หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ROYAL THAI AIR FORCE AIR POWER

ROYAL THAI AIR FORCE AIR POWER : ประมวลภาพ-วิดีโอ เครื่องบินขับไล่ทั้งสามแบบของกองทัพอากาศไทย จากสามฝูงบิน คือ เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ แบบ Gripen 39 C/D ของฝูงบิน 701 ,F-16 eMLU ของฝูงบิน 403 และ F-5 E/F ของฝูงบิน 211

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

RTAF กับการแก้ปัญหา IUU Fishing 、。。


RTAF กับการแก้ปัญหา IUU Fishing 、。。
การทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับทางอากาศของ ทอ.ต่อเป้าหมายทางทะเล เพื่อร่วมแก้ปัญหา IUU Fishing 、。。
By RTAF 、。。

กองทัพอากาศ ดำเนินการทดสอบขีดความสามารถในการตรวจจับเป้าหมายทางทะเลทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืนต่อเนื่อง 20 ชั่วโมง เมื่อ 11 - 15 มิถุนายน 2561 โดยจัดตั้งศูนย์บัญชาการและควบคุม Command and Control ณ ฝูงบิน 106 อู่ตะเภา ร่วมกับศูนย์ติดตามและควบคุมเรือประมง หรือ FMC : Fisheries Monitoring Center ของกรมประมง และศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล หรือ ศรชล. เพื่อทำหน้าที่ควบคุม และสั่งการเมื่อตรวจพบเรือที่กระทำผิดกฏหมาย รวมทั้งระบุและสอบทานเป้าหมาย ที่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมง หรือ VMS : Vessel Monitoring System และระบบติดตามเรือพานิชย์ หรือ AIS : Automatic Identification System อันเป็นข้อมูลสำคัญในการกำหนดเป้าหมายให้แก่อากาศยาน 、。。

ทั้งนี้ ผลการปฏิบัติเพียงช่วงสั้นๆ กรมประมงได้รับหลักฐานที่สามารถใช้จับกุมดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งข้อมูลข่าวสารที่เป็น Real Time ทำให้เจ้าหน้าที่บังคับคดีที่มีอำนาจสามารถเข้าจับกุมผู้กระทำผิดได้ในลักษณะซึ่งหน้าทันที ในภาพรวม ได้ตรวจพบจับกุม และยกเลิกใบอนุญาตเรือที่กระทำผิดกฏหมายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสนับสนุนข้อมูลให้กรมประมง เพื่อดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องต่อไป 、。。

RTAF RECCE Campaign over Gulf of Thailand 、。。

ปฏิบัติการต่อเนื่องเหนืออ่าวไทย 20 ชั่วโมง 2 คาบ โดยใช้ 7 ระบบตรวจจับ 6 ฝูงบิน 6 แบบอากาศยาน 14 เที่ยวบิน ต่อคาบ รวมปฏิบัติการไป 2 คาบ ชั่วโมงบินปฏิบัติการรวม 41.6 ชั่วโมงบิน ครอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งอ่าวไทย 、。。

“บิ๊กฉัตร”พร้อมคณะ ดูการฝึกสาธิตการใช้อากาศยานไร้คนขับกองทัพอากาศ แก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ระบุ กองทัพบูรณาการทำงานร่วมกันเป็นประโยชน์กับประเทศชาติ 、。。

อ่านต่อที่ :-
https://www.dailynews.co.th/politics/...

RTAF Core Values 2556 、。。
https://drive.google.com/file/d/0B1PB...

RTAF Strategy 20 Years .. ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) (ฉบับเผยแพร่) 、。。
https://drive.google.com/open?id=0B1P...

Royal Thai Air Force Official Website、。。
http://www.rtaf.mi.th/

War History Documentary、Collection 、。。
https://plus.google.com/u/0/collectio...


วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

กองทัพเรือจัดพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ชุดเรือ ต.270 – ต.274 จำนวน 5 ลำ ลงน้ำ

วันที่ 24 กรกฎาคม 2561 เวลา 15.39 น. พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ชุดเรือ ต.270 – ต.274 จำนวน 5 ลำ ลงน้ำ โดยมี นางเกสรา ประทุมสุวรรณ นายกสมาคมภริยาทหารเรือ ในฐานะภริยาผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือ ณ อู่ต่อเรือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
ตามยุทธศาสตร์ กองทัพเรือ พ.ศ.2551 - 2560 กำหนดความต้องการเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (ตกช.) รวม 24 ลำ เพื่อใช้ในภารกิจต่างๆ โดยมีแผนปลดเรือตรวจการณ์ชายฝั่งที่ใช้ราชการมานานและครบกำหนดปลดระวาง ตั้งแต่ปี 2558 - 2560 รวม 14 ลำ จึงมีความจำเป็นต้องการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งทดแทนเรือที่จะปลดระวาง ซึ่งการจัดหาครั้งนี้เป็นการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งเพิ่มเติมให้เพียงพอต่อการใช้งาน เพื่อตอบสนองต่อภารกิจตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ สำหรับการจัดและเตรียมกำลังสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของทัพเรือภาคและหน่วยเฉพาะกิจของกองเรือยุทธการ และให้การสนับสนุนอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
การดำเนินโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งที่ผ่านมา กองทัพเรือได้ทยอยจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งทดแทนมาอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ชุดเรือ ต.228 (ต.228 - ต.230) จำนวน 3 ลำ ผูกพันงบประมาณ 3 ปี (2554 - 2556) ได้รับมอบตามสัญญาฯ เรียบร้อยแล้ว เมื่อปี พ.ศ.2556  โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ชุดเรือ ต.232 (ต.232 - ต.237) จำนวน 6 ลำ ผูกพันงบประมาณ 3 ปี (2557 - 2559) ได้รับมอบตามสัญญาฯ เรียบร้อยแล้ว เมื่อปี พ.ศ.2559  โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งจำนวน 4 ลำ (ต.261 - ต.264) ได้รับมอบตามสัญญาเรียบร้อยแล้วเมื่อปี 2560  โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง จำนวน 5 ลำ (ต.265 - ต.269) ได้รับมอบตามสัญญาฯ เรียบร้อยแล้วเมื่อต้นปี 2561  และโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง จำนวน 5 ลำ (ต.270 - ต.274) ที่ได้มีพิธีปล่อยลงน้ำในวันนี้ (24 ก.ค.2561)
สำหรับการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง โดยการว่าจ้างให้ บริษัท มาร์ซัน จำกัด เป็นผู้ดำเนินการนับได้ว่าเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือภายในประเทศ อีกทั้งยังเป็นการประหยัดงบประมาณมากกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ โดยเรือตรวจการณ์ชายฝั่งจะเข้าประจำการในกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ มีภารกิจในการตรวจการณ์ สกัดกั้น ลาดตระเวน ป้องกันการแทรกซึมทางทะเลและชายฝั่ง คุ้มครองเรือประมงและเรือพาณิชย์ ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติบริเวณชายฝั่งทะเลในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย รวมถึงการถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์
คุณลักษณะที่สำคัญของเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดใหม่ของกองทัพเรือ
ขีดความสามารถปฏิบัติการรบ (Combat Capabilities) สามารถปฏิบัติภารกิจได้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการบริเวณชายฝั่งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน สามารถตรวจจับ ติดตามและพิสูจน์ทราบเป้าผิวน้ำ สามารถป้องกันตนเองจากเรือผิวน้ำและอากาศยานข้าศึกได้ตามสมรรถนะของอาวุธประจำเรือ สามารถปฏิบัติการทางเรืออย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุงเพิ่มเติมได้ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง สามารถปฏิบัติงานได้ในสภาพทะเลไม่น้อยกว่า Sea State 2 สามารถตรวจค้นเรือที่ต้องสงสัย ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ และมีความสามารถในการทรงตัวที่ดีในการบังคับเรือ และบังคับเลี้ยวในการปฏิบัติงานที่ความเร็วสูง (Maneuverability)

คุณลักษณะทั่วไปของเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (Ship System Performance) ระวางขับน้ำเต็มที่โดยประมาณ 45 ตัน ขนาดของเรือ ความยาวตลอดลำ 21.40 เมตร ความกว้างสูงสุดของเรือ 5.56 เมตร ความลึกของเรือ (Molded Depth) 3.15 เมตร กินน้ำลึกตัวเรือ (Molded Draught) 1.05 เมตร ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง ที่ระวางขับน้ำเต็มที่ไม่น้อยกว่า 30 นอต กำลังพลประจำเรือ 9 นาย สามารถปฏิบัติงานในทะเลได้ต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุง ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 350 ไมล์ทะเล ด้วยความเร็วเดินทางมัธยัสถ์ (15 นอต) ที่ระวางขับน้ำเต็มที่ (Full Load Displacement) ขนาดและสัดส่วนของโครงสร้างตัวเรือได้รับการตรวจสอบ และรับรองจากสมาคมจัดชั้นเรือ DNV แห่งประเทศนอร์เวย์ โดยโครงสร้างตัวเรือและแผ่นเปลือกเรือ ทำด้วยอลูมินัมอัลลอยเกรดที่ใช้ในการต่อเรือโดยเฉพาะ (Marine Grade) ระบบขับเคลื่อนประกอบด้วย เครื่องจักรใหญ่ดีเซลเรือตราอักษร MAN รุ่น D2862 LE463 พร้อมเพลาใบจักร จำนวน 2 ชุด ซึ่งผลิตกำลังได้ เครื่องละ 1,029 กิโลวัตต์ ทำให้มีกำลังเครื่องจักรรวม 2,058 กิโลวัตต์ ขับเพลาใบจักรและใบจักรผ่านชุดคลัชท์และเกียร์ทด จำนวน 2 ชุด โดยที่ระบบเพลาและใบจักรซ้าย-ขวาเป็นแบบ Fixed Pitch Propeller (FPP) จำนวน 2 ชุด

อาวุธประจำเรือ
อาวุธปืนหลัก ปืนกลขนาด 20 มิลลิเมตร จำนวน 1 กระบอก บริเวณหัวเรือ
อาวุธปืนรอง ปืนกลขนาด .50 นิ้ว จำนวน 1 กระบอก พร้อมกับเครื่องยิงลูกระเบิด 81 มิลลิเมตร ร่วมแกน จำนวน 1 กระบอก ติดตั้งบริเวณท้ายเรือ
พิธีปล่อยเรือลงน้ำ เป็นพิธีที่มีมาตั้งแต่ครั้นโบราณกาล เมื่อถึงเวลาปล่อยเรือเดินทะเลลงน้ำจะต้องทำพิธี เพื่อให้เกิดสวัสดิมงคลแก่ตัวเรือเสียก่อน ในสมัยปัจจุบันพิธีปล่อยเรือลงน้ำแบบสากล ให้สุภาพสตรีเป็นผู้ประกอบพิธีโดยวิธีปล่อยขวดแชมเปญกระทบหัวเรือ การนี้สืบเนื่องมาจากการดื่มอวยพรด้วยถ้วยเงิน เมื่อดื่มแล้วก็ขว้างถ้วยขึ้นไปบนเรือปรากฏว่าสิ้นเปลืองมาก จึงเปลี่ยนเป็นขว้างขวดกับหัวเรือแทน คราวหนึ่งสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีได้ขว้างขวดแชมเปญไม่ถูกหัวเรือ แต่กลับไปถูกแขกที่มาในงานพิธีได้รับบาดเจ็บ จึงได้ใช้เชือกผูกคอขวดเสียก่อนเสมอ จนถึงปัจจุบันนี้พิธีปล่อยเรือลงน้ำของราชนาวี เฉพาะที่มีหลักฐานปรากฏในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพิธีปล่อยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลงน้ำ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2454 ส่วนเรือหลวงที่สร้างจากต่างประเทศที่มีหลักฐานปรากฏ ได้แก่ เรือหลวงเสือคำรณสินธุ์ ประเภทเรือพิฆาต มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2453 ณ อู่กาวาซากิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น สำหรับเรือหลวง ตัวเรือเป็นเหล็ก สร้างโดยกรมอู่ทหารเรือที่มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำเป็นครั้งแรก คือ เรือหลวงสัตหีบ (ลำที่ 1) ซึ่งมีคุณหญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ภริยา จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ในขณะนั้น) เป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2500
กองประชาสัมพันธ์ 
สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

RTAF Gripen 39 C/D Photo-Video Gallery

ประมวลภาพและวิดีโอของเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบ Gripen 39 C/D ฝูงบิน 701 กองบิน 7 โดยเป็นภาพ-วิดีโอ ที่ Gripen 39 C/D เข้าร่วมงานการแสดงการบินในงานต่างๆ อาทิ งานวันเด็กแห่งชาติ ปี'61 ที่ กองบิน 6 ดอนเมือง ,งานแสดงการบิน LIMA 2017 ที่ ประเทศมาเลเซีย และ Singapore Air Show 2018 ที่ ประเทศสิงคโปร์ รวมทั้งในการฝึกร่วมผสม Cope Tiger 2018 เป็นต้น
-----------------------------------------------------------------------
Children's Day 2018
-----------------------------------------------------------------------
Thailand Air Show
Gripen ของฝูงบิน 701 กองทัพอากาศไทย ทำการแสดงการบิน ร่วมกับ J-10 ฝูงบินผาดแผลง August first ของกองทัพอากาศจีน เมื่อ 26-27 พ.ย.2015 ณ กองบิน 1 โคราช ในโอกาสการฝึกร่วมผสม ทอ.ไทย-จีน ครั้งแรก รหัส “FALCON STRIKE 2015”
-----------------------------------------------------------------------
LIMA 2017
At LIMA 2017, an RTAF Gripen Fighter performed aerial displays for the audience. Here are a few images chronicling the performance.

Gripen display pilot talks about g-forces

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

UK unveils new Tempest fighter jet model

A model of the UK's planned new fighter jet, the Tempest, has been unveiled at the Farnborough Air Show.

The UK's Defence Secretary, Gavin Williamson, said the jet could be used with either pilots or as a drone.

The craft will eventually replace the existing Typhoon fighter jet. It will be developed and built by BAE Systems, engine maker Rolls-Royce, Italy's Leonardo and missiles expert MBDA.

Mr Williamson said the UK would be investing £2bn in the new project.

The hope is to see it flying by 2035.
Mr Williamson said the programme was aimed at ensuring the UK's continued leadership in fighter technology and control of air space in future combat: "We have been a world leader in the combat air sector for a century, with an enviable array of skills and technology, and this strategy makes clear that we are determined to make sure it stays that way."

He added that the UK, currently excluded from the latest fighter programme underway between France and Germany, was not against forming a partnership with other nations: "It shows our allies that we are open to working together to protect the skies in an increasingly threatening future - and this concept model is just a glimpse into what the future could look like."

According to BBC defence correspondent Jonathan Beale, the Tempest looks remarkably similar to the current generation of stealth jets, including the US developed-F 35.

Its sleek lines are designed to be hard to detect by radar, but unlike the current generation of jets it could also operate as a drone without a pilot.

It would also be the first British-designed jet to carry laser directed energy weapons capable of shooting down aircraft and missiles.

Aeropace giant Airbus welcomed the new jet programme: "Airbus welcomes the UK's commitment of funding for the future fighter project. We look forward to continuing collaborative discussions with all relevant European players."

Earlier, the chief executive of BAE Systems, Charles Woodburn, told the BBC's Today programme that the new jet would be some time in coming.

"We already have the Typhoon platform which forms the absolute bedrock of European air defence and that'll be in service for decades to come," he said.

He added that the inner workings of the new craft would start life within the Typhoon.

"The important thing about the new concept is that it will illustrate a direction of travel and many of those technologies that will be embodied in that will first see their service through the Typhoon.

"For example, upgrades on the avionics, upgrades in the weapons systems, upgrades in the radar will be deployed through the Typhoon and will be deployed there and then."

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

Royal Thai Air Force : F-16 AM/BM (eMLU) Photo Gallery

ประมวลภาพเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบ F-16 AM/BM (eMLU) ของฝูงบิน 403 กองบิน 4 ตาคลี โดยเป็นการรวบรวมภาพที่ถ่ายในช่วงงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2561 ที่ กองบิน 6 ดอนเมือง และที่ กองบิน 41 เชียงใหม่ และภาพบางส่วนจาก การแข่งขันใช้อาวุธทางอากาศ Air Tactical Operations... เป็นต้น