฮลิคอปเตอร์แบบ UH–1H มีการใช้งานเป็นเวลานานกว่า 50 ปี ทำให้กองทัพอากาศต้องปฏิบัติภารกิจภายใต้ขีดจำกัด เพราะเฮลิคอปเตอร์แบบ UH–1H มีเทคโนโลยีที่ล้าสมัยสำหรับปัจจุบัน และเริ่มทยอยปลดประจำการไปบ้างแล้ว

กองทัพอากาศจึงมีความจำเป็นในการที่ต้องจัดหาเฮลิคอปเตอร์แบบใหม่เพื่อตอบสนองภารกิจของกองทัพอากาศ

ปัจจุบันกองทัพอากาศได้จัดซื้อเฮลิคอปเตอร์แบบ EC-725 เพราะเฮลิคอปเตอร์แบบ EC-725 ตอบสนองการปฏิบัติภารกิจได้ดีขึ้น มีรัศมีการปฏิบัติมากขึ้น บรรทุกผู้โดยสารได้มากกว่า และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้กองทัพอากาศจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์แบบ EC-725

การเปรียบเทียบขีดความสามารถเฮลิคอปเตอร์ทั้ง 2 แบบ จะเห็นได้ว่า เฮลิคอปเตอร์แบบ EC-725 มีขีดความสามารถเหนือกว่า เฮลิคอปเตอร์แบบ UH-1H ในทุกๆ ด้าน
สมรรถนะของเฮลิคอปเตอร์แบบ EC-725

TURBOMECA MAKILA 2A1 2 Engine
Maximum Power 1,776 Kw / 2,382 SHP
Empty weight 5,200 kg
Maximum take-off weight 11,000 Kg
เพดานบินสูงสุด 20,000 ft

สมรรถนะของเฮลิคอปเตอร์แบบ EC-725

Maximum Endurance 4:26 hr (80 kts)
Maximum Range 491 NM
ความเร็วปฏิบัติการ 0 – 145 kts...
รัศมีปฏิบัติการ 200 NM
Military transport up to 28 seats
MEDEVAC 11 stretchers
 SAR CONFIGURATION
- SINGLE HOIST
- SPECTORLAB
- FLIR
- GLASS COCKPIT
- MEDICAL EVACUATION
- EMERGENCY FLOATATION GEAR

SINGLE HOIST
อุปกรณ์ รอกกว้าน แบบ single Hoist สามารถรับน้ำหนักได้สูงสุด 600 ปอนด์
SPECTORLAB
ระบบไฟส่องสว่างสำหรับการค้นหาและช่วยชีวิตในตอนกลางคืน
FLIR
กล้องตรวจจับความร้อน สำหรับการค้นหาและช่วยชีวิตโดยการตรวจจับความร้อน
ระบบการจัดการควบคุมการบินแสดงข้อมูลแบบ Glass Cockpit
- ระบบ FMS with SAR mode ซึ่งเป็นระบบการจัดการการบินสำหรับค้นหาและช่วยชีวิต
- มีระบบการค้นหาด้วย PLS ที่สามารถใช้ร่วมกับ PRC-112G ที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
- Digital Map ที่ทำงานร่วมกับ FMS และ Radio Altimeter
- Radio Altimeter สำหรับวัดความสูงของอากาศยานกับภูมิประเทศ ทำให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้ทั้งทางบก และทางทะเล
- Weather Radar เรดาร์ตรวจอากาศ
- Glass Cockpit compatible with NVG ระบบไฟส่องสว่างในห้องนักบินที่รองรับการติดตั้งกล้อง NVG สำหรับการบินกลางคืน

MEDICAL EVACUATION
การช่วยเหลือทางการแพทย์ สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 24 คน (รวมลูกเรือ) หรือ 11 เปลพยาบาล
EMERGENCY FLOATATION GEAR
ใช้สำหรับการลงฉุกเฉินบนพื้นน้ำ
เมื่อเปรียบเทียบ EC-725 กับ SUPER PUMA และ AW139
- มีสมรรถนะที่สูงกว่า มีราคาถูกกว่า คุ้มค่า และ ตอบสนองภารกิจของกองทัพอากาศได้ดีที่สุด
การวางแผนวางกำลัง EC-725
EC-725 การวางแผนกระจายกำลังพร้อมให้การภารกิจการค้นหาช่วยชีวิต ได้แก่
- กองบิน 1
- กองบิน 2
- กองบิน 6...
- กองบิน 7
- กองบิน 21
- กองบิน 23
- กองบิน 41
ทั้งนี้ยังมีหน่วยบิน ณ ที่ตั้ง กองบิน 2 อีก 2 หน่วยบินที่พร้อมสนับสนุนในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ
ประเทศที่ EC-725 ประจำการ
กองทัพอากาศมาเลเซีย
กองทัพอากาศอินโดนีเซีย
กองทัพอากาศฝรั่งเศส
กองทัพอากาศบราซิล
กองทัพอากาศแม็กซิโก

EC – 725
“ค้นหา และ ช่วยชีวิต”

ทุกภารกิจเพื่อประชาชน
May The Air Force Be With You


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น