หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2560

กองเรือฟริเกตที่ ๑ กองเรือยุทธการ

ข้อมูล กองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ภารกิจ และกำลังรบ..

ความเป็นมา

กองเรือฟริเกตที่ ๑ (กฟก ๑) เดิมชื่อกองเรือปราบเรือดำน้ำ ซึ่งได้รับการจัดตั้งหน่วยเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๖ โดยกองทัพเรือได้รับอนุมัติจากกระทรวงกลาโหม ให้จัดส่วนราชการของกองเรือยุทธการใหม่ โดยแบ่งกำลังทางเรือตามประเภทเรือที่มีอยู่ในขณะนั้นออกเป็น ๔ กองเรือ ประกอบด้วย

   - กองเรือตรวจอ่าว
   - กองเรือปราบเรือดำน้ำ
   - กองเรือทุ่นระเบิด
   - กองเรือยกพลขึ้นบกและบริการ


ในส่วนของ กองเรือปราบเรือดำน้ำ ได้จัดเรือที่มีขีดความสามารถ ในการปราบเรือดำน้ำรวมไว้ด้วยกัน โดยมี น.อ.จรูญ เฉลิมเตียรณ (ยศในขณะนั้น) ดำรง ตำแหน่งเป็นผู้บังคับการกองเรือปราบเรือดำน้ำ เป็นท่านแรก เมื่อ ๑ มกราคม ๒๔๙๖ และมี น.อ.สงัด ชลออยู่ (ยศในขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งเป็นรักษาราชการเสนาธิการ กองเรือปราบเรือดำน้ำ โดยมีเรือในบังคับบัญชารวม ๑๑ ลำ ประกอบด้วย
 ร.ล.ท่าจีน, ร.ล.ประแส, ร.ล.บางปะกง, ร.ล.สารสินธุ,
 ร.ล.ทยานชล, ร.ล.พาลี, ร.ล.สุครีพ , ร.ล.ตองปลิว,
 ร.ล.ลิ่วลม, เรือปร.11 เรือปร.12
ซึ่งขณะนี้ได้ปลด ระวางประจำการไปหมดแล้ว

ต่อมากองทัพเรือได้จัดหาเรือฟริเกต เรือคอร์เวตและเรือตรวจการณ์ ปราบเรือดำน้ำ เพื่อทดแทนเรือปราบเรือดำน้ำ ที่ปลดระวางประจำการไป และให้เพียงพอต่อ การใช้งานตามแผนพัฒนากำลังทางเรือ จากจำนวนเรือที่เพิ่มมากขึ้น และขีดความสามารถที่หลากหลาย ทำให้เรือสามารถป้องกันภัยทางอากาศ ปฏิบัติการรบผิวน้ำ ปราบเรือดำน้ำได้ในขณะเดียวกัน และสอดคล้องกับ แนวความคิดในการปรับ โครงสร้างหน่วยกำลังรบ กระทรวงกลาโหมจึงได้อนุมัติแก้ไขอัตรากองเรือยุทธการใหม่ เมื่อ ๑๑ มีนาคม ๒๕๓๕ โดยเพิ่มขึ้น ๓ กองเรือ คือ
 - กองเรือฟริเกตที่ ๒
 - กองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์
 - กองเรือปราบเรือดำน้ำ (รวมทั้งเปลี่ยนชื่อจาก กองเรือปราบเรือดำน้ำ เป็น กองเรือฟริเกตที่ ๑ )
และแยกกองเรือยกพลขึ้นบกและบริการ ออกเป็นกองเรือยกพลขึ้นบก กับกองเรือยุทธบริการ โดยรวมเรือปราบเรือดำน้ำที่มีระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการส่งกำลังบำรุงที่คล้ายคลึงกันไว้ด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่จัดหามาจาก สหรัฐอเมริกา ให้สังกัดกองเรือฟริเกตที่ ๑ และเรือปราบเรือดำน้ำอีกส่วนหนึ่งให้สังกัดกองเรือฟริเกตที่ ๒ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการซ่อมบำรุงเรือและสายงานธุรการกองเรือฟริเกตที่ ๑ ยังคงยึดถือวันที่ ๑ มกราคมของทุกปี ซึ่งตรงกับ วันก่อตั้ง กองเรือปราบเรือดำน้ำ เป็นวันคล้ายวันสถาปนาของกองเรือฟริเกตที่ ๑
ปัจจุบัน กองเรือฟริเกตที่ ๑ มีเรือในบังคับบัญชาทั้งสิ้น ๑๐ ลำ โดยแบ่งเป็น ๓ หมวดเรือ
หมวดเรือที่ ๑ ประกอบด้วย ร.ล. ตาปี ร.ล. คีรีรัฐ ร.ล. มกุฎราชกุมาร ร.ล. รัตนโกสินทร์ ร.ล. สุโขทัย
หมวดเรือที่ ๒ ประกอบด้วย ร.ล. พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ร.ล. ปิ่นเกล้า
หมวดเรือที่ ๓ ประกอบด้วย ร.ล. คำรณสินธุ ร.ล. ทยานชล ร.ล. ล่องลม

เรือหลวงท่าจีน ลำใหม่ ที่กำลังจะเข้าประจำการอยู่ใน กองเรือฟริเกตที่ 1

หน้าที่และภาระกิจ

กองเรือฟริเกตที่ ๑ มีหน้าทีจัดและเตรียมกำลังสำหรับการปฏิบัติการรบผิวน้ำ ปราบเรือดำน้ำ และป้องกันภัยทางอากาศ ซึ่งมีการปฏิบัติดังนี้
- จัดส่งเรือออกปฏิบัติราชการ ในทัพเรือภาคที่ ๑ ๒ และ ๓ ตามแผนการใช้เรือ โดยมี การปฏิบัติการลาดตระเวนคุ้มครอง เรือประมง การป้องกันการกระทำผิดกฎหมายในทะเล การป้องกันฐานขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่หัวเมืองชายทะเลและการลาดตระเวนร่วมกับ ทร.เวียดนาม และ มาเลเซีย

- ฝึกอบรมกำลังพล เพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์ให้สามารถปฏิบัติราชการ ตามหน้าที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ดูแลบำรุงรักษาเรือและอาวุธยุทโธปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อม ปฏิบัติราชการตลอดเวลา
- ฝึกการปฏิบัติงานต่าง ๆ ในทะเลทางยุทธวิธี และสาขาการปฏิบัติต่าง ๆ กับกองเรือต่าง ๆ ในกองทัพเรือและกับกองทัพเรือของมิตรประเทศเพื่อให้มีขีดความสามารถ และความชำนาญในการทำการรบ รวมทั้ง มีการพัฒนา อยู่ตลอดเวลา

โครงสร้าง กฟก.๑ 

กองเรือฟริเกตที่ ๑ กองเรือยุทธการ เป็นหน่วยขึ้นตรงกองเรือยุทธการ มีการจัดส่วนราชการเป็น ๕ หน่วย คือ 
๑. กองบัญชาการ มีหน่วยในบังคับบัญชา ๘ หน่วย ( ๑ กอง ๗ แผนก )
๑.๑ แผนกธุรการ
๑.๒ แผนกกำลังพล
๑.๓ แผนกยุทธการและข่าว
๑.๔ แผนกส่งกำลังบำรุง
๑.๕ แผนกสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
๑.๖ แผนกพลาธิการ
๑.๗ แผนกการเงิน
๑.๘ กองช่าง 

๒. กองร้อยกองบัญชาการ มีหน่วยในบังคับบัญชา ๓ หน่วย คือ
๒.๑ กองบังคับการกองร้อย
๒.๒ หมวดบริการ
๒.๓ หมวดป้องกัน 

๓. หมวดเรือที่ ๑
๓.๑ ร.ล. มกุฎราชกุมาร
๓.๒ ร.ล. ตาปี
๓.๓ ร.ล. คีรีรัฐ
๓.๔ ร.ล. รัตนโกสินทร์
๓.๕ ร.ล. สุโขทัย

๔. หมวดเรือที่ ๒
๔.๑ ร.ล. พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
๔.๒ ร.ล. ปิ่่นเกล้า

๕. หมวดเรือที่ ๓
๕.๑ ร.ล. คำรณสินธุ
๕.๒ ร.ล. ทยานชล
๕.๓ ร.ล. ล่องลม

เรือหลวงรัตนโกสินทร์ (441)
เรือหลวงสุโขทัย (442)
เรือหลวงคำรณสินธุ (531)
 เรือหลวงทยานชล (532)
เรือหลวงล่องลม (533)
เรือหลวงตาปี (431)
 เรือหลวงคีรีรัฐ (432)
เรือหลวงมกุฎราชกุมาร (433)
เรือหลวงปิ่นเกล้า (413)
เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (461)
เรือหลวงท่าจีน (471)



ที่มา: http://www.frigate1.com/index.php/th/person

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น